ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บุคลิกภาพแบบชอบเข้าหาสังคม เป็นทั้งการกระทำ สภาวะจิตใจ และนิสัยของคนที่มีลักษณะชอบไขว่คว้า และมองหาความพึงพอใจจากสิ่งที่อยู่ภายนอกตัว พูดง่ายๆก็คือ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม จะซาบซึ้งในความสนใจจากผู้อื่นและรู้สึกกระตือรือร้นเมื่อได้มีการพบปะกับผู้คน หากคุณอยากมีความพึงพอใจจากสังคมภายนอกตัว หรือความสุขจากการได้เข้าสังคม คุณอาจสามารถทำเช่นนั้น ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงจุดยืนของตัวเองเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การมีทัศนคติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจดจ่ออยู่กับคุณลักษณะด้านบวกของการมีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม พวกเขาสามารถเข้ากับคนอื่นได้ง่าย อยู่ต่อหน้าหรือท่ามกลาง คนอื่นได้อย่างสบายใจและสามารถทำให้งานเลี้ยงดำเนินต่อไปได้ แน่นอนว่า ทั้งบุคลิกภาพแบบเก็บงำ และบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม ต้องมีจุดเสียบ้าง (คนบางคนชอบพูดมากเกินไป และบางครั้งก็ชอบรบกวนผู้อื่น ซึ่งบางทีก็ผิดกาลเทศะ) แต่จงโฟกัสที่ด้านบวก
    • มันง่ายที่จะมองผู้มีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคมในเชิงลบ คนทั่วไปมักจะมองว่า พวกเขาชอบพูดก่อนที่จะคิด แถมยังเป็นพวกฉาบฉวยเกินไป ซึ่งไม่ใช่ความจริง ผู้มีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม ก็มีสามัญสำนึกและความละเอียดรอบคอบ เช่นเดียวกับผู้มีบุคลิกภาพแบบเก็บงำได้เหมือนกัน หากคุณต้องการมีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม คุณต้องมองมันในแง่บวกบ้าง ซึ่งมีอยู่มากมายเลยทีเดียว
    • คำจำกัดความของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม ก็คือคนที่จะได้ชาร์จแบตทุกครั้งที่รายล้อมด้วยผู้คน แค่นั้นแหละ พวกเขามีความสามารถในการคิดและเป็นผู้ฟังที่ดี โดยทั่วไปแล้วพวกเขามีทักษะทางสังคมดีเยี่ยม (โดยทั่วไปนะ) และสามารถเป็นผู้ที่จะลงมือทำเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ
  2. มองตัวเองให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคมแบบ ถูกต้องเหมาะสม . จริงอยู่ที่ว่า ผู้มีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคมบางคนอาจดูเสแสร้งและเพ้อเจ้อ ลองนึกภาพเซลล์แมนที่ใช้เทคนิคกดดันให้ลูกค้าซื้อรถของพวกเขาดูสิ คนแบบเข้าหาสังคมเช่นนั้นแหละ ที่คุณ ไม่ควร เอาอย่าง และคุณก็ไม่จำเป็นต้องเป็น คุณสามารถมีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคมได้ในแบบที่คุณต้องการ คนประเภทนี้บางคนออกจากขี้อายด้วยซ้ำ
    • คุณลักษณะด้านไหนของบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม ที่ถือเป็นความใฝ่ฝันของคุณ อย่างเช่น เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นก็สามารถผ่อนคลายได้ หรือการที่พวกเขามักเป็นฝ่ายพูด ความสามารถในการเฮฮาปาร์ตี้ ฯลฯ ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร คุณก็สามารถเป็นได้อย่างพวกเขาเช่นกัน มันเป็นนิสัยธรรมดาๆ ลองคิดถึงด้านบวกบางข้อและเขียนมันลงไป "เป็นคนมีบุคลิกภาพแบบเข้าหาสังคม" ฟังดูเป็นเป้าหมายที่ยากลำบาก แต่การ "พูดให้มากขึ้น" เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย
  3. จงภูมิใจเถอะ เพราะผลการศึกษาพบว่า คนเราส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพแบบผสม [1] มันเป็นมาตรฐานทั่วไปอยู่แล้ว บางคนอยู่ในขั้วหนึ่ง (เก็บงำ) ในขณะที่บางคน เป็นอีกขั้วหนึ่ง (เข้าหาผู้คน) แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คนทั่วไปมักอยู่กึ่งกลาง
    • แม้ว่าคุณมักจะมีบุคลิกภาพเก็บงำมากกว่า อย่างน้อยคุณก็ต้องมีบุคลิกภาพเหมือนพวกชอบเข้าหาสังคมอยู่บ้าง แม้แต่คาร์ล จุง ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง ก็ยังกล่าวว่า ไม่มีใครเป็นแบบใดแบบหนึ่ง หากใครเป็นเช่นนั้น คงต้องเข้าโรงพยาบาลบ้าแน่ๆ [2] ทั้งหมดที่คุณต้องทำ ก็แค่พยายามดึงเอาด้านที่เปิดเผยออกมาใช้บ้าง มันต้องซ่อนอยู่ที่ใดที่แน่นอน
  4. ตระหนักว่า คุณอาจจะรู้สึกดี กว่าการมีบุคลิกภาพเก็บน้ำก็ได้. แม้ว่าจะมีการโต้แย้ง เรื่องความโน้มเอียงของผลการวิจัย แต่ก็มีรายงานออกมาว่า คนที่ชอบเก็บงำ จะมีความสุขมากขึ้นเวลาที่พวกเขาเริ่มเปิดตัวกับสังคมบ้าง. [3] ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ค่อยแน่ใจ เป็นเพราะเหตุใด แต่แนวคิดเบื้องหลังคือ โดยทั่วไปแล้วมันทำให้คุณได้รับการตอบสนองในทางบวกจากผู้อื่นมากกว่า ซึ่งสิ่งนั้นมันเป็นแรงผลักดันอันทรงพลัง
    • มันไม่ค่อยจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่า คนชอบเก็บงำ มักประเมินผลพลอยได้ในเรื่องนี้ต่ำเกินไป เพราะแม้แต่คนที่ชอบเข้าหาสังคมเอง ก็ยังเบื่องานปาร์ตี้บางแห่ง ก่อนที่จะพบว่าตนเองมีความสุขในงานนั้นมาก ไม่ว่าจะเป็นเพราะคุณรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่กล้าออกจากกะลา หรือเป็นเพราะคุณได้รับประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นเพราะเพื่อนสนิทของคุณ ทำให้คุณหัวเราะได้อย่างร่าเริง เราก็ไม่มีทางรู้ล่วงหน้าถึงสิ่งดีๆ ที่จะเกิดกับเราได้
  5. แน่นอนว่า สมองคนเรายืดหยุ่น แต่คุณไม่สามารถสอนสุนัขให้เป็นแมว หากคุณเป็นพวกสุดขั้ว งานที่ต้องเข้าหาผู้คนย่อมเป็นเรื่องน่าเบื่อสุดๆ พูดกับพูดเถอะ แม้แต่พวกชอบเข้าสังคม หากต้องเข้ามากไป ก็เบื่อเอาง่ายๆ เหมือนกัน จึงอาจจะเป็นอุปสรรคที่ต้องใช้เวลานับปีในการเอาชนะ
    • คุณมีนิสัยสุดขั้ว กลัวผู้คนสุดขีด ก็อย่าฝืนใจตัวเอง แต่ลองคิดในจุดนี้ดู วัฒนธรรมตะวันตกให้คุณค่ากับการเข้าหาสังคมมาก ส่วนชาวตะวันออกนั้นให้คุณค่าน้อยกว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความปรารถนาในการเป็นคนเปิดเผย ไม่ใช่ความต้องการของคุณจริงๆ แต่เป็นสิ่งที่คนอื่นพร่ำสอนคุณ ลองทำใจให้ชอบนิสัยเก็บตัวของตนเองดูสิ นิสัยแบบนี้ย่อมช่วยถ่วงดุล และมีความจำเป็นทางสังคมเช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำการบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพตนเองนั้นเป็นเรื่องยาก แต่สมองคนเราพร้อมเรียนรู้และทำได้ ลองเริ่มจากการสังเกตคนที่ชอบเข้าหาสังคมรอบตัวคุณดูสิ ลองสังเกตดูว่า พวกเขาต่างจากคนอื่นอย่างไร และปรับตัวในแต่ละสถานการณ์อย่างไร บางคนแอบเข้าสังคมกลุ่มใหญ่ได้ดีกว่า ในขณะที่บางคนถนัดกลุ่มเล็กๆ มากกว่า และบางคนก็อาจจะสงวนตัวในบางสถานการณ์
    • อย่าลืมลองคิดดูด้วยว่า อะไรที่ทำให้พวกเขามีบุคลิกภาพแบบเปิดเผย จำไว้ว่า คนเปิดเผยบางคนมีนิสัยขี้อาย แต่การที่บางคนขี้อายไม่ได้หมายความว่าจะร่าเริงเวลาอยู่กับผู้อื่นไม่ได้ คุณอยากมีความมั่นใจและเปิดเผยมากขึ้นไหม คุณลักษณะด้านไหนของคนแบบเข้าหาสังคม ที่คุณอยากนำมาใช้กับตัวเองบ้าง
  2. นี่เป็นวิธีการกันยอดเยี่ยม ถึงคำจำกัดความของคำว่า "เสแสร้ง" แต่คุณไม่ต้องถึงขั้นนั้นหรอก ขอแค่ลองแกล้งแสดงให้ดูเหมือนเท่านั้น คุณได้สังเกตพวกเขามาระยะหนึ่งแล้ว ตอนนี้ก็เหลือแค่เลียนแบบ เวลาเข้าสังคม ลองทำตัวเป็นคนเปิดเผยดู ทั้งโรเบิร์ตเดอนีโร บาบาร่า วอลเตอร์ และเดวิด เลทเทอร์แมน คนในวงการบันเทิงทั้งไทยและเทศ ต่างก็ทำกันทั้งนั้น [4] พวกเขาแค่เดินออกมาแสดง แล้วก็กลับบ้านเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  3. จงเริ่มจากจุดเล็กๆ ทั้งในแง่ของระยะเวลาและสิ่งที่ต้องฝึก ใช้เวลาสัก 15 นาทีเข้าสังคมกับผู้อื่น ออกจากความเคยชิน และทำบางสิ่งที่คุณรู้สึกอึดอัดบ้าง ลองไปเคาะประตูเพื่อนบ้านและแนะนำตัวเอง หลังจากลองครั้งแรกแล้ว ครั้งที่สองก็ง่ายขึ้น ครั้งที่สามยิ่งหมูๆ เลย
    • เมื่อคุณเริ่มเคยชินกับการมีบุคลิกภาพเปิดเผยแล้ว ลองทำมันให้มากขึ้นในคราวต่อไป สัปดาห์หน้าลองไปทักทายกับคนในที่ทำงานของคุณ ถึงเวลารอรถเมล์ ก็ลองแกล้งถามเวลากับคนที่รออยู่ข้างๆ และเปรยเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป หยอดมุกใส่สาวแคชเชียร์ในห้างก็ได้ เดี๋ยวก็ค่อยๆ คุ้นเคยไปเอง.
  4. ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ก็คือว่า คุณไม่สามารถจะเป็นผู้มีบุคลิกภาพเข้าหาคนอื่นได้ด้วยตัวคนเดียว นี่เป็นคำจำกัดความมันเลย ดังนั้น จงออกไปพบปะผู้คน แม้ว่าจะเป็นแค่ยืนคุยกับเพื่อนร่วมงานเวลากำลังกดน้ำกิน หรือการตกลงไปตามคำเชิญเพื่อนเพื่อสังสรรค์ หากคุณไม่ทำ ก็จะไม่มีวันเติบโตและพัฒนาขึ้นได้
    • โดยทั่วไปแล้ว คนอื่นจะเลิกชวนคุณ ถ้าคุณเอาแต่ปฏิเสธบ่อยๆ ดังนั้น ทำเพื่อตัวเองบ้างและตกลงไปร่วมงานตามคำเชิญของคนอื่น ยิ่งคุยใช้เวลาคุณกับพวกเขามากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งรู้สึกคล้ายเวลาอยู่ใกล้พวกเขา และเมื่อนั้น คุณก็จะยิ่งมีบุคลิกภาพชอบเข้าหาสังคมมากขึ้น
  5. คนบางคนเรียกขานตัวเองว่าเด็กแหย หรือไม่ก็พวกแก่เรียน เราคิดว่าพวกที่มีบุคลิกภาพสังคม จะต้องเป็นที่นิยมของผู้อื่นและไม่มีเวลาให้กับคนเฉิ่มอย่างพวกเรา ซึ่งไม่จริงเลย การเป็นคนชอบเก็บตัวไม่ได้หมายความจะขาดทักษะหรือคุณค่าทางสังคม เราต่างก็มีบทบาทในทางสังคมด้วยกันทั้งนั้น .
    • ลองดูตัวอย่างที่สุดขั้วสักหน่อย คุณนั่งกับบ้านทุกวันทั้งสัปดาห์ เอาแต่เล่นวีดีโอเกมส์และกินขนมไปวันๆ แต่คุณก็ยังมีสติปัญญาดีใช่ไหม ใช่ คุณมีทักษะฝีมือใช่ไหม ก็ใช่อีก คนที่มีหัวทางธุรกิจย่อมต้องการผู้ช่วยสักคนในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเขาใช่ไหม แน่นอนอยู่แล้ว คุณคิดว่าตัวเองมีประโยชน์อะไรกับเขาบ้างล่ะ
  6. คนที่มีบุคลิกภาพเปิดเผย มักจะชอบทำเรื่องตื่นเต้นมากกว่าคนเก็บงำ. [5] การที่จะเลียนแบบนิสัยเหล่านั้นได้ (จนกว่าจะรู้สึกเคยชิน) คุณต้องคิดอะไรแบบหลุดโลกบ้าง หากคุณกำลังเดินอยู่ริมน้ำ ก็โดดลงไปเล่นน้ำสักหน่อย (กรณีที่ว่ายเป็น) หรือร้องเพลงออกมากลางตลาด อะไรก็ได้ที่คุณเห็นว่าบ้าบอเล็กน้อย ที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องลังเล.
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เข้าหาผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งปัญหามันอยู่ที่เราจะอยู่ที่คนรอบข้างเรา ไม่ใช่ปัญหาเลวร้ายอะไรหรอก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า รสนิยมมันต่างกัน บางทีคนที่อายุมากกว่าหรือน้อยกว่า หรือมาจากพื้นเพที่ต่างออกไปอาจจะเหมาะกับคุณมากกว่า คนเหล่านั้นจะช่วยดึงนิสัยด้านที่ช่างเจรจาพูดคุย และทำให้คุณพบปะกับผู้คนมากขึ้น ลองคิดดูละกัน
    • ลองทดสอบทฤษฎีนี้ดู ด้วยการไปที่คลับสักแห่ง เอาแบบที่ไม่ต้องหรูหรามาก ที่คุณมากไปทำความรู้จักผู้คนที่มีรสนิยมเดียวกัน การแสดงให้คุณเห็นว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำให้คุณเก็บตัว มันเป็นกับคนบางประเภทเท่านั้น บางคนทำให้เราลังเล ในขณะที่บางคนก็ไม่ หาคนที่คุณอยากร่วมวงด้วยละกัน
  2. บางทีคุณอาจจะเป็นผู้ฟังที่ดี แต่ไม่ใช่ผู้พูดที่ดี คุณอาจจะชอบอ่านหนังสือ แต่ไม่ชอบสังสรรค์ ข่าวดีก็คือว่า พรสวรรค์แบบคนชอบเก็บตัวเช่นคุณ สามารถนำมาใช้ในทางที่เปิดเผยได้ หากมีใครกำลังเจอสถานการณ์อันเลวร้าย คุณก็ควรเข้าไปถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ ทักษะการฟังของคุณจะโดดเด่นขึ้นมาทันที หรือคุยกับคนอื่นเกี่ยวกับหนังสือเล่มโปรดของคุณก็ได้ จะบอกคุณให้รู้เอาไว้ว่า พวกชอบเข้าสังคมก็อ่านหนังสือเหมือนกัน
    • มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า หากคุณเป็นคนประเภทเก็บตัว คุณมักจะชอบคิดตลอดเวล าคิดอยู่ในหัวตัวเองคอยสังเกตและติดตามสิ่งรอบตัว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นคุณก็พร้อมแล้ว เพราะคุณมีความใส่ใจในรายละเอียดซึ่งยากที่จะฝึกฝนกันได้ จงใช้ให้เป็นประโยชน์ ลองสังเกตสิ่งเล็กๆ น้อยๆ และแสดงความเห็นเกี่ยวกับมัน คนรอบข้างคุณอาจจะตกตะลึงไปชั่วขณะแต่แล้วก็จะยิ้มได้ ด้วยความดีใจที่มีคนมองเห็นบางสิ่งในตัวพวกเขาจนได้ ใครๆก็ชอบความรู้สึกแบบนั้น
  3. เวลาคุณเข้าสังคม (ซึ่งเหมือนเข้าสมรภูมิรบ) จงพยายามพูดเข้าไว้ พูดอะไรก็ได้ คุณย่อมมีความเห็นอยู่แล้ว และหากคุณรู้สึกเกรงใจที่จะแสดงความรู้สึก ก็จงรู้จักถาม ใครๆ ต่างก็ชอบเวลาที่มีคนสนใจในตัวพวกเขา การยิงคำถามเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
    • หากคุณมีปัญหาในการพูดคุย ลองฝึกพูดคุยกับตัวเอง รวมถึงพูดคุยกับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง บางครั้งการเอาแต่ฟังเสียงของตัวเอง การฝึกฝนอาจไม่ได้ทำให้คุณสมบูรณ์แบบ แต่มันก็ทำให้เกิดเป็นนิสัย ยิ่งคุณกล้าพูดมากเท่าไหร่ คุณก็สามารถทำมันได้ดีในสถานการณ์อื่นๆ มากเท่านั้น
  4. ครั้งต่อไปหลังจากพูดคุยแล้ว คุณควรฝึกการรักษาจุดยืนในตัวเอง เวลามีโอกาสแสดงความเห็น จงคว้าเอาไว้ เว้นเสียแต่ว่า คุณจะประกาศสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ และมีสารพิษสีม่วงหยดตามรอยหลังคุณไปเมื่อวันก่อน ก็คงไม่เกิดความโกลาหลหรือมีใครปฏิเสธคุณขึ้นมาหรอก โดยทั่วไปแล้ว การพูดคุยเรื่องภาพยนตร์ที่คุณอยากดู มันสำคัญมากหรือเปล่า ก็คงไม่หรอก หรือจะพูดแสดงความเห็นที่คุณมีต่อหัวหน้างานดีล่ะ ก็ไม่อีกนั่นแหละ แต่ยังไงก็พูดๆ ไปเถอะ
    • คุณต้องการให้คนอื่นเป็นผู้กำหนดบรรยากาศในการสนทนา ก็เชิญเลย สิ่งหนึ่งที่คนเราชอบมาก เครื่องคือการได้บ่น และพวกเขาจะบ่นเก่งมากขึ้น เวลาที่อยู่กันเป็นกลุ่ม พยายามมองหาช่วงจังหวะ ที่กลุ่มเพื่อนของคุณกำลังทำบ่นไปเรื่อย และสอดแทรกความเห็นของคุณเข้าไป ใครไม่ชอบก็ช่างเขา ขอแค่บทสนทนาดำเนินต่อไปก็พอ
  5. คนประเภทเก็บงำ มีความผิดพลาดในเรื่องของการขี้เกรงใจมากเกินไป ถ้าเป็นคนประเภทเปิดเผย พวกเขามักแทรกการสนทนาในทันที คุณไม่จำเป็นต้องรอให้มีใครเริ่มก่อน เพราะมันอาจไม่มีเลยก็ได้ หากทำถูกกาละเทศะ การแทรกจังหวะการสนทนาขึ้นมา ก็ไม่ถือว่าหยาบคาย ใครๆ ก็ทำกันทั้งนั้น.
    • ปัญหาอย่างเดียวคือ ต้องทำให้ถูกจังหวะ หากลองสังเกตดู คุณย่อมจะเห็นโอกาสที่น่ายอมรับได้ การแทรกจังหวะขณะที่เพื่อนคุณกำลังพูดเรื่องความป่วยความตายอยู่ ย่อมจะไม่เหมาะ แต่การแทรกในเวลาที่มีใครกำลังปราศรัยรณรงค์เรื่องบางอย่าง ก็อาจเช้าท่า หากมันเป็นการพูดคุยถกเถียง ก็เอาเลย แต่หากคนอื่นกำลังโศกเศร้าหรือระบายความทุกข์ คุณควรรอก่อนจะพูดเรื่องตัวเอง
  6. เรื่องเล็กๆ ผ่านไปหมดแล้ว ตอนนี้ได้เวลาเล่นเรื่องใหญ่ๆ บ้าง ลองดึงดูดความสนใจเข้าหาตัวเอง ซึ่งอาจทำได้โดยการพูดจาเสียงดังหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว มันอยู่ที่การกระตุ้นพฤติกรรมผู้อื่น ลองเริ่มเกมส์บางอย่าง เปรยว่าอยากทำอะไรในคืนวันศุกร์ หรือไปจู้จี้เจ้าระเบียบกับคนอื่นดูก็ได้
    • กระตุ้นให้ผู้อื่นลงมือทำบางสิ่ง เปิดการสนทนาในเรื่องที่เป็นกระแส แกล้งโยนป๊อบคอร์นเรี่ยราดลงไปบนพื้น ยืนหลบหลังเสา หรือจะส่งคลิปฮาๆ ปล่อยไปให้เพื่อนคุณดูกันก็ได้ ฯลฯ จงทำในสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรมและการพูดคุยของคนอื่น
  7. แม้ว่าพวกตลก จะไม่ได้เป็นคนประเภทเข้าหาสังคมทั้งหมด คนประเภทเข้าหาสังคมทั้งหมด ก็ไม่ได้เป็นตลกทุกคน แต่หากคุณต้องการเป็นจุดดึงดูดของสังคม วิธีที่ดีในการทำเช่นนั้น คือทำให้ผู้คนหัวเราะ ขั้นตอนในการดึงดูดความสนใจนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่คุณสามารถพัฒนามากกว่านั้นได้ แม้ว่าจะต้องยอมเจ็บตัวหน่อยก็ตาม
    • แม้แต่พฤติกรรมง่ายๆ อย่างเช่น การทำเสียงตลกๆ หรือการแกล้งเดินแบบสโลว์โมชั่นเหมือนสล๊อธ ก็สามารถทำให้คนอื่นหัวเราะได้แล้ว หากคุณพอจะทำตัวประหลาดๆ ได้ นั่นก็ย่อมได้ผลเหมือนกัน คนรอบข้างจะรู้สึกเฮฮา และก็น่าจะผ่อนคลายลงด้วย การเป็นคนชอบเข้าสังคมของคุณจะเริ่มพัฒนาขึ้นจากจุดนั้น เมื่อคนรอบข้างเริ่มคล้อยตามไปกับคุณ
  8. คนที่ชอบเข้าสังคมอย่างแท้จริงนั้น อาจตกอยู่ในบรรยากาศมาคุ แต่ก็หาเรื่องสนุกทำได้ แม้ว่ามันอาจรวมถึงการต้องเล่าเรื่องน่ารักหวานแหววเกี่ยวกับตัวเองบ้าง หากคุณกำลังอยู่ในกลุ่มสนทนา และบรรยากาศเกิดเงียบงันขึ้นมา จงเริ่มพูดคุยอะไรบางอย่าง หรือแกล้งแสดงสามารถทะเล้นๆ ให้พวกเขาดู หรือจู่ๆ คุณอาจเล่นถามตอบบ้าๆ บอๆ อะไรก็ได้ เปิดฟลอร์แล้วเต้นเลย
    • กลุ่มคนที่แตกต่าง ย่อมมีการตอบสนองแตกต่างกันไป หากคุณอยู่ในกลุ่มคนที่ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งหมอลำ การเปิดเพลงเพลงสากลขึ้นมาดังๆ อาจจะได้ผลลัพธ์ไม่ดีนัก จงรู้จักผู้อื่นว่า พวกเขามักตอบสนองต่อเรื่องใด
    โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามมากเกินไป การทำให้ตัวเองอึดอัด รังแต่จะทำให้คับข้องใจ พยายามเดินตามแนวทางของตัวเอง ก้าวไปทีละนิด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,759 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา