ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเป็นคนหนึ่งที่คอยนั่งหลบอยู่แต่ตรงมุมมืดของงานปาร์ตี้โดยหวังว่าจะไม่มีใครเดินเข้ามาคุยกับคุณหรือเปล่า? ถ้าหากว่าคุณมีอาการแบบนี้ รับรู้เอาไว้เลยว่าไม่ใช่คุณคนเดียวที่เป็นแบบนี้ แต่ถ้าหากคุณอยากจะเป็นคนที่มีความมั่นใจมากขึ้นเมื่ออยู่ในสังคมล่ะก็ คุณจำเป็นต้องสร้างทัศนคติแห่งความความมั่นใจและฝึกพัฒนาทักษะการเข้าสังคมของตัวเอง เพื่อที่สักวันหนึ่ง คุณจะได้กลายเป็นคนที่เดินเข้าไปหาคนที่นั่งหลบมุมอยู่ในงานปาร์ตี้ครั้งต่อไปแทน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สร้างทัศนคติแห่งความมั่นใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางคนนั้นเกิดมาเพื่อเป็นคนเก็บตัว (introvert) ซึ่งก็หมายความว่าคุณเป็นคนที่รู้สึกสบายใจที่จะใช้เวลาอยู่กับตัวเองหรืออยู่กับความคิดของตัวเองเองมากกว่าที่จะไปใช้เวลาอยู่กับคนอื่น ถ้าหากว่านี่เป็นลักษณะนิสัยของคุณ อย่าพยายามบังคับตัวเองให้กลายเป็นคนที่ชอบเข้าสังคมให้ได้ในทันทีทันควัน เพราะถ้าคุณทำแบบนั้น มันอาจจะทำให้คุณเกิดความเครียด ความกังวล และอาจจะทำให้มีโรคหัวใจก็เป็นได้ [1] ดังนั้น ให้คุณใช้เวลาไปกับสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ ที่คุณรู้สึกเอ็นจอยอยู่แล้ว และพยายามสนทนากับคนอื่นอย่างมีเป้าหมายให้ได้
    • ถ้าอยากจะยอมรับนิสัยชอบเก็บตัวของตัวเองให้ได้ คุณอาจจะโฟกัสไปที่คุณภาพของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่คุณมีอยู่ แทนที่จะไปโฟกัสเรื่องการเพิ่มจำนวนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะดีกว่า
  2. คุณจะสามารถกลายเป็นคนที่มีความมั่นใจเมื่ออยู่ในสังคมได้ด้วยการมีส่วนร่วมกับคนอื่นในรูปแบบที่น่าสนใจสำหรับพวกเขา และทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองได้รับการเอาใจใส่จากคุณ ซึ่งทักษะเหล่านี้ที่มาพร้อมกับความสามารถในการทำให้คนอื่นรู้สึกถึงการเอาใจใส่นั้นเรียกว่า ความสามารถในการเข้าสังคม โดยมีงานวิจัยพบว่าการปรับปรุงความสามารถในการเข้าสังคมนั้น จะช่วยเพิ่มการรับรู้ต่อตนเองในเชิงบวกรวมไปถึงการยอมรับในตัวเองเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคมด้วย [2] นอกจากนี้ การฝึกฝนความสามารถในการเข้าสังคมยังช่วยสร้างโอกาสดีๆ ให้กับตัวคุณด้วย เพราะว่าคุณสามารถเข้าหาคนอื่นได้มากกว่าเดิมแล้ว [3]
    • วิธีการที่คุณมองตัวเองนั้น คือหนึ่งในปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นใจในตัวคุณที่พบได้บ่อยมากที่สุด เพราะคุณอาจจะคิดว่าตัวคุณเองกำลังทำให้คนอื่นในสังคมไม่ประทับใจในตัวคุณอยู่ แต่จริงๆ แล้ว คุณอาจจะแค่กำลังมองหาอะไรสักอย่างที่จะสามารถช่วยยืนยันความเชื่อที่คุณมีอยู่ก็เป็นได้ [4]
  3. หากคุณไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นคนมีความมั่นใจเมื่ออยู่ในสังคมอยู่แล้ว แนวโน้มที่คุณจะหาหลักฐานที่จะช่วยยืนยันความเชื่อของคุณนั้นก็อาจจะมีมากขึ้น เนื่องจากคนเราชอบที่จะมองหาประสบการณ์ที่ตรงกับการคาดการณ์ของตัวเอง [5] ดังนั้น ให้คุณวางกรอบสถานการณ์ใหม่อีกครั้งเพื่อพิสูจน์ว่าคุณมองตัวเองในแบบไหน โดยให้คอยจับตาดูตัวเองไว้เมื่อใดก็ตามที่กำลังคิดอะไรด้านลบอยู่ และถามตัวเองว่าคุณมองเห็นหรือได้ยินหลักฐานอะไรที่มาช่วยยืนยันความคิดหรือความเชื่อของคุณได้บ้าง
    • ตัวอย่างเช่น คุณจินตนาการว่าตัวเองออกไปข้างนอกและคิดว่า “เรารู้ว่าทุกคนที่อยู่ที่นี่คิดว่าเราเป็นคนน่าเบื่อ เพราะเราไม่พูดอะไรที่น่าสนใจสำหรับพวกเขาเลย” ให้คุณหยุดคิดความคิดแบบนี้เอาไว้และถามตัวเองว่ามีอะไรที่จะมายืนยันความคิดนั้นได้โดยที่ไม่ต้องตั้งข้อสงสัยใดๆ ได้บ้าง
  4. เมื่อคุณได้เริ่มต้นมองหาหลักฐานที่จะมาสนับสนุนวิธีการที่คุณรู้สึกแล้ว ให้คุณตรวจสอบหลักฐานนั้นเพื่อดูว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากสิ่งอื่นๆ ที่อยู่เหนือการควบคุมของคุณหรือเปล่า อย่าพยายามคิดเหมารวมไปเองว่าที่คนอื่นแสดงอาการแบบนั้นมันเป็นเพราะตัวคุณ เพราะนี่อาจจะทำให้คุณหมดความมั่นใจได้ ดังนั้น ให้คุณตระหนักเอาไว้ว่าการตอบสนองของคนอื่นนั้นเป็นผลผลิตจากตัวพวกเขาเอง ไม่ใช่จากตัวคุณ หากคุณควบคุมความคิดหรือความเชื่อของตัวเองให้เป็นไปในทางของความเข้าอกเข้าใจคนอื่น และใส่ใจว่าอาจจะมีอะไรเกิดขึ้นกับคนอื่นมาบ้าง สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณมากๆ เลยล่ะ
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเห็นใครบางคนทำหน้าไม่ค่อยดี แล้วคุณก็คิดเอาเองว่าพวกเขาไม่สนใจในสิ่งที่คุณกำลังพูดอยู่ หรือไม่คุณก็อาจจะเห็นใครบางคนจบบทสนทนาไปกลางคันและรีบเดินออกไปก่อน ให้คุณถามตัวเองว่าสิ่งนี้มันสามารถหมายถึงสิ่งอื่นๆ ได้หรือเปล่า เพราะคนที่ทำหน้าทำตาอาจจะกำลังรู้สึกไม่ค่อยสบายอยู่ก็ได้ หรือไม่ก็อาจจะรู้สึกว่าที่นั่งที่เขานั่งอยู่มันอึดอัด หรือไม่แน่พวกเขาอาจจะเห็นใครบางคนที่พวกเขาไม่อยากจะเจอหน้า หรือคนที่เดินออกไปก่อนอาจจะรู้ว่าตัวเองไปนัดสายแล้วและเดินออกมาโดยที่ลืมบอกเหตุผลกับคุณ หรือไม่เขาก็อาจจะเครียดอยู่และต้องการอยู่คนเดียวสักพักก็เป็นได้
  5. หากคุณแสดงความเข้าอกเข้าใจต่อคนอื่น คุณก็จะสามารถสร้างสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวให้เป็นไปในเชิงบวกได้เมื่อใดก็ตามที่คุณมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และยิ่งถ้าคุณมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงบวกมากเท่าไร คุณก็จะยิ่งสามารถสร้างความมั่นใจให้ตัวเองได้มากขึ้นเท่านั้น เพราะการมีความสามารถในการเลือกใช้วิธีการเข้าสังคมที่เหมาะสมและแสดงความใส่ใจหรือเข้าใจในตัวคนอื่นนั้น คือส่วนสำคัญของการมีส่วนร่วมกับคนอื่นอย่างมีความหมาย [6]
    • ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนของคุณรีบเดินออกไปก่อน คุณอาจจะส่งข้อความหรือโทรหาเพื่อนคนนั้นทีหลังก็ได้ เพื่อดูว่าเพื่อนคุณเป็นอะไรหรือเปล่า นี่จะทำให้เพื่อนของคุณจะซาบซึ้งในความเอาใจใส่และความเข้าใจของคุณที่มีต่อตัวเขา
  6. ในช่วงเวลาหนึ่ง คนเราก็แค่ยังเข้ากันไม่ได้ก็แค่นั้นเอง แม้ว่าเราจะพยายามอย่างมากที่จะพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสังคมก็ตาม ซึ่งมันเป็นเรื่องธรรมชาติและทุกคนก็ต้องผ่านจุดนี้เหมือนกันทั้งนั้น และเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจทางสังคมให้ตัวเอง จำไว้ว่าคุณไม่สามารถที่จะควบคุมวิธีที่คนอื่นรู้สึกและแสดงออกได้
    • หากคนที่คุณกำลังพยายามจะคุยด้วยไม่ตอบสนองอะไรกับคุณเลย นั่นเป็นเพราะตัวเขา ไม่ใช่เพราะตัวคุณ ดังนั้น ให้คุณปล่อยผ่านและเดินหน้าต่อไป มันจะต้องมีใครสักคนที่เข้ากับคุณได้สักวัน หรืออย่างน้อยที่สุด คุณก็อาจจะเจอคนที่มีทักษะทางสังคมดีพอที่จะสามารถมีส่วนร่วมกับคนอื่นในทางที่เหมาะสม และสนทนากับคุณด้วยความสุภาพได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปรับปรุงทักษะการเข้าสังคมของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้คุณพยายามทำให้คนอื่นรู้สึกสบายใจ รู้สึกมีค่า และรู้สึกว่าตัวเองได้รับการเอาใจใส่ [7] ซึ่งทักษะในการทำสิ่งเหล่านี้เรียกว่า ความสามารถในการเข้าสังคม ที่นอกจากนี้ยังจะทำให้คุณแสดงออกด้วยความมั่นใจที่มากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น ให้คุณเริ่มตระหนักถึงการพูดและการใช้ภาษากายที่คุณส่งไปยังคนอื่นด้วย เพราะสิ่งนี้จะช่วยทำให้คุณตระหนักได้ว่าตัวคุณสามารถที่จะปรับปรุงทักษะการเข้าสังคมของตัวเองได้ยังไงบ้าง
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะตระหนักได้ว่าการหลีกเลี่ยงการสบตา และการทำท่ากอดอกในบางสถานการณ์นั้นทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัด
  2. เสริมสร้างการสื่อสารแบบอวัจนภาษาผ่านทางภาษากาย. ให้คุณปรับใช้ภาษากายที่สื่อให้เห็นถึงความมั่นใจของตัวเอง หรือวางท่าทางที่แสดงให้เห็นถึงพลังในตัว เพราะมีการศึกษาพบว่าการวางท่าทางที่สื่อถึงพลังอำนาจในตัวเองนั้นสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และทำให้สามารถแสดงท่าทีออกมาอย่างสบายๆ ได้ [8] ซึ่งการยืนในท่าที่แสดงถึงพลังอำนาจในตัวเองนั้นอาจจะหมายถึงการทำท่ายืนขากว้างๆ แล้วเอามือทั้งสองไว้ที่สะโพก หรือไม่ก็ประสานมือไว้ที่ข้างหลังศีรษะ ซึ่งนี่เป็นท่าที่ดูเปิดและดูกว้าง และตัวอย่างนอกเหนือจากนี้ในเรื่องของการใช้ภาษากายที่แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจก็มีดังต่อไปนี้
    • นั่งหลังตรงและทำท่าอกผายไหล่ผึ่ง แล้ววางมือทั้งสองข้างไว้บนโต๊ะหรือไม่ก็วางข้างใดข้างหนึ่งพาดไปที่ด้านหลังของเก้าอี้ก็ได้
    • วางท่าทางให้ดูแข็งแรงด้วยการวางขาทั้งสองข้างให้กว้างพอประมาณและทำไหล่และแขนให้เปิดกว้างเข้าไว้
    • จับมือทักทายด้วยความมั่นใจเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และช่วยทำให้คนอื่นจำได้ว่าคุณเป็นใคร [9]
    • ยิ้มเพื่อแสดงให้คนอื่นเห็นว่าคุณมีความสนใจและมีความสุขกับตัวเอง [10]
    • สบตากับอีกฝ่ายเพื่อทำให้พวกเขารู้ว่าคุณกำลังฟังพวกเขาพูดอยู่ เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกอึดอัดกับการสบตากับอีกฝ่ายถึง 60% ของการคุยกันแต่ละครั้ง ส่วนที่เหลืออีก 40 % พวกเขาก็จะปล่อยให้เป็นช่วงที่ไม่ต้องสบตา เพื่อหลีกการการจ้องหน้าอีกฝ่ายนั่นเอง [11]
    • วางท่านิ่งๆ หลีกเลี่ยงการทำให้ดูน่ารำคาญหรือโยกตัวไปมา เพื่อที่คุณจะได้ไม่ดูเหมือนคนที่กำลังตื่นกลัวอยู่
  3. เพื่อที่จะแสดงออกด้วยความมั่นใจ ให้คุณพูดออกมาให้ชัดเจนในระดับที่คนอื่นสามารถได้ยินเสียงของคุณได้ โดยให้คุณปรับระดับเสียงของคุณด้วยการพูดด้วยโทนเสียงที่ต่ำ เพราะมีการศึกษาพบว่าการทำโทนเสียงให้สูงขึ้นในช่วงกลางๆ ก่อนที่จะกลับไปยังโทนเสียงต่ำ สามารถสื่อให้เห็นถึงความมั่นใจ การกล้าแสดงออก และสื่อให้เห็นว่าคุณไม่ได้กำลังเรียกร้องการยอมรับจากใคร [12] ซึ่งการเรียนรู้การปรับใช้ภาษาพูดของตัวเองในวิธีนี้ จะทำให้คุณแสดงออกอย่างไม่อึดอัดและมั่นใจมากขึ้นเมื่ออยู่ในสังคม นอกจากนี้ แนวโน้มที่คนอื่นจะเข้าใจในสิ่งที่คุณสื่อก็จะมีมากขึ้น
    • การพูดพึมพำนั้นทำให้ยากที่จะได้ยิน และอาจจะทำให้คนอื่นคิดว่าคุณไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสนทนาหรือไม่มีความสนใจในสิ่งที่พูดกันอยู่
  4. ดูให้แน่ใจว่าวิธีการพูดของคุณนั้นช้าพอที่จะให้คนอื่นสามารถเข้าใจคุณได้ เพราะในบางครั้งเวลาที่คุณตื่นเต้น คุณอาจจะเร่งความเร็วเวลาคุณพูดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งนี่จะเป็นเรื่องยากสำหรับคนอื่นที่จะสามารถได้ยินคุณและเข้าใจในสิ่งที่คุณสื่อออกมาได้ และเพื่อความแน่ใจว่าวิธีการพูดของคุณมันปกติดีแล้วนั้น ให้คุณพยายามหายใจให้เป็นจังหวะที่มั่นคงในช่วงตลอดระยะเวลาที่คุณกำลังพูดอยู่ [13]
    • หากคุณสังเกตเห็นว่าตัวเองเร่งความเร็วขึ้นหรือเริ่มต้นพูดด้วยความเร็วจนเกินไป ให้คุณหยุดพักหายใจก่อนสักพักแล้วค่อยเริ่มพูดต่อ
  5. ให้คุณโฟกัสไปที่สิ่งที่คนอื่นกำลังพูดอยู่และพยายามจินตนาการตัวเองว่าอยู่ในสถานการณ์ที่คนอื่นกำลังเล่ามา [14] เพราะนี่จะทำให้คุณมีความเข้าอกเข้าใจในตัวคนอื่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณมีการตอบสนองที่เหมาะสมและรอบคอบขึ้นจนทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ การปล่อยให้คนอื่นได้พูดบ้างจะเป็นสิ่งที่ช่วยเตือนคุณว่าคุณไม่จำเป็นต้องแบกภาระของบทสนทนาเอาไว้คนเดียว นอกจากนี้ มันยังเป็นสัญญาณที่ส่งให้คนอื่นเห็นว่าคุณเคารพและแคร์ความคิดเห็นของพวกเขา ซึ่งจะทำให้คุณได้รับผลตอบรับจากสังคมในทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้นด้วย
    • หากคุณกังวลใจ แนวโน้มที่คุณจะสนใจแต่ตัวเองก็จะมีมากขึ้น และอาจจะสนใจว่าตัวเองรู้สึกกังวลขนาดไหน และจะตอบสนองออกมาอย่างไร ซึ่งนี่อาจจะทำให้คนอื่นรู้สึกเหมือนกับว่าคุณไม่ได้แคร์ที่จะฟังในสิ่งที่พวกเขาพูดอยู่สักเท่าไร
    • หลีกเลี่ยงแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการตัดบท ที่คุณอาจจะรู้สึกอยากทำเมื่อคุณรู้สึกตื่นกลัว และแทนที่จะเป็นแบบนั้น ให้คุณหยุดพักและเก็บมันไว้สำหรับเมื่อเวลาที่คนอื่นได้พูดจบแล้ว [15]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ฝึกความมั่นใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การฝึกความมั่นใจเมื่ออยู่ในสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ คือโอกาสที่สำคัญ [16] และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ทักษะทางสังคมของคุณก็จะพัฒนาและเติบโตขึ้น ซึ่งมันจะช่วยทำให้คุณมีความมั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้ การได้อยู่ในสถานการณ์ทางสังคมบ่อยๆ ยังจะช่วยให้คุณรู้สึกอึดอัดน้อยลง ซึ่งนี่จะทำให้ความกังวลที่คุณมีลดลงไปเองเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น ให้คุณพยายามพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกันและท้าท้ายตัวเองด้วยการเริ่มต้นพูดคุยกับคนอื่นดู
    • คุณอาจจะพูดประโยคง่ายๆ ว่า สวัสดี หรือแนะนำตัวเอง หรือไม่ก็ลองพูดถึงเพื่อนที่คุณและอีกฝ่ายมีร่วมกัน หรือสถานที่ทำงานของคุณ หรือไม่ก็สถานที่ที่คุณและอีกฝ่ายกำลังยืนอยู่ ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า “เฮ้ ฉันว่าที่นี่มันเป็นที่ที่ยอดเยี่ยมสำหรับจัดงานปาร์ตี้มากๆ เลย แล้วคุณลองชิมอาหารในงานไปบ้างหรือยังล่ะ?”
  2. ลองขอร้องให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวมาช่วยคุณฝึกทักษะการเข้าสังคมให้คุณ โดยเพื่อนของคุณอาจจะแกล้งทำเป็นว่าตัวเองเป็นใครสักคนที่อยู่ในงานอีเวนท์งานหนึ่ง และคุณก็อาจจะฝึกแนะนำตัวเองไป โดยให้คุณยืนและพูดออกไปด้วยความมั่นใจ และจากนั้นก็จบบทสนทนา นี่เป็นวิธีที่ดีในการฝึกการแนะนำตัวที่ “เอาไปใช้ได้ทุกเมื่อ” และเป็นวิธีที่ดีในการฝึกการจบบทสนทนา [17]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะแนะนำตัวว่า “สวัสดี ฉันชื่อวินัย ที่เป็นเพื่อนของสมเกียรติ” และจากนั้นก็ต้องมีลิสต์หัวข้อที่จะเอามาเริ่มพูดคุยกัน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเพื่อนที่คุณกับอีกฝ่ายมีร่วมกันก็ได้ หรือไม่ก็เรื่องที่ว่าคนเรารู้จักหรือเจอกันได้อย่างไร หรือไม่ก็ถามอีกฝ่ายเกี่ยวกับตัวพวกเขาอย่างเช่น พวกเขามีอะไรเป็นงานอดิเรก หรือพวกเขาทำอาชีพอะไร
    • การจบบทสนทนาสามารถจบแบบง่ายๆ ได้ อย่างเช่น “โอเค มันดีมากเลยที่ได้เจอกับคุณ และฉันก็หวังว่าจะได้พบกับคุณอีกนะ”
  3. ลองขอร้องให้เพื่อนของคุณไปเป็นเพื่อนคุณในงานอีเวนท์ดู เพื่อที่คุณจะได้สามารถเจอเพื่อนของเพื่อนคุณได้ เพราะการได้เจอเพื่อนของเพื่อนนั้นเป็นวิธีที่ดีในการฝึกทักษะการเข้าสังคมโดยที่คุณไม่ต้องเดินเข้าไปหาและแนะนำตัวเองกับคนแปลกหน้าที่คุณไม่คุ้นเคยแต่อย่างใด ซึ่งเพื่อนของคุณก็แค่แนะนำคุณให้เพื่อนอีกคนรู้จักและคุณก็สามารถที่จะร่วมวงสนทนาได้เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองพร้อมแล้ว [18]
    • ตัวอย่างเช่น เพื่อนของคุณอาจจะพูดว่า “ชัย นี่เพื่อนของฉันชื่อว่าไก่ เราสองคนเรียนโรงเรียนเดียวกันมา” แล้วจากนั้นคุณก็อาจจะปล่อยให้การสนทนาระหว่างพวกเขาดำเนินต่อไปหรือไม่ก็เข้าไปพูดคุยกับพวกเขาซะเลย
  4. เมื่อคุณเริ่มรู้สึกมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นแล้ว ให้คุณลองออกไปที่อื่นๆ ที่คุณไม่รู้จักใครเลย พยายามไปสถานที่หรืองานอีเวนท์ที่ไม่จำเป็นต้องพบปะคนจำนวนมากสักเท่าไร พยายามหากลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ หรืองานอีเวนท์ที่น่าสนใจสำหรับคุณ ด้วยวิธีนี้ คุณจะมีโอกาสที่ดีมากขึ้นในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มเล็กๆ [19] ซึ่งการได้เจอกับกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ยังช่วยให้คุณสามารถป้องกันตัวเองจากความรู้สึกมึนงงจากคนเยอะๆ ได้อีกด้วย
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณชอบปีนหน้าผา คุณอาจจะไปยิมปีนหน้าผา และเริ่มพูดคุยกับคนอื่นที่ชอบปีนหน้าผาเหมือนกับคุณ ด้วยวิธีนี้ คุณจะมีความสามารถในการเริ่มต้นบทสนทนาอยู่ในตัวเอง โดยคุณอาจจะพูดคุยกับอีกฝ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ เทคนิคต่างๆ หรือทริปปีนหน้าผาที่คุณเพิ่งจะไปมา ฯลฯ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ภาษากายของคุณนั้นเป็นตัวที่ส่งและรับสารต่างๆ เพียงแค่ด้วยวิธีที่คุณนั่ง ขยับตัว ยิ้ม ซึ่งก็เช่นเดียวกับภาษากายของคนอื่น โดยภาษากายนั้นจะรวมถึงการแสดงออกทางสีหน้า เช่นเดียวกับการวางท่าและความตึงเครียดที่แสดงออกอยู่ภายในร่างกายด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,129 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา