ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความเสมอต้นเสมอปลาย เป็นลักษณะนิสัยที่ดีเยี่ยมสำหรับชีวิตของคุณ กุญแจสู่ความเสมอต้นเสมอปลายก็คือการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและทำมันให้สำเร็จ เริ่มด้วยการกำหนดว่าคุณต้องการมีความเสมอต้นเสมอปลายมากขึ้นในเรื่องอะไรบ้าง แล้วก็มุ่งไปที่เป้าหมายเล็กๆ เหล่านั้น เมื่อคุณใช้เวลาฝึกฝนจนมีความเสมอต้นเสมอปลายมากขึ้นแล้ว ก็รักษาแรงจูงใจและความรับผิดชอบของคุณเอาไว้ให้มั่นคง คุณอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของคุณบ้างเพื่อช่วยให้คุณมองเชิงบวกและขยันขันแข็งตลอดกระบวนการนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

นำความเสมอต้นเสมอปลายมาใช้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและเป็นไปได้จริง. ถ้าคุณไม่ชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง ความเสมอต้นเสมอปลายก็จะเป็นเรื่องยาก เมื่อคุณเริ่มต้นใหม่ ก็ให้ตั้งเป้าหมายที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และมีผลลัพธ์ชัดเจนที่สามารถวัดได้ [1]
    • เริ่มด้วยการจำกัดความว่า ความเสมอต้นเสมอปลายหมายถึงอะไรสำหรับคุณ คุณต้องออกกำลังกายอย่างเสมอต้นเสมอปลายหรือเปล่า? คุณต้องการทำงานให้มีคุณภาพมากขึ้นไหม? คุณต้องการเป็นที่พึ่งและมีเวลาให้กับคนในชีวิตของคุณมากขึ้นหรือเปล่า?
    • เมื่อคุณหาเป้าหมายเจอแล้ว ก็ให้คิดขั้นตอนย่อยต่างๆ ที่จะช่วยทำให้คุณไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะฟิตร่างกาย คุณก็อาจจะตั้งเป้าออกกำลังกายให้ได้ 5 วันต่อสัปดาห์ หรือไปลงคลาสฟิตเนส
    • ชัดเจนเข้าไว้ แทนที่จะพูดว่า “ฉันจะเห็นคุณค่าของคู่รักของฉันอยู่เสมอ” คุณก็อาจจะพูดว่า “ฉันจะขอบคุณคู่รักของฉันเวลาที่เขาล้างจาน ทำอาหารค่ำ หรือช่วยทำสิ่งต่างๆ ในบ้านให้”
  2. คุณอาจจะถูกงานและคำมั่นสัญญาต่างๆ ท่วมท้นเอาได้ง่ายๆ แต่ปฏิทิน สมุดแพลนเนอร์ หรือตารางเวลาจะช่วยให้คุณจัดการกับมันได้ ตารางเวลาจะช่วยวางแผนวันของคุณเพื่อที่คุณจะได้ทำทุกอย่างให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด มันจะยังช่วยให้คุณเข้าใจด้วยว่า ข้อผูกมัดอันไหนที่คุณสามารถมีเวลาให้ได้จริงๆ [2]
    • ใช้สมุดแพลนเนอร์หรือปฏิทินตั้งโต๊ะ หรือคุณจะดาวน์โหลดแอพจัดตารางเวลาบนมือถือของคุณก็ได้ เช่น Google Calendar หรือ Outlook
    • แบ่งเวลาให้เพียงพอสำหรับภารกิจแต่ละอย่าง ถ้าคุณไม่แน่ใจว่างานหนึ่งต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ ก็ให้เวลาตัวเองเพิ่มขึ้นเพื่อทำมันให้เสร็จสมบูรณ์
    • สำหรับเป้าหมายใหญ่ๆ เช่นการเขียนหนังสือสักเล่มหรือการลดน้ำหนัก ก็ให้จัดภารกิจเล็กๆ ที่คุณสามารถทำได้ในแต่ละวันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะกำหนดจำนวนคำที่ต้องเขียนในแต่ละวัน หรือวางแผนมื้ออาหารที่จะรับประทานในแต่ละวัน
    • อย่าลืมจัดเวลาพักให้ตัวเองด้วยนะ! ไม่ต้องจัดกิจกรรมใดๆ ลงไปในวันหรือเวลานั้น
  3. เขียนเตือนความจำเอาไว้ทั่วบ้าน ที่ทำงาน หรือใกล้ๆ สิ่งของของคุณ. บางครั้ง มันก็ง่ายที่เราจะลืมเป้าหมาย นิสัย ความตั้งใจ หรือคำมั่นสัญญาใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันเป็นสิ่งที่เราสัญญากับตัวเราเอง เขียนข้อความเอาไว้ในที่ซึ่งมองเห็นได้ง่ายเพื่อเตือนตัวคุณเองตลอดทั้งวัน [3]
    • เขียนเป้าหมายของคุณเอาไว้บนกระดาษโพสต์-อิท แล้วแปะเอาไว้บนกระจก คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น แผงหน้าปัดรถ และสมุดแพลนเนอร์
    • เขียนเป้าหมายของคุณลงบนแผ่นกระดาษแล้วแนบเอาไว้ในกระเป๋าตังค์หรือลิ้นชักโต๊ะทำงาน
    • ถ้าคุณกำลังพยายามทำกิจวัตรใหม่ๆ ก็ตั้งเตือนความจำเอาไว้บนมือถือของคุณ ใช้นาฬิกาปลุกตั้งเสียงเตือนหรือตั้งแอพให้เรียกเตือนเมื่อถึงเวลาที่คุณต้องทำสิ่งนั้นๆ
  4. ให้คำมั่นสัญญากับสิ่งที่คุณจะทำได้จริงๆ เท่านั้น. ความเสมอต้นเสมอปลายมักเกี่ยวข้องกับการให้คำมั่นและทำมันให้ได้จริง อย่างไรก็ตาม คุณจะรู้สึกท่วมท้นเอาได้ง่ายๆ ถ้าคุณให้คำมั่นสัญญามากเกินไป ถ้าคุณคิดว่าไม่สามารถทำสิ่งที่ถูกขอร้องได้ ก็ให้ปฏิเสธไป [4]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบอกคู่รักของคุณว่า คุณจะรับผิดชอบงานบ้านให้ครึ่งหนึ่ง คุณก็ต้องแน่ใจว่ามีเวลาทำมันจริงๆ หลังเลิกงาน
    • ในบางกรณี คุณก็อาจจะสามารถต่อรองเพื่อให้สามารถรักษาสัญญาได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนขอให้คุณช่วยขนของย้ายบ้าน คุณก็สามารถบอกได้ว่า “ฉันมาก่อนบ่ายสามไม่ได้นะ แต่ฉันแวะเข้ามาช่วยได้หลังจากนั้น โอเคไหมเอ่ย?”
    • การสัญญากับตัวคุณเองก็เช่นกัน ถ้าคุณรู้ตัวว่าไม่สามารถเขียนนวนิยายเล่มใหม่ของคุณได้ถึงวันละ 10 หน้า ก็ให้สัญญากับตัวเองว่า คุณจะเขียนอย่างน้อยวันละหน่อย
  5. ให้รางวัลตัวเองเมื่อคุณทำอะไรสักอย่างเสร็จ. เมื่อคุณทำเป้าหมายได้สำเร็จ ก็ให้รางวัลตัวเอง แม้จะเป็นเป้าหมายเล็กๆ คุณก็สมควรได้รางวัลเล็กๆ เช่นกัน เพื่อช่วยให้คุณมีแรงจูงใจตลอดกระบวนการ [5]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสามารถทำงานเสร็จภายในห้าโมงเย็นได้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ก็ให้เวลาว่างกับตัวเองสักค่ำหนึ่ง ไปดูหนังหย่อนใจหรือไปทานอาหารเย็นมื้อพิเศษ
    • ถ้าคุณกำลังเตรียมวิ่งมาราธอนแล้วคุณสามารถฝึกร่างกายได้ตามที่กำหนดไว้สำหรับแต่ละวัน ก็ลองลงวิ่งแบบ 5 กิโลเมตรดูเพื่อให้คุณได้รู้สึกถึงความสำเร็จของคุณ
    • ถ้าคุณได้ทำความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นด้วยการเป็นคนที่เสมอต้นเสมอปลายมากขึ้น มิตรภาพก็อาจจะเป็นรางวัลในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้าคุณรู้สึกภูมิใจในตัวเอง ก็พาเพื่อนๆ ออกไปเที่ยว หรือจัดมื้ออาหารค่ำก็ยังได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาความเสมอต้นเสมอปลายเอาไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้แต่คนที่เสมอต้นเสมอปลายและเป็นระบบระเบียบมากที่สุดก็ยังมีผิดพลาดได้ วางแผนสำหรับความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้น และอย่าโกรธตัวเองถ้าคุณทำผิดพลาดบ้างระหว่างทาง [6]
    • แค่เพียงเพราะว่าคุณต้องยกเลิกนัด ยกเลิกสัญญาบางอย่าง หรือทำงานไม่ทันตามเวลาที่กำหนด ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นคนที่ไม่เสมอต้นเสมอปลาย บางครั้ง แม้ว่าเราจะได้วางแผนอย่างดีที่สุดแล้ว ปัจจัยภายนอกก็ยังสามารถเข้ามาขวางทางได้
    • วางแผนเผื่อความผิดพลาดล้มเหลว ถ้าสำนักพิมพ์ไม่รับงานเขียนของคุณ ก็มองหาสำนักพิมพ์ต่อไปที่คุณจะส่งผลงาน หรือลองทบทวนงานของคุณดูว่าจะปรับปรุงอะไรได้บ้าง
    • ความเสมอต้นเสมอปลายไม่ได้หมายถึงความสมบูรณ์แบบ ถ้าคุณไม่ได้ไปเข้าฟิตเนสมาหนึ่งวัน หรือไม่ได้อ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อน ก็ให้กำลังใจตัวเองที่จะเริ่มใหม่ทันทีในวันรุ่งขึ้น
  2. ความเสมอต้นเสมอปลายไม่ได้หมายถึงการทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีหยุด ที่จริงแล้ว ถ้าคุณให้ตัวเองพักบ้าง คุณก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและหลีกเลี่ยงความเครียดได้ จัดเวลาให้ตัวเอง และอย่าให้งานหรือภารกิจอื่นๆ เข้ามาขัด [7]
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะให้เวลาตัวเองสักหนึ่งชั่วโมงทุกเย็นสำหรับอ่านหนังสือ แช่ตัวในอ่างอาบน้ำ หรือดูทีวี อย่าทำงานในช่วงเวลานี้
    • การนั่งสมาธิ เป็นวิธีพักสมองที่ดีมาก และทำให้คุณรู้สึกสงบได้ ฝึกนั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 5 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนได้ครั้งละ 15 นาที
    • อย่าให้ความรับผิดชอบอื่นๆ มากินเวลาส่วนตัวของคุณ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการนอนตื่นสายในเช้าวันเสาร์ ก็อย่าไปสัญญาคู่รักของคุณว่าคุณจะตื่นมาตัดหญ้า บอกเขาไปเลยว่าคุณจะทำมันในวันอื่น หรือในเวลาอื่น (และต้องรักษาสัญญานั้นให้ได้นะ!)
  3. หาวิธีสร้างแรงจูงใจให้คุณมุ่งมั่นต่อไปได้แม้ในยามที่ไม่อยาก. เวลาที่คุณเหนื่อยหรือเครียด คุณก็อาจจะไม่ทำตามเป้าหมายสักวันได้ง่ายๆ แต่มันจะทำให้คุณเสียความเสมอต้นเสมอปลายอย่างรวดเร็ว ถ้าคุณรู้สึกแย่หรือขี้เกียจ ก็พยายามหาแรงจูงใจใหม่ๆ [8]
    • ให้รางวัลเล็กๆ กับตัวเองเป็นระยะตลอดทั้งวันเพื่อช่วยให้คุณมุ่งมั่นต่อไปได้เรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังเขียนรายงานชิ้นยาว ก็ให้เวลาตัวเองพักสัก 5 นาทีทุกครั้งที่คุณเขียนไปได้หนึ่งหรือสองหน้า
    • เตือนตัวเองถึงเป้าหมายระยะยาวของคุณ บอกกับตัวเองว่า ถ้าคุณต้องการทำเป้าหมายเหล่านั้นให้สำเร็จ คุณก็ต้องทำภารกิจนี้ให้เสร็จ ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ฉันไม่อยากเขียนรายงานเหล่านั้นเลย” คุณก็อาจจะคิดว่า “เมื่อฉันทำรายงานเหล่านั้นเสร็จ ฉันก็จะมีเวลาไปทำอย่างอื่น”
    • ในวันที่คุณรู้สึกไม่ดี ให้ประนีประนอมกับตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ แต่คุณทำอาหารไม่ไหว ก็ให้เลือกซื้อสลัดแทนอาหารสำเร็จรูป
  4. ถ้าคุณอยากมีความเสมอต้นเสมอปลาย คุณก็ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณทำไม่ถึงมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ในช่วงเวลาเหล่านั้น ให้ทบทวนดูว่า คุณตั้งเป้าหมายเกินจริงไปหรือเปล่า หรือลองถามตัวเองดูว่า คุณจะปรับปรุงอะไรได้บ้าง [9]
    • บนตารางเวลาหรือปฏิทินของคุณ ให้ขีดเส้นตัดภารกิจที่คุณทำเสร็จแล้วออก มันจะช่วยทำให้คุณรู้สึกพอใจ มันจะยังช่วยให้คุณตระหนักด้วยว่า คุณสามารถทำอะไรได้บ้างภายในหนึ่งวัน
    • ขอให้เพื่อน คนในครอบครัว ที่ปรึกษา หรือเพื่อนร่วมงาน ช่วยตรวจสอบความรับผิดชอบของคุณ ให้พวกเขาติดตามความก้าวหน้าของคุณสัปดาห์ละครั้ง ถ้าพวกเขาเห็นว่าคุณทำตัวไม่เสมอต้นเสมอปลาย ก็ให้พวกเขาตักเตือนคุณได้
    • อย่าด่าว่าตัวเองเวลาที่คุณทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ สิ่งสำคัญคือการที่คุณยังคงทำเพื่อเป้าหมายของคุณและพยายามฝึกตัวเองให้เป็นคนที่เสมอต้นเสมอปลายต่อไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เปลี่ยนความคิดของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อใดก็ตามที่คุณพยายามสร้างนิสัยใหม่ๆ ก็ขอให้เข้าใจว่า มันต้องใช้เวลา แทนที่จะหักโหมด้วยการทำกิจวัตรใหม่ๆ ในรวดเดียว ก็ให้เวลาตัวเองค่อยๆ ค้นหาว่าอะไรเหมาะสมกับคุณ ให้ความคาดหวังของคุณตั้งอยู่บนความเป็นจริง [10]
    • โดยปรกติแล้ว การสร้างนิสัยใหม่จะต้องอาศัยการทำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ทุกๆ 3 สัปดาห์ ก็ให้ตั้งเป้าหมายที่คุณจะทำสำเร็จภายในระยะเวลาเท่านั้น อย่าตั้งเป้ามากจนเกินไป เริ่มจากกิจวัตรเล็กๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มไป
  2. จำกัดขอบเขต ข้อผูกมัดและความสัมพันธ์ส่วนตัวของคุณ. การมีขอบเขตจะทำให้คุณทำตามข้อผูกมัดได้ง่ายขึ้นเนื่องจากคุณจะมีความชัดเจนว่า อะไรบ้างที่คุณทำไหว ก่อนที่จะตอบรับงานหรือสัญญาใหม่ๆ ก็ให้กำหนดเอาไว้เลยว่า คุณเต็มใจและสามารถทำอะไรได้บ้าง และอะไรบ้างที่คุณรู้ตัวว่าทำไม่ไหว [11]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะตั้งใจไม่รับโทรศัพท์เวลาทานอาหารกับครอบครัว บอกหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนๆ ของคุณให้ทราบว่าคุณต้องการเวลานั้น วางมือถือของคุณเอาไว้ในห้องอื่นระหว่างทานอาหารค่ำ
    • คุณยังสามารถตั้งมาตรฐานคุณภาพของตัวเองได้อีกด้วย ตัวอย่างคือ คุณอาจจะบอกตัวเองว่าคุณจะตรวจงานของคุณซ้ำสองครั้งก่อนส่งให้หัวหน้า ให้เวลาตัวเองเพิ่มเป็นพิเศษสำหรับการทำงานเพื่อที่คุณจะได้รักษาคุณภาพเอาไว้ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
  3. ความเสมอต้นเสมอปลายต้องอาศัย พลังเจตจำนง เพราะมันมักหมายถึงการลงมือทำสิ่งต่างๆ แม้ในยามที่คุณไม่อยากทำ จะทำเช่นนั้นได้ คุณก็ต้องมีพลังเจตจำนงในการทำสิ่งนั้นๆ [12]
    • หลีกเลี่ยงสิ่งล่อใจทุกครั้งที่เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการทานอาหารสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ก็ให้แน่ใจว่าคุณมีอาหารสุขภาพเอาไว้สำหรับเวลาที่คุณหิว อย่าซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ติดตัว
    • ความเหนื่อยล้าสามารถชวนให้คุณข้ามภารกิจที่ต้องทำไปได้ นอนอย่างน้อยคืนละ 7-9 ชั่วโมงเพื่อให้คุณกระฉับกระเฉง
    • เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกไม่มีแรงจูงใจ ก็ให้เตือนตัวเองถึงประโยชน์ในระยะยาว อ่านเป้าหมายที่คุณเขียนเอาไว้อีกครั้งเพื่อเรียกแรงบันดาลใจ
  4. ความคิดแง่ลบคืออุปสรรคของความเสมอต้นเสมอปลายและพลังเจตจำนง เวลาที่คุณคิดในแง่ลบ มันก็ยากที่คุณจะสามารถรักษาความเสมอต้นเสมอปลายเอาไว้ได้ [13]
    • ระวังความคิดแง่ลบที่จะเข้ามาขัดขวางคุณในอนาคต หยุดตัวเองทันทีที่คุณเริ่มคิดว่า “ฉันทำไม่ได้” หรือ “ฉันมันโง่จริงๆ”
    • เมื่อคุณสังเกตเห็นความคิดแง่ลบที่ชอบเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็ให้เปลี่ยนใหม่ หันไปคิดแง่บวกหรือคิดกลางๆ ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังคิดว่า “ฉันทำไม่ได้” ก็ให้เปลี่ยนมันเป็น “ฉันจะฝึกทำมันไปเรื่อยๆ แม้ว่าฉันจะยังไม่เก่งก็ตาม”
    • ถ้าคุณเริ่มจะกลัวงานหรือเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ก็ให้ทบทวนแก้ไขงานนั้น เป้าหมายนั้น หรือผลที่ออกมา แบ่งมันออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ที่เล็กลงมา หรือสัญญาว่าจะให้รางวัลกับตัวเองเมื่อคุณทำมันเสร็จ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำให้ได้ว่า ความ “เสมอต้นเสมอปลาย” เฉยๆ ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่หรอก คุณต้องชัดเจนว่าอยากจะมีความเสมอต้นเสมอปลายในเรื่องอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น “ฉันอยากเสมอต้นเสมอปลายกับผู้อื่น” หรือ “ฉันอยากเสมอต้นเสมอปลายในนิสัยการกินของฉัน”
  • บางครั้ง เช่นเวลาครอบครัวของคุณมาเยี่ยมหรือเวลาที่คุณป่วย คุณก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนตารางเวลาและข้อผูกมันของคุณบ้าง การทำเช่นนั้นเป็นเรื่องที่โอเคมาก และคุณควรที่จะให้ตัวเองสามารถปรับเปลี่ยนได้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าโทษตัวเองเวลาที่คุณไม่สามารถรักษาความเสมอต้นเสมอปลายได้ตลอดเวลา อย่าลืมว่า ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ แต่การฝึกฝนจะทำให้คุณมีความเสมอต้นเสมอปลายในสิ่งที่คุณทำมากขึ้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,384 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา