ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาชีพช่างภาพนั้นถือว่าเป็นตัวเลือกอาชีพที่ยอดเยี่ยมสำหรับใครก็ตามที่อยากได้เงินจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง มันเป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาที่อายุและปริญญาบัตรไม่ได้สำคัญเท่าการมีสายตาที่เยี่ยมยอด มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และการมีวินัยต่อตนเอง วงการช่างภาพนั้นมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ฉะนั้นจงเตรียมตัวที่จะเริ่มจากเล็กไปก่อน จากนั้นค่อยสร้างงานดีๆ และสะสมเป็นพอร์ตโฟลิโอรวมงานชิ้นคัดสรรแล้วของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เน้นที่การถ่ายภาพของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันไม่มี “วิธีที่ถูกต้อง” หรือ "วิธีที่ผิด" ในการเป็นช่างภาพที่เก่งขึ้น บางคนอาจเข้าคลาสเรียนหรือสอบเข้าคณะศิลปะที่มีวิชาเอกด้านการถ่ายภาพ บางคนก็เชื่อว่ามหาวิทยาลัยเป็นเรื่องเสียเวลาโดยใช่เหตุในการจะเป็นช่างภาพมืออาชีพ คุณอาจพบว่าคุณสามารถสอนตัวเองเรื่องการถ่ายภาพจากหนังสือและการทดลองด้วยตนเองก็ได้ หรือคุณอาจจะอยากเรียนจากช่างภาพมืออาชีพคนอื่นๆ ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกวิธีไหน ถ้าคุณมุ่งมั่นจริงก็ต้องประสบความสำเร็จแน่นอน
  2. ประเภทของอุปกรณ์ที่คุณจำเป็นต้องมีนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของภาพที่คุณทำ [1] แต่คุณอาจจำเป็นต้องมีกล้องสักตัวสองตัวและมีเลนส์หลากหลายประเภทเพื่อการถ่ายในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป คุณยังอาจต้องการซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพแบบมีคุณภาพด้วย [2]
    • คุณอาจต้องใช้อุปกรณ์จัดแสงเพิ่มเติมถ้าอยากเนรมิตสตูดิโอถ่ายภาพขึ้นที่บ้าน อีกนั่นแหละ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณเชี่ยวชาญการถ่ายภาพแบบไหนเป็นพิเศษ
  3. การมีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการถ่ายภาพคุณภาพสูง แต่คุณไม่จำเป็นต้องลงทุนใช้เงินออมทั้งหมดที่มีไปกับการซื้ออุปกรณ์ใหม่ระดับไฮเอนด์ก่อนที่จะได้เริ่มเป็นอาชีพจริงๆ คุณสามารถซื้ออุปกรณ์มือสองในสภาพที่ยังใช้งานได้ดี ซื้อรุ่นเก่าที่มีส่วนลดหลังจากมีรุ่นใหม่กว่าออกมา เช่าอุปกรณ์ หรือกระทั่งขอยืมอุปกรณ์จนกว่าคุณจะมั่นใจว่ามีแววจะประสบความสำเร็จในการงานด้านนี้ [3]
    • เมื่อคุณจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านี้จริงๆ ให้เก็บใบเสร็จไว้เนื่องจากมันใช้ลดภาษีได้ (ในสหรัฐ)
  4. ก่อนจะเริ่มต้นรับงานถ่ายภาพครั้งแรก คุณควรจะรู้จักการตั้งค่าทุกแบบ ข้อความเวลาเกิดความผิดพลาดของกล้อง และลูกเล่นต่างๆ ที่มีในกล้อง คุณควรสามารถหลับตาเปลี่ยนเลนส์ได้ การมามัวจับอุปกรณ์อย่างเงอะงะจะทำให้คุณดูไม่เป็นมืออาชีพและอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้ายได้
    • อ่านคู่มือของกล้องตั้งแต่ต้นจนจบ คู่มือนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและหน้าที่แต่ละอย่างของกล้องในแบบที่แหล่งข้อมูลทั่วไปในเรื่องกล้องไม่สามารถให้ได้ [4]
    • จะเก่งกาจได้ก็ต้องฝึกถ่ายภาพเยอะๆ ทดลองกับแสงเงาแบบต่างๆ ลองเปลี่ยนฉากที่ใช้ถ่ายรูปไปเรื่อยๆ และเรียนรู้การถ่ายรูปกับอุปกรณ์ที่คุณมีอย่างถ้วนทั่ว [5]
  5. ตามติดเรื่องเทคโนโลยีกล้องและเคล็ดลับการถ่ายภาพ. หยิบหนังสือ นิตยสาร และบทความออนไลน์ที่ให้ข้อมูลล่าสุดในเรื่องการเซ็ตกล้อง เคล็ดลับและลูกเล่นต่างๆ นานา ทั้งหมดนี้จะช่วยสอนวิธีการใหม่ๆ ในการใช้กล้องและเลนส์เพื่อสร้างภาพที่ดีเยี่ยม
    • ให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าจะใช้อุปกรณ์กล้องตัวอื่น อย่างรีโมทแฟลชหรือเลนส์ต่างๆ ด้วย การมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้จะช่วยพัฒนาฝีมือการถ่ายภาพของคุณ [6]
  6. แม้แต่ภาพถ่ายที่ดีที่สุดยังอาจต้องการการตัดต่อสักเล็กน้อยบ้าง ใช้ซอฟต์แวร์ตัดต่อภาพที่มีคุณภาพจะยกระดับภาพถ่ายที่ “ดี” ของคุณขึ้นไปเป็น “ยอดเยี่ยม” [7] อย่างไรก็ดี ให้ระวังเรื่องการพยายามใช้เอฟเฟกต์พิเศษหนักมือเกินไป ลูกค้าอาจไม่ได้ชอบภาพถ่ายที่ดูเหมือนถูกตกแต่งหรือตัดต่อมาอย่างหนักข้อก็เป็นได้
  7. ในการที่จะได้รับการว่าจ้างจากใครสักคนที่ไม่ใช่ญาติหรือเพื่อนสนิท คุณจำเป็นต้องมีพอร์ตโฟลิโอรวบรวมผลงานไปนำเสนอ ใช้ภาพถ่ายจากการถ่ายภาพหลายๆ ครั้งกับสิ่งที่ถ่ายที่แตกต่างหลากหลายเพื่อเน้นขีดความสามารถของคุณออกมาให้เห็น ให้แน่ใจว่าพอร์ตโฟลิโอของคุณนั้นมีมากกว่าแค่รูปถ่ายเพียงห้าหรือสิบรูป คนเขาอยากเห็นงานชิ้นยอดเยี่ยมที่คุณได้ถ่ายไป [8]
    • หากคุณจำเป็นต้องเก็บภาพบุคคลมาเป็นแบบหรือต้องมีช็อตโพสท่าถ่ายอยู่ในพอร์ตโฟลิโอ ให้จ้างแบบมือสมัครเล่นจากบริษัทจัดหาแบบในละแวกนั้น อาจเสนอขอแลกภาพถ่ายกับการมาเป็นแบบฟรีๆ ก็ได้
  8. ลองการถ่ายภาพหลายๆ รูปแบบก่อนจะยึดเอาแบบหนึ่งที่คุณชอบที่สุด เช่น คุณอาจโฟกัสไปที่การถ่ายภาพบุคคล ภาพงานแต่งงาน ภาพกีฬา หรือภาพถ่ายทิวทัศน์ หาแนวที่คุณถนัดและใช้มันให้เป็นจุดขายในงานของคุณ [9]
  9. คุณอาจอยากจะถ่ายภาพบุคคลอย่างโคตรสร้างสรรค์ แต่ลูกค้าอาจต้องการจะให้ออกมาดูสวยๆ ก็พอ [10] จำไว้โดยเฉพาะในตอนที่คุณเพิ่งเริ่มต้นอาชีพนี้ใหม่ๆ ว่า คุณต้องใช้เงิน วิธีดีที่สุดก็คือหาทางให้ลูกค้าได้ซื้อรูปภาพ (หรือไฟล์ภาพพร้อมสิทธิในการนำไปอัดรูป) พวกเขาจะอยากซื้อรูปถ้าชอบในสิ่งที่เห็น!
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สร้างธุรกิจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณเป็นช่างภาพมือสมัครเล่นหรือเพิ่งจะเริ่มเข้าวงการ คุณควรหาทางไปฝึกงานหรือเป็นลูกมือช่างภาพมืออาชีพเพื่อทำความเข้าใจว่าธุรกิจถ่ายภาพควรดำเนินการอย่างไร [11] เป็นไปได้ว่าคุณอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีที่ครูช่างภาพทำในธุรกิจไปเสียทุกอย่าง แต่คุณจะได้แนวคิดที่ดีถึง “ภาพรวม” ของการดำเนินธุรกิจถ่ายภาพ
  2. ส่วนใหญ่แล้วการทำธุรกิจถ่ายภาพคือการทำงานกับผู้คน คุณควรพัฒนาความสามารถในการพูดคุยตกลงกับผู้คนถึงภาพในหัวหรือเป้าหมายที่พวกเขาอยากได้ในงานถ่าย สามารถพูดสงบสติอารมณ์ลูกค้าในยามที่โมโหหรือผิดหวังได้ และสามารถโน้มน้าวใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีกได้ [12]
  3. สร้างเป้าหมายในระยะยาวหลายๆ เป้า จากนั้นกำหนดเป้าหมายระยะสั้นที่จะนำคุณเข้าใกล้ความสำเร็จในเป้าหมายระยะยาว เป้าหมายระยะสั้นควรสามารถวัดประเมินได้และมีกรอบเวลาหรือเส้นตายอยู่ เช่น เป้าหมายระยะสั้นจะต้องเป็นการหาลูกค้าใหม่ได้ 5 รายภายในอีกสามเดือนข้างหน้า นี่จะช่วยให้คุณทำเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นของการมีลูกค้าตามที่กำหนดภายในหนึ่งปีได้
    • ให้แน่ใจว่าได้เขียนเป้าหมายทั้งหมดลงไป จากการศึกษาพบว่าคุณจะทำตามเป้าหมายได้มากกว่าถ้าคุณได้เขียนมันลงไปเป็นลายลักษณ์อักษร [13]
  4. ส่วนใหญ่แล้วมันจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ดังนั้นคุณจำต้องจัดระเบียบเวลาและเตรียมพร้อมไว้ เวลาวางตารางงานนั้นให้พิจารณาว่าการถ่ายภาพจะใช้เวลานานขนาดไหนและคุณยังต้องใช้เวลาอีกเท่าไรในการตัดแต่งภาพก่อนส่งมอบให้ลูกค้า พึงตระหนักว่าการถ่ายภาพบางประเภทต้องใช้ตารางงานจำเพาะ เช่น คุณน่าจะต้องมีงานในช่วงวันหยุดและเป็นช่วงค่ำบ่อยๆ ถ้าคุณเป็นช่างภาพงานแต่งงาน [14]
    • จำไว้ว่าการถ่ายภาพหนึ่งงานนั้นรวมเวลาเดินทาง เวลาถ่ายภาพ เวลาตัดแต่งภาพ เวลาที่เข้าประชุม เป็นอาทิ ฉะนั้น มันมีอะไรมากกว่าแค่ “การถ่ายภาพ 1 ชั่วโมง”
  5. สร้างเว็บไซต์ ทำนามบัตร พบปะวงสังคมกับผู้คน และพูดคุยเรื่องธุรกิจการถ่ายภาพของคุณกับทุกคนที่ได้พบ การเข้าโซเชียลเน็ตเวิร์คอยู่ประจำจะช่วยให้คุณสร้างชื่อให้ตนเอง อินสตราแกรมก็เป็นอีกทางที่จะโพสต์ภาพให้ผู้คนมากมายได้เห็น
    • สร้างลายน้ำเพื่อปกป้องภาพของคุณเพื่อที่คุณจะสามารถโฆษณามันออนไลน์ได้ อนุญาตให้ลูกค้าใช้ภาพถ่ายที่ลงลายน้ำเอาไว้แล้วสำหรับการใช้ในเว็บไซต์ของพวกเขา ซึ่งจะเป็นการโฆษณาให้คุณเลย ให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณได้มีกระบวนการเพิ่มยอดเข้าชมที่ดีทำให้ธุรกิจของคุณขึ้นมาอยู่ในลำดับต้นๆ ของการค้นหา
  6. หากโอกาสที่เข้ามาเป็นแนวที่แหวกออกจากงานถนัดของคุณไปบ้าง อย่าตอบปฏิเสธมันไปเพียงเพราะมันไม่ตรงกับงานในอุดมคติของคุณ คุณอาจพบว่าตนเองชอบที่จะได้คิดนอกกรอบเดิมๆ ก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี คุณไม่ควรจะต้องเกิดความรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้รับงานเพราะต้องการโอกาสเพียงอย่างเดียว [15]
  7. คุณควรหาโอกาสเท่าที่มีติดต่อสร้างเครือข่ายกับผู้คน [16] ถ้าคุณทำงานถ่ายภาพเฉพาะด้าน เช่นเป็นช่างภาพงานแต่งงาน จงสร้างเครือข่ายทางสังคมกับทุกคนในเมืองที่มีส่วนข้องเกี่ยวกับการจัดงานแต่งงาน พูดคุยและให้นามบัตรกับนักวางแผนจัดงานแต่ง ช่างทำเค้ก บริษัททำอาหารจัดเลี้ยง ช่างภาพคนอื่นๆ (พวกเขาอาจเห็นขัดแย้งกันและแนะนำคุณแทน) พนักงานประจำร้านตัดชุดแต่งงาน เป็นต้น
    • จงเตรียมตัวผูกสัมพันธ์ (อย่างมืออาชีพ) ในงานด้วยเช่นกัน เช่น ถ้าคุณกำลังถ่ายรูปในงานแต่งงาน ถ่ายรูปอาหารให้บริษัททำอาหารจัดเลี้ยงดู พวกเขาอาจใช้ภาพนี้เป็นโฆษณา และอาจแนะนำว่าคุณเป็นคนถ่ายภาพนั้น [17]
    • ไม่ว่าจะตอนกำลังเดินทาง ยืนเข้าคิวจ่ายเงินในร้าน หรือนั่งร่วมโต๊ะในร้านกาแฟล้วนแต่เป็นช่วงเวลาที่คุณสามารถโฆษณาผลงานตัวเองได้ทั้งนั้น [18]
  8. ขอร้องให้ลูกค้าช่วยบอกต่อและกลับมาใช้บริการอีก. ถ้าลูกค้าพอใจในภาพถ่ายฝีมือคุณ ร้องขอให้เขาช่วยบอกต่อในวงเพื่อนๆ นอกจากนี้ พยายามทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีก ถ้าคุณถ่ายภาพทารกตอน 6 เดือน ให้ติดต่อทางครอบครัวเด็กคนนั้นในอีก 4 หรือ 5 เดือนถัดมาว่าสนใจจะจองคิวถ่ายภาพตอนอายุครบ 1 ปีหรือไม่ ธุรกิจของคุณอาจขยับขยายได้ด้วยการบอกปากต่อปาก [19]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดการธุรกิจของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจไม่สามารถแปรเปลี่ยนจากช่างภาพสมัครเล่นมาทำเป็นอาชีพภายในสัปดาห์เดียว [20] มันต้องใช้เวลาในการสร้างธุรกิจก่อนที่คุณจะเริ่มทำเงินได้มากพอเลี้ยงตัวเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณอาจต้องรักษาแหล่งรายได้เดิมไว้ก่อนจนกว่าจะกลายเป็นช่างภาพอาชีพเต็มตัว
    • เช่นนี้อาจทำให้ชีวิตดูยุ่งยากสาหัสในช่วงแรก แต่คุณอาจค้นพบว่างานถ่ายภาพส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนอกเวลาทำงานก็เป็นได้ เช่น มีคนมากมายที่วางแผนถ่ายรูปครอบครัวในวันหยุดสุดสัปดาห์ เมื่อทุกคนไม่ต้องไปเรียนหรือทำงาน
  2. ก่อนจะเริ่มเป็นช่างภาพอาชีพ คุณจำต้องมีใบอนุญาตทำธุรกิจ ตรวจสอบดูว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการขอใบอนุญาตและเอกสารที่ต้องใช้เพื่อทำในระบบมืออาชีพ [21]
    • ปรึกษาทนายความที่รับให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ธุรกิจรายย่อยเพื่อจะได้ความคิดที่แจ่มชัดขึ้น เช่น ถ้าคุณตั้งใจจะถ่ายภาพอย่างเดียว ให้แน่ใจว่าคุณทำประกันที่คุ้มครองธุรกิจของคุณด้วย มันอาจรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ และประกันสุขภาพสำหรับตัวคุณและลูกน้อง [22]
    • คุณควรพิถีพิถันในเรื่องการเก็บเอกสาร เก็บใบสัญญา ใบเสร็จ อีเมลของลูกค้า และใบวางบิล จัดทำเป็นระบบที่สะดวกกับคุณ (ตามเดือน, ตามชื่อลูกค้า หรือตามสถานที่) และเก็บทั้งใบเอกสารจริงและไฟล์เอกสารของชิ้นที่มีความสำคัญ
  3. เปิดบัญชีธนาคาร สร้างบัญชีแยกประเภท และทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทุกๆ สัปดาห์ให้คุณอัพเดทบัญชีแยกประเภทตามจำนวนเงินเข้าออกตลอดเจ็ดวันที่ผ่านมา [23]
    • ให้แน่ใจว่าคุณมีเงินเก็บเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายได้ตลอดทั้งปี คิดแบบนี้ ถ้าเกิดธุรกิจไปไม่ได้ด้วยดีหรือคุณเกิดมีเหตุด่วนอันใดขึ้นมา อย่างน้อยก็ยังมีเงินพอใช้จ่ายอยู่กินจนกว่าจะได้งานใหม่
    • ให้แน่ใจว่าได้เก็บใบเสร็จสำหรับค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเอาไว้ คนทำบัญชีของคุณจะใช้ใบเสร็จเหล่านี้ในการคำนวณการลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในธุรกิจของคุณ
    • จำไว้ว่ารายได้ของคุณจะถูกนำเข้าภาษีรายได้ส่วนบุคคล (ขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งธุรกิจตามกฎหมายแบบไหน) ลองคิดเรื่องกันเงินจากการถ่ายภาพทุกครั้งเป็นค่าภาษีในปีถัดไปด้วย [24]
  4. ก่อนจะตกปากรับคำไปถ่ายภาพใคร ให้แน่ใจว่ามีเอกสารสัญญาทางธุรกิจที่จะตกลงเซ็นกัน มันต้องรวมทุกอย่างที่ลูกค้าต้องจ่ายเป็นเงินและสิ่งที่คุณมีพันธะต้องทำงานให้ เช่น ระบุให้ชัดเจนว่าคุณเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบถ้ารูปภาพเกิดถูกลบทิ้งโดยความพลั้งเผลอหรืออุบัติเหตุใดๆ หรือหลังจากเซ็นรับงานแล้วมันจะไม่ใช่ปัญหาความรับผิดชอบของคุณอีก [25]
    • หาทนายมาร่างสัญญาให้ถ้าคุณต้องการความมั่นใจที่สุด การเข้าร่วมกลุ่มช่างภาพก็ทำให้คุณได้มีโอกาสใช้แบบฟอร์มสัญญาที่ใช้กันอยู่ในหมู่สมาชิกกลุ่มได้ [26]
  5. พิจารณาจำนวนเวลาที่ต้องใช้ในการถ่ายแต่ละครั้ง ค่าอุปกรณ์ ค่าปรินต์งานหรือแผ่นซีดีใส่งานที่เสร็จแล้ว และค่าประสบการณ์ของคุณ หลีกเลี่ยงการตั้งราคาที่สูงหรือต่ำเกินไป ราคาที่สูงเกินมีแต่จะทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่หนีหน้า ในขณะที่การตั้งราคาต่ำเกินไปจะทำให้คุณดูเหมือนจนตรอกและไม่ชวนดึงดูดในฐานะช่างภาพอาชีพเลย [27]
    • มองดูช่างภาพคนอื่นๆ ว่าเขาตั้งค่าตัวไว้ที่เท่าไหร่ จากนั้นจึงตั้งค่าตัวของคุณเองโดยอ้างอิงจากฝีมือและความสามารถเมื่อเทียบกับคนอื่น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เคล็ดลับของการเป็นช่างภาพที่ประสบความสำเร็จและไม่สูญเสียความรู้สึกคลั่งไคล้ในศิลปะแขนงนี้คือการยังหาโอกาสทำงานตามความชอบของตัวเองอยู่เรื่อยๆ หาเวลามาถ่ายในสิ่งที่คุณเองชอบและความคลั่งไคล้จะเพิ่มทวีขึ้นจากการได้ลองใช้เทคนิคใหม่ๆ ทางดิจิตอลทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน ความมั่นใจในการเป็นช่างภาพอาชีพของคุณก็จะพลอยเพิ่มตามไปด้วย นี่คือสัจธรรมของการทำงานอดิเรกใดๆ ก็ตามให้มาเป็นธุรกิจ
  • ลงทุนในโปรแกรมตัดแต่งภาพดีๆ ในคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่า “การตัดแต่ง” เกือบทั้งหมดสมควรทำเสร็จในระบบแมนนวลบนกล้องก่อนถ่ายแล้วก็ตาม การสามารถตกแต่งหรือปรับขั้นตอนสุดท้ายให้ภาพถ่ายของคุณนั้นยังเป็นสิ่งที่มีค่ามาก
  • พึงเตือนตัวเองว่าการที่คุณได้รับว่าจ้างให้ถ่ายภาพลูกค้านั้น ก็ย่อมต้องทำให้ลูกค้าพึงพอใจในภาพมากกว่าจะมุ่งตอบสนองอารมณ์ศิลปะของตนเอง ดังคำกล่าวที่ว่า “ลูกค้าย่อมเป็นฝ่ายถูกเสมอ”
  • อย่ากลัวที่จะใช้กล้องถ่ายรูปหรือกล้องปัญญาอ่อนถ่ายภาพในยามว่าง การถ่ายรูปให้ได้ทุกวันเป็นอุดมคติเลย แต่ก็ยากทำได้ด้วยกล้องตัวใหญ่เทอะทะของมืออาชีพและตารางเวลาที่แน่นเอี๊ยด
  • จงเริ่มธุรกิจช้าๆ และอย่าคาดหวังว่ามันจะต้องโตพรวดพราด
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามลบภาพใดๆ ทิ้งจนกว่าคุณจะได้ลองแก้ไขมันด้วยโปรแกรมอย่างโฟโตช็อปแล้ว คุณไม่มีทางรู้หรอกว่ารูปนั้นจะออกมาดีแค่ไหนเว้นแต่ว่าได้แก้ไขจุดบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้น ฉะนั้นอย่าด่วนใจลบมันทิ้ง ลองมองในมุมที่แตกต่างก่อนจะตัดสินใจลากมันลงถัง


โฆษณา
  1. http://improvephotography.com/1521/20-tips-for-starting-a-portrait-photography-business/
  2. http://www.digitalcameraworld.com/2015/02/02/become-professional-photographer/
  3. http://photographyconcentrate.com/26-things-i-wish-id-known-before-starting-my-photography-business-part-1/
  4. http://www.forbes.com/sites/85broads/2014/04/08/why-you-should-be-writing-down-your-goals/
  5. http://improvephotography.com/1521/20-tips-for-starting-a-portrait-photography-business/
  6. http://improvephotography.com/1521/20-tips-for-starting-a-portrait-photography-business/
  7. http://petapixel.com/2013/06/25/how-i-transitioned-from-being-a-hobbyist-to-being-a-pro-photographer/
  8. http://improvephotography.com/1521/20-tips-for-starting-a-portrait-photography-business/
  9. http://digital-photography-school.com/how-to-know-you-are-ready-to-become-a-professional-photographer
  10. http://photographyconcentrate.com/26-things-i-wish-id-known-before-starting-my-photography-business-part-1/
  11. https://jaygoodrich.com/become-a-professional-photographer/
  12. http://digital-photography-school.com/how-to-legally-become-a-professional-photographer/
  13. http://digital-photography-school.com/how-to-legally-become-a-professional-photographer/
  14. http://digital-photography-school.com/how-to-know-you-are-ready-to-become-a-professional-photographer
  15. http://blog.photoshelter.com/2010/03/the-7-common-tax-mistakes-made-by-photographers/
  16. http://improvephotography.com/1521/20-tips-for-starting-a-portrait-photography-business/
  17. http://improvephotography.com/1521/20-tips-for-starting-a-portrait-photography-business/
  18. http://digital-photography-school.com/how-to-set-the-price-for-your-photography/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,380 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา