PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะอยากเป็นบิล ไนย์คนต่อไป (พร้อมกับสัญญาจ้างถาวร!) หรือคุณแค่อยากเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดโดยไม่ต้องเข้าเรียนในระบบ การเป็นนักวิชาการนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด! ขอแค่คุณตั้งใจทำงานและมีความมุ่งมั่น คุณเองก็สามารถผนวกการเรียนรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้ อ่านบทความด้านล่างเพื่อดูว่าคุณจะทำได้อย่างไร!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

สร้างวิธีคิดแบบนักวิชาการ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1]
    • นักวิชาการที่แท้จริงจะตั้งคำถามกับทุกสิ่งที่ได้ยินหรือได้อ่าน พวกเขาจะไม่เชื่อถือข้อมูลโดยไม่ไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน และพยายามพิสูจน์จนแน่ใจว่าได้ว่า ข้อมูลที่เขานำมาใช้นั้นเป็นความจริง
    • ถ้ามีบางสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่ถูกต้อง มันก็อาจจะเป็นแบบนั้นจริงๆ นั่นแหละ! แม้แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะถูกก็ยังผิดได้ เพราะฉะนั้นตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าสิ่งที่คุณนำมาใช้คือข้อเท็จจริง
    • นักวิชาการคือคนที่ขี้สงสัยมาตั้งแต่เกิด พวกเขาอยากรู้ไปซะทุกเรื่อง!
    • คุณเองก็ควรเป็นคนขี้สงสัยอยู่แล้วเหมือนกัน และพยายามหาคำตอบอยู่เสมอว่า สิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไรและทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
    • นักวิชาการชอบเรียนรู้เกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง
    • พวกเขาชอบกระบวนการเรียนรู้โดยตัวมันเอง ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาจะได้ฉลาดกว่าคนอื่นหรือรู้ข้อเท็จจริงมากกว่า
    • พวกเขาไม่ได้เรียนรู้เพื่อให้คนอื่นประทับใจ แต่มันทำให้พวกเขามีความสุขจริงๆ ต่างหาก!
  2. [2]
    • คำนึงถึงข้อโต้แย้งในทุกๆ ด้านและรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดก่อนสรุปเป็นความคิดเห็น
    • สร้างความคิดเห็นที่เป็นของตัวเอง ไม่ใช่เอาของคนอื่นมา ข้อนี้เป็นทักษะสำคัญของคนเป็นนักวิชาการ
    • นักวิชาการต้องยินดีที่จะเปลี่ยนใจเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ที่ท้าทายมุมมองเดิมของตัวเอง ข้อนี้เป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดของคนเป็นนักวิชาการเลยก็ว่าได้
    • เปิดใจและเต็มใจที่จะผิดพลาดเพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้อง
    • อย่าให้ความรู้สึกส่วนตัวมากำหนดการกระทำหรือข้อมูลที่คุณให้กับผู้อื่น
    • แค่เพราะว่าคุณไม่เห็นด้วยกับเรื่องอะไรก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนั้นไม่เป็นความจริง
    • เปิดโอกาสให้กับทุกข้อมูล และอย่าให้อคติของคุณเจือปนข้อสรุป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

เรียนรู้นอกระบบ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. [3]
    • วิธีที่จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาในระบบก็คือ การอ่านหนังสือเยอะๆ อ่านหนังสือให้ได้มากที่สุดในทุกโอกาส การอ่านโดยตัวมันเองแล้วนั้นสามารถทำให้คุณเป็นนักวิชาการได้ (เพราะนักวิชาการจริงๆ แล้วก็เป็นแค่คนที่เรียนรู้ตลอดเวลานั่นเอง)
    • คุณอาจจะไปซื้อหนังสือมาอ่าน แต่อย่าลืมว่าคุณสามารถไปที่ห้องสมุดใกล้บ้านและยืมหนังสือมากมายมาอ่านได้ฟรี! อินเทอร์เน็ตทำให้ระบบห้องสมุดใช้งานง่ายขึ้น คุณสามารถหาหนังสือ สั่งหนังสือ และต่ออายุยืมหนังสือได้จากที่บ้าน
    • นอกจากนี้ยังมีหนังสืออีกมากมายที่เป็นสาธารณสมบัติที่คุณสามารถดาวน์โหลดสำเนาดิจิทัลมาเก็บไว้ได้ฟรี ถ้าคุณอ่านภาษาอังกฤษ ให้เข้าไปที่ Project Gutenberg ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือที่เป็นสาธารณสมบัติที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และโปรแกรม Kindle ของ Amazon ก็มีหนังสือให้ดาวน์โหลดฟรีหลายเล่ม
    • รู้หรือไม่ว่าคุณสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่ต้องเอาใบปริญญา ถ้าคุณอยากเรียนทักษะบางอย่างหรือวิชาใดวิชาหนึ่ง คุณก็สามารถเข้าเรียนเฉพาะวิชานั้นได้โดยไม่ต้องเสียเงินก้อนเพื่อเอาใบปริญญา แถมบางวิชายังอาจเปิดให้เรียนฟรีด้วย
    • ปรึกษาวิทยาลัยชุมชนในพื้นที่เกี่ยวกับการเข้าเรียนแบบร่วมฟังบรรยายเท่านั้น (หมายความว่าคุณเข้าเรียนแต่ไม่ทำการบ้านหรือสอบ และไม่ได้หน่วยกิตหรือเกรด)
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถพูดคุยกับอาจารย์ได้โดยตรงและสามารถตกลงกันเองได้ด้วย
  2. [4]
    • มีโรงเรียนออนไลน์มากมายผุดขึ้นตามเว็บไซต์ต่างๆ คุณสามารถเข้าเรียนในวิชาที่เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำ แถมบางแห่งยังมีประกาศนียบัตรให้เมื่อคุณเรียนจบคอร์สด้วย
    • คุณสามารถเรียนรู้ทักษะและหัวข้อต่างๆ ได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • คอร์สออนไลน์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ CHULA MOOC, YourNextU, ThaiMooc และ SkillLanne
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถเรียนภาษาต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ฟรีอีกด้วย เว็บไซต์เรียนภาษาดีๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษออนไลน์.com, Engnow และ 50languages
  3. [5]
    • คุณสามารถเรียนรู้ทักษะและข้อมูลใหม่ๆ ด้วยตนเองได้เช่นกัน มนุษย์เรียนรู้จากการลงมือทำ เพราะฉะนั้นออกไปลงมือทำซะ!
    • คุณสามารถศึกษาด้วยตนเองผ่านทางหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ หรือคุณจะเรียนรู้จากการลงมือทำจริงๆ เลยก็ได้ อย่าเจ็บตัวแค่นั้นพอ!
    • ข้อนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นเป็นอย่างมาก แต่คุณทำได้แน่นอน! อย่าเพิ่งท้อ!
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถเรียนรู้ทักษะและวิชาต่างๆ มากมายจากการพูดคุยและเรียนรู้จากคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย สิ่งนี้เรียกว่าการเป็นลูกมือ
    • หาคนที่ทำในสิ่งที่คุณอยากเรียนรู้ที่จะทำ และเสนอจ่ายค่าเรียนหรือเสนอตัวเป็นลูกมือคอยช่วยเหลือให้ฟรีหากเขาสอนวิธีทำให้
    • วิธีนี้เหมาะกับทักษะมากกว่าวิชาการ แต่คุณก็ยังสามารถหาคนที่เห็นใจคุณมากพอที่จะแนะนำหนังสือดีๆ หรือวิธีการเรียนรู้ในแบบอื่นๆ ให้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

เข้าโรงเรียนดีๆ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
    • คุณต้องทำเกรดให้ดีในช่วงมัธยมปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสองปีสุดท้าย เพราะวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ จะดูเกรดเหล่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะรับคุณเข้าเรียนหรือไม่
    • ทำเกรดให้ดีด้วยการอ่านหนังสือทบทวน ตั้งใจเรียนในห้อง และทำงานทุกชิ้น
    • ขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากครูและพูดคุยกับครูบ่อยๆ ถ้าคุณอยากเพิ่มเกรด
    • การทำงานแค่พอผ่านไม่ได้สร้างความประทับใจ เพราะฉะนั้นจงใส่ใจงานที่ทำและพยายามอย่างเต็มที่
    • เรียนเพิ่มเติม เข้าร่วมฟังบรรยายที่วิทยาลัยชุมชนใกล้บ้านขณะที่ยังเรียนชั้นมัธยมปลาย หรือทำงาน (ไม่ว่าจะเพื่อเงินหรืองานอาสาสมัคร) นอกโรงเรียน
    • การทำงานเพิ่มเติมในด้านที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่คุณอยากเรียนในระดับมหาวิทยาลัยนั้นจะเป็นประโยชน์กับตัวคุณอย่างยิ่ง เพราะมันช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่คุณสมัคร
    • ทักษะภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษนอกจากจะเป็นประโยชน์กับชีวิตแล้ว ส่วนใหญ่ยังเป็นข้อกำหนดสำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาด้วย! เรียนภาษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยรู้ว่าคุณเตรียมความพร้อมมาแล้ว
    • คุณสามารถเรียนภาษาอังกฤษแบบเป็นคอร์สส่วนตัว ที่โรงเรียน ที่วิทยาลัยชุมชน หรือทางออนไลน์ได้ฟรี! เว็บไซต์สอนภาษาอังกฤษออนไลน์ที่น่าสนใจได้แก่ 50languages และ CHULA MOOC
    • เลือกภาษาที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ภาษาอังกฤษ เพราะภาษาที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์นั้นจะไม่เข้าตาทางมหาวิทยาลัยมากนัก และบางภาษาเองก็มีประโยชน์มากกว่าภาษาอื่นๆ ในบางภูมิภาคหรือบางสาขาวิชา
    • ทักษะภาษาต่างประเทศนอกเหนือจากภาษาอังกฤษสัก 1-2 ภาษาก็อาจมีประโยชน์ในการอ่านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน ภาษาที่เรียนแล้วได้ประโยชน์มากที่สุดได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาเลียน ละติน และรัสเซีย
    • คุณอาจจะต้องเรียนภาษาอาหรับ เปอร์เซีย และภาษาตุรกี เพราะในอดีตมีนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการหลายคนที่อยู่ในคาบสมุทรอาหรับ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรออตโตมัน และเปอร์เซีย (ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน)
    • คุณจำเป็นต้องเรียนจิตวิทยาเพราะว่าคุณอาจจะต้องเจอกับคนเรื่องมากการเรียนจิตวิทยาจะทำให้คุณเข้าใจธรรมชาติของผู้คน
    • การเรียนปรัชญาเป็นการขยายความสามารถทางการคิด คุณจะสามารถคิดได้กว้างไกลกว่าแต่ก่อนมาก
    • การทำคะแนน GAT PAT และ 9 วิชาสามัญ (หรือเทียบเท่า) ได้ดีนั้นมีผลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อเป็นอย่างมาก ทำคะแนนให้ได้สูงๆ เพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดีๆ
    • ทำคะแนนให้ได้สูงๆ ด้วยการอ่านหนังสือล่วงหน้า (ก่อนวันสอบเนิ่นๆ) และฝึกทำข้อสอบเก่า
    • ถ้าเป็นการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อเข้าเรียนในโปรแกรมอินเตอร์ คุณสามารถสอบได้มากกว่า 1 ครั้งถ้าต้องการ
    • อย่าไปคิดว่าถ้าได้คะแนนไม่ดีหรือกลางๆ จะทำให้คุณไม่ได้เข้าเรียนในสาขาที่คุณอยากเรียน เพราะคุณสามารถซิ่วไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่ดีกว่าได้เสมอ
    • ถ้าคุณไม่อยากไปลุ้นทำข้อสอบรอบเดียวกับคนอื่น คุณสามารถยื่นแฟ้มสะสมผลงานเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้
    • ศึกษารายละเอียดว่าคณะและมหาวิทยาลัยที่คุณอยากเข้านั้นต้องใช้ความสามารถด้านอะไรบ้าง และเตรียมแฟ้มสะสมผลงานให้สอดคล้องกับสิ่งที่คณะและมหาวิทยาลัยต้องการ
    • ถ้าคุณอยากเข้าเรียนในคณะและมหาวิทยาลัยนี้จริงๆ คุณต้องทำตัวให้โดดเด่นจากผู้สมัครคนอื่นๆ และนำเสนอแฟ้มสะสมผลงานในแบบที่ไม่เหมือนใครจริงๆ ซึ่งวิธีการสร้างความโดดเด่นก็อาจจะเป็นการทำในสิ่งที่หลุดกรอบไปเลยหรือทำผลงานวิชาการให้เก่ง ซึ่งข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
    • การรู้ตั้งแต่แรกว่าคุณอยากเรียนสาขาไหนในคณะจะช่วยคุณได้มาก เพราะการรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรจะทำให้คุณลงเรียนเฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขานั้น ไม่ลงเรียนสะเปะสะปะจนไม่รู้ว่าจะไปทางไหน
    • แน่นอนว่าคุณสามารถเปลี่ยนใจระหว่างทางได้ เพียงแต่ว่าการรู้ตั้งแต่แรกนั้นจะสามารถช่วยคุณได้มาก
    • ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้เวลาช่วงมัธยมปลายตัดสินใจว่าคุณอยากเรียนอะไรและทำอะไรกับชีวิต การเก็บประสบการณ์ในสาขานั้นๆ ด้วยการทำงานอาสาสมัครช่วยให้คุณค้นหาคำตอบได้จริงๆ
    • ทบทวนบทเรียนให้ได้มากที่สุดและทำเกรดให้ได้สูงๆ เพื่อเก็บเกี่ยวช่วงเวลาในมหาวิทยาลัยให้ได้มากที่สุด
    • การจดโน้ตและตั้งใจเรียนในห้องมีส่วนช่วยให้คุณเรียนรู้ได้เป็นอย่างมาก ฝึกทักษะเหล่านี้ให้คล่องถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จจริงๆ
    • คุณจะทบทวนบทเรียนคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ ก็ได้ แล้วแต่ว่าวิธีไหนเหมาะกับคุณที่สุด แต่การทบทวนบทเรียนร่วมกับคนอื่นจะทำให้คุณได้ประโยชน์จากโน้ตที่พวกเขาจดไว้ด้วย
    • ขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น คุณสามารถถามเพื่อนที่เรียนห้องเดียวกัน เข้าร่วมกลุ่มติว หรือขอความช่วยเหลือจากอาจารย์หรือผู้ช่วยสอนได้
    • การเข้าเรียนเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาจะต้องลงเรียนในวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดสำหรับวุฒิการศึกษานั้นๆ คุณต้องลงเรียนวิชาต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อให้คุณสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
    • ถ้าเป็นไปได้ให้ลงเรียนช่วงซัมเมอร์เพื่อย่นระยะเวลาในการเรียนให้สั้นลง
    • พยายามลงเรียนเฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพในอนาคตหรือวุฒิการศึกษาที่เลือกเท่านั้น เพราะมันช่วยเตรียมความพร้อมแถมยังดูดีกว่าเวลาสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัยด้วย
    • รายงานมักมีผลต่อเกรดเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นการเขียนรายงานได้อย่างยอดเยี่ยมจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณได้เกรดสูงๆ อย่างแน่นอน แถมเวลาที่คุณสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย หลายสถาบันยังขอดูตัวอย่างรายงานด้วย เพราะฉะนั้นการมีรายงานระดับยอดเยี่ยมติดไว้จึงมีผลต่อการเข้าศึกษาต่ออย่างมาก
    • อ่านรายงานอื่นๆ ที่เขียนได้ดีเพื่อให้รู้ว่า วิธีลำดับโครงสร้างรายงานที่ดีที่สุดเป็นแบบไหน และต้องนำเสนอหลักฐานอย่างไร
    • พยายามเขียนรายงานในหัวข้อที่แปลกใหม่ เพราะงานวิจัยที่แปลกใหม่และสำคัญเป็นสิ่งที่ทำให้คนอื่นมองว่าคุณคือนักวิชาการ
    • เผื่อเวลาไว้เยอะๆ คุณจะได้เขียนฉบับร่างแล้วเอาไปให้อาจารย์ดูได้ก่อนถึงวันกำหนดส่งงาน และได้รับข้อเสนอแนะก่อนส่ง
    • เขียนฉบับร่างมากกว่า 1 ฉบับและอย่าลืมแก้ไขปรับปรุงให้ดีก่อนส่ง!
    • การสนิทสนมกับอาจารย์ไม่ได้เป็นเรื่องของการได้เกรดดีขึ้นเพราะอาจารย์ชอบคุณมากกว่าคนอื่น แต่บ่อยครั้งที่อาจารย์เป็นเหมือนบัตรผ่านให้คุณได้เข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยที่ดี และพวกเขาก็อาจจะกลายเป็นเพื่อนร่วมงานของคุณในอนาคตด้วยก็ได้
    • ทำความรู้จักกับอาจารย์ด้วยการอาศัยช่วงเวลาที่อาจารย์อนุญาตให้เข้าไปปรึกษาได้ แต่อย่าทำให้อาจารย์เสียเวลาเปล่า คุณต้องเข้าไปพร้อมกับคำถามจริงๆ และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พูด
    • นอกจากนี้คุณยังทำความรู้จักกับอาจารย์มากขึ้นได้ด้วยการตั้งใจเรียนในห้อง นั่งหน้า ตอบและถามคำถาม และโดยทั่วไปก็คือมีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากพอ
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถเข้าไปพูดคุยและขอคำแนะนำได้ อาจารย์อยากเห็นคุณประสบความสำเร็จและยินดีเป็นอย่างมากที่จะให้คำแนะนำจากมืออาชีพในเรื่องของการทำงานและการก้าวหน้าในสาขานั้นๆ
    • สำหรับนักวิชาการในบางตำแหน่ง แค่ปริญญาโทก็เพียงพอสำหรับการทำงานในด้านที่อยากทำแล้ว แต่บางคนก็จำเป็นต้องศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก
    • หมายความว่าถ้าคุณอยากใช้ชีวิตที่เหลือในฐานะนักวิชาการจริงๆ คุณจะต้องเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย แต่จำไว้ว่าหลังจากจบชั้นมัธยมปลายแล้ว คุณอาจจะต้องใช้เวลาเรียนหนังสือต่ออีกไม่ต่ำกว่า 8 ปี!
    • หลังจากจบปริญญาตรีแล้วคุณอาจจะต้องใช้เวลาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทอีกประมาณ 2 ปี และระดับปริญญาเอกอีก 4-6 ปี ซึ่งอาจรวมระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแล้วด้วย
    • แต่อย่าเพิ่งกลัวไปก่อน เพราะบัณฑิตวิทยาลัยนั้นไม่เหมือนกับการเรียนตามปกติในโรงเรียน และบางอย่างก็ง่ายกว่าด้วย ถ้าคุณเข้าไปเรียนได้ คุณก็อาจจะรับมือกับมันได้
  1. ถ้าคุณอยากได้ตำแหน่งประจำคณะในมหาวิทยาลัยที่เน้นผลงานวิจัยหรือเปิดสอนในระดับปริญญาเอก โดยทั่วไปหลังเรียนจบในระดับปริญญาเอกแล้ว คุณจะต้องเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกอย่างน้อย 1 โครงการ ในช่วงเวลาราว 2-4 ปีนี้คุณจะต้องเผยแพร่งานวิจัยในวารสารแนวหน้าของสาขาวิชาให้ได้มากที่สุด
    • ตลอดระยะเวลาที่คุณยังอยู่ในระบบการศึกษา คุณสามารถเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการต่างๆ ที่ทำให้ใจคุณเต้นรัวและได้ทำอะไรสนุกๆ ได้ด้วย
    • คุณอาจจะอ่านหนังสือเพื่อความเพลิดเพลินและสำรวจหัวข้องานวิจัยที่คุณสนใจ
    • ถ้าคุณเป็นคนชอบพบปะผู้คน คุณอาจจะทำกิจกรรมกลุ่ม เช่น เข้าร่วมทีมโต้วาที
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ทำงานหลังจบการศึกษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
    • หลังจากที่คุณเรียนจบแล้ว คุณจะต้องหางานในตำแหน่งผู้สอนหรือนักวิจัย การสอนในมหาวิทยาลัยเป็นงานที่นักวิชาการอาชีพส่วนใหญ่เลือกทำ
    • มหาวิทยาลัยควรมีแหล่งให้ความช่วยเหลือที่ช่วยให้คุณหางานได้หลังจากเรียนจบ
    • พยายามหางานตำแหน่งที่สวัสดิการและรายได้ดี เพราะหนี้ที่คุณกู้มาเรียนน่าจะก้อนใหญ่
    • พยายามหาตำแหน่งงานในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เพราะสถาบันการศึกษาลักษณะนี้จะมีแหล่งทรัพยากรมากมายที่คุณไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
    • วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่อนุญาตให้อาจารย์ทำงานประจำและได้รับสัญญาจ้างถาวร ซึ่งสัญญาจ้างถาวรในสาขาวิชาการนั้นก็จะมีสวัสดิการต่างๆ ได้แก่ การคุ้มครองจากการถูกไล่ออกที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายหรือไม่สมเหตุสมผล
    • โดยทั่วไปอาจารย์มหาวิทยาลัยจะบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแบบสัญญาจ้างระยะเวลา 1-5 ปี ในการจะได้สัญญาจ้างถาวรนั้นมักจะต้องได้ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ภายใน 5 ปี และหลังจากนั้น 7 ปีต้องได้ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ จึงจะได้สัญญาจ้างถาวร
    • ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มักได้รับเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยในการริเริ่มโครงการ ซึ่งอาจารย์ทั่วไปมักมองว่าเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยลงทุนกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ และพวกเขาควรทุ่มเทให้กับงานวิจัยอย่างหนักเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน ด้วยการเขียนโครงการเพื่อให้ได้ทุนวิจัยต่อเนื่องสัก 2-3 โครงการ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสที่จะได้สัญญาจ้างถาวร
    • ในฐานะอาจารย์ คุณจะต้องสอนวิชาต่างๆ ในสาขาของคุณด้วย บางวิชาก็อาจจะเกี่ยวข้องกับสาขาที่คุณศึกษาโดยตรง แต่บางวิชาก็อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่คุณเพิ่งเริ่มต้น
    • หมายความคุณจะต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ บางครั้งก็จะเป็นคนกลุ่มใหญ่มากถ้าคุณสอนวิชาที่นักศึกษาปี 1 มาเรียน
    • แต่อย่าเพิ่งกลัวลนลาน เพราะคุณจะได้ฝึกการสอนในห้องเรียนระหว่างเรียนในระดับบัณฑิตวิทยาลัยอยู่แล้ว และภาควิชาของคุณก็ควรจะช่วยเหลือคุณเต็มที่ นอกจากนี้นักศึกษาเองก็อาจจะกังวลกว่าคุณก็ได้ เพราะพวกเขาก็อยากได้เกรดดีๆ จากคุณ!
    • นักวิชาการที่แท้จริงจะเรียนรู้ตลอดชีวิต การที่คุณเรียนจบไม่ได้หมายความว่าคุณต้องหยุดเรียนรู้ด้วย
    • อ่านหนังสือต่อไปเมื่อมีเวลาว่าง ซึ่งก็คือการอ่านวารสารวิชาการ เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้คุณได้ติดตามความก้าวหน้าล่าสุดในสาขาวิชาของคุณ
    • เดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอื่นๆ ในหลายสาขาวิชาการเดินทางไปต่างประเทศนั้นเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะคุณจะได้เห็นว่าเพื่อนร่วมสาขาในประเทศอื่นๆ กำลังทำงานเรื่องอะไร หรือได้เข้าถึงข้อมูลที่อาจจะไม่มีในประเทศของคุณ
    • เรียนต่อระดับปริญญาในสาขาอื่นๆ บางครั้งนักวิชาการก็จะกลับไปเรียนต่อในระดับปริญญา บ่อยครั้งคือเพื่อความก้าวหน้าในสาขาอาชีพ หรือไม่ก็เป็นเพราะขอบเขตงานวิจัยของเขาทับซ้อนกับสาขาอื่น
    • งานสัมมนาเป็นการรวมตัวครั้งพิเศษของนักวิชาการทั้งหลายในสาขานั้นๆ พวกเขามารวมตัวกันเพื่อนำเสนองานวิจัยและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
    • คุณอาจจะนำเสนอสิ่งที่คุณกำลังศึกษาค้นคว้า แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณจะได้ฟังการนำเสนอผลงานจากคนอื่นๆ และพูดคุยกับเพื่อนร่วมวงการมากกว่า
    • งานสัมมนาอาจจัดขึ้นในท้องถิ่นหรือภูมิภาค แต่บางครั้งคุณอาจจะต้องบินไปเข้าร่วมงานสัมมนาที่ต่างประเทศ
    • เชื่อเถอะว่างานสัมมนาส่วนใหญ่สนุกกว่าที่คุณคิด เพราะในความเป็นจริงนักวิชาการส่วนใหญ่จะรวมหัวกันเมามากกว่า
  1. ตามข่าวงานวิจัยล่าสุดในสาขาวิชาอยู่เสมอและเข้าร่วมงานสัมมนาทางธุรกิจด้วย. คุณควรอ่านเอกสารต่างๆ ในสาขาวิชาทุกวัน ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเกินไปหากคุณมีใจรักในสิ่งนั้นจริงๆ (แต่ถ้าไม่ คุณควรคิดใหม่ว่าจะไปเป็นอาจารย์ในสาขาวิชานั้นดีไหม)
    • ถ้าคุณอยากเป็นอาจารย์ที่ดี คุณต้องขยายขอบเขตความรู้ที่คุณเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตัวเองอยู่เสมอ สิ่งต่างๆ อาจเปลี่ยนไปจากสิ่งที่อยู่ในตำรา และคุณต้องสามารถแบ่งปันข้อมูลเหล่านั้นกับนักศึกษาได้ คุณไม่ควรตามหลังนักศึกษาและเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ
    • นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชายังช่วยสนับสนุนโครงการวิจัยริเริ่มของคุณได้ด้วย
    • อย่างที่จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์กล่าวว่า “ถ้าคุณมีแอปเปิ้ล 1 ผล และผมมีแอปเปิ้ล 1 ผลแล้วเรานำมาแลกกัน คุณกับผมก็ยังมีแอปเปิ้ลคนละ 1 ผล แต่ถ้าคุณมีความคิด 1 ความคิดแล้วเรานำมาแลกเปลี่ยนกัน เราสองคนจะมีคนละ 2 ความคิด” เวลาที่คุณแบ่งปันความคิดกับคนอื่น อย่ากลัวว่าเขาจะขโมยความคิดของคุณไป การให้คนอื่นได้รับฟังความคิดของคุณจะทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และความคิดต่อยอดในนั้น ซึ่งมีแต่จะทำให้ความคิดและความคิดโต้แย้งของคุณมีน้ำหนักมากขึ้น
    • เขียนบทความ งานวิจัย หนังสือ และ/หรือบรรยายความรู้ในสาขาวิชาของคุณเช่นเดียวกับนักเขียนและนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง :
      • ริชาร์ด ดอว์กินส์ (นักชีววิทยาและนักพฤติกรรมศาสตร์)
      • แซม แฮร์ริส (นักประสาทวิทยาและนักปรัชญา)
      • บิล ไนย์ (วิศวกรเครื่องกล)
      • มิชิโอะ คะกุ, สตีเฟน ฮอว์กิง, ไบรอัน กรีน, ลอว์เรนซ์ เคราซ์ (นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา)
      • นีล ดะแกรส ไทสัน, อูว์แบร์ รีฟวซ์ (นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์)
      • คริสโตเฟอร์ ฮิทเชนส์ (นักวิจารณ์ด้านศาสนา วรรณกรรม และสังคม)
      • อีลอน มัสก์ (ผู้ประกอบการและวิศวกร ประธานบริหาร Space X) เป็นต้น
    • ช่วยยกระดับจิตใจของผู้อื่นให้สูงขึ้นด้วยการเผยแพร่ความจริง *วัตถุวิสัย*
    • หากคุณทำงานในวงการวิชาการ คุณจะต้องศึกษาค้นคว้า เขียนรายงานวิจัยและหนังสือตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้อยู่เสมอ
    • บางครั้งคุณอาจได้รับอนุญาตให้ลาพักหรือได้รับค่าจ้างเป็นระยะเวลา 1 ปีเพื่อทำงานวิจัย
    • คุณจะต้องเขียนบทความลงวารสาร งานวิจัยสำหรับงานสัมมนา และเรียงความรวมทั้งหนังสือสำหรับตีพิมพ์ ด้วยความหวังว่างานวิจัยใหม่ที่มีความแรกเริ่มนั้นจะมีความสำคัญมากพอที่จะนำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยที่คุณทำงานอยู่ ซึ่งจะดึงดูดนักศึกษาและเงินทุนสนับสนุนเข้ามามากขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห้องสมุดใหญ่ๆ มักมีคนที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ คนๆ นี้จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้เพิ่มเติมและแนะนำหนังสือที่ดีที่สุดในเรื่องที่คุณอยากรู้ให้คุณได้
  • ลงวิชาเลือกเสรี (ระหว่างที่เรียนระดับปริญญาตรี) ในสาขาวิชาที่คาบเกี่ยวกัน
  • เข้าร่วมงานสัมมนาสาขาที่คุณสนใจที่จัดโดยองค์กรระดับประเทศเพื่อขยายขอบข่ายความรู้ของคุณอย่างต่อเนื่อง
  • คุณต้องมีใจรักในการสอนหนังสือ และมีบุคลิกหน้าตาดีที่จะสามารถเข้าถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยได้
  • จำไว้ว่ารางวัลที่ได้จากการสอนนั้นยิ่งใหญ่มาก การสอนในสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยคือการที่นักศึกษาอยากมาเรียนจริงๆ ในขณะที่โดยทั่วไปแล้วการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมปลายนั้น นักเรียนเข้าเรียนเพราะต้องมาเรียน ไม่ใช่เพราะว่าอยากมาเรียน
  • ถ่อมตัวอยู่เสมอ อย่าเป็น "โรคอาจารย์มหาวิทยาลัย" แค่เพราะวันๆ คุณอยู่ต่อหน้านักศึกษา ซึ่งโดยนิยามก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นผู้ที่ยังต้องศึกษาอีกมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานหรือมีสถานะสูงส่งในจักรวาล
  • ถ้าคุณจะเข้าเรียนในระดับอนุปริญญาหรือที่วิทยาลัยชุมชนเป็นระยะเวลา 2 ปี คุณต้องดูให้ดีว่าเส้นทางสาขาที่คุณเลือกนั้นสามารถย้ายไปเรียนต่อเนื่องในระดับปริญญาตรีอีก 2 ปีได้ไหม เพราะบางสาขาในระดับอนุปริญญานั้นไม่สามารถเข้าศึกษาต่อเนื่องในระดับมหาวิทยาลัยได้ แต่เป็นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ตลาดแรงงานมากกว่า (สายอาชีพ)
  • เตรียมทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์หรือศาสตราจารย์วุฒิคุณเพื่อเข้าสู่วงการนี้ เพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องการจ้างคนที่มีประสบการณ์
  • พยายามอ่านหนังสือจากคอมพิวเตอร์แทนหนังสือถ้าคุณรู้สึกล้าหรือเหนื่อย และเปิดเพลงบรรเลงคลอไปด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • การเป็นนักวิชาการนั้นโดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยความอดทนเป็นอย่างมาก โอกาสที่จะล้มเหลวและประสบความสำเร็จนั้นมีเท่าๆ กัน เพราะฉะนั้นคุณต้องเตรียมใจที่จะยอมรับผลอย่างที่มันเป็นด้วย
  • การรักษาสมดุลระหว่างการสร้างชีวิตครอบครัวที่แน่นแฟ้นระหว่างทำงานวิจัยที่กว้างขวางอาจเป็นเรื่องยาก การย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อให้ได้งานก็อาจทำให้ชีวิตครอบครัวของคุณพังได้เช่นกัน
  • อย่าตัดสินใจว่าจะไปสอนที่ไหนจากชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว เพราะมหาวิทยาลัยที่เล็กกว่าอาจจะเชี่ยวชาญบางสาขาในระดับแนวหน้าก็ได้ และบางมหาวิทยาลัยก็อาจจะมีคณาจารย์และทรัพยากรมากมายที่เอื้อต่อการทำงานของคุณ
  • ระวังโรงเรียนสอนออนไลน์ที่เรียกเก็บเงิน ดูให้ดีว่าโรงเรียนนั้นได้รับการรับรองและมีชื่อเสียงในทางที่ดี
  • เนื่องจากมีนักศึกษาปริญญาเอกจำนวนมากที่ต้องการตำแหน่งในวงการวิชาการและภาคเอกชน ว่าที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการหลายคนจึงอาจจะต้องทำงานในตำแหน่งนักวิจัยหลังปริญญาเอกอยู่หลายโครงการกว่าจะได้ตำแหน่งงานถาวร
  • รายได้ไม่ได้ดีมากเสมอไป และงานก็ค่อนข้างจะโดดเดี่ยว ในระหว่างที่คุณต้องทุ่มเทเพื่อให้ได้สัญญาจ้างถาวร งานช่วง 6 ปีแรกจะหนักหน่วงมาก
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • หนังสือกองโต
  • ตารางเวลา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,398 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา