PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

มหาวิทยาลัยเป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยสิ่งต่างๆ มากมาย มีอะไรหลายอย่างให้ทำแต่ก็ดูเหมือนแทบจะไม่มีเวลาทำทุกอย่างให้ได้ทั้งหมด ในการที่จะใช้เวลาในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่นั้น คุณจะต้องเรียนให้ดี ฉกฉวยโอกาสจากกิจกรรมนอกหลักสูตร และเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมสำหรับชีวิตหลังเรียนจบ การเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นช่วงเวลาที่ทั้งสนุกสนานและตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณตั้งมั่นว่าจะต้องประสบความสำเร็จให้ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เรียนให้ดี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่างพึ่งพา "ตัวเลขมหัศจรรย์" ของจำนวนครั้งที่คุณสามารถขาดได้แต่ก็ยังเรียนได้ดีอยู่ เพราะการขาดเรียนแต่ละครั้งหมายถึงเนื้อหาและการอภิปรายที่ขาดหายไป อาจารย์บางท่านให้น้ำหนักกับการเข้าเรียนไว้ในการคำนวณเกรดตอนปลายภาคด้วย แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีคะแนนเข้าห้อง แต่การไปเรียนจะสร้างความประทับใจที่ดีให้กับทั้งอาจารย์และผู้ช่วยอาจารย์ [1]
    • ขาดเรียนก็ต่อเมื่อคุณป่วยจริงๆ เท่านั้น ป่วยเกินกว่าที่จะได้อะไรที่มีคุณค่าจากการเข้าไปฟังอาจารย์
    • ถ้าคุณอยากได้แรงกระตุ้นสักหน่อย ให้ลองหารค่าเรียนแต่ละชั่วโมง โดยเฉลี่ยแล้วค่าเทอมของมหาวิทยาลัยรัฐในไทยอยู่ที่เทอมละ 10,000 – 22,000 บาท [2] ลองคิดดูว่าถ้าเรียนเทอมละ 6 วิชาเป็นเวลา 15 สัปดาห์ วิชานึงเรียน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ก็เท่าว่าเสียเงินชั่วโมงละ 37 – 82 บาทไปกับสิทธิพิเศษในการรับวิชาความรู้ เพราะฉะนั้นการไม่เข้าเรียนก็เหมือนการเอาเงิน 37 – 82 บาทไปเผาเล่น คุณจะทำอย่างนั้นจริงๆ เหรอ
  2. ความจำของคุณไม่ได้ดีอย่างที่คุณคิดหรอก เพราะมันอาจมีหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาในจิตใจคุณตอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย การ จดเลกเชอร์ไว้ดีๆ จะช่วยให้คุณจดจ่อกับกิจกรรมในห้องเรียน (ทั้งการฟังบรรยายและการอภิปราย) และทำให้คุณมีพื้นฐานที่ดีตอนอ่านหนังสือสอบ
    • สำหรับวิชาที่มีการจัดหัวข้อเรียงลำดับไว้อย่างชัดเจนเป็นเหตุเป็นผล เช่น วิชาประวัติศาสตร์หรือชีววิทยา การจดเลกเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์แนลจะช่วยให้คุณเรียงลำดับข้อมูลที่สำคัญที่สุดได้
  3. ถามคำถามผู้สอน ตอบคำถามเมื่อผู้สอนถามคำถาม และเสนอความเห็นในช่วงอภิปราย การมีส่วนร่วมเชิงรุกในชั้นเรียนจะช่วยให้คุณได้ซึมซับกับเนื้อหาและช่วยให้คุณเข้าใจในสิ่งที่ผู้สอนต้องการให้คุณรู้ [3]
    • การนั่งหน้าหรืออย่างน้อยที่สุดคือไม่นั่งหลังจะทำให้คุณจดจ่อได้ง่ายขึ้น และทำให้คุณอยู่ในตำแหน่งที่อาจารย์จะมองเห็นได้มากที่สุด
  4. หาเวลา ทบทวนบทเรียน . ความสำเร็จในรั้วมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวนอกห้องเรียน เพราะฉะนั้นคุณต้องใช้เวลาทบทวนเลกเชอร์และอ่านหนังสือสำหรับการเรียนในแต่ละครั้ง เวลา อ่านหนังสือ ให้หาที่เงียบๆ และตัดสิ่งภายนอกที่ทำให้วอกแวกออกไปให้หมด กฎทั่วไปก็คือให้ใช้เวลาอ่านหนังสือ 2 ชั่วโมงต่อชั่วโมงเรียน 1 ชั่วโมง [4]
    • กลุ่มติวหรือการติวกับเพื่อนๆ คนอื่นที่เรียนด้วยกัน อาจมีประโยชน์แต่ก็ออกนอกเรื่องได้ง่าย คุณต้องแน่ใจว่าคุณเจอกลุ่มที่ทบทวนเนื้อหาและใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทบทวนจริงๆ มากกว่าจะมานั่งคุยกัน
    • อย่าเร่งอ่านหนังสือแบบเอาเป็นเอาตาย! ส่วนหนึ่งของการเป็นนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จคือการทำมากกว่าแค่การสอบให้ผ่าน แต่เป็นการจดจำข้อมูลที่มีประโยชน์ในโลกความเป็นจริง ถ้าคุณอ่านหนังสือแบบอัดๆ คุณอาจจะจำได้มากพอที่จะเอาไปสอบให้ผ่าน แต่เป็นไปได้มากๆ ว่าคุณจะลืมเกือบทุกอย่างภายใน 1 หรือ 2 วัน ในเมื่อคุณเสียเงินไปเป็นหมื่นๆ กับการเรียนเรื่องพวกนี้แล้ว การจำข้อมูลไปใช้ในภายหลังได้จริงๆ คือการลงทุนที่ชาญฉลาด [5] [6]
    • การแบ่งช่วงเวลาอ่านหนังสือกระจายๆ ไป 2-3 วันเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะแน่ใจได้ว่าคุณจะจำเนื้อหาได้ในภายหลัง [7] เช่น แทนที่จะอ่านหนังสือรวดเดียว 9 ชั่วโมง ให้เริ่มก่อน 2-3 วันและอ่านวันละ 1-2 ชั่วโมง 3 หรือ 4 วันติดต่อกัน ถ้าคุณวางแผนล่วงหน้าได้ดีกว่านั้น การกระจายการอ่านหนังสือไปตลอดช่วงหลายสัปดาห์นั้นจะดียิ่งกว่า [8]
  5. ไม่มีอาจารย์คนไหนบ่นหากนักศึกษาทำงานเสร็จก่อนเวลา การแบ่งเวลาทำงานให้เสร็จจะช่วยผ่อนคลายระดับความเครียด และทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะทำงานอื่นเสร็จตรงเวลาด้วย
    • ในบางครั้งคุณอาจจะต้อง ถ่างตาทั้งคืนเพื่อทำงานให้เสร็จ การผัดวันประกันพรุ่งมีแต่จะทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะผัดวันประกันพรุ่งไปอีกเรื่อยๆ และการทำงานแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้คุณได้นอนพักผ่อนตามปกติได้มากขึ้นด้วย
    • ตั้งเป้าหมายการทำงานเป็นประจำ เช่น เขียนเรียงความให้ได้วันละ 200 คำหรือทบทวนโจทย์เลขวันละ 6 โจทย์ เป้าหมายเล็กๆ เหล่านี้ดูทำได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณก็จะไม่ค่อยผัดวันประกันพรุ่งเท่าไหร่ แต่ความสำเร็จจะสะสมไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว
    • พยายามอย่าทำให้ตัวเองรู้สึกผิดเพื่อที่จะได้ทำงาน แรงกระตุ้นภายนอก "ฉันควรทำสิ่งนี้เพื่อที่พ่อแม่จะได้ไม่โกรธฉัน" นั้นไม่แข็งแกร่งเท่าแรงกระตุ้นภายในอย่าง "ฉันอยากจะทำข้อสอบได้ดีเพื่อที่เกรดดีๆ ของฉันจะได้ทำให้ฉันสามารถเข้าเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางได้" การตั้งเป้าหมายเชิงบวกให้ตัวเองและการเตือนตัวเองว่า งานที่คุณทำจะช่วยให้คุณได้สิ่งที่คุณต้องการจะช่วยให้คุณทำลายความอยากผัดวันประกันพรุ่งไปได้
  6. อาจารย์อยากให้คุณเรียนวิชาต่างๆ ได้ดี เพราะฉะนั้นคุณสามารถเดินไปถามเกี่ยวกับเนื้อหาได้เลย อาจารย์ทุกท่านมีช่วงเวลาให้นักศึกษาเข้าพบได้ เพราะฉะนั้นแวะไปหาอาจารย์แล้วแนะนำตัว ถามเรื่องเรียนหรือคุยเรื่องเกรด วิธีนี้จะช่วยให้อาจารย์รู้จักคุณ จุดแข็ง และจุดอ่อนของคุณมากขึ้น และสามารถให้คำแนะนำคุณเพื่อให้คุณไปพัฒนางานของตัวเองได้ดีขึ้น [9]
    • อย่าลืมผู้ช่วยอาจารย์ เพราะพวกเขาก็ค่อนข้างเชี่ยวชาญในวิชานั้นๆ เหมือนกัน ในห้องเรียนใหญ่ๆ คนที่ให้เกรดส่วนใหญ่จะเป็นผู้ช่วยอาจารย์ ไม่ใช่อาจารย์เอง
    • การเริ่มเข้าไปพูดคุยตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นดีที่สุด ถ้าครั้งแรกที่อาจารย์ได้รับการติดต่อจากคุณเป็นคืนก่อนสอบกลางภาคหลังจากเรียนผ่านไปแล้วครึ่งเทอม อาจารย์ก็อาจจะไม่ได้อะไรกับคุณมากนักเมื่อเทียบกับว่าถ้าคุณไปถามอาจารย์ตั้งแต่เนิ่นๆ และบ่อยๆ
  7. มั่นใจ . ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อชั้นเรียนส่วนใหญ่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของพวกเขา จงเชื่อมั่นว่าคุณสามารถเรียนเนื้อหาและประสบความสำเร็จได้ แล้วโอกาสที่จะประสบความสำเร็จของคุณก็จะเพิ่มขึ้นด้วย อย่าคิดว่าสิ่งต่างๆ มันยากแค่ไหน แต่ให้คิดว่าคุณจะเอาชนะความยากลำบากเหล่านั้นไปได้อย่างไร [10]
    • ถ้าคุณเป็นคนขี้อายโดยนิสัยหรือกังวลเรื่องการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน ให้เตือนตัวเองว่าอาจารย์อยากให้คุณได้เรียนรู้ โดยทั่วไปแล้วห้องเรียนเป็น "พื้นที่ปลอดภัย" ให้คนได้แสดงความคิดเห็น ถามคำถาม และถกเถียงกันอยู่แล้ว พยายามอย่ากังวลว่าจะฟังดูโง่ถ้าคุณมีคำถาม เพราะเป็นไปได้ว่าเพื่อนร่วมชั้นหลายคนก็อาจจะมีคำถามเดียวกันแต่ไม่กล้าถาม เพราะฉะนั้นจงเป็นผู้บุกเบิกซะ!
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สนุกกับการเข้าสังคม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณไม่สามารถไล่ตามความปรารถนาในห้องเรียนได้ตลอดเวลา หากลุ่มและกิจกรรมที่คุณชอบ หรืออาจจะเป็นกิจกรรมที่ให้คุณได้ประยุกต์ใช้งานวิชาการของคุณในทางปฏิบัติ นอกจากนี้กิจกรรมเหล่านี้ยังเป็นวิธีที่ดีที่คุณจะได้พบปะผู้คนใหม่ๆ และได้เพื่อนใหม่ด้วย
  2. มหาวิทยาลัยเป็นที่ที่มอบโอกาสในการเข้าถึงความหลายหลายของกิจกรรมด้านวัฒนธรรม สติปัญญา และกีฬาให้กับนักศึกษาจนแทบไม่มีที่ไหนเทียบได้ ฉกฉวยประโยชน์จากกิจกรรมเหล่านี้และมีส่วนร่วมกับชีวิตด้านวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยที่บางกิจกรรมคุณอาจจะไม่มีโอกาสได้ทำอีกแล้ว
  3. ไม่เหมือนกับตอนเรียนมัธยม ในมหาวิทยาลัยจะไม่มีใครมาคอยติดตามดูคุณและกิจกรรมที่คุณทำอีกแล้ว เพราะฉะนั้นคุณต้องจัดการเรื่องนี้ด้วยตัวเอง จัดลำดับความสำคัญของแต่ละกิจกรรมและงานที่ได้รับมอบหมายตามกำหนดเวลาและความสำคัญที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดของคุณได้สำเร็จ ตารางเวลาของคุณไม่ควรจะมีแค่งานวิชาการเท่านั้น เพราะฉะนั้นให้ใส่กิจกรรมและความสนใจส่วนตัวไว้ด้วย
    • สิ่งหนึ่งที่คุณอาจจะพบก็คือ ตารางของคุณมีการทั้งการเข้าเรียน การทำงาน กิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมอื่นๆ มากเกินไป บางครั้งการจัดการเวลาก็หมายถึงการรู้ว่าเมื่อไหร่จะต้องตัดบางสิ่งทิ้งไปบ้าง
  4. งานวิจัยพบว่าการเป็นนักศึกษาน้องใหม่เป็นเรื่องเครียดอย่างเหลือเชื่อ มันส่งผลมากมายต่อสุขภาพจิตของคุณ [11] วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการแน่ใจว่าตัวเองประสบความสำเร็จในมหาวิทยาลัยก็คือ การเป็นเพื่อนกับคนจากหลากหลายกลุ่ม และพยายามใช้เวลาร่วมกับพวกเขา
    • การมีเครือข่ายทางสังคมที่แข็งแกร่งยังเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้นในชีวิตภายภาคหน้าด้วย
    • นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรใช้เวลาทุกคืนไปกับการปาร์ตี้และไม่สนใจการเรียนกับการบ้านเลย แต่ให้พยายามรักษาสมดุลที่ดีไว้ให้ได้ คุณอาจจะให้เพื่อนๆ มีส่วนร่วมทั้งในห้องเรียนและกิจกรรมอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น ทีมกีฬาหรือทีมโต้วาที
  5. ตัดสินใจว่าคุณจะเข้าร่วมสภานักศึกษาหรือไม่. ในหลายมหาวิทยาลัยจะมีสภานักศึกษาที่เปิดโอกาสให้คุณได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการส่วนต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งแม้จะเป็นประโยชน์กับคุณในหลายๆ ด้าน เช่น การเข้าสังคมและเครือข่ายช่วยเหลือ แต่การอยู่ในสภานักศึกษาต้องอุทิศเวลาไม่น้อยเลย ซึ่งอาจจะสร้างความเครียดให้กับนักศึกษาปีแรกมากที่สุดเพราะคุณต้องปรับตัวกับประสบการณ์ใหม่ๆ มากมายอยู่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำให้คุณรอขึ้นปี 2 ก่อนแล้วค่อยเข้าร่วมสภานักศึกษา ถ้าคุณทำแบบนี้ คุณก็จะมีพื้นฐานด้านวิชาการที่แน่นอยู่ก่อนแล้ว [12]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เตรียมตัวสำเร็จการศึกษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกวิชาที่คุณสนใจและทำให้คุณตื่นเต้นที่ได้ไปเรียน วิธีนี้จะนำคุณไปสู่งานที่น่าสนใจและคุ้มค่ามากกว่าการไล่เรียนแต่วิชาง่ายๆ [13]
    • ถ้าทำได้อย่าเพิ่งเลือกวิชาเอกทันทีนอกจากว่าคุณจะมั่นใจแล้วจริงๆ ว่าคุณอยากเรียนสาขานั้นๆ เพราะการเลือกวิชาเอกโดยทันทีไม่ได้มีประโยชน์เลย ลองเรียนวิชาต่างๆ ในหลายสาขา และเรียนรู้ว่าแต่ละเอกต้องการงานประเภทไหน [14]
  2. คุณอยากจะเรียนให้จบตามกำหนดเวลา เพราะฉะนั้นคุณต้องแน่ใจว่าคุณทำตามข้อบังคับของคณะและวิชาเอกครบถ้วนแล้ว คุณจะต้องเก็บหน่วยกิตตามที่กำหนดและมีเกรดสูงพอ ระวังข้อบังคับที่ไม่ใช่ข้อบังคับทางวิชาการ เช่น ชั่วโมงการเล่นกีฬา ไว้ด้วย
    • มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ไว้คำนวณ "ความก้าวหน้าทางการศึกษา" อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีให้คุยกับที่อาจารย์ที่ปรึกษา
  3. การเรียนในมหาวิทยาลัยควรเป็นเรื่องยาก และคุณก็ควรเตรียมพร้อมรับความล้มเหลว หรืออย่างน้อยการไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่คุณเคยทำได้ตอนเรียนมัธยม ชีวิตหลังรั้วมหาวิทยาลัยไม่ได้ดูที่เกรดในโรงเรียน แต่ดูวิธีการที่คุณเรียนรู้ที่จะรับมือกับความผิดหวัง [15]
  4. มหาวิทยาลัยทุกที่มีสำนักกิจการนักศึกษา คุณสามารถไปหาข้อมูลได้ว่าคนที่จบจากคณะและวิชาเอกของคุณเขาไปทำงานประเภทไหนกันบ้าง และในสำนักกิจการนักศึกษาของบางมหาวิทยาลัยยังให้บริการช่วยเหลือคุณในการเขียนเรซูเม่ กรอกข้อมูลลงในใบสมัครงาน และคำบอกใบ้ที่มีประโยชน์ว่าขั้นตอนต่อไปจะเป็นอะไร [16]
  5. ถ้าเป็นไปได้ ให้หาสิ่งที่จะทำให้คุณได้นำสิ่งที่คุณเรียนไปใช้ในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง แล้วคุณจะได้ประสบการณ์การทำงานที่มีคุณค่าสำหรับภายภาคหน้า
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,646 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา