ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณอยากมีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์และดูภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นจนจบ การเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์อาจเป็นอาชีพที่เหมาะสมสำหรับคุณ ผู้ผลิตภาพยนตร์ช่วยสร้างภาพยนตร์ตลอดกระบวนการตั้งแต่การจัดหาสคริปต์ การระดมทุน การกำหนดบทบาทและสมาชิกในทีม และการหาการหาช่องทางเผยแพร่ แม้ว่าไม่มีที่วิธีตายตัวเพื่อเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ แต่มันก็มีขั้นตอนที่คุณสามารถทำได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ คุณต้องมีความหลงใหลในภาพยนตร์และมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในกองถ่าย การมีวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ยังช่วยให้คุณได้พบปะผู้คนใหม่ๆ และพัฒนาทักษะของคุณต่อไป หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วก็ให้หางานระดับล่างในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เพื่อที่คุณจะได้เลื่อนตำแหน่งและเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การสร้างทักษะในการผลิตภาพยนตร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อให้คุณสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้. ฝึกการฟังอย่างตั้งใจโดยสบตากับคนที่พูดและพยักหน้า โต้ตอบอย่างรอบคอบกับสิ่งที่พวกเขาพูดเพื่อแสดงว่าคุณเคารพและห่วงใยพวกเขา มีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการพูดคุยกับผู้คนที่คุณพบเจอและแสดงความสนใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่พวกเขากำลังพูด [1]
    • ผู้ผลิตภาพยนตร์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับทีมงาน นักแสดง และสตูดิโอ ดังนั้นคุณต้องรักษาการสื่อสารแบบเปิดกว้างกับผู้อื่น
    • แนะนำตัวเองกับผู้คนใหม่ๆ และพูดคุยกับพวกเขาเพื่อช่วยให้คุณฝึกฝนทักษะของคุณ
    • ลองทำงานร่วมกับผู้อื่นในโครงการหรือภาพยนตร์สั้นเพื่อให้คุณคุ้นเคยกับการสื่อสารอย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกคนบรรลุเป้าหมาย
  2. ฝึกการทำหลายอย่างพร้อมกันเพื่อเรียนรู้วิธีสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่. เขียนกำหนดการและวางแผนล่วงหน้าเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องวุ่นวายกับสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จ สร้างรายการสิ่งที่ต้องทำและจัดลำดับความสำคัญของงานที่สำคัญที่สุดเพื่อให้เสร็จทันเวลา พยายามจัดกลุ่มงานที่คล้ายกันและทำงานให้เสร็จในเวลาเดียวกันเพื่อให้คุณสามารถรักษาโฟกัสได้ [2]
    • ผู้ผลิตภาพยนตร์มีบทบาทอยู่เบื้องหลังภาพยนตร์มากมายและอาจทำงานกับภาพยนตร์หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
    • พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนเพราะอาจทำให้คุณทำงานช้าลงและขัดขวางงานสำคัญได้
    • ผู้ผลิตภาพยนตร์จำเป็นต้องมอบหมายหน้าที่ของตนให้กับผู้ช่วยและทีมงานด้วย ดังนั้นคุณต้องยอมรับว่าคุณไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง
  3. ฝึกฝนทักษะการเจรจาเพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด. กำหนดเป้าหมายที่คุณหวังว่าจะได้รับจากการเจรจาเพื่อให้คุณทราบจำนวนขั้นต่ำที่คุณจะยอมรับได้ สื่อสารกับอีกฝ่ายอย่างชัดเจนเพื่อบอกสิ่งที่คุณต้องการและรับฟังอย่างตั้งใจเพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่พวกเขาสามารถให้ได้ หากพวกเขาไม่สามารถสนองต่อข้อกำหนดของคุณได้ก็ให้ถามพวกเขาว่ามีวิธีใดบ้างที่จะประนีประนอมเพื่อแสดงว่าคุณมีความยืดหยุ่นและเต็มใจที่จะทำงานร่วมกับพวกเขา [3]
    • ผู้ผลิตภาพยนตร์จำเป็นต้องทำงานกับการเงินจำนวนมาก ดังนั้นการเจรจากับทีมงานและสตูดิโอเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุดจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ
    • อย่ากลัวที่จะปฏิเสธข้อเสนอหากคุณไม่สามารถได้ข้อกำหนดที่เหมาะกับคุณ
    • การเจรจาต่อรองต้องใช้การฝึกฝนอย่างมาก ดังนั้นคุณอาจทำผิดพลาดกับข้อตกลงสองสามข้อแรกที่คุณทำ
    • หากทำได้ก็ให้จ้างโค้ชสอนการเจรจาเพื่อช่วยคุณ โค้ชจะทำหน้าที่เป็นคนที่คุณต้องเจรจาด้วยเพื่อให้คุณได้ฝึกฝนทักษะ
  4. เรียนรู้วิธีการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและมีชั้นเชิง. ฝึกฝนทางจิตใจผ่านข้อดีข้อเสียของทางเลือกที่คุณสามารถทำได้สำหรับการตัดสินใจแต่ละครั้ง หลีกเลี่ยงการปล่อยให้อารมณ์หรืออัตตาของคุณเข้ามาขัดขวางการตัดสินใจของคุณเพราะคุณอาจไม่ได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดถ้าคุณทำ เลือกทางเลือกที่เป็นประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับงานที่คุณต้องทำให้เสร็จ [4]
    • ผู้ผลิตภาพยนตร์มักจะถูกถามคำถามที่เกี่ยวข้องจำนวนมากซึ่งต้องการคำตอบอย่างรวดเร็วและยุติธรรมเพื่อให้เป็นไปตามกำหนดเวลา
    • อย่าตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นโดยไม่คิดถึงทางเลือกก่อน
    • ขอความคิดเห็นจากผู้อื่นในการตัดสินใจเพื่อช่วยให้คุณได้รับมุมมองจากภายนอกเกี่ยวกับสิ่งที่คุณเลือก

    เคล็ดลับ: หากคุณตัดสินใจไม่ถูกต้องก็ให้รับผิดและพยายามแก้ไข ปัญหาทันทีเพื่อแสดงว่าคุณรับผิดชอบต่อการเลือกของคุณเอง

  5. ดูภาพยนตร์บ่อยๆ เพื่อดูว่ามีโครงการอะไรบ้าง. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภาพยนตร์ผ่านทางเว็บไซต์หรือนิตยสารบันเทิงเพื่อดูว่าภาพยนตร์อะไรที่กำลังผลิตอยู่ ดูว่ามีภาพยนตร์เรื่องใดบ้างที่จะฉายเร็วๆ นี้และดูให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขียนประเภทที่เป็นที่นิยมและภาพยนตร์เรื่องใดที่ทำเงินได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศ เก็บรายชื่อภาพยนตร์ที่คุณชอบและคล้ายกับโครงการที่คุณอยากทำ [5]
    • ผู้ผลิตภาพยนตร์จำเป็นต้องทราบว่าภาพยนตร์ประเภทใดที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมเพื่อที่พวกเขาจะได้หาภาพยนตร์เรื่องใหม่มาผลิตต่อไป
    • ดูเบื้องหลังของภาพยนตร์ที่คุณอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิต
  6. สร้างภาพยนตร์สั้นของคุณเองเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่จะนำไปสู่การผลิต. ทำงานร่วมกับเพื่อนหรือคนอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเพื่อเขียน ถ่ายทำ และตัดต่อภาพยนตร์สั้นให้เป็นผลงานสุดท้าย หากคุณมีงบประมาณก็ให้ตัดสินใจแต่ละครั้งว่าอะไรที่คุ้มค่าที่สุดเพื่อที่คุณจะได้ไม่ใช้จ่ายมากเกินไป เมื่อคุณทำภาพยนตร์สั้นเสร็จแล้วก็ให้อัปโหลดทางออนไลน์หรือส่งไปยังเทศกาลภาพยนตร์เพื่อแบ่งปัน [6]
    • การสร้างภาพยนตร์สั้นของคุณเองช่วยให้คุณเรียนรู้กระบวนการผลิตภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นจนจบ
    • คุณต้องสามารถถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยตัวเองได้อย่างง่ายดาย เช่น มันอาจเป็นเรื่องยากที่จะสร้างสิ่งที่ต้องใช้เอฟเฟกต์พิเศษเยอะๆ เพราะคุณอาจต้องเสียเงินจำนวนมาก
    • หากคุณไม่มีแนวคิดสำหรับภาพยนตร์สั้นก็ลองถามเพื่อนหรือนักเรียนในหลักสูตรภาพยนตร์ด้วยกันเพื่อดูว่าคุณสามารถช่วยในโครงการของพวกเขาได้หรือไม่ I
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การได้รับการศึกษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูมหาวิทยาลัยใกล้เคียงที่เปิดสอนหลักสูตรภาพยนตร์ เช่น การผลิต การเขียนบทภาพยนตร์ หรือการถ่ายภาพยนตร์ พยายามเรียนหลักสูตรที่เน้นการผลิตภาพยนตร์ การเขียนบท และการช่วยเหลือในฉากเพื่อให้คุณคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมการทำงาน ตั้งใจเรียนโดยจดบันทึกและมีส่วนร่วมในโครงการเพื่อให้คุณมีผลการเรียนที่ดีที่สุด [7]
    • คุณไม่จำเป็นต้องเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ แต่มันสามารถช่วยให้คุณสร้างสายสัมพันธ์และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ได้เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องกังวลใจในภายหลัง
    • เข้าร่วมชมรมภาพยนตร์หรือองค์กรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเพื่อให้คุณสามารถมีส่วนร่วมและสร้างสายสัมพันธ์ได้
  2. ลองเรียนปริญญาโทสาขาการผลิตภาพยนตร์หากคุณต้องการสร้างทักษะต่อไป. สมัครเรียนปริญญาโทสาขาภาพยนตร์หรือหลักสูตรปริญญาที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ เช่น คุณอาจเจอหลักสูตรสำหรับการผลิตโดยเฉพาะหรือคุณอาจลองเขียนบทภาพยนตร์และการถ่ายภาพยนตร์เพื่อหาประสบการณ์ในฐานะทีมงาน ตั้งใจทำงานหรือโครงการที่คุณได้รับมอบหมายเพื่อให้คุณสามารถพัฒนาโครงการภาพยนตร์และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์ [8]
    • คุณไม่จำเป็นต้องจบปริญญาโทเพื่อหางานทำในฐานะผู้ผลิตภาพยนตร์
  3. เรียนหลักสูตรการจัดการธุรกิจเพื่อให้คุณรู้วิธีจัดการด้านการเงิน. ผู้ผลิตภาพยนตร์หลายรายต้องเจรจาสัญญาและจัดสรรงบประมาณของภาพยนตร์ ดังนั้นคุณควรเรียนรู้วิธีใช้จ่ายเงินอย่างชาญฉลาด ตั้งใจทำงานที่คุณได้รับและฝึกฝนการจัดทำงบประมาณเพื่อให้คุณรู้วิธีจัดการเงินของคุณ ใช้สิ่งที่คุณเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจกับความรู้ด้านการผลิตภาพยนตร์เพื่อให้คุณสามารถเรียนรู้วิธีจัดหาเงินให้เพียงพอเพื่อเป็นทุนสำหรับโครงการ [9]
    • คุณสามารถเรียนหลักสูตรธุรกิจได้ที่มหาวิทยาลัยหรือหาชั้นเรียนในชุมชนและออนไลน์หากคุณไม่ได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย
    • การเรียนหลักสูตรธุรกิจยังช่วยคุณได้หากคุณวางแผนที่จะเปิดบริษัทการผลิตของคุณเองในอนาคต
  4. ลงทะเบียนหลักสูตรการเขียนบทเพื่อให้คุณสามารถแยกแยะบทที่มีคุณภาพได้. ผู้ผลิตภาพยนตร์หลายรายอ่านบทเพื่อหาเนื้อหาใหม่ที่ต้องการสร้าง ใส่ใจกับพื้นฐานของการจัดรูปแบบบทและวิธีจัดโครงสร้างเรื่องราวอย่างเหมาะสมเพื่อให้คุณสามารถรับรู้ว่าอะไรจะประสบความสำเร็จได้ ฝึกฝนการ เขียนบทละคร ที่คุณสามารถถ่ายทำและผลิตได้ในอนาคต [10]
    • หากคุณไม่เจอหลักสูตรการเขียนบทภาพยนตร์ คุณสามารถหาบททางออนไลน์และอ่านบทที่ได้รับความนิยมได้

    เคล็ดลับ: หากคุณอ่านบทที่คุณชอบซึ่งเขียนโดยใครบางคนในหลักสูตรของคุณก็ให้ถามพวกเขาว่าต้องการความช่วยเหลือในการผลิตหรือไม่เพื่อให้คุณสามารถทำงานร่วมกับพวกเขาได้

    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ย้ายไปยังเมืองที่มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่โดดเด่น. ผู้ผลิตภาพยนตร์มักจะต้องใช้เวลากับฉากภาพยนตร์เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่น หากคุณอยู่ในอเมริกาเหนือก็ลองย้ายไปที่ลอสแองเจลิส นิวยอร์ก แอตแลนตา หรือโตรอนโตเพื่อผลิตภาพยนตร์ เมืองอื่นๆ ทั่วโลกที่เป็นที่รู้จักกันในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ได้แก่ ลอนดอน มุมไบ ปารีส และฮ่องกง หาที่อยู่ในงบประมาณของคุณเพื่อที่คุณจะได้ย้ายได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเงินมากนัก [11]
    • คุณยังสามารถลองหาผู้สร้างภาพยนตร์อิสระในพื้นที่ของคุณได้หากคุณไม่สามารถย้ายที่อยู่ได้
  2. เริ่มมองหาบทบาทผู้ช่วยฝ่ายผลิตเพื่อเริ่มอาชีพของคุณ. ผู้ช่วยฝ่ายผลิตช่วยเหลือผู้อื่นในกองถ่ายโดยทำธุระ รับสาย และดูแลให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่น หาตำแหน่งงานในเอเจนซี่การผลิตหรือสตูดิโอ และส่งประวัติของคุณเมื่อคุณเจองานที่ต้องการ เมื่อคุณอยู่ในฉากก็ให้พูดคุยกับคนที่คุณทำงานด้วยเพื่อสร้างสายสัมพันธ์และเพื่อให้คุณได้พัฒนาผลงานที่ดีกับพวกเขา [12]
    • ผู้ช่วยฝ่ายผลิตบางคนทำงานในกองถ่ายในขณะที่คนอื่นๆ ทำงานในออฟฟิศ เมื่อคุณทำงานนานขึ้น คุณอาจได้รับหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มเติม
    • พยายามหางานที่สตูดิโอที่สร้างเนื้อหาที่คุณชอบดูและทำให้คุณสนุกกับการทำงาน
  3. ผู้ผลิตภาพยนตร์มักจะเป็นคนกลุ่มแรกในฉากและคนสุดท้ายที่จากไป ดังนั้นคุณอาจทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวันโดยขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ คุณอาจต้องทำงานกลางคืน วันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดเพื่อถ่ายภาพยนตร์ให้เสร็จ ดังนั้นคุณต้องไม่มีปัญหากับการทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว คุณต้องพักผ่อนให้เพียงพอเมื่อคุณไม่ได้ทำงานเพื่อที่คุณจะได้ตื่นตัวสำหรับการถ่ายทำในวันถัดไป [13]
    • การสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ส่วนตัวและอาชีพอาจเป็นเรื่องยากในฐานะผู้ผลิตภาพยนตร์ อย่าลืมหาเวลาเพื่อพบปะกับผู้คนเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องยุ่งกับงานมากเกินไป
  4. สร้างเครือข่ายกับคนอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์และเลื่อนตำแหน่ง. ใช้เวลากับหัวหน้างานและทีมงานที่คุณทำงานด้วยและพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับพวกเขา ทำความรู้จักกับคนที่คุณทำงานด้วยโดยชวนพวกเขาไปทานอาหารเย็นหรือเครื่องดื่มเพื่อที่คุณจะได้สร้างสายสัมพันธ์กับพวกเขา ติดต่อกับผู้คนที่คุณพบปะเพราะพวกเขาอาจจำคุณได้และบอกให้คุณรู้ถึงโอกาสในอนาคต [14]
    • ใช้เว็บไซต์ เช่น LinkedIn หรือ Backstage เพื่อเชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์คนอื่นๆ และขยายเครือข่ายของคุณ

    คำเตือน: อย่าทำลายความสัมพันธ์กับผู้คนเพราะพวกเขาอาจบอกว่าคุณทำงานด้วยยากและทำให้คุณหาโครงการทำได้ยากในอนาคต

  5. หากคุณเจอผู้สร้างภาพยนตร์ที่คุณชอบและต้องการร่วมงานด้วยก็ให้ชวนพวกเขามาดื่มกาแฟหรือทานอาหารกลางวันและพูดคุยเกี่ยวกับโครงการกับพวกเขา บอกให้พวกเขารู้ว่าคุณอยากช่วยในการผลิตครั้งต่อไปและหาสิ่งที่ต้องการ หากคุณมีเงินพิเศษก็ให้เสนอที่จะช่วยเหลือพวกเขาเพื่อที่คุณจะได้เห็นโครงการเสร็จสมบูรณ์ มิฉะนั้นคุณสามารถถามว่ามีวิธีอื่นที่คุณสามารถช่วยเหลือได้หรือไม่ [15]
    • อย่ามีส่วนร่วมในโครงการที่คุณไม่ชอบเพราะคุณอาจเบื่อที่จะทำโครงการเหล่านั้นหากต้องใช้เวลานาน
    โฆษณา

คำเตือน

  • การผลิตภาพยนตร์มักจะมีชั่วโมงการทำงานที่ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นคุณอาจต้องทำงานเป็นเวลานานตลอดจนวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุด
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่มีความสม่ำเสมอหรือความมั่นคงในการงานมากนัก ดังนั้นคุณอาจต้องทำงานอื่นเสริม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,411 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา