ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

"ศิลปะที่แท้จริงคือความกระหายอย่างยิ่งยวดในตัวศิลปินผู้สร้างสรรค์"--อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ขณะที่บางคนโชคดีเกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์ด้านศิลปะ ก็ยังมีอีกหลายคนที่ต้องขวนขวายเรียนรู้จึงจะเป็นศิลปินกับเขาได้ ไม่ว่าคุณจะจัดอยู่ในประเภทไหน จำไว้ว่าทุกคนมีความเป็นศิลปินอยู่ในตัวด้วยกันทั้งนั้น แต่บางคนปล่อยแรงกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าคนอื่นเท่านั้นเอง ก้าวเท้าออกเดินทางตามหาเส้นทางแห่งศิลปินในแบบของคุณได้ แค่ทำตามขั้นตอนในบทความนี้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ฝึกขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไม่เคยทำงานศิลปะเลย ก็อาจจะท้อตั้งแต่ยังไม่เป็นศิลปิน จริง ๆ แล้วทุกคนมีความเป็นศิลปินอยู่ในตัว แค่ต้องลับคมความคิดสร้างสรรค์เท่านั้นเอง ถ้ามีศิลปะแขนงไหนที่คุณสนใจอยากเรียนรู้เป็นพิเศษก็ทำเลย อย่ากลัวการเริ่มต้นและลองศิลปะแขนงอื่น ๆ ด้วย โดยพื้นฐานแล้วศิลปะประกอบไปด้วยแขนงต่าง ๆ ดังนี้:
    • วาดภาพ : มีตั้งแต่พื้นฐานที่สุดอย่างการสเก็ตช์ภาพไปจนถึงงานซับซ้อนอย่างการออกเชิงสถาปัตยกรรม โดยทั่วไปการวาดภาพต้องใช้ดินสอ ปากกา ถ่านไม้ หรือสีชอล์ก ภาพที่วาดอาจจะเป็นสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า หรือออกมาจากจินตนาการของคุณก็ได้
    • ระบายสี : การระบายสีด้วยพู่กันสร้างสรรค์ทั้งภาพจากสิ่งที่มีอยู่จริงและภาพที่ออกมาจากจินตนาการ การระบายสีมักลงลึกไปในเรื่องของนามธรรม เช่น ภาพระบายสีที่ใช้สีแดงและสีม่วงอาจเป็นการแสดงออกทางอารมณ์อย่างความรักที่ศิลปินกำลังรู้สึกอยู่ในขณะนั้น
    • ถ่ายภาพ : ภาพถ่ายเกิดจากการบันทึกภาพ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งด้วยกล้องฟิล์มหรือกล้องดิจิตอล ภาพถ่ายบอกเราว่ามีอะไรเกิดขึ้นบนโลก ณ ขณะที่กดชัตเตอร์บ้าง ภาพถ่ายสะท้อนทั้งความสวยงามและความโหดร้าย สองขั้วความแตกต่างที่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้
    • ประติมากรรม : ประติมากรรมคือการนำวัสดุ (เช่น ดินเหนียว ไม้ โลหะ) มาทำให้เกิดรูปร่าง กลายเป็นงานศิลปะหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (หรือบางครั้งก็รวมทั้ง 2 อย่างในงานเดียวกัน)
  2. ) เมื่อลองทำงานศิลปะทุกแขนงแล้ว เลือกว่าเราถนัดแบบไหนมากที่สุด เพราะหลายครั้งคนที่เก่งงานประติมากรรมกลับระบายสีไม่เป็นเลย แต่บางคนก็เกิดมาเพื่อเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่และสามารถสร้างผลงานศิลปะได้ทุกแขนงจริง ๆ
    • แต่อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ คุณสนุกกับการสร้างศิลปะรูปแบบไหนมากที่สุด จริงอยู่ที่คุณอาจจะถนัดวาดภาพที่สุด แต่ถ้าคุณสนใจงานประติมากรรมมากกว่า ทำไมไม่ให้โอกาสตัวเองอีกครั้งล่ะ
  3. หาหนังสือเกี่ยวกับศิลปะแขนงที่คุณสนใจ (ในตอนนี้) เรียนรู้ให้ได้มากที่สุดโดยการอ่านหนังสือและบทความ ดูวิดีโอสอนการทำ และค้นคว้าหาเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ศิลปินคนอื่น ๆ ในสาขานั้นเขาทำกัน เพราะวิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งก็คือการศึกษาจากคนที่เขาทำมาก่อน คุณสามารถเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่จากการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างแน่นอน เพียงแต่ต้องพยายามฝึกขั้นพื้นฐานให้ได้เสียก่อน ถ้ารู้สึกว่าต้องหาตัวช่วย คุณก็สามารถไปลงเรียนวิชาศิลปะเพิ่มเติมได้ (อ่านเพิ่มเติมหัวข้อเรียนรู้จากผู้อื่น)
    • ส่วนหนึ่งของการค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะแขนงที่คุณสนใจคือการเรียนรู้ความรู้พื้นฐานของศิลปะแขนงนั้น เช่น วงล้อสี (สีขั้นที่ 1 กับสีขั้นที่ 2 ต่างกันอย่างไร แสงเงามีผลอย่างไร เป็นต้น)
    • อีกส่วนสำคัญของการค้นคว้าคือการหาว่า คุณต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ถ้าหารายการที่ระบุชัดเจนไม่ได้เลย ให้เปิด Search Engine ขึ้นมาแล้วพิมพ์ว่า ‘อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการวาดภาพ’
  4. แม้ว่าอุปกรณ์ศิลปะจะราคาค่อนข้างแพง แต่ก็คุ้มนะ คุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ที่คุณต้องการได้จากร้านขายอุปกรณ์ศิลปะใหญ่ ๆ อย่างร้านนานาภัณฑ์ที่ท่าพระจันทร์ หรือ B2S และร้านเล็ก ๆ ใกล้บ้าน คุณสามารถหาร้านขายอุปกรณ์ศิลปะใกล้บ้านได้โดยเปิด Search Engine ขึ้นมาแล้วพิมพ์ว่า “ร้านขายอุปกรณ์ศิลปะ [จังหวัดที่คุณอยู่]”
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าต้องใช้อะไรบ้าง หรืออุปกรณ์ชิ้นไหนจำเป็นมากจำเป็นน้อย ลองถามพนักงานขายดู เป็นไปได้มากกว่าพนักงานจะมีความรู้เรื่องศิลปะเป็นอย่างดี (อาจจะถึงขั้นแนะนำเทคนิคต่าง ๆ โดยไม่ต้องไปลงเรียนเลยก็ได้)
  5. หัวใจสำคัญของการเป็นศิลปินคือ การสังเกตความเป็นไปในโลกที่อยู่รอบตัวและสะท้อนสิ่งนั้นในผลงาน สังเกตว่าแสงระหว่างวันเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง สีมีผลกับคุณอย่างไร ปฏิกิริยาระหว่างสิ่งต่าง ๆ ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร เหมือนอย่างคำพูดที่ว่า การหยุดเพื่อดมกลิ่นดอกกุหลาบนั้นสำคัญยิ่ง ค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะตระหนักถึงบรรยากาศรอบ ๆ ตัวและปล่อยให้สิ่งที่คุณสังเกตซึมเข้าไปอยู่ในผลงาน
    • เช่น ถ้าคุณเห็นคู่รักนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ให้สังเกตว่าร่างกายของพวกเขามีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับธรรมชาติรอบข้าง แสงเป็นอย่างไร สีไหนเด่น คุณจะกำหนดกรอบภาพที่เห็นขึ้นมาอย่างไร คุณจะเน้นไปที่ใบหน้า สี หรือต้นไม้ การสังเกตว่าตัวเองมองโลกมุมไหนจะช่วยให้คุณถ่ายทอดสิ่งที่เห็นมาไว้ในผลงานได้ดีขึ้น
  6. ศิลปินมากมายอุทิศชีวิตให้กับงานศิลปะ แม้ว่าคุณจะไม่ถึงขั้นอุทิศทุกวินาทีของชีวิตให้กับการระบายสี แต่ก็ให้เจียดเวลาฝึกปรือสร้างสรรค์ผลงานทุกวัน (หรืออาจจะวันเว้นวัน) โดยไม่ต้องสนใจว่างานจะออกมาเป็นอย่างไร และให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมาเป็นอันดับหนึ่ง
  7. อย่ากลัวที่จะเอาผลงานให้คนอื่นดู ให้คุณค่ากับความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาแม้ว่ามันจะเป็นคำติเพื่อก่อก็ตาม หาคนที่คุณเห็นคุณค่าในคำวิจารณ์ของเขาและโชว์ผลงานให้เขาดู ถ้าเขาไม่อ้าปากค้างด้วยความอึ้งก็อย่าเพิ่งไปคิดมาก คนส่วนใหญ่ใช้เวลานานกว่าจะพัฒนาพรสวรรค์ด้านศิลปะได้
    • ถามพวกเขาว่าคุณยังต้องปรับปรุงส่วนไหนบ้าง คุณอาจจะยังวาดมือไม่สวย หรือหูจับแก้วดินเหนียวอาจจะยังไม่ค่อยเข้าท่า การมีอีกคนมาช่วยดูจะทำให้คุณรู้ว่ายังมีส่วนไหนต้องปรับปรุงบ้าง
  8. วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณเป็นศิลปินที่มีเอกลักษณ์คือการสร้างสรรค์งานศิลปะในแนวทางของคุณเอง แนวทางเฉพาะตัวเป็นสิ่งที่คุณต้องค้นหาเอง ไม่มีใครสอนคุณได้ พยายามทดลองเทคนิคหลาย ๆ แบบ ฉีกทุกกฎที่คุณเคยรู้มา
    • เช่น ถ้าคุณชอบระบายสีภาพนิ่ง ลองระบายโดยใส่ความรู้สึกลงไปแทนที่จะแค่ลอกแบบสิ่งที่อยู่ตรงหน้า อาจจะเปลี่ยนสี วาดลายเส้นการ์ตูน หรือทำให้บิดเบี้ยว อะไรก็ได้ ลองทำดู
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เรียนรู้จากผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ง่ายที่สุดในการเรียนรู้พื้นฐานศิลปะแต่ละแขนงคือการลงเรียนวิชาศิลปะ วิทยาลัยหรือสถาบันสอนศิลปะ ศูนย์เรียนฝึกอาชีพ และชมรมศิลปะมักเปิดสอนศิลปะที่มีระยะเวลาตั้งแต่วันเดียวไปจนถึงหลายเดือน คุณจะได้เรียนรู้จากศิลปินคนอื่น ๆ ที่จะสอนพื้นฐานการสร้างผลงานศิลปะให้แก่คุณ และช่วยคุณค้นหาแนวทางของตัวเองด้วย
    • คุณสามารถหาชั้นเรียนวิชาศิลปะในจังหวัดของคุณได้จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น คุยกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในวงการศิลปะ หรือแค่เปิด Search Engine ที่ชอบแล้วพิมพ์ว่า ‘สอนศิลปะ [จังหวัดที่คุณอยู่]’
  2. ไปพิพิธภัณฑ์และอ่านหนังสือเกี่ยวกับศิลปะและการออกแบบทุกชนิด เรียนรู้จากศิลปินชั้นครูด้วยการพินิจผลงานของพวกเขาอย่างละเอียด เพราะหนึ่งในวิธีลับคมก็คือการเลียนแบบผลงานของศิลปินระดับโลก ลองทำตามลักษณะเด่นหรือเทคนิคที่เตะตาคุณเป็นพิเศษ
    • อีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้เป็นอย่างดีก็คือ การเลือกผลงานของศิลปินชั้นครูขึ้นมาหนึ่งชิ้นแล้วพยายามลอกให้เหมือนที่สุด เช่น ถ้าคุณอยากพัฒนาทักษะระบายสี ลองเลือกผลงานของ วินเซนต์ แวน โกะ ขึ้นมาสักชิ้น เช่น “Starry Night” แล้วลองระบายตาม พอระบายได้ใกล้เคียงกับของเดิมที่สุดแล้ว ให้ระบายใหม่อีกครั้งแล้วใส่รายละเอียดที่คุณอยากเพิ่มเติมเข้าไป นึกภาพว่าคุณกำลังยืนมองท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวอยู่ข้าง ๆ แวน โกะ บางทีคุณอาจจะเลือกใช้สีอีกสี อาจจะมีต้นไม้มากขึ้น (หรือน้อยลง) เป็นต้น
  3. ถ้าคุณอยากก้าวหน้าในสาขาศิลปะอีกขั้น ก็ควรศึกษาต่อในสาขาศิลปะ สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนเลือกที่เรียนได้แก่ ชื่อเสียง ค่าเล่าเรียน ความเข้มข้นของการเรียนการสอน อาจารย์ สถานที่ และอุปกรณ์ (มีห้องมืดไหม เตาเผาล่ะ) พิจารณาให้ดีว่าที่เรียนที่คุณเลือกนั้นสามารถพัฒนาจุดแข็งและปรับจุดอ่อนของคุณได้ไหม ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะเรียนต่อด้านศิลปะในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยจริง ๆ ก็ติดตามการรับสมัครของแต่ละที่ให้ดี [1]
    • เลือกให้ดีว่าจะเข้าวิทยาลัยศิลปะหรือเรียนต่อสาขาศิลปะในมหาวิทยาลัย เพราะบางมหาวิทยาลัยก็มีสาขาวิชาศิลปะที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน ข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือ วิทยาลัยศิลปะจะเน้นการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่การเรียนศิลปะในมหาวิทยาลัยจะเรียนภาคทฤษฎีควบคู่กันไปด้วย เช่น ต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็นต้น
  4. การมีเพื่อนที่หลงใหลในศิลปะเหมือนกับคุณเป็นโอกาสดีที่จะทำให้คุณได้ซึมซับตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกแห่งศิลปะ ยิ่งถ้ามีเพื่อนเป็นศิลปินด้วยยิ่งดีใหญ่ เพราะเขาจะวิจารณ์งานของคุณได้ (และรู้จริงด้วย) สอนเทคนิคใหม่ ๆ และใช้งานของเขาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ
    • คุณสามารถหาศิลปินที่มีแนวคล้าย ๆ คุณได้ด้วยการหาว่าในจังหวัดหรือโรงเรียนของคุณมีชมรมศิลปะบ้างไหม ดูจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหาจากอินเทอร์เน็ตก็ได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถเข้าร่วมเครือข่ายศิลปะออนไลน์ได้ด้วย ในนั้นจะมีกระทู้ที่คุณสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมและได้พูดคุยกับคนที่มีใจรักศิลปะเหมือนกัน
  5. อีกหนึ่งวิธีที่จะได้เห็นว่าศิลปินคนอื่น ๆ ในแขนงเดียวกันเขาสร้างสรรค์ผลงานอย่างไรก็คือ การไปงานแสดงผลงานศิลปะใกล้ ๆ บ้าน งานแสดงศิลปะเป็นที่ที่คุณจะได้พบผู้คนมากมาย ได้เห็นผลงานของศิลปินคนอื่น และอาจจะได้แรงบันดาลใจในการทดลองเทคนิคใหม่ ๆ ด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ประชาสัมพันธ์ผลงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แฟ้มสะสมผลงานรวบรวมผลงานที่ดีที่สุดของคุณและแสดงศักยภาพให้นายจ้าง ลูกค้า และหอศิลป์เห็น โดยผลงานที่อยู่ในแฟ้มจะต้องเป็นผลงานที่คุณภาคภูมิใจที่สุด เลือกแต่ชิ้นที่คุณรู้สึกว่านี่คือสุดยอดและสะท้อนแนวทางของคุณได้ดีที่สุด
    • ถ้าคุณเป็นช่างปั้น ถ่ายรูปแล้วเก็บเข้าแฟ้มสะสมผลงาน วิธีนี้ง่ายกว่าการหอบรูปปั้นพะรุงพะรังไปด้วยทุกที่
  2. ในฐานะศิลปินน้องใหม่แห่งวงการศิลปะ คุณต้องสร้างคอนเน็กชั่นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แหล่งคอนเน็กชั่นของคุณอาจจะเป็นครอบครัว เพื่อน ๆ เพื่อนร่วมชั้นเรียน อาจารย์ หัวหน้า พี่เลี้ยงที่คอยสอนงาน เป็นต้น ถามเขาว่าพอจะรู้จักช่องทางที่จะทำให้คุณได้เข้าไปอยู่ในวงการศิลปะบ้างไหม (เช่น งานเปิดหอศิลป์ คลาสเรียนศิลปะฟรี สถานที่ที่จัดแสดงผลงานศิลปะในชุมชน เป็นต้น) [2]
    • หาช่องทางด้วยการค้นหางานจัดแสดงศิลปะและโอกาสที่จะได้เข้าไปอยู่ในเครือข่ายศิลปะใกล้บ้านจากอินเทอร์เน็ต
    • แสวงหาหนทางที่จะได้พบกับคนที่คุณคิดว่าเขาจะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ผลงานได้ดีขึ้นหรือเป็นบันไดไต่เต้าในอาชีพ ถ้าอาจารย์บอกว่าเพื่อนของเธอที่เป็นจิตรกรระดับโลกกำลังจะมาที่จังหวัดของคุณพอดี และคุณเองก็หมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องเป็นจิตรกรให้ได้ ลองถามอาจารย์ว่าคุณสามารถนัดเจอเพื่อนของเธอสักครู่ได้ไหม ถ้าอาจารย์ปฏิเสธก็อย่าเพิ่งถอดใจ เพราะยังมีโอกาสที่คุณจะได้สร้างเครือข่ายอีกมากมาย
  3. การแสดงผลงานศิลปะเป็นวิธีที่จะทำให้คนรู้จักผลงานของคุณ ลองหาดูว่ามีร้านกาแฟ บาร์ ร้านอาหาร และที่อื่น ๆ ที่ไหนที่เคยโชว์ผลงานของศิลปินท้องถิ่นบ้าง ถ้ามีก็เอาแฟ้มสะสมผลงานไปให้เขาดูแล้วถามว่า พอจะเอาผลงานของคุณไปโชว์ในร้านสักช่วงหนึ่งได้หรือเปล่า
    • หรือจะลองถามหอศิลป์ท้องถิ่นว่าคุณสามารถนำผลงานมาโชว์ในงานแสดงศิลปะครั้งหน้าได้ไหม เพราะหอศิลป์มักชอบประชาสัมพันธ์ผลงานศิลปะที่อยู่ในชุมชน
  4. จริง ๆ แล้วการฝึกงานแบบนี้จะเป็นการฝึกวิชาชีพมากกว่า การเป็นผู้ช่วยในสตูดิโอศิลปะให้กับศิลปินระดับแนวหน้าเป็นหนทางสู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ (และได้เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเครือข่ายศิลปินด้วย)
    • ถ้าคุณเรียนสาขาศิลปะ ลองหาดูว่ามีอาจารย์คนไหนต้องการผู้ช่วยในสตูดิโอหรือช่วยทำโปรเจ็กต์บ้าง เพราะอาจารย์เป็นแหล่งเครือข่ายศิลปินระดับโลกชั้นดี และการทำงานในสตูดิโอกับอาจารย์ยังช่วยให้คุณได้ฝึกสิ่งที่คุณเรียนรู้ในห้องเรียนมากขึ้นอีกด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผลงานศิลปะมีไว้เพื่อดู เพราะฉะนั้นอย่ากลัวที่จะให้คนอื่นดูงานศิลปะของคุณ
  • เก็บผลงานวาดภาพ ระบายสี งานปั้น และอื่น ๆ ของคุณเอาไว้เพื่อให้เห็นว่าตัวเองพัฒนาขึ้นขนาดไหน จะได้มีกำลังใจ
  • เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ อยู่เสมอ ข้อดีของศิลปะคือมันมีสาขา สไตล์ และเทคนิคมากมายนับไม่ถ้วน มีสิ่งใหม่ ๆ ให้เรียนรู้เสมอ อย่าชะล่าใจคิดว่าตัวเองรู้พอแล้ว
  • การวาดภาพลายเส้นขยุกขยิกสร้างมุมมองให้คุณได้ เพราะเวลาที่คุณวาดภาพอย่างไม่ตั้งใจ มันจะแสดงให้เห็นออกมาเองว่าคุณถนัดด้านไหน
  • เข้าใจว่าศิลปินไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์ติดตัวมาด้วยเสมอ ส่วนใครที่มีก็นับว่าโชคดี ศิลปะเป็นสิ่งที่พัฒนาตามความสนใจ โลกนี้ไม่มีใครเหมือนใคร ไม่มีจิตรกรคนไหนระบายสีภาพภาพเดียวกัน ไม่มีใครเห็นสีภาพตรงกันเป๊ะ ศิลปะเป็นสิ่งที่เรียนรู้ ค้นหา และพัฒนากันได้ แล้วแต่ว่าใครจะแสวงหาโอกาสให้ตัวเองมากน้อยแค่ไหน
  • ใช้อุปกรณ์ถูก ๆ สร้างสรรค์ผลงานทุกชิ้น
  • โชว์ผลงานให้คนอื่นดู วาดภาพให้คนอื่น และดูว่าเขาคิดอย่างไร


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,377 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา