ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีปัญหาในชีวิตอาจทำให้คุณรู้สึกจับต้นชนปลายไม่ถูก และบางทีสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากจะทำก็คือเผชิญหน้ากับมัน แต่โชคยังดีที่การรับมือและการจัดการกับปัญหานั้นเป็นสาขาวิชาที่มีการศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างดี และมีขั้นตอนทางกระบวนการคิด อารมณ์ และพฤติกรรมมากมายที่คุณสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เผชิญหน้ากับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ยอมรับและเข้าใจปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะอยากหลีกหนีสิ่งที่ก่อปัญหาให้กับคุณ แต่การหนีปัญหาไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเลย เพราะฉะนั้นคุณควรยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้นจริงและตั้งคำถามกับตัวเองถึงปัญหานี้ ผลลัพธ์ของปัญหานี้คืออะไร มีใครเกี่ยวข้องกับปัญหานี้บ้าง [1]
    • ถ้าคุณไม่คิดว่าคุณมีปัญหา แต่ทุกคนบอกคุณว่ามีปัญหาเกิดขึ้น พยายามคิดให้ดีว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นจริงหรือเปล่า
    • ถ้าคุณไม่สามารถยอมรับได้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้น คุณก็อาจจะปฏิเสธหัวชนฝา เช่น ถ้าคุณไม่อยากจะยอมรับว่าสมาชิกในครอบครัวที่คุณสนิทด้วยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด คุณก็อาจจะหาข้อแก้ตัวให้กับพฤติกรรมของเธอร่ำไป
    • แม้ว่าการปฏิเสธไม่ยอมรับความจริงบางครั้งอาจจะดีกับคุณในแง่ของการป้องกันทางจิต แต่ในกรณีอื่นๆ มันอาจทำให้คุณเลี่ยงที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น [2]
    • ที่จริงแล้ว การหนีปัญหามักจะทำให้ปัญหาแย่ลงและไม่ได้ช่วยให้คุณสบายใจได้นาน การหนีปัญหาเป็นการสร้างวงจรความเครียดให้คงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ เพราะว่าคุณยังแบกมันไว้ในใจตลอด [3]
    • ว่ากันว่าการหลีกหนีความจริงสักครู่บ้างครั้งบ้างคราวก็ดีกับตัวเราเหมือนกัน ถ้าคุณรู้สึกไม่ไหวแล้วและเครียดมาก พักก่อน! ดูรายการทีวีหรืออ่านหนังสือ หรือทำงานอดิเรกที่คุณชอบ คุณสามารถปลีกตัวออกมาและปล่อยใจให้ล่องลอยได้ [4]
  2. กระต่ายตื่นตูมคือการคิดไม่เป็นเหตุผล เช่น การทำให้ปัญหาดูแย่ลงด้วยการคิดอะไรเกินจริง เช่น คุณอาจจะคิดว่าการสอบตก 1 วิชาหมายความว่าคุณจะไม่มีวันได้งานดีๆ ทำแน่ นอกจากนี้ กระต่ายตื่นตูมยังหมายถึงการคิดแบบขาวกับดำด้วย (เช่น ถ้าฉันไม่แก้ปัญหานี้ละก็ชีวิตฉันต้องจบเห่แน่ๆ) [5]
    • คุณสามารถเลี่ยงไม่ให้ตัวเองเป็นกระต่ายตื่นตูมได้ด้วยการรู้ตัวเวลาที่คุณเริ่มคิดฟุ้งซ่าน โดยคุณจะต้องคอยจับตาดูความคิดของตัวเองและพยายามตรวจสอบว่าความคิดนั้นถูกต้องหรือไม่
    • คุณสามารถจับตาดูความคิดของตัวเองได้ด้วยการจำไว้ว่า คุณจะต้องคิดถึงความคิดแล้วถามตัวเองว่า คนอื่นเขาคิดอย่างนี้เหมือนกันหรือเปล่า แล้วคุณคิดว่าความคิดนั้นมันถูกต้องไหม
  3. คุณเริ่มสังเกตเห็นปัญหานี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่ บางครั้งคุณอาจจะไม่สังเกตปัญหานี้มาก่อนจนกระทั่งมันเกิดขึ้นมานานแล้ว กรณีนี้เกิดขึ้นได้จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปัญหาของคุณเกี่ยวข้องกับคนอื่น (เช่น น้องสาวของคุณเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมานานแล้วก่อนที่คุณจะได้ทันสังเกต)
    • ถ้าคุณคิดว่าคุณรู้ว่าปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ลองนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ต้นตอของปัญหาอาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น เช่น ถ้าเกรดที่โรงเรียนเริ่มจะตกลงหลังจากที่พ่อคุณออกจากบ้านไป ก็เป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงนี้
  4. ส่วนใหญ่แล้วปัญหาของคุณจะไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย คุณยังมีชีวิตต่อไปได้แม้จะมีปัญหานี้เกิดขึ้น ทุกปัญหาถ้าไม่มีทางออกก็สามารถมองในมุมอื่นที่ทำให้คุณเห็นได้จริงๆ ว่ามันไม่ใช่ปัญหาเลย [6]
    • เช่น ถ้าปัญหาของคุณคือคุณไม่สามารถจัดการตัวเองให้ไปถึงโรงเรียนทันเวลาได้ เปลี่ยนนิสัยเล็กน้อยหรือจัดการหาวิธีเดินทางเสียใหม่ แค่นี้ก็เปลี่ยนสถานการณ์ได้แล้ว
    • บางสิ่งบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ความพิการถาวรหรือการเสียชีวิตของคนรัก แต่คุณสามารถเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับมันและมีความสุขหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นได้ นอกจากนี้ ให้จำไว้ด้วยว่าคนเรามักคิดว่าเหตุการณ์ร้ายๆ จะทำให้เรารู้สึกแย่มากๆ นานกว่าระยะเวลาที่มันจะทำให้เรารู้สึกแย่ได้จริงๆ [7]
    • การบอกตัวเองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายไม่ได้หมายความว่าปัญหาของคุณมันไม่ใช่ปัญหาจริงๆ หรือไม่สำคัญ แต่เป็นการช่วยให้คุณเข้าใจว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ว่าจะแก้ไม่ได้
  5. คุณอาจจะมองว่าปัญหาเป็นเรื่องลบ หรือมองว่าเป็นโอกาสที่คุณจะได้แสดงความสามารถในการรับมือกับปัญหาก็ได้ [8] เช่น ถ้าคุณสอบตก 1 วิชา คุณอาจจะมองว่ามันเป็นปัญหาใหญ่และซึมเศร้าไปกับมัน หรือคุณอาจจะโอบกอดความท้าทายที่ปัญหามอบให้ การที่คุณสอบตกเป็นการบอกว่า คุณต้องพยายามมากขึ้นหรือเรียนรู้กลยุทธ์การเรียนและการวางแผนใหม่ๆ เพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จ คุณสามารถใช้ปัญหานี้เป็นโอกาสที่จะได้ฝึกฝนทักษะเหล่านั้นได้
    • การรับมือกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาทำให้คุณมีความสามารถมากขึ้น และยังเห็นอกเห็นใจคนที่มีปัญหามากขึ้นด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

แสดงออกว่าคุณมีปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอาปากกาเขียนปัญหาลงไปในกระดาษ วิธีนี้จะช่วยให้ปัญหาดูจับต้องได้มากขึ้น และคุณก็มีแนวโน้มที่จะพยายามแก้ไขปัญหามากขึ้นเมื่อปัญหาถูกเขียนลงในกระดาษและจ้องหน้าคุณอยู่ [9]
    • เช่น ถ้าปัญหาของคุณคือมีเงินไม่พอ ก็ให้คุณเขียนปัญหานั้นลงไป นอกจากนี้คุณยังสามารถเขียนนัยยะของปัญหาที่จะช่วยย้ำให้คุณเห็นถึงประเด็นของปัญหามากขึ้นและกระตุ้นให้คุณแก้ปัญหานั้น นัยยะของการมีเงินไม่พออาจจะเป็นเพราะว่าคุณเครียด ก็เลยไม่สามารถพอใจในสิ่งที่คุณอยากจะพอใจได้
    • ถ้าปัญหาไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ให้แปะรายการไว้ในที่ๆ คุณเห็นเพื่อที่คุณจะได้ไม่ลืมแก้ไขมัน เช่น คุณอาจจะแปะไว้ที่ตู้เย็นก็ได้
  2. เล่าทุกรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาให้คนที่คุณไว้ใจเล่าข้อมูลต่างๆ ให้ฟัง เช่น เพื่อน คนในครอบครัว ครู หรือพ่อแม่ อย่างน้อยมันก็ช่วยให้คุณเครียดน้อยลงได้ [10] นอกจากนี้ เขาหรือเธออาจจะสามารถให้คำแนะนำที่คุณไม่เคยนึกถึงมาก่อนเลยก็ได้
    • ถ้าคุณกำลังจะเข้าไปคุยกับคนอื่นที่มีปัญหาแบบเดียวกัน คุณต้องรู้กาลเทศะด้วย ให้เธอรู้ว่าคุณแค่อยากมาเรียนรู้เพื่อที่จะแก้ปัญหานั้นได้เช่นเดียวกัน
  3. ความรู้สึกของคุณสามารถเป็นแนวทางที่บอกให้คุณรู้ว่า การแก้ปัญหาของคุณเป็นอย่างไรบ้าง ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญแม้จะเป็นความรู้สึกด้านลบก็ตาม เช่น ถ้าคุณรู้สึกกระวนกระวายใจหรือโกรธ แทนที่จะพยายามบอกปัดความรู้สึกเหล่านั้นแล้วซ่อนไว้ข้างใน ให้รับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านั้นและหาที่มาของมัน ไม่แน่ว่าการพบแหล่งที่มาของความรู้สึกอาจช่วยให้คุณเจอทางออกของปัญหาด้วยก็ได้ [11]
    • เป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกไม่พอใจ โกรธ กังวลตราบเท่าที่คุณรู้ว่าการไม่พอใจ โกรธ หรือกังวลนั้นไม่ได้ช่วยคุณแก้ปัญหา คุณจะแก้ปัญหานี้ได้ก็ต่อเมื่อคุณลงมือทำ แต่อารมณ์เหล่านี้ก็ยังช่วยให้คุณตระหนักได้ว่าคุณมีปัญหา และยังช่วยบอกที่มาของปัญหาได้ด้วย
    • วิธีที่จะช่วยให้ใจเย็นๆ เวลาที่คุณรู้สึกไม่พอใจก็เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก นับ 1 ถึง 10 (หรือมากกว่าถ้าจำเป็น) ค่อยๆ พูดปลอบใจตัวเอง (บอกตัวเองว่า "เดี๋ยวมันก็ออกมาดี" หรือ "ใจเย็นๆ") [12] ลองออกไปเดินเล่น วิ่ง หรือฟังเพลงสบายๆ
  4. ถ้าปัญหาของคุณเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตหรือความเป็นอยู่ที่ดี หรือมีผลต่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ลองค้นหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและนัดเวลา ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้สามารถช่วยคุณรับมือกับปัญหาและแก้ไขปัญหาของคุณได้ [13]
    • คุณสามารถเข้าเว็บไซต์ของโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

หาวิธีแก้ไขปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปัญหาหลายเรื่องเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปมากพอที่จะมีรายละเอียดเขียนไว้ในอินเทอร์เน็ตมากมาย คุณอาจจะหาข้อมูลจากในวารสารหรือกระทู้ตามเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ว่าปัญหาที่คุณประสบจะเป็นปัญหาด้านพฤติกรรม การเงิน เรื่องเรียน หรือเรื่องอื่นๆ ปัญหาส่วนใหญ่มักเขียนไว้ในอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว
    • ลองคุยกับคนที่เคยผ่านปัญหาคล้ายๆ กันหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของคุณ
    • เช่น ถ้าปัญหาของคุณเกี่ยวกับเรื่องเรียน ให้พูดคุยกับอาจารย์หรือนักเรียนคนอื่นๆ ที่เคยเรียนวิชาหรือคอร์สที่คุณกำลังมีปัญหามาแล้ว
    • การเข้าใจว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไรอาจช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับปัญหาได้ดีขึ้น การเปลี่ยนจุดสนใจไปที่การแก้ปัญหาช่วยลดแนวโน้มที่จะเกิดอารมณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา เช่น ความรู้สึกผิดและความวิตกกังวล ซึ่งสามารถขัดขวางทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของคุณได้
  2. ถ้าปัญหาของคุณเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยคุณได้ ให้หาผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มาสักคนหนึ่ง เช่น ถ้าปัญหาของคุณคือคุณคิดว่าคุณอ้วนมากเกินไปและอยากจะลดน้ำหนัก คุณสามารถขอความช่วยเหลือจากนักโภชนาการหรือเทรนเนอร์ด้านรูปร่างได้
    • คำแนะนำที่คุณได้รับต้องมาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีใบประกอบวิชาชีพในสาขานั้นๆ ซึ่งเป็นการรับรองว่าพวกเขามีทักษะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาของคุณโดยเฉพาะ
    • บางคนก็อาจจะอ้างว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ ถ้าพวกเขาไม่มีหนังสือรับรองอย่างถูกต้องแล้วละก็ เป็นไปได้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ
  3. นึกถึงคนที่เคยอยู่ในสถานการณ์เดียวกับคุณมาก่อนและดูว่าพวกเขาแก้ปัญหาอย่างไร แล้ววิธีเดียวกันนี้ใช้ได้ผลกับคุณหรือไม่ เช่น ถ้าคุณกำลังต่อสู้กับการติดเหล้า คุณสามารถเข้าร่วมพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ติดสุรานิรนามเพื่อให้รู้แนวทางของคนที่สามารถเลิกเหล้าได้สำเร็จว่าทำอย่างไรเขาถึงเลิกเหล้าได้สนิท
    • ลองถามพวกเขาว่า พวกเขารับมือและแก้ไขปัญหาที่คุณมีได้อย่างไร คุณอาจจะพบว่าตัวเองมัวแต่จมอยู่กับปัญหามากเกินไปจนมองไม่เห็นทางแก้ที่มีอยู่ตรงหน้า แต่คนอื่นกลับเห็นมันก็ได้ [14]
  4. เขียนรายการวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ คิดว่าคุณควรเริ่มจากตรงไหน คุณจะขอความช่วยเหลือจากใครได้ และสิ่งที่คุณต้องใช้ในการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง คุณต้องคิดทางแก้ออกมาเยอะๆ และอย่าตัดสินวิธีแก้ปัญหาขณะที่คุณกำลังคิดถึงมัน เขียนทุกอย่างที่แวบเข้ามาในหัวลงไปแล้วค่อยประเมินว่าวิธีไหนดีหรือไม่ดีทีหลัง [15]
    • พิจารณาองค์ประกอบของปัญหา ปกติแล้วปัญหาจะไม่ได้ตั้งอยู่ปัญหาเดียวโดดๆ แต่จะมีผลที่ตามมาและมีผลกระทบต่อชีวิตด้านอื่นของคุณด้วย ส่วนไหนของปัญหาที่คุณคิดว่าควรพิจารณาเป็นอันดับแรก
    • เช่น ถ้าปัญหาของคุณคือคุณไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวพักร้อนเลย ปัญหาย่อยของคุณอาจจะเป็นเพราะว่าคุณหาเวลาปลีกตัวจากงานแทบไม่ได้เลย และคุณก็เก็บเงินสำหรับไปเที่ยวพักร้อนแทบไม่ได้
    • คุณอาจจะแยกปัญหาย่อยออกจากกัน คุณอาจจะรับประทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลงไปพร้อมๆ กับการเข้าไปคุยกับหัวหน้าว่าคุณเหนื่อยกับงานมากและอยากจะลาพักร้อนสัก 1 สัปดาห์ คุณอาจจะบอกด้วยว่าการได้รับอนุญาตให้ไปพักผ่อนเติมพลังสุดท้ายแล้วจะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว
  5. ถามคำถามที่อาจช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่า คุณจะแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้หรือวิธีอื่น ให้คุณถามตัวเองว่า: [16]
    • วิธีแก้ปัญหานี้จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้จริงๆ หรือเปล่า
    • วิธีแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากแค่ไหนเมื่อคำนึงถึงเวลาและสิ่งที่ต้องใช้อื่นๆ
    • คุณจะรู้สึกอย่างไรที่เลือกแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้แทนที่จะเป็นอีกวิธีหนึ่ง
    • สิ่งที่ต้องเสียไปและประโยชน์ที่จะได้มาจากวิธีแก้ปัญหานี้คืออะไร
    • ที่ผ่านมามีใครเคยแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้สำเร็จหรือเปล่า
  6. เมื่อคุณรู้ว่าคุณต้องการทำอะไรและคุณก็รวบรวมสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของคุณแล้ว ให้ลงมือแก้ปัญหาและเผชิญหน้ากับปัญหาต่อไป ถ้าวิธีแรกไม่ได้ผล ให้ลองใช้วิธีสำรองหรือกลับไปตั้งหลักวางแผนแก้ปัญหาใหม่ สิ่งสำคัญก็คือคุณจะต้องสู้ต่อไปจนกว่าคุณจะเอาชนะปัญหาได้สำเร็จ [17]
    • ขณะที่คุณกำลังทำตามแผน ให้รางวัลตัวเองเวลาที่คุณประสบความสำเร็จเล็กๆ เพื่อที่คุณจะได้มีกำลังใจทำตามแผนต่อไปเวลาที่ปัญหามันเริ่มยาก!
    • พยายามกลั้นใจไม่ให้หนีปัญหาถ้าแผนที่คุณวางไว้แก้ปัญหาไม่ได้ จำไว้ว่าอย่ากระต่ายตื่นตูม แค่เพราะวิธีแก้ปัญหาวิธีหนึ่งไม่ได้ผลไม่ได้หมายความว่าวิธีอื่นจะแก้ปัญหาของคุณไม่ได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,826 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา