ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กลูตาไธโอน (Glutathione) ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย มันช่วยทำลายอนุมูลอิสระและกำจัดสารพิษจากร่างกาย มันจึงจำเป็นสำหรับการเผาผลาญอาหารและปฏิกิริยาทางชีวเคมี เช่น ในการสังเคราะห์และซ่อมแซม DNA, การสังเคราะห์โปรตีน, การสังเคราะห์ไขมันโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin), การลำเลียงกรดอะมิโน และการทำงานของเอนไซม์ ดังนั้น ทุกระบบในร่างกายสามารถถูกกระทบจากระบบกลูตาไธโอน โดยเฉพาะระบบภูมิต้านทาน ระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร และปอด ระดับกลูตาไธโอนในเลือดจะลดลงเมื่อคนมีอายุมากขึ้นหรือเป็นโรค กระนั้น มันก็มีหนทางที่จะเพิ่มระดับกลูตาไธโอนในตัวอยู่ [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ใช้การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกลูตาไธโอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื่องจากร่างกายคุณสร้างกลูตาไธโอนได้เอง คุณสามารถช่วยเพิ่มการผลิตโดยทานอาหารที่จะช่วยให้ร่างกายผลิตมันมากขึ้น กลูตาไธโอนนั้นประกอบด้วยกรดอะมิโนสามชนิด — กรดซิสเทอีน (cysteine), ไกลซีน (glycine) และกลูตามิก (glutamic) กรดอะมิโนสามชนิดนี้มีอยู่ในแหล่งโปรตีนไร้มันคุณภาพสูง ดังนั้นการทานโปรตีนแบบนี้จะช่วยร่างกายผลิตกลูตาไธโอนมากขึ้น [2]
    • ให้แน่ใจว่าอาหารที่คุณทานมีโปรตีนไร้ไขมันคุณภาพสูงเช่น เนื้อสัตว์ปีกไร้มัน เวย์โปรตีน โปรตีนถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากนมปฏิชีวนะและปลอดฮอร์โมน กับโยเกิร์ต ตั้งเป้าว่าจะทานสองถึงสามหน่วยบริโภคต่อวัน
  2. ผักกับผลไม้หลายชนิดมีกลูตาไธโอน การจะให้ได้รับกลูตาไธโอนจากอาหารกลุ่มนี้ให้มากที่สุดนั้น ให้ทานผักผลไม้สดๆ ไม่ใช่แบบที่ทำจนสุกเกินไปหรือผ่านการแปรรูป ทั้งสองแบบนี้จะลดระดับกลูตาไธโอนในอาหารเหล่านี้ลง [3]
    • ผักผลไม้ที่มีกลูตาไธโอนต่อหน่วยบริโภคสูงที่สุดได้แก่: หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง พริก แครอท หัวหอม บรอกโคลี อะโวคาโด สควอช ผักโขม กระเทียม มะเขือเทศ เกรปฟรุต แอปเปิล ส้ม พีช กล้วย กับเมลอน นอกจากนี้ ผักบ๊อกฉ่อย ผักสลัดน้ำ มัสตาร์ด ฮอร์สแรดิช หัวผักกาด หัวกะหล่ำ ผักกระเจี๊ยบ และเมล็ดถั่วแขกสุก จะมีสารตั้งต้นของกลูตาไธโอน [4]
    • ไซยาโนไฮดร็อกซีบูทีน (Cyanohydroxybutene) เป็นสารเคมีที่พบในบรอกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว และกะหล่ำปลี กับคลอโรฟิลในผักชีฝรั่งนั้นเชื่อกันว่ามีส่วนช่วยเพิ่มระดับของกลูตาไธโอน
    • หัวบีทได้แสดงให้เห็นว่ามีผลในเชิงบวกต่อการสร้างเอนไซม์กลูตาไธโอน (GSH) เช่นกัน [5]
  3. เครื่องเทศบางชนิด เช่น ขมิ้น อบเชย ยี่หร่า และกระวาน มีสารประกอบที่ช่วยในการฟื้นฟูระดับ GSH ให้อยู่ในระดับดีและช่วยเพิ่มการผลิตเอนไซม์ GSH [6]
    • แกงกะหรี่มักจะมีส่วนผสมของผงยี่หร่า ขมิ้น และกระวาน ลองหาสูตรแกงกะหรี่เพื่อให้ได้รับเครื่องเทศเหล่านี้เข้าไปในอาหาร
    • อบเชยนั้นอาจจะง่ายต่อการได้บริโภคมากที่สุด แค่เหยาะลงไปในกาแฟหรือในไอศกรีมสักเล็กน้อยก็ได้แล้ว
  4. เซเลเนียมยกระดับกลูตาไธโอน เปอร์ออกไซด์ โมเลกุลของซิสเทอีน (cysteine) ในกระบวนการย่อยพืชที่เติบโตในดินที่อุดมด้วยเซเลเนียมมีผลต่อการผลิต GSH [7] พูดสั้นๆ ก็คือมันจำเป็นต่อการสร้างเอนไซม์ที่มีกลูตาไธโอน
    • อาหารที่อุดมด้วยเซเลเนียมได้แก่ ซีเรียลเมล็ดดอกทานตะวัน ข้าวโอ๊ต บราซิลนัท วอลนัท ถั่วเม็ดแห้ง ปลาทูน่า เนื้อวัว เนื้อสัตว์ปีก เนยแข็ง ไข่ ไก่งวง เนื้ออกไก่ และข้าวกล้อง
    • คุณสามารถใช้อาหารเสริมเซเลเนียม ปริมาณที่แนะนำต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 55 ไมโครกรัม
  5. กรดอัลฟ่า-ลิโปอิกหรือ ALA ช่วยในการสังเคราะห์กลูตาไธโอนในร่างกาย ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มระดับกลูตาไธโอน [8] มันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในธรรมชาติที่มีความสามารถคุ้ยหาอนุมูลอิสระและมีความสามารถในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระที่เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซ์แล้วอย่างวิตามินซีและอี และช่วยทำให้พวกมันมีพลังเพิ่มขึ้น
    • อาหารที่อุดมด้วยกรดอัลฟ่า-ลิโปอิกได้แก่ ผักโขม มะเขือเทศ ถั่วลันเตา กะหล่ำดาว รำข้าว กับมายองเนส อาหารเหล่านี้หลายอย่างมีกลูตาไธโอนในธรรมชาติอยู่สูงเช่นกัน
    • คุณสามารถทานอาหารเสริม ALA วันละ 100 – 200 มก. ได้ แต่ตรวจสอบกับแพทย์ก่อนเพื่อดูว่ามันเหมาะกับคุณหรือไม่
  6. เลือกวิตามินรวมที่มีวิตามินกับแร่ธาตุที่ช่วยในเรื่องกลูตาไธโอน. อาจเป็นไปได้ยากที่คุณจะได้รับทุกอย่างตามที่ต้องการจากการทานอาหารเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นการทานวิตามินรวมก็เป็นความคิดที่ดี ให้อ่านฉลากเพื่อความแน่ใจว่ามันมีวิตามินกับแร่ธาตุดังต่อไปนี้ วิตามินกับแร่ธาตุบางตัวอาจรับจากอาหารให้ได้ตามที่ต้องการได้ยาก แต่พวกมันก็จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาชีวเคมีหลายๆ อย่าง [9] [10] [11] [12]
    • วิตามินซี
    • วิตามินอี
    • วิตามินบี6
    • วิตามินบี12
    • โฟเลท (Folate)
    • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) หรือวิตามินบี2
    • เซเลเนียม
    • แมกนีเซียม
    • ซิงค์
    • วานาเดียม
  7. พิจารณาการใช้อาหารเสริมที่มีเมทิลซัลฟอนิลมีเทน (Methylsulfonylmethane - MSM). MSM เป็นแหล่งให้ซัลเฟอร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์กลูตาไธโอน หากคุณคิดว่าอาหารที่ทานอยู่นั้นมีซัลเฟอร์ไม่พอเพียง ก็ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารเสริม MSM ดู ปริมาณที่ใช้ส่วนใหญ่ก็ 500 มก. วันละสามครั้ง [13]
    • อย่าใช้ MSM ถ้าคุณกำลังใช้ยาต้านการจับตัวเป็นก้อนของเลือด (ยาเจือจางเลือด) เว้นแต่ว่าแพทย์จะแนะนำให้ใช้
  8. การออกกำลังกายเป็นวิธีเพิ่มระบบการเผาผลาญที่ดีที่สุด และจะกระตุ้นร่างกายให้ผลิตกลูตาไธโอนมากขึ้นมาต่อสู้กับบรรดาสารพิษจากภายนอก เริ่มโปรแกรมการฝึกด้วยการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเบาๆ เช่น การเดิน แล้วค่อยขยับไปวิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รู้จักกลูตาไธโอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กลูตาไธโอนนั้นถือเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกาย มันแสดงให้เห็นว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็ง การแก่ตัว ปัญหาเรื่องหัวใจ และโรคทางสมอง ร่างกายเราจะผลิตสารต้านอนุมูลอิสระทางธรรมชาติที่ทรงพลังตัวนี้ แต่ปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างมีผลทำให้ระดับของมันลดลง: [19]
    • มลพิษหรือสารพิษในอากาศ
    • ยาเสพติด
    • การติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
    • การฉายรังสี
    • การแก่ตัวลง
  2. สารต้านอนุมูลอิสระตัวนี้สร้างขึ้นจากสารประกอบกรดอะมิโนหลายตัวที่รู้จักกันในชื่อ ซิสเทอีน ไกลซีน และกลูตามีน กรดอะมิโนนั้นมีสารกลุ่มซัลเฟอร์ (SH) อยู่ในโครงสร้างซึ่งทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำคอยฟอกจับสารพิษไว้บนพื้นผิวของมัน เช่น สารโลหะหนัก สารปรอท หรืออนุมูลอิสระที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย
    • เมื่อสารพิษเหล่านี้เพิ่มปริมาณขึ้นในร่างกาย พวกมันจะถูกเก็บสะสมและสามารถสกัดกั้นการปล่อยกลูตาไธโอน นั่นคือจุดที่เราต้องช่วยเพิ่มกลูตาไธโอนเข้าไปในอาหาร หรือต้องกระตุ้นให้มันหลั่งออกมาตามธรรมชาติอีกครั้ง
  3. กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังซึ่งช่วยเราขับสารพิษกับอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย มันทำงานโดยการจับสารพิษมาติดกับผิวของตัวกลูตาไธโอนเอง แล้วขับออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระหรือน้ำดี [20]
    • การขาดกลูตาไธโอนสามารถทำให้เกิดสภาวะที่รุนแรงเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ การติดเชื้อ โรคไขข้อ และตับกับไตล้มเหลว
    • กลูตาไธโอนเพิ่มและสนับสนุนระบบภูมิต้านทานในระหว่างการต่อสู้กับโรคและการติดเชื้อ มันจะเพิ่มการผลิตไซโตคีน (cytokine) อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิต้านทาน และช่วยเพิ่มพลังการทำลายของเซลล์ไซโตท็อกซิก (cytotoxic) มันยังช่วยให้สารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินซีและอีพร้อมทำงานเสมอ
    • กลูตาไธโอนมีบทบาทสำคัญในการรักษากิจกรรมทางกายและสุขภาพจิตของเราให้คงที่ ป้องกันอาการผิดปกติทางจิตรุนแรง อาทิ โรคจิตเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ กลูตาไธโอนยังจำเป็นต่อสุขภาพของเซลล์ผิวหนังเราเช่นกัน มันช่วยชะลอการแก่ตัวลงและรักษาการทำหน้าที่ของเซลล์ให้เป็นไปตามปกติ
  4. รู้ว่าเมื่อไหร่ต้องเข้ารับการบำบัดกลูตาไธโอน. มีอาหารเสริมกลูตาไธโอนทั้งในรูปแบบรับประทาน สูดดม และฉีดเข้าร่างกายให้เลือก แต่ทั้งหมดนี้มักจะนำมาใช้เพื่อบำบัดโรคร้ายแรง แพทย์จะใช้กลูตาไธโอนมารักษาสภาวะของร่างกายดังต่อไปนี้: [21]
    • โรคโลหิตจาง
    • โรคพาร์กินสัน
    • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
    • โรคเบาหวาน
    • โรคมะเร็ง
    • โรคเอดส์
    โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าใช้กลูตาไธโอนในรูปแบบการสูดดมถ้าคุณเป็นโรคหอบหืด มันอาจทำให้หลอดลมบีบเกร็งในคนที่เป็นโรคหอบหืดได้ [22]
  • ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะควรหลีกเลี่ยงการใช้กลูตาไธโอนบำบัดในทุกกรณีเพื่อหลีกเลี่ยงการที่อวัยวะนั้นจะตอบปฏิเสธ
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=50746
  2. http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/124886
  3. Palanisamy N, Manian S. Protective effects of Asparagus racemosus on oxidative damage in isoniazid-induced hepatotoxic rats: an in vivo study. Toxicol Ind Health. 2012 Apr;28(3):238-44. doi:10.1177/0748233711410911
  4. http://www.immunehealthscience.com/glutathione-foods.html
  5. Lee JH, Son CW, Kim MY, Kim MH, et al. Red beet (Beta vulgaris L.) leaf supplementation improves antioxidant status in C57BL/6J mice fed high fat high cholesterol diet. Nutr Res Pract. 2009 Summer;3(2):114-21. doi: 10.4162/nrp.2009.3.2.114. Epub 2009 Jun 30
  6. García-Niño WR, Pedraza-Chaverrí J. Protective effect of curcumin against heavy metals-induced liver damage. Food Chem Toxicol. 2014 Jul;69C:182-201. doi: 10.1016/j.fct.2014.04.016. Epub 2014 Apr 18. Review
  7. Song E, Su C, Fu J, Xia X, et al. Selenium supplementation shows protective effects against patulin-induced brain damage in mice via increases in GSH-related enzyme activity and expression. Life Sci. 2014 Jun 12. pii: S0024-3205(14)00532-3. doi: 10.1016/j.lfs.2014.05.022. [Epub ahead of print]
  8. Mignini F, Nasuti C, Fedeli D, Mattioli L, et al. Protective effect of alpha-lipoic acid on cypermethrin-induced oxidative stress in Wistar rats. Int J Immunopathol Pharmacol. 2013 Oct-Dec;26(4):871-81
  9. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Selenium-HealthProfessional/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,618 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา