ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โลกปัจจุบันของเราเต็มไปด้วยกิจกรรมสุดตื่นเต้นมากมาย แต่ในกีฬาหลายๆ ชนิด คุณจะต้องอาศัยอากาศจำนวนมากเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ แม้วิธีการเพิ่มขนาดปอดจะมีอยู่มากมายหลายหลาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายวิธีที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มปริมาณอากาศที่สามารถเข้าสู่ปอด รวมถึงประสิทธิภาพในการดักจับออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย ลองฝึกวิธีบริหารร่างกายต่อไปนี้เป็นประจำทุกวัน แล้วคุณจะพบว่าปอดของคุณสามารถจุอากาศได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การเพิ่มความจุปอดแบบเร่งด่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถเพิ่มปริมาณอากาศที่ปอดสามารถรับได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่ต้องลงทุนระยะยาวใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหรือใช้อุปกรณ์ฝึก เพียงแค่นำเทคนิคการหายใจเข้าลึกๆ อย่างสม่ำเสมอไปใช้เท่านั้น
    • ฝึกการหายใจออกอย่างช้าๆ เพื่อเอาอากาศออกมาให้หมดสัก 2-3 ครั้งก่อนที่จะเริ่มฝึกหายใจเข้า พยายามอย่าให้อากาศหลงเหลืออยู่ในปอดแม้เพียงนิดเดียว คุณจะได้หายใจเอาอากาศเข้าไปได้มากขึ้นในลมหายใจต่อไป
    • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณท้องเพื่อให้กะบังลมเลื่อนต่ำลง คุณจะสังเกตได้ว่าท้องของคุณขยายออกในขณะที่กะบังลมเลื่อนต่ำลง ทำให้เกิดพื้นที่ว่างบริเวณรอบๆ ปอดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ปอดเก็บอากาศได้มากขึ้นนั่นเอง
    • กางแขนออกให้ห่างจากลำตัวเพื่อเปิดช่วงอก
  2. คุณอาจต้องเติมอากาศเข้าไปให้ได้สัก 80%-85% ของความจุปอดเพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แต่คุณคงไม่อยากเติมอากาศเข้าไปในปอดแบบเต็มอัตราอย่างแน่นอน เพราะนั่นจะทำให้กล้ามเนื้อของคุณเกิดการหดเกร็งและทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้หาเพื่อนสักคนมาคอยจับตาดูในระหว่างที่คุณฝึกหายใจ เพราะการฝึกหายใจอาจทำให้คุณหมดสติได้เช่นเดียวกัน และถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น คุณคงอยากมีเพื่อนสักคนที่เข้ามาช่วยได้ทันท่วงทีจริงไหม
    • ไม่จำเป็นต้องหายใจจนแก้มป่องบ้องแบ๊ว คุณจะต้องผ่อนคลายและไม่เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เพราะมีเพียงกล้ามเนื้อบริเวณท้องและกะบังลมเท่านั้นที่เราจะใช้ในการฝึกนี้
  3. ลองสาดน้ำใส่หน้าในขณะที่กำลังกลั้นหายใจ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า การสาดน้ำใส่หน้าจะช่วยกระตุ้นให้ภาวะหัวใจเต้นช้าหรือระยะแรกของปฏิกิริยาดำน้ำเกิดขึ้นเร็วขึ้น พูดง่ายๆ คือ วิธีการนี้จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเร็วขึ้นนั่นเอง
    • ร่างกายของคุณจะเตรียมพร้อมสำหรับการดำลงใต้น้ำ ซึ่งจะต้องอาศัยการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจอย่างมีประสิทธิภาพและส่งออกซิเจนไปยังกระแสเลือดอย่างเพียงพอ เพื่อให้คุณมีชีวิตรอดเมื่ออยู่ใต้น้ำ
    • พยายามใช้น้ำเย็นแต่ไม่ต้องถึงกับเย็นจัด เพราะน้ำเย็นจัดจะกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองในอีกรูปแบบหนึ่ง คือทำให้เกิดอาการหายใจเร็วผิดปกติหรือทำให้คุณพยายามหายใจถี่ขึ้น และการหายใจเร็วผิดปกติจะทำให้คุณไม่สามารถกลั้นหายใจได้นาน
  4. ลองนั่งสมาธิหรือแค่ปิดตาไว้ก็ได้ เพราะยิ่งคุณใช้พลังงานน้อยเท่าไร ร่างกายก็จะยิ่งกลั้นหายใจได้นานขึ้นเท่านั้น
    • ตั้งอุปกรณ์ให้จังหวะไว้ที่ 120 ครั้งต่อวินาที
    • หายใจจากกะบังลม (ท้อง) โดยพยายามหายใจเข้าให้ได้ 8 จังหวะ
    • ฝึกกลั้นหายใจโดยนับ 1-2 สัก 2 รอบ โดยให้หายใจเข้าไปด้วยในขณะที่กลั้นหายใจไว้ สำหรับขั้นตอนนี้คุณอาจจะลองเปลี่ยนเป็นหายใจผ่านจมูกก็ได้เช่นเดียวกัน
  5. กลั้นหายใจให้ได้ 4 จังหวะ จากนั้นให้ทำกลับกันลงไป. คือ หายใจออก 8 จังหวะ กลั้นหายใจไว้ 2 จังหวะ หายใจออก กลั้นหายใจอีก 2 จังหวะ แล้วจึงหายใจออก
    • หลังจากทำได้สัก 3-4 ครั้ง คุณจะสังเกตได้ว่าปอดของคุณสามารถกักเก็บอากาศได้มากกว่าเมื่อ 20 นาทีก่อนหน้านี้
    • การฝึกเช่นนี้เป็นประจำยังช่วยปรับการทำงานของปอดในระยะยาวได้อีกด้วย โดยควรพยายามลดจำนวนครั้งต่อนาทีของอุปกรณ์ให้จังหวะสัก 3 หรือ 4 จังหวะในแต่ละสัปดาห์
    • “อย่าเผลอ” ลดจังหวะของอุปกรณ์ให้จังหวะมากเกินไป เพราะมันจะเป็นการทำร้ายปอดของคุณเสียเอง การฝึกนี้ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่อาศัยความสม่ำเสมอ เหมือนกับการออกกำลังกายทั่วไปนั่นแหละ
  6. วิธีการนี้จะฝึกภายในบริเวณบ้าน ที่ทำงาน ในระหว่างที่นั่งเล่นดูทีวี หรือทำกิจกรรมโน่นนี้ก็ได้หมด [1]
    • รู้หรือไม่ว่า การเป่าลูกโป่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการสุดเจ๋งในการเพิ่มความจุปอด ไม่ว่าคุณจะกำลังเดิน ทำงานบ้าน หรือบังเอิญมีเวลาว่างประเดี๋ยวนึง ลองฉกฉวยเวลานี้หยิบลูกโป่งขึ้นมาเป่าแล้วปล่อยลมออก หลังจากฝึกเช่นนี้ซ้ำๆ คุณจะสังเกตได้เลยว่าปอดของคุณสามารถปั๊มลมออกมาได้มากขึ้น แถมยังแรงขึ้นและนานขึ้นอีกด้วย
    • อีกวิธีการหนึ่ง คือการแปะกระดาษ (หรือทิชชู่) เบาๆ ยาวๆ ไว้ที่ปลายจมูก แล้วพยายามเป่าให้แผ่นกระดาษลอยในอากาศให้นานที่สุด และอย่าลืมลองจับเวลาดูด้วย ถ้าฝึกเป็นประจำ คุณจะเป่ากระดาษให้ลอยอยู่ได้นานขึ้นเรื่อยๆ และเรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่าปอดของคุณสามารถจุอากาศได้มากขึ้นนั่นเอง
    • การฝึกหายใจระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันก็ช่วยได้เช่นเดียวกัน วิธีการก็คือ ให้หายใจเข้าประมาณ 2-20 วินาที แล้วหายใจออกประมาณ 10-20 วินาที จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นทีละนิดๆ หากฝึกได้มากพอ ในไม่ช้าคุณจะพบว่าตัวเองสามารถหายใจออกได้ถึง 45 วินาที ถึง 2 นาทีเลยทีเดียว! วิธีการนี้สามารถฝึกได้ง่ายๆ ในระหว่างที่ขับรถ นั่งในออฟฟิศ ดูทีวี เล่นวิดีโอเกม ทำรายงาน ที่โต๊ะเรียน หรืออาจจะเป็นตอนที่คุณเบื่อๆ ไม่มีอะไรทำ!
    • ลองหายใจให้เร็วกว่าปกติก่อนที่จะฝึกกลั้นหายใจ การหายใจเร็วกว่าปกติก็คือการหายใจเข้าออกแบบถี่ๆ นั่นเอง แต่ต้องขอเตือนก่อนว่า การหายใจเร็วกว่าปกติก่อนที่จะลงไปดำน้ำนั้นอาจเป็นอันตรายได้ เพราะแรงขับในการหายใจอาจทำงานช้าลงจนเกินจุดที่ร่างกายรับไหว ซึ่งอาจทำให้คุณหมดสติได้ในที่สุด!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การเพิ่มความจุปอดด้วยการออกกำลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายในน้ำเป็นการใส่แบบฝึกความต้านทานเพิ่มเข้าไปในตารางชีวิตของคุณ ร่างกายของคุณจะต้องทำงานนอกเวลาเพื่อที่จะส่งออกซิเจนเข้าไปในกระแสเลือดให้ได้เพียงพอ วิธีนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นการบริหารปอดที่เลิศสุดๆ [2]
    • จัดตารางฝึกการยืดเส้นยืดสายและยกน้ำหนักในน้ำ ที่สำคัญต้องไม่ลืมปรับเพิ่มน้ำหนักของอุปกรณ์ฝึก เพราะวัตถุต่างๆ จะรู้สึกเบาขึ้นเมื่อคุณมีน้ำอยู่รอบตัว ลองฝึกด้วยวิธีการนี้สัก 2-3 วัน จนกว่าจะปรับทุกสิ่งทุกอย่างได้ลงตัว
    • นำอุปกรณ์ไปยังสระน้ำ และลงไปในน้ำโดยให้ระดับน้ำสูงประมาณคอ จากนั้นก็เริ่มฝึกในน้ำได้เลย วิธีการนี้อาจดูเหมือนไม่ได้อะไรเลย แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเลือดที่ไหลเวียนเข้าไปในช่องอกและแรงบีบอัดที่เข้ามาปะทะร่างกายจะบังคับให้คุณต้องหายใจถี่ขึ้นและสั้นขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อออกกำลังกายในน้ำ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ความจุอากาศของปอดอาจลดลงได้ถึง 75% แต่ร่างกายของคุณจะมีปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไปนี้ ดังนั้น ถ้าคุณออกกำลังกายในน้ำเป็นเวลานานพอและทำเป็นประจำ ระบบหายใจของคุณจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ความจุปอดเพิ่มขึ้นได้ในที่สุด

  2. ทำกิจกรรมหนักๆ ที่กระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด. การออกกำลังกายถือเป็นวิธีการที่ดีในการเพิ่มความจุปอด วิธีการก็คือ ให้คุณออกกำลังกายแบบสุดแรงเกิดอย่างน้อย 30 นาทีจนรู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง เพื่อให้ปอดของคุณได้ทำงานอย่างหนัก เพราะเมื่อได้ทำงานอย่างหนัก ปอดของคุณจะสามารถจุอากาศได้มากขึ้นนั่นเอง [3]
    • ลองเต้นแอโรบิก: คุณอาจจะตกใจเมื่อเห็นว่าปอดของคุณจุอากาศได้ดีขึ้นขนาดไหนหลังจากออกแรงแดนซ์อย่างหนักแค่ไม่นาน
    • ปั่นจักรยาน: เพิ่มความวิบากให้กับเส้นทางด้วยการปั่นขึ้นทางชัน เพราะการปั่นจักรยานขึ้นภูเขาหมายความว่าร่างกายของคุณจะต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงขามากขึ้น และปอดก็ต้องเร่งส่งออกซิเจนไปยังกระแสเลือดด้วยเช่นกัน [4]
    • ออกวิ่ง: อาจแค่วิ่งบนเส้นทางเรียบๆ หรือบนลู่วิ่งไฟฟ้าเพื่อไม่ให้เข่าและข้อต่อได้รับความกระทบกระเทือนมากเกินไป โดยอาจจะวิ่งแบบเต็มฝีเท้าเพิ่มด้วยก็ได้ เพื่อความชัวร์ว่าปอดของคุณได้ทำงานอย่างหนักหน่วงแล้ว
    • ว่ายน้ำ: การว่ายน้ำเป็นกีฬาที่สามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับหัวใจและหลอดเลือดของคุณได้มากที่สุด รู้หรือไม่ว่า ปอดของนักว่ายน้ำสามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าคนทั่วไปสูงสุดถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
  3. การออกกำลังกายบนพื้นที่สูงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับปอดได้ชัวร์แบบไม่มั่วนิ่ม เพราะอากาศบนพื้นที่สูงจะมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าระดับทั่วไป จึงทำให้การออกกำลังกายกลายเป็นอะไรที่ทรหดกว่าสุดๆ แต่รางวัลที่คุณจะได้ก็ดีกว่าแบบสุดๆ ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปอดของคุณ [5]
    • ถ้าคุณจริงจังกับการเพิ่มความจุปอดแบบสุดๆ ล่ะก็ ลองย้ายถิ่นฐานไปอยู่บนที่ราบสูงตลอดช่วงระยะการฝึกดูสิ เพราะอากาศที่ระดับความสูง 8,000 ฟุต (2,500 เมตร) เหนือน้ำทะเลมีปริมาณออกซิเจนอยู่แค่ 74% [6] ของพื้นที่ระดับน้ำทะเลเท่านั้น นั่นหมายความว่าปอดของคุณจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดให้ได้มากที่สุด
    • เมื่อเดินทางกลับลงมายังพื้นที่ต่ำ ร่างกายของคุณจะยังมีเซลล์เม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินอยู่ในระดับสูงได้อีกถึงประมาณ 2 สัปดาห์ นั่นก็หมายความว่าปอดของคุณมีความจุโดยรวมเพิ่มขึ้นแล้ว
    • ระวังอย่าหักโหมฝึกมากเกินไปเมื่ออยู่บนพื้นที่สูง เพราะโรคแพ้ความสูงอาจมาเยี่ยมเยือนโดยไม่รู้ตัว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การเพิ่มความจุปอดด้วยการบริหารร่างกายระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปอดของคุณจะตอบสนองต่อสิ่งที่คุณฝึก เพราะฉะนั้น ลองฝึกความต้านทานเป็นประจำ แล้วคุณจะเห็นได้ว่าปอดของคุณมีความจุเพิ่มขึ้น [7]
    • หายใจผ่านจมูกตามปกติ โดยการสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออกทางปากโดยที่ริมฝีปากยังปิดสนิท จากนั้นจึงเปิดปากออกเล็กน้อยเพื่อให้อากาศผ่านออกมาได้สักหน่อยแต่ก็ยังพอมีแรงต้านอยู่ พยายามฝึกแบบนี้บ่อยๆ เพราะมันจะช่วยให้ถุงลมในปอดของคุณคุ้นชินกับการต้องกลั้นหายใจนานๆ มากขึ้น และค่อยๆ ขยายออก
  2. หายใจเข้าให้ได้มากกว่าที่สมองคิดว่าคุณจะทำได้. สมองของคุณมีหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยให้กับร่างกายของคุณ มันจึงไม่ยอมทำอะไรที่เกินกว่าขีดจำกัดของร่างกายโดยเด็ดขาด แต่รู้หรือไม่ว่า ร่างกายของคุณสามารถทำสิ่งที่คุณไม่คาดคิดได้ หากคุณสามารถเกลี้ยกล่อมให้สมองเชื่อว่าทุกอย่างยังคงโอเค เพราะฉะนั้น ลองนำวิธีการต่อไปนี้ไปใช้กันดีกว่า
    • นับ 1 ถึง 8 พร้อมหายใจเข้าจนกระทั่งอากาศเข้าไปในปอดได้เต็มอัตราศึก คุณควรจะหายใจเข้าได้อีกหลังจากการนับในแต่ละจังหวะ
    • ลองนับต่อไปอีกจาก 8 จนถึง 16 พร้อมกับสูดอากาศเข้าไปอีกทีละนิดๆ คุณจะรู้สึกได้ว่าหน้าท้องของคุณขยายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่พยายามอย่าให้ไหล่ขยับล่ะ
    • กลั้นหายใจไว้สัก 2-3 วินาที แล้วจึงปล่อยออกมาอย่างแรง
    • หลังจากที่รู้สึก “โล่ง” ให้ทำเสียง “ทสสสสสส” ให้นานที่สุด (เสียงนี้เราเรียกว่า “เสียงฟ่อ” ซึ่งเลียนแบบแรงต้านที่เกิดขึ้นเมื่อเล่นเครื่องดนตรีเป่า)
    • พยายามฝึกวิธีการเหล่านี้เป็นระยะๆ เพราะหลังจากที่สมองได้รับการฝึกให้เพิ่มขีดจำกัดของร่างกายแล้ว คุณจะสามารถหายใจเอาอากาศเข้าไปได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว
  3. การเล่นเครื่องดนตรีเป่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการดีๆ ให้คุณได้บริหารปอดเป็นประจำ แถมยังได้สนุกกับการสร้างเสียงดนตรีให้ตรงโน้ตอีกด้วย
    • ลองศึกษาวิธีการเล่นเครื่องเป่าลมไม้หรือเครื่องเป่าทองเหลือง เช่น บาสซูน ทูบา ทรัมเป็ต ทรอมโบน โอโบ คลาริเน็ต แซกโซโฟน หรือฟลูต กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้คุณควบคุมการหายใจได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความจุปอดให้คุณสามารถใช้ถุงลมได้แบบเต็มพิกัด
    • ลองเข้าวงโยธวาทิตหรือวงดุริยางค์เครื่องเป่าทองเหลือง (Drum and Bugle Corps) เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะบังคับให้คุณต้องใช้ความจุปอดมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาที่เดินขบวนและเล่นเครื่องดนตรี แถมยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย
    • หรือจะลองเรียนรู้วิธีการร้องเพลงที่ถูกต้องก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะการร้องเพลงถือเป็นการฝึกกะบังลมได้เป็นอย่างดี แถมยังมีส่วนช่วยในการฝึกหายใจอย่างต่อเนื่อง และคุณก็รู้ใช่ไหมว่าการจะเป็นนักร้องได้นั้น คุณจะต้องมีปอดที่แข็งแรงจริงๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อลงไปในสระ พยายามให้หน้าอกของคุณอยู่ลึกลงไปใต้น้ำให้มากที่สุด และพยายามหายใจผ่านท่อ เพราะยิ่งคุณอยู่ลึกลงไปมากเท่าไร แรงดันที่เข้ามาปะทะหน้าอกก็จะยิ่งมากขึ้น และทำให้คุณหายใจได้ลำบากขึ้นไปด้วย แต่ต้องคอยระวังให้ท่อขึ้นพ้นน้ำอยู่ตลอด ไม่อย่างนั้นน้ำจะทะลักเข้าไปในปอดของคุณ บอกไว้เลยว่าเพียงแค่ท่อต่ำลงมาสัก 2-3 ฟุต คุณก็อาจหายใจเข้าไม่ได้แล้ว ที่สำคัญอย่าลืมหายใจออกก่อนที่จะขึ้นเหนือผิวน้ำ อย่าขึ้นเหนือน้ำในขณะที่ปอดเต็มไปด้วยอากาศเป็นอันขาด เพราะปอดของคุณอาจจะเกิดการบาดเจ็บเนื่องจากแรงกดดัน (อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อดำลงไป 2-3 เมตรขึ้นไป)
  • คุณคงจะรู้อยู่แล้วล่ะว่าไม่ควรไปข้องเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม แต่รู้หรือไม่ว่า คุณควรอยู่ให้ห่างจากสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยควันบุหรี่ ซึ่งเป็นที่ที่คุณจะเสี่ยงกับการรับควันบุหรี่มือสอง เพราะควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อม (ETS) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสูดควันบุหรี่ และสามารถลดความจุปอดได้เช่นเดียวกัน
  • ลองเล่นดิดเจริดู (Didgeridoo) ในการเล่นเจ้าเครื่องดนตรีชนิดนี้ คุณจะต้องหายใจวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยเพิ่มความจุปอดได้ดีสุดๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • เมื่อไหร่ที่รู้สึกวิงเวียนคล้ายจะเป็นลม ให้พยายามหายใจตามปกติ
  • ทุกครั้งที่ไปว่ายน้ำเพื่อฝึกหายใจ ควรจะมีเพื่อนไปด้วยสักคน หรือพยายามว่ายในที่สาธารณะเข้าไว้
  • เมื่อฝึกหายใจใต้น้ำ (เช่น เมื่อดำน้ำลึก) พยายามดำที่ระดับความลึกคงที่ และอย่ากลั้นหายใจหรือหายใจเข้าลึกๆ ขณะว่ายขึ้น เพราะปริมาณอากาศจะเพิ่มขึ้นเมื่อขึ้นเหนือผิวน้ำ และการกลั้นหายใจอาจทำให้ปอดของคุณฉีกขาดได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,216 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา