ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ยิ่งคุณมีจำนวนอสุจิมากแค่ไหน คุณก็จะยิ่งมีสิทธิเป็นพ่อเด็กได้ง่ายขึ้น เวลาที่คุณหลั่งน้ำอสุจิ น้ำอสุจิควรจะมีจำนวนอสุจิอย่างน้อย 15 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร หากมีจำนวนน้อยกว่านั้น นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะหมดสิทธิมีบุตร มันเพียงแต่ทำให้มีบุตรยากขึ้นเท่านั้น คุณสามารถเพิ่มจำนวนอสุจิให้สูงที่สุดเท่าที่ร่างกายทำได้โดยการปกป้องตัวอสุจิจากสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อมัน มีการดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อการมีสุขภาพแข็งแรง และเข้ารับการรักษาถ้าหากมีปัญหาซ่อนเร้นใดๆ [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปกป้องตัวอสุจิ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสูบบุหรี่นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับจำนวนตัวอสุจิที่ลดลงและตัวที่มีก็ไม่ได้แข็งแรงเลย มันจะทำให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดแผกและไม่ค่อยเคลื่อนที่ ส่งผลให้มันยากที่จะไปผสมกับไข่ [2] ถ้าคุณเลิกบุหรี่ได้ จำนวนอสุจิอาจเพิ่มขึ้น [3] หากคุณต้องการความช่วยเหลือเพื่อเลิกบุหรี่ สามารถขอความช่วยเหลือได้จาก: [4]
    • ปรึกษาแพทย์ เข้าร่วมโปรแกรมการรักษา หรือไปพบผู้เชี่ยวชาญ หากคุณลองใช้การเลิกบุหรี่โดยให้นิโคตินทดแทน ลองปรึกษาแพทย์ดูว่ามันจะช่วยเรื่องการเพิ่มจำนวนอสุจิหรือไม่
    • ปรึกษาเพื่อนและครอบครัว
    • เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนให้กำลังใจทั้งส่วนตัวหรือออนไลน์
    • หากำลังใจจากสายด่วนฮอตไลน์ซึ่งมีบริการในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ลองค้นหมายเลขในสมุดโทรศัพท์ดู
  2. การดื่มหนักจะลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและลดการผลิตตัวอสุจิลง [5] หากคุณเป็นห่วงว่าการดื่มจะไปลดจำนวนอสุจิลงแล้วละก็ คุณต้องการความช่วยเหลือในการเลิกดื่มแอลกอฮอล์ มีหลายแหล่งข้อมูลที่จะช่วยคุณได้: [6] [7]
    • เข้าร่วมโปรแกรมดีท็อกซ์เพื่อให้ได้รับคำแนะนำด้านการรักษาในระหว่างเลิก
    • หากำลังใจจากผู้ให้คำปรึกษาหรือกลุ่มเสริมกำลังใจอย่างกลุ่มผู้ติดสุรานิรนาม
    • เข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งที่ไปพบคนเดียวหรือไปพร้อมเพื่อนหรือญาติพี่น้อง
    • ลองใช้การรักษาด้วยยาเพื่อลดอาการอยาก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้ยาในขณะที่คุณต้องการจะมีลูก
    • เข้าร่วมโปรแกรมการรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ติดสุราและยาเสพติดสำหรับการดูแลรักษาและให้กำลังใจตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง
  3. ยาหลายชนิดที่อาจทำลายอัณฑะหรือตัวอสุจิ แถมยาที่ซื้อตามข้างถนนไม่มีการควบคุมคุณภาพ นั่นหมายความว่ามันอาจมีสารเคมีอื่นเจือปนซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวอสุจิ ส่วนความเสียหายจะเกิดในรูปแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับชนิดสารเคมีที่คุณใช้และจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ [8]
    • โคเคนกับกัญชาอาจทำให้ตัวอสุจิมีจำนวนลดน้อยลงและที่มีก็ไม่แข็งแรง
    • สเตียรอยด์ชนิดสร้างกล้าม (Anabolic steroids) อาจทำให้ถุงอัณฑะฝ่อและลดปริมาณของตัวอสุจิลง
  4. หลีกเลี่ยงสารเคมีในวงการอุตสาหกรรมหรือสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวอสุจิ. หากงานของคุณจำต้องสัมผัสกับสารเหล่านี้ ให้สวมชุดนิรภัยและปรึกษาแพทย์ด้วยว่ามันจะทำให้จำนวนตัวอสุจิของคุณลดลงหรือไม่ ยิ่งคุณเข้าใกล้แค่ไหน ก็ยิ่งเป็นไปได้ว่ามันจะไปลดตัวอสุจิลง พวกมันก็ได้แก่: [9] [10]
    • เบนซีน
    • โทลูอีน (Toluene)
    • ไซลีน (Xylene)
    • สารกำจัดวัชพืช
    • ยาฆ่าแมลง
    • ตัวทำละลายอินทรีย์ (Organic solvents)
    • วัสดุที่ใช้ในการทาสี
    • ตะกั่ว
    • โลหะหนัก
  5. ลดโอกาสที่จะเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ลง (sexually transmitted disease -STD). โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถก่อความเสียหายแก่ถุงอัณฑะ หยุดการผลิตตัวอสุจิ หรือทำลายท่อลำเลียงอสุจิลงได้ คุณสามารถลดโอกาสการติดโรคเหล่านี้ก็ด้วยการไม่สำส่อนหรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่ครอง [11] [12] [13]
    • สวมใส่ถุงยางอนามัยก่อนที่จะมีการโอ้โลมทางเพศและให้ใช้มันไปจนสิ้นกระบวนการ
    • ถ้าหากถุงยางเกิดฉีกขาด ให้เปลี่ยนใหม่ทันที
    • อย่าใช้ถุงยางที่หมดอายุแล้ว มันฉีกขาดได้ง่าย
  6. เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. โรคติดต่อเหล่านี้ส่วนมากสามารถรักษาให้หายได้ถ้าได้รับยาที่ถูกต้อง การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยเพิ่มการสร้างตัวอสุจิได้ ยิ่งถ้าคุณติดโรคมาเป็นเวลานานขึ้น ก็ยิ่งเป็นไปได้ว่าคุณจะมีอาการรุนแรงเรื้อรังจนไปทำลายระบบการสืบพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตัวอสุจิน้อยลงได้แก่: [14] [15]
    • โรคหนองในเทียม
    • โรคหนองใน
    • โรคต่อมลูกหมากอักเสบ
    • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    • การติดเชื้อที่ถุงอัณฑะ
  7. สอบถามแพทย์ดูว่าการรักษาจะทำให้ตัวอสุจิของคุณลดลงหรือไม่. อย่าเพียงแค่หยุดใช้ยา ต้องปรึกษาแพทย์เสมอเพราะอาจสามารถเปลี่ยนตัวยาถ้ามันเป็นสาเหตุที่ทำให้การผลิตอสุจิลดลงจริง ยาที่สามารถลดจำนวนอสุจิหรือมีผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ได้แก่: [16] [17] [18]
    • สเตียรอยด์สร้างกล้ามเนื้อ
    • ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อราบางชนิด
    • ยารักษาแผลในกระเพาะอาหารบางตัว
    • การบำบัดด้วยการทดแทนฮอร์โมนเพศชาย
    • การรักษาโรคมะเร็งอย่างการฉายรังสี
    • ยาลดความดันในกลุ่มต่อต้านไม่ให้แคลเซียมเข้าสู่หัวใจ (Calcium channel blocker)
    • ยาต้านโรคซึมเศร้าประเภทไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressant)
  8. อากาศที่ร้อนเกินไปทำให้การผลิตอสุจิลดลงได้ หากคุณต้องทำงานที่อยู่ใกล้ความร้อนจัด ให้ปรึกษาแพทย์ดูว่ามันมีส่วนลดอสุจิลงไหม คุณสามารถปกป้องอสุจิตนเองโดย: [19]
    • สวมกางเกงในที่ไม่คับ
    • ไม่เข้าซาวน่าหรือแช่น้ำร้อน
    • ไม่นั่งโดยวางแล็ปท็อปไว้บนหน้าตัก
    • ลดระยะเวลาการนั่งกับที่ให้น้อยลงที่สุด นี่เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับผู้ชายประเภทสิงห์รถบรรทุกที่ต้องนั่งขับระยะทางไกลเป็นเวลานานๆ


วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เพิ่มอัตราการผลิตตัวอสุจิให้เต็มที่สูงสุดด้วยการใช้ชีวิตแบบเน้นสุขภาพดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยคุณลดความเสียหายแก่ตัวอสุจิและทำให้มันแข็งแรง [20] สารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ วิตามินซี, วิตามินอี, เซเลเนียม (selenium), แคโรทีนอยด์ (carotenoid), เบต้า-แคโรทีน (beta-carotene), ไลโคปีน (lycopene), ลูทีน(lutein) และซีอาแซนธิน (zeaxanthin) [21] ผัก ผลไม้ มันฝรั่ง ถั่วเปลือกแข็ง และถั่วฝัก เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ซึ่งได้แก่:
  2. การออกกำลังกายอาจเพิ่มระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย มันยังช่วยคุณควบคุมน้ำหนักตัว เพราะการมีน้ำหนักตัวสูงเกินไปนั้นเกี่ยวข้องกับการผลิตอสุจิที่ลดลง นี่อาจจะช่วยได้ [28] โรงพยาบาลเมโยแนะนำว่า: [29]
    • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นเวลา 75 – 150 นาทีต่อสัปดาห์ อย่างการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬา
    • ออกกำลังฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ อย่างการเล่นเวทสัปดาห์ละสองครั้ง
  3. ฮอร์โมนเครียดสามารถลดระดับอารมณ์ทางเพศ ขัดขวางการถึงจุดสุดยอด และลดปริมาณตัวอสุจิ [30] พัฒนาทักษะการรับมือกับความเครียดได้ดีโดย: [31]
    • ออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟินซึ่งช่วยให้อารมณ์แจ่มใสและผ่อนคลาย
    • ใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดอย่างเช่น การสูดลมหายใจลึกๆ การทำโยคะ การนั่งสมาธิ การจินตนาการภาพสมมติที่สงบนิ่ง การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย การนวด การบำบัดด้วยดนตรีหรือศิลปะ
    • พบผู้ให้คำปรึกษาหรือเข้าร่วมกลุ่มให้กำลังใจ
    • พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว
  4. หลับให้เพียงพอ. การนอนไม่เต็มอิ่มจะลดปริมาณการผลิตตัวอสุจิลงไปถึงเกือบ 30% [32] ผู้ใหญ่โดยมากต้องการการนอนหลับประมาณแปดชั่วโมงในแต่ละคืน คุณสามารถพัฒนานิสัยการนอนหลับได้โดย: [33]
    • เข้านอนเวลาเดิมทุกคืน
    • ลดการบริโภคคาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้ล้วนรบกวนการนอน
    • ทำให้ห้องนอนมืดและเงียบสงบในเวลาที่คุณหลับ
    • ลดเวลาการนอนกลางวันลง
    • ออกกำลังกายมากขึ้น จะได้รู้สึกเพลียในตอนค่ำ
  5. ผู้หญิงมักจะไข่ตกประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์คือหนึ่งหรือสองวันก่อนวันตกไข่ เธอสามารถตรวจวงจรการตกไข่ได้โดย: [34]
    • สังเกตการเปลี่ยนแปลงในร่างกายเธอที่เป็นสัญญาณของการตกไข่ เช่น ปวดบริเวณท้อง
    • สังเกตมีตกขาวมากขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณของการตกไข่
    • วัดอุณหภูมิเธอทุกเช้า อุณหภูมิยามพักปกติของผู้หญิงจะสูงขึ้นในระหว่างที่ไข่ตก
    • ซื้อชุดอุปกรณ์ทดสอบการตกไข่ อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยทดสอบปัสสาวะเพื่อตรวจจับปริมาณที่เพิ่มขึ้นของฮอร์โมนซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนการตกไข่
  6. ตั้งเวลาการมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงที่สุด. อสุจิสามารถมีชีวิตได้หลายวันภายในท่อรังไข่ ถึงแม้ปริมาณตัวอสุจิของคุณจะน้อย แต่จะยังมีความเป็นไปได้ของการตั้งครรภ์สูงสุดเมื่อ: [35]
    • คุณกับคนรักมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยทุกวันหรือเป็นประจำ
    • คุณมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสี่วันก่อนวันตกไข่
  7. ใช้สารหล่อลื่นที่ไม่ทำความเสียหายต่อตัวอสุจิในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์. โดยเฉพาะ Astroglide, K-Y เจลลี่, โลชั่น และน้ำลายสามารถลดการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิลง ทางเลือกที่ดีกว่าได้แก่: [36] [37]
    • เบบี้ออยล์
    • น้ำมันคาโนลา
    • ไข่ขาว
    • เจลหล่อลื่น Pre-Seed
  8. สอบถามแพทย์ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือสมุนไพรเหมาะกับคุณหรือไม่. พวกมันไม่ได้จะรักษาปัญหาทางกรแพทย์ที่ซ่อนอยู่และจะช่วยได้แค่ในแง่ที่คุณมีสมรรถภาพทางเพศบกพร่อง ให้ปรึกษากับแพทย์ก่อนลองเพราะบางตัวอาจมีฤทธิ์ขัดขวางยาหรือเป็นอันตรายเมื่อทานในปริมาณสูงหรือใช้ติดต่อเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ปริมาณการใช้ก็ไม่ได้มีการควบคุมคุณภาพในแบบเดียวกับยาด้วย [38] อย่างไรก็ดี ตัวต่อไปนี้อาจมีประโยชน์อยู่บ้าง: [39]
    • วิตามินซีจะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยป้องกันไม่ให้อสุจิจับตัวเป็นก้อน ซึ่งจะทำให้มันสามารถเคลื่อนที่เข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น
    • วิตามินอีป้องกันส่วนหัวของตัวอสุจิไม่ให้เหี่ยวแห้ง ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
    • วิตามินบี6 กับบี12 จะช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตตัวอสุจิ
    • เซเลเนียมช่วยให้อสุจิมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
    • ซิงค์ช่วยเพิ่มปริมาณตัวอสุจิและช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดี


วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ตัดปัญหาทางการแพทย์ที่อาจซ่อนอยู่ทิ้งไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผู้คนส่วนใหญ่จะมาพบว่าตนเองมีปัญหาจำนวนตัวอสุจิน้อยก็หลังจากที่ไม่ยอมมีลูกเสียที ให้แพทย์ได้ตรวจหากคุณยังไม่สามารถมีบุตรได้หลังจากพยายามมาแล้วเกินหนึ่งปีหรือคุณมีอาการอื่นๆ มันอาจบ่งชี้ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่: [40] [41]
    • มีความต้องการทางเพศต่ำ
    • มีปัญหาเรื่องการแข็งตัว
    • มีปัญหาเรื่องการหลั่ง
    • มีอาการปวดหรือบวมตรงอัณฑะ
    • เคยมีการผ่าตัดตรงบริเวณไข่ดัน อัณฑะ อวัยวะเพศ หรือถุงอัณฑะ
    • มีบาดแผลตรงอวัยวะสืบพันธุ์
    • ได้รับการรักษาโรคมะเร็ง การรักษาอาจทำให้ตัวอสุจิลดลง
    • อัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะ
    • โรคซีสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) ซึ่งอาจไปขัดขวางการไหลของอสุจิได้
    • มีความผิดปกติของฮอร์โมน
    • โรคแพ้กลูเตน (Celiac disease) คุณอาจสามารถเพิ่มจำนวนตัวอสุจิเพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรโดยการกำจัดกลูเตนออกจากอาหารที่ทาน [42]
  2. โดยการนับจำนวนตัวอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าคุณมีปัญหาอสุจิต่ำหรือเปล่า แพทย์อาจจะต้องการตรวจสอบตัวอย่างอย่างน้อยสองตัวอย่าง คุณสามารถให้ตัวอย่างที่ดีได้โดย: [43]
    • สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองลงในอุปกรณ์จัดเก็บตัวอย่างที่แพทย์เตรียมไว้ให้
    • ทำการหลั่งโดยไม่ต้องเกร็ง
    • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หนึ่งถึง 11 วันก่อนวันที่จะต้องส่งตัวอย่าง
    • อย่าใช้สารหล่อลื่น
  3. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์สงสัยว่าปัญหาอยู่ที่ไหน เขาอาจขอทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้: [44]
    • ตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ของคุณด้วยภาพ
    • ถามคำถามเรื่องชีวืตทางเพศ การพัฒนาทางเพศ อาการเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บ การผ่าตัด และความผิดปกติทางพันธุกรรมภายในครอบครัวของคุณ
    • มีการทำอุลตราซาวนด์บริเวณถุงอัณฑะเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรอุดตัน
    • ทดสอบฮอร์โมนเพื่อให้แน่ใจว่ามันพอเพียงกับการผลิตตัวอสุจิ
    • ทดสอบปัสสาวะหาตัวอสุจิเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง (retrograde ejaculation) เมื่อเกิดเช่นนี้ขึ้น ตัวอสุจิจะเคลื่อนไปที่กระเพาะปัสสาวะแทน
    • ทดสอบทางพันธุกรรมเพื่อดูว่าคุณมีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่
    • ตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะ ระหว่างการตรวจสอบนี้ แพทย์จะใช้เข็มเอาตัวอสุจิออกมาตรวจสอบว่าคุณผลิตตัวอสุจิเพียงพอหรือไม่ มันจะช่วยชี้ว่ามีอะไรอุดตันหรือเปล่า
    • ตรวจแอนติบอดี้ที่ต่อต้านตัวอสุจิเพื่อดูว่าระบบภูมิคุ้มกันร่างกายกำลังโจมตีตัวอสุจิอยู่หรือไม่
    • ตรวจสอบว่าอสุจิของคุณมีชีวิตรอดหลังถูกหลั่ง เข้าไปฝังตัวในไข่และผสมพันธุ์กับไข่ได้ดีแค่ไหน
    • มีการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเพื่อหาปัญหาของต่อมลูกหมากและการอุดตันในท่ออสุจิกับถุงพักน้ำอสุจิ
  4. ปรึกษาเรื่องแนวทางการรักษากับแพทย์พร้อมคนรักของคุณ. ขึ้นอยู่กับว่าสาเหตุของการมีตัวอสุจิน้อยนั้นอยู่ที่ตรงไหน ทางเลือกของคุณอาจรวมไปถึง: [45]
    • ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดการติดเชื้อ ในหลายๆ กรณีถ้าตรวจพบการติดเชื้อแต่เนิ่นๆ จะไม่มีความเสียหายร้ายแรงใดๆ
    • ปรึกษาหรือรักษาปัญหาการแข็งตัว
    • ให้ยาปรับระดับฮอร์โมน
    • ผ่าตัดเพื่อย้อนทางการทำหมัน ทะลวงท่อนำอสุจิ แก้ไขอาการบวมในเส้นเลือดซึ่งทำให้อัณฑะฝ่อ หรือเอาอสุจิออกมาจากอัณฑะหรือหลอดพักอสุจิโดยตรง
    • เข้ารับการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์. มันอาจรวมถึงการนำตัวอสุจิฉีดเข้าท่อรังไข่ของฝ่ายหญิงโดยตรง การทำเด็กหลอดแก้ว หรือฉีดน้ำอสุจิเข้าไปในรังไข่โดยตรง ส่วนแพทย์จะแนะนำทางเลือกไหนนั้นจะพิจารณาจากการที่ตัวอสุจิสามารถเคลื่อนที่เข้าไปผสมพันธุ์กับไข่ได้หรือไม่หากนำไปวางในท่อรังไข่
    • ใช้อสุจิจากผู้บริจาค นี่อาจเป็นทางเลือกสุดท้ายถ้าคุณไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยตนเองจริงๆ


  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  2. http://www.nhs.uk/Conditions/low-sperm-count/Pages/Introduction.aspx
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/causes/con-20033441
  4. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/condoms/basics/what-you-can-expect/prc-20014118
  5. http://www.nhs.uk/Conditions/low-sperm-count/Pages/Introduction.aspx
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/causes/con-20033441
  7. http://www.nhs.uk/Conditions/low-sperm-count/Pages/Introduction.aspx
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/causes/con-20033441
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  11. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  12. https://nccih.nih.gov/health/antioxidants/introduction.htm
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/multimedia/antioxidants/sls-20076428?s=2
  14. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/multimedia/antioxidants/sls-20076428?s=3
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/multimedia/antioxidants/sls-20076428?s=4
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/multimedia/antioxidants/sls-20076428?s=5
  17. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/multimedia/antioxidants/sls-20076428?s=5
  18. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/multimedia/antioxidants/sls-20076428?s=5
  19. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/basics/fitness-basics/hlv-20049447
  21. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  22. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/relaxation-technique/art-20045368?pg=2
  23. http://worldsleepfoundation.org/sleep-disturbances-may-affect-mens-fertility-by-lowering-sperm-count-study-huffington-post_24525
  24. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/sleep/art-20048379
  25. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/expert-answers/ovulation-signs/faq-20058000
  26. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/lifestyle-home-remedies/con-20033441
  27. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/lifestyle-home-remedies/con-20033441
  29. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/alternative-medicine/con-20033441
  30. http://increase-sperm.org/
  31. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/symptoms/con-20033441
  32. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/risk-factors/con-20033441
  33. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/causes/con-20033441
  34. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/tests-diagnosis/con-20033441
  35. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/tests-diagnosis/con-20033441
  36. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-sperm-count/basics/treatment/con-20033441

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,780 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม