ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายคู่พบว่าการตั้งครรภ์นั้นยากกว่าที่คิดหลังจากที่พยายามแต่ไม่สำเร็จ โชคไม่ดีที่หลายๆ ปัจจัยมีผลต่อการไม่ติดลูกจนบางครั้งก็เป็นการยากในการระบุว่าอะไรคือสาเหตุกันแน่ บางคู่ที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการตั้งครรภ์จะต้องเข้ารับการรักษาราคาแพงเพื่อช่วยให้ตั้งครรภ์ในขณะที่บางคนเพียงแค่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นภาวะเจริญพันธุ์ของพวกเขา วิธีในการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่เรียบง่ายแต่ได้ผลนั้นมีมากมาย เทคนิคทางธรรมชาติเหล่านี้สามารถเป็นประโยชน์ต่อหลายๆ คู่ที่กำลังพยายามตั้งครรภ์อยู่

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมนั้นมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของทั้งผู้ชายและผู้หญิง [1] [2] เพราะน้ำหนักของคุณมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนของร่างกาย การมีน้ำหนักเกินจึงนำไปสู่การผลิตอสุจิที่ลดลงของผู้ชาย [3] และความถี่และความสม่ำเสมอของการตกไข่ที่ลดลงของผู้หญิง [4]
  2. สิ่งหลักๆ ของการคุมน้ำหนักคือการทานอาหารที่ถูกต้อง แม้งานวิจัยจะไม่ได้ระบุว่าอาหารชนิดใดช่วยเพิ่มภาวะเจริญพันธุ์เป็นพิเศษแต่การทานอาหารที่สมดุลช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมที่รวมไปถึงสุขภาพของการสืบพันธุ์ด้วย [6] คุณควรเลี่ยงน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นๆ รวมถึงอาหารมันหรือทอด เน้นอาหารที่อุดมไปด้วยผลไม้ ผัก ธัญพืช เนื้อไร้มัน (เช่น ปลาและไก่ไม่มีหนัง) และไขมันดี (เช่น ไขมันโอเมก้า 3 และ 9)
    • จำไว้ว่าเมื่อคุณตั้งครรภ์แล้วคุณต้องค่อยๆ เปลี่ยนอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี่ยงทานปลาทูน่าเพราะอาจจะมีปริมาณของสารปรอทสูง [7]
    • โรคทางช่องท้องที่ไม่ได้ตรวจรักษามีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลงของผู้หญิง [8] หากคุณมีโรคทางช่องท้องคุณต้องพยายามเลี่ยงโปรตีนจากข้าวเมื่อพยายามตั้งครรภ์ ปรึกษาแพทย์สำหรับอาหารที่เหมาะสมที่ไม่มีโปรตีนจากข้าวในระหว่างการตั้งครรภ์
  3. อีกขั้นตอนสำคัญในการรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมคือการออกกำลังกาย โดยเฉพาะในผู้ชายเพราะการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยผลิตเอนไซม์ที่ปกป้องอสุจิได้ [9]
    • คุณควรตั้งเป้าออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นหัวใจให้ได้อย่างน้อย 30 นาที (อะไรก็ได้ที่ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น เช่น วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น) 5 วันต่อสัปดาห์
    • จำไว้ว่าผู้หญิงควรออกกำลังกายในระดับปานกลางเพราะการออกกำลังอย่างหนักจะลดระดับโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการตกไข่ [10] คุณควรจำกัดการออกกำลังกายอย่างหนักให้น้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ [11]
  4. เลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs). โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคคลามีเดียและโรคหนองในซึ่งสามารถทำให้เป็นหมันทั้งผู้ชายและผู้หญิงได้ [12] [13] โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สองโรคนี้มักไม่แสดงอาการ นั้นคุณและคู่รักควรนัดตรวจหาโรคก่อนที่จะหยุดใช้ถุงยางอนามัยเมื่อคุณวางแผนที่จะตั้งครรภ์
    • ทั้งสองโรคคือการติดเชื้อแบคทีเรียและคุณสามารถรักษามันได้ด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อจากแพทย์
  5. การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มียาสูบคืออีกสาเหตุหนึ่งของการเป็นหมันในผู้ชายและผู้หญิง [14] [15] ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เสี่ยงที่จะมีรังไข่เสื่อมและไข่ฝ่อก่อนวัยอันควร [16] ผู้ชายที่สูบบุหรี่จะมีจำนวนอสุจิลดลง การเคลื่อนตัวของอสุจิแย่ลงและอสุจิผิดรูปร่าง [17]
    • การเลิกสูบบุหรี่ในทันทีมักจะไม่ใช่วิธีที่ได้ผลที่สุดในการเลิกสูบตลอดไป ปรึกษาแพทย์สำหรับตัวช่วยในการเลิกสูบบุหรี่ที่ปลอดภัยต่อคู่ที่พยายามตั้งครรภ์
    • คุณยังสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากวิธีการเลิกสูบบุหรี่
  6. ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าการบริโภคแอลกอฮอล์มีผลต่อการแทรกซ้อนของภาวะเจริญพันธุ์ในผู้ชายและผู้หญิง การดื่มอย่างหนักหน่วงสามารถทำให้การตกไข่ในผู้หญิงผิดปกติจึงยากต่อการคำนวณวันที่เจริญพันธุ์มากที่สุด [18] การดื่มอย่างหนักในผู้ชายมีผลต่อระดับเทสโทสเตอโรนที่ต่ำทำให้จำนวนอสุจิลดลงหรือแม้แต่ไร้สมรรถภาพทางเพศ [19] คุณควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมและงดการบริโภคแอลกอฮอล์เมื่อพยายามตั้งครรภ์
  7. ลองงดการใช้สารหล่อลื่นระหว่างมีเพศสัมพันธ์หากเป็นไปได้ สารหล่อลื่นมากมายมีสารเคมีที่ฆ่าอสุจิหรือทำให้มันยากที่จะมายังรังไข่ของผู้หญิง หากคุณต้องใช้สารหล่อลื่นก็ลองใช้เบบี้ออยล์หรือยี่ห้อที่เป็นมิตรต่อการเจริญพันธุ์ [20]
  8. การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปมีผลต่อปัญหาการสืบพันธุ์โดยเฉพาะในผู้หญิง [21] ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนครอบครัวแนะนำว่าผู้หญิงที่พยายามตั้งครรภ์ควรจำกัดการบริโภคคาเฟอีนให้น้อยกว่า 200 หรือ 300 มิลลิกรัมต่อวัน [22]
  9. การทำงานแบบสลับกะหรืออยู่กะกลางคืนมีผลต่อตารางการนอนของแต่ละคนซึ่งมีผลต่อฮอร์โมนสืบพันธุ์ [24] หากคุณทำงานกลางคืน ลองเปลี่ยนเป็นกะกลางวันอย่างน้อยเพียงชั่วคราว หากไม่สามารถทำได้ก็ให้นอนให้ตรงเวลาทุกวัน [25]
  10. การรักษาบางอย่าง (เช่น ตัวบล็อกทางเดินแคลเซียมและยาแก้ซึมบางตัว) สามารถนำไปสู่ภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลง [26] ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา เขาอาจจะเปลี่ยนตัวยาหรือลดขนาดยาเมื่อคุณพยายามตั้งครรภ์
    • ห้ามเปลี่ยนตัวยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อนเด็ดขาด
  11. ทั้งผู้ชายและผู้หญิงควรจำกัดความเสี่ยงต่อการรับสารเคมีและสารพิษซึ่งสามารถนำไปสู่ความผิดปกติของประจำเดือนในผู้หญิงและปริมาณอสุจิที่ลดลงและเสียหายในผู้ชาย [27] [28] คุณควรสวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องเจอกับสารเคมี ประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่: [29]
    • ไนตรัสอ๊อกไซด์หากคุณทำงานเป็นหมอฟันหรือผู้ช่วยหมอฟัน
    • สารเคมีออร์แกนิคเช่นสารเคมีที่พบในการซักแห้ง
    • สารเคมีทางการเกษตร
    • สารเคมีทางอุตสาหกรรมและการผลิต
    • สารเคมีจากการทำผม
  12. ระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจมีผลต่อฮอร์โมนสืบพันธุ์และภาวะเจริญพันธุ์ในผู้ชายและผู้หญิง [30] [31] หากคุณมีระดับความเครียดที่สูงในที่ทำงานหรือบ้านก็ควรใช้เวลาผ่อนคลายกับการทำสมาธิ งานอดิเรกที่ชอบหรือกิจกรรมคลายเครียดที่ชอบ
    • คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีในการลดความเครียดได้จากวิธีการลดความเครียด
  13. อุณหภูมิที่เกินจากอุณหภูมิปกติของร่างกายบริเวณอัณฑะของผู้ชายมีผลต่อการผลิตอสุจิ [32] ใส่กางเกงในที่ไม่รัดและโปร่ง (เช่น ผ้าฝ้าย) และเลี่ยงภาวะที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ซาวน่าและอ่างน้ำร้อน [33]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การใช้วิธีกะเวลาที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผู้หญิงสามารถบันทึกอุณหภูมิของร่างกายและการเปลี่ยนแปลงของตกขาวเพื่อระบุเวลาที่พวกเขาเจริญพันธุ์มากที่สุด วิธีนี้เรียกว่าการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ [34] เริ่มบันทึกข้อมูลของตกขาวบนปฏิทินทุกวันหลังจากวันสุดท้ายของประจำเดือนครั้งล่าสุด [35]
  2. วิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบคือการเช็ดด้วยกระดาษชำระก่อนการปัสสาวะครั้งแรกของวัน [36] คุณควรสังเกตตกขาวจากสิ่งเหล่านี้: [37]
    • สี – มันสีเหลือง ขาว ใสหรือขุ่น?
    • ความข้น – มันข้น เหนียวหรือไม่?
    • ความรู้สึก – มันแห้ง เปียกหรือลื่น?
    • คุณควรงดเพศสัมพันธ์ระหว่างรอบที่คุณเริ่มบันทึกข้อมูลครั้งแรกเพื่อเลี่ยงความสับสนระหว่างสารหล่อลื่นจากเพศสัมพันธ์กับตกขาว [38]
  3. คุณจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของตกขาวตลอดเดือนนั้น เช่น: [39]
    • ไม่มีการหลั่งที่ชัดเจนในช่วงสามหรือสี่วันหลังจากที่ประจำเดือนครั้งล่าสุดหมด
    • มีตกขาวขุ่นและเหนียวปริมาณน้อยเป็นเวลาสามถึงห้าวัน
    • มีตกขาวใส เปียกและลื่นปริมาณมากเป็นเวลาสามถึงสี่วันซึ่งสอดคล้องกับเวลาก่อนและระหว่างการตกไข่
    • ตกขาวหายไปเป็นเวลา 11 ถึง 14 วันจนประจำเดือนมา
  4. บันทึกอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายบนปฏิทินเดียวกับที่บันทึกตกขาว. อุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายคืออุณหภูมิเมื่อคุณพักผ่อน [40] ผู้หญิงหลายคนมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.3 องศาเซลเซียสระหว่างช่วงตกไข่ซึ่งสามารถช่วยระบุวันที่เจริญพันธุ์มากที่สุด [41]
    • คุณต้องใช้ปรอทดิจิตอลที่แม่นยำซึ่งสามารถวัด 0.1 องศาได้เพราะความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินั้นเล็กน้อยมาก
    • คุณสามารถใช้ปรอทวัดช่องปาก ช่องคลอดหรือทวารหนักแต่ต้องใช้วิธีที่มั่นคงในการวัดเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ [42]
  5. บันทึกอุณหภูมิของคุณก่อนลุกออกเตียงในตอนเช้า. คุณควรเก็บปรอทไว้ข้างเตียงและบันทึกอุณหภูมิของคุณก่อนลุกออกเตียงในตอนเช้าเพื่อให้ได้อุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายที่แม่นยำภายใต้เงื่อนไขเดียวกันทุกวัน [43] คุณต้องนอนต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อยสามชั่วโมงระหว่างคืนเพื่อเลี่ยงความเปลี่ยนแปลงจากการนอนไม่ต่อเนื่อง [44]
  6. พยายามสืบพันธุ์ในวันที่คุณเจริญพันธุ์มากที่สุด. วันที่คุณเจริญพันธุ์มากที่สุดคือประมาณสองวันก่อนที่อุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายจะเพิ่ม [45] โดยการบันทึกทั้งตกขาวและอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายนี้คุณจะสามารถระบุวันที่คุณเจริญพันธุ์มากที่สุดได้เมื่อตกขาวมามากและใสแต่อุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายยังไม่เพิ่ม โดยการบันทึกทั้งตกขาวและอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกาย
    • แม้สองวันก่อนที่อุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายจะเพิ่มนั้นคือก่อนที่คุณจะเริ่มตกไข่แต่ก็เป็นวันที่เหมาะสมเพราะอสุจิของคู่รักสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงห้าวันในระบบสืบพันธุ์ของคุณ [46]
    • คุณอาจจะต้องบันทึกช่วงนี้หลายๆ เดือน ใจเย็นๆ และวางแผนการมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักในช่วงนี้ของแต่ละเดือน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณควรปรึกษาปัญหาของภาวะเจริญพันธุ์ที่ยืดเยื้อกับแพทย์ หากคุณลองทางเลือกเหล่านี้เพื่อเพิ่มภาวะเจริญพันธุ์และยังไม่ประสบความสำเร็จ คุณก็ควรนัดนักกายภาพ การตรวจภาวะเจริญพันธุ์อย่างละเอียดสามารถระบุปัญหาที่ทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ได้
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  2. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  11. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  14. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/caffeine/art-20049372
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  17. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  18. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  19. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/female-fertility/art-20045887?pg=2
  21. http://www.scopemed.org/?jft=89&ft=89-1455553222
  22. http://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/features/infertility-stress
  23. http://mayoclinichealthsystem.org/hometown-health/speaking-of-health/tips-to-improve-fertility
  24. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  25. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cervical-mucus-method/basics/why-its-done/prc-20013005
  26. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cervical-mucus-method/basics/what-you-can-expect/prc-20013005
  27. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cervical-mucus-method/basics/what-you-can-expect/prc-20013005
  28. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cervical-mucus-method/basics/what-you-can-expect/prc-20013005
  29. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cervical-mucus-method/basics/what-you-can-expect/prc-20013005
  30. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cervical-mucus-method/basics/how-you-prepare/prc-20013005
  31. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/basal-body-temperature/basics/definition/prc-20019978
  32. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/basal-body-temperature/basics/what-you-can-expect/prc-20019978
  33. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/basal-body-temperature/basics/what-you-can-expect/prc-20019978
  34. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/basal-body-temperature/basics/what-you-can-expect/prc-20019978
  35. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/basal-body-temperature/basics/what-you-can-expect/prc-20019978
  36. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/basal-body-temperature/basics/what-you-can-expect/prc-20019978
  37. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/basal-body-temperature/basics/what-you-can-expect/prc-20019978

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,439 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา