ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อ่านหนังสือเรียนทีไรคุณไม่ค่อยมีสมาธิเลยใช่ไหม อย่ากังวลไปเลย เป็นเรื่องปกติของนักเรียนดีเด่น คุณอาจจะต้องปรับรูปแบบการเรียน ลองเทคนิคใหม่ ๆ หรือแค่วางแผนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพที่ทำให้คุณมีเวลาพักผ่อนได้ตามต้องการ แค่ปรับแผนการเรียนใหม่ ก็มีสมาธิในการอ่านหนังสือเรียนมากขึ้นแล้วละ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

จดจ่อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคืนนี้เป็นคืนที่ยาวไกลสำหรับการอ่านหนังสือ ให้เขียนตารางเวลาเอาไว้ โดยแต่ละช่วงควรอยู่ที่ 30–60 นาทีแล้วพักสัก 5–10 นาทีเพราะสมองของคุณต้องเติมพลังอยู่เป็นระยะ มันไม่ใช่ความขี้เกียจ แต่เป็นการปล่อยให้สมองสังเคราะห์ข้อมูลที่อ่านไปต่างหาก [1]
    • พยายามเปลี่ยนวิชาทุกชั่วโมงเพื่อไม่ให้ตัวเองเบื่อและเอียนมันไปเสียก่อน การอ่านวิชาใดวิชาหนึ่งมากเกินไปจะทำให้สมองของคุณแค่กวาดสายตาไปเรื่อยโดยที่ไม่ได้อ่านจริงๆ การเปลี่ยนไปอ่านวิชาใหม่จะทำให้คุณตื่นตัวและจูงใจให้อ่านหนังสือได้ต่อเนื่อง
  2. บางครั้งเราไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือเรียนก็เพราะเรื่องที่อยู่นอกโลกหนังสือเรียนทั้งดีและร้ายคอยเข้ามาปวนเปี้ยนในจิตใจของเรา เราอาจจะรู้สึกว่าเราควบคุมความคิดไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วเราทำได้นะ บอกตัวเองว่าจะคิดถึงปัญหาเรื่องนั้น สาวคนนั้น หรือหนุ่มคนนั้นทีหลังหลังจากอ่านหนังสือเรียนเสร็จแล้ว คุณจะเหมือนได้ปลอบใจตัวเองว่า โอเค เดี๋ยวพออ่านจบก็จะมีเวลาไปคิดแล้ว ซึ่งพออ่านหนังสือเรียนจบแล้วจริง ๆ ก็อาจจะไม่รู้สึกอยากคิดแล้วก็ได้
    • ถ้าเริ่มใจลอย ให้หยุดตัวเองทันที ให้เวลาตัวเอง 1 วินาทีเพื่อสะบัดเรื่องที่คิดไว้ออกไปจากหัวแล้วกลับมาจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ความคิดทั้งหมดมันผุดขึ้นมาในหัวคุณนะ คุณก็ต้องหยุดมันได้สิ !
    • เตรียมกระดาษและปากกาไว้ข้างตัวสำหรับเขียนสิ่งที่ผุดเข้ามาในหัวขณะที่คุณกำลังอ่านหนังสือ แล้วค่อยทำหรือคิดเรื่องพวกนั้นทีหลังในช่วงที่คุณพัก
  3. เช่น ถ้าคุณเพิ่งอ่านหนังสือจบไป 20 หน้า คุณไม่ควรเริ่มอ่านหนังสือ เล่มต่อไป อีก 20 หน้าโดยทันที แต่ให้เปลี่ยนมาใช้บัตรคำถามคำถามตัวเอง เขียนตารางช่วยจำค่าสถิติทางเศรษฐศาสตร์ ฟังเทปเสียงภาษาฝรั่งเศส พูดง่าย ๆ คือเปลี่ยนมาทำอะไรเกี่ยวกับการเรียนที่ใช้ทักษะและสมองส่วนอื่น ปรับวิธีการเรียนซะ แล้วคุณจะเบื่อน้อยลง
    • นอกจากนี้ยังทำให้สมองทำงานได้ง่ายขึ้นด้วย การปรับเปลี่ยนทักษะที่ต้องใช้ไปมาช่วยให้สมองซึมซับข้อมูลได้เร็วขึ้นและ จดจำได้นานขึ้นด้วย [2] ใช้เวลาน้อย และ จำได้ดีขึ้นเหรอ ลองดูสิลองดู
  4. บางครั้งเราก็ต้องการความสุขใจเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เราเดินหน้าได้ต่อ ถ้าการได้เกรดดีๆ ยังนับว่าน้อยไป ลองให้รางวัลตัวเองอย่างอื่นที่กระตุ้นให้คุณมีสมาธิในการเรียนมากขึ้นดูสิ อาจจะเป็นขนมหวานหรือนั่งกินอาหารเบาๆ หน้าทีวีดีไหม หรือจะชอปปิ้งคลายเครียด ไปนวด และนอนหลับสักงีบดี รางวัลอะไรที่ทำให้คุณคิดว่าคุ้มกับการตั้งใจอ่านหนังสือล่ะ
    • ถ้าเป็นไปได้ลองขอให้พ่อแม่ช่วยด้วย ลองถามพวกท่านว่าพอจะให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจได้บ้างไหม เช่นถ้าเกรดดีขึ้นขอเลิกทำงานบ้านบางอย่างที่คุณชอบทำน้อยที่สุด หรือขอค่าขนมเพิ่มนิดหน่อยสักช่วงนึง ถามพวกท่านว่าอยากเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้นการเรียนด้วยการให้รางวัลบ้างหรือเปล่า ลองถามดูก่อนไม่เห็นเป็นอะไรเลย
  5. คุณเคยนั่งจมกองรายงาน อยากจะทำให้เสร็จสักที แต่ก็มีบางจุดที่จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าต้องทำอะไรบ้างไหม เป็นธรรมดาที่เราจะเจอปัญหาแบบนี้บ้างในบางครั้ง รู้ว่าเมื่อไหร่ต้องถอยกลับแล้วหาวิธีทำให้มันง่ายขึ้น ถ้าคุณไม่มีพื้นฐานก็อย่าเพิ่งพยายามทำ แยกงานออกมาเป็นส่วนๆ ก่อน
    • เช่น ถ้าคำถามถามว่า "จอร์จ วอชิงตันมีความเห็นอย่างไรกับกรณีการเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน" ลำดับแรกคือต้องรู้ก่อนว่าจอร์จ วอชิงตันเป็นใคร หาคำตอบให้ได้ แล้วค่อย เริ่มตอบคำถาม
  6. คุณครูเองก็รู้ทั้งรู้ แต่ก็แทบจะไม่เคยพูดว่าการอ่านหนังสือเรียนน่ะมันน่าเบื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ใช่หัวข้อที่เราสนใจ เพื่อให้คุณเรียนหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มสมาธิขณะอ่านหนังสือเรียน ให้ใช้เทคนิคเพิ่มชีวิตชีวาให้กับการเรียนเหล่านี้ดู วิธีเหล่านี้นอกจากจะป้องกันไม่ให้ใจลอยแล้ว ยังทำให้คุณได้เกรดดีสุดๆ ไปเลยละ ว่าแล้วก็มาดูเทคนิคกันเลย: [3]
    • ถามคำถามตัวเองขณะอ่าน
    • หันหน้าออกจากหนังสือแล้วสรุปสิ่งที่อ่านออกมาดังๆ
  7. เขียนโน้ตย่อความคิดรวบยอด ตัวละคร โครงเรื่อง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อธิบายไว้. ใช้คำให้น้อยที่สุดและเขียนตัวอย่างสั้นๆ ประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ในโน้ตย่อให้ย่อตัวสะกด เขียนเลขหน้า ชื่อเรื่อง และชื่อผู้แต่งของหนังสือที่คุณค้นคว้าในกรณีที่คุณต้องไปเขียนอ้างอิงในบรรณานุกรมและอื่นๆ
    • ขณะอ่านหนังสือ ให้จดโน้ตย่อพร้อมกับตั้งคำถามไปด้วย เอาไว้ใช้ทดสอบตัวเองและทบทวนทีหลัง
  8. เข้าอินเทอร์เน็ตแล้วรีบกลับมาอ่านหนังสือต่อหลังจากหมดช่วงเบรก. ในช่วงเบรกให้เข้าอินเทอร์เน็ตและใช้เวลาในโลกออนไลน์อย่างคุ้มค่าที่สุด เข้า Facebook เปิดมือถือเพื่อดูข้อความเข้าและสายที่ไม่ได้รับ แต่ไม่ต้องเสียเวลาตอบกลับตั้งแต่ตอนนั้นยกเว้นว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน ในช่วงเบรกอยากทำอะไรก็ทำเลย แต่แค่ 2–3 นาทีพอนะ จากนั้นเอาตัวเองออกมาแล้วกลับไปอ่านหนังสือเรียนเหมือนเดิม คุณจะรู้สึกดีขึ้นนิดหน่อยหลังจากได้ "เสียบปลั๊ก" และ "เชื่อมต่อ" กับโลกภายนอก แม้ว่าจะแค่แป๊บเดียวก็เถอะ
    • การชาร์จพลังให้ตัวเองด้วยวิธีนี้เพิ่มประสิทธิภาพการจดจ่อกับการเรียนได้ดีมาก คุณอาจจะคิดว่ามันยิ่งทำให้เสียสมาธิและดึงคุณออกไปจากการเรียน แต่สุดท้ายแล้วมันจะทำให้คุณทำงานเสร็จมากขึ้น [4] ตราบใดที่คุณยังใช้เวลาในช่วงเบรกได้อย่างชาญฉลาด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

สร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดสมาธิ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ที่ที่เงียบสงบและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการมีสมาธิ อาจจะเป็นห้องส่วนตัวหรือห้องสมุด เลือกสถานที่ที่มีบรรยากาศเงียบๆ ไม่มีอะไรมาทำให้เสียสมาธิ และควรอยู่ห่างจากทีวี สัตว์เลี้ยง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้เสียสมาธิได้ง่าย นอกจากนี้แสงยังต้องสว่างเพียงพอและเก้าอี้ก็ต้องนั่งสบายด้วย เพราะความเมื่อยล้าอย่างหลังตึง คอตึง หรือปวดตาก็ทำให้เสียสมาธิได้เหมือนกัน
    • เช่น คุณไม่ควรทำการบ้านหน้าทีวี เพราะรับรองว่าคุณจะได้ทำการบ้านจริงๆ แค่ตอนโฆษณาเท่านั้น อาจจะพักสักหน่อยแล้วไปดูทีวีหรือฟังวิทยุ "สักเดี๋ยว" ใช้เวลาเท่ากับตอนที่ลุกไปหยิบน้ำหรือ "สูดอากาศ" สัก 1 นาที
    • เวลาอ่านหนังสือเรียน ให้นั่งบนเก้าอี้ที่มีโต๊ะติดอยู่ด้วย อย่าอ่านหนังสือบนเตียงยกเว้นว่าจะนั่งอ่านบนพื้นแล้วใช้เตียงเป็นที่วางหนังสือ และด้านหลังต้องมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับการอ่านหนังสือ อย่านอนอ่านหนังสือบนเตียงเด็ดขาดเพราะจะทำให้ง่วง และจะทำให้สมองของคุณเชื่อมโยงห้องนอนเข้ากับการเรียน เชื่อเถอะว่าคุณไม่อยากให้มันเป็นแบบนั้น โดยเด็ดขาด
  2. วางดินสอ ปากกา ปากกาไฮไลต์ และหนังสือไว้ให้พร้อมจะได้ไม่ต้องลุกไปหยิบให้เสียสมาธิ วางของให้เป็นระเบียบ เพราะของระเกะระกะจะทำให้ใจยุ่งเหยิงไปด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมีเหตุให้ลุกไปไหนขณะที่กำลัง "ใช้สมาธิ"
    • เครื่องเขียนและอุปกรณ์การเรียนควรอยู่ใน "เขตอ่านหนังสือเรียน" หนังสือเรียน สมุด และเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ (รวมถึงประมวลรายวิชา) ควรวางอยู่ใกล้ ๆ ไม่ห่างมือ นี่คือหนึ่งในวิธีวางแผนสู่ความสำเร็จ ถ้าจำเป็นต้องใช้โน้ตบุ๊กในการอ่านหนังสือเรียนก็ใช้ แต่ถ้าไม่ต้องใช้ก็เอาไว้ให้ห่างตัว
  3. ควรเป็นของที่กินได้เรื่อยๆ อย่างถั่ว บลูเบอร์รี่/สตอร์เบอร์รี่ แอปเปิล 1/4 ลูก หรือหักดาร์กช็อกโกแลตออกมาสักแท่ง วางน้ำไว้ใกล้ ๆ ด้วย อย่าดื่มกาแฟ ชาที่มีกาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลังมากเกินไป (อาจจะตาค้างทั้งคืนได้) เพราะมันจะทำให้คุณเพลียมากทีหลัง ขนาดที่หยิกหรือตบตัวเองแล้วก็ยังไม่หายง่วง
    • มองหา "อาหารเพิ่มพลัง" อยู่ใช่ไหม จากงานวิจัยพบว่า อาหารที่กระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยเพิ่มสมาธิในการเรียนได้แก่ บลูเบอร์รี่ ผักปวยเล้ง น้ำเต้า บร็อกโคลี่ ดาร์กช็อกโกแลต และปลา [5]
  4. เอาแค่วันนี้ก่อน มีอะไรที่อยากทำ (หรือต้องทำ) ให้เสร็จภายในวันนี้บ้าง คุณต้องทำอะไรให้เสร็จบ้างถึงจะเดินออกไปได้อย่างสบายใจว่าวันนี้ฉันทำงานที่ต้องทำเสร็จหมดแล้ว ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือเป้าหมายของคุณ คุณจะได้เห็นทิศทางว่าตัวเองต้องทำอะไรบ้างขณะที่กำลังอ่านหนังสือเรียนหรือทำการบ้าน
    • แต่ต้องเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริงนะ เช่น ถ้าคุณต้องอ่านหนังสือให้จบ 100 หน้าภายในสัปดาห์นี้ ก็ให้แบ่งอ่านวันละ 20 หน้า อย่าตั้งเป้าเกินตัว จำไว้ว่าคุณมีเวลาจำกัด ถ้าคืนนี้มีเวลาว่างแค่ 1 ชั่วโมง ก็เลือกทำงานที่สำคัญที่สุดให้เสร็จก่อนดีไหม
  5. ปิดโทรศัพท์มือถือและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ให้หมด. วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้สมาธิแวบออกจากการอ่านหนังสือเรียนและทำให้คุณทำงานได้ตามแผน ใช้คอมพิวเตอร์เมื่อจำเป็นเท่านั้น เพราะการเปิดคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็นมีแต่จะเสี่ยงทำให้คุณเสียสมาธิเปล่า ๆ โทรศัพท์มือถือก็เหมือนกัน ตั้งโหมดการบินไว้ยกเว้นว่าคุณอาจมีเรื่องที่ต้องใช้ฉุกเฉิน
    • SelfRestraint, SelfControl และ Think เป็นซอฟต์แวร์ที่บล็อกเว็บไซต์และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่มักทำให้คุณเสียสมาธิ [6] ทำความเข้าใจกับตัวเองแล้วถามตัวเองว่าอยากเริ่มบล็อก Facebook ตั้งแต่ชั่วโมงถัดไปไหม เดี๋ยวมันก็กลับมาใหม่ ไม่ต้องกังวลหรอก
  6. สำหรับบางคนเพลงอาจจะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่สำหรับทุกคน ลองเปิดเพลงคลอเบา ๆ ขณะอ่านหนังสือเรียนแล้วดูว่ามันช่วยไหม เพราะบางสิ่งในเพลงจะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังทำเรื่องสนุกอยู่ ไม่ได้นั่งอ่านหนังสือเรียนหรือทำการบ้าน
    • จำไว้ว่าเพลงที่เหมาะกับการอ่านหนังสือเรียนหรือทำการบ้านอาจจะไม่ใช่เพลงที่คุณชอบเสมอไป จริงๆ แล้วควรจะเป็นแนวเพลงที่คุณไม่รู้จักด้วยซ้ำ เพราะการจำเพลงได้จะทำให้สมาธิคุณไหลไปกับเพลงหรือถึงขั้นร้องตามในใจ ลองเปลี่ยนไปฟังแนวอื่นที่คุณเองก็ชอบ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำหูทวนลมได้ด้วย
    • ลองฟังทำนองที่ไม่มีเนื้ออย่างเสียงธรรมชาติเช่นเสียงนกร้อง เสียงฝนตก เสียงกระแสน้ำ หรือเสียงเพราะ ๆ อื่น ๆ เพื่อเพิ่มสมาธิในการเรียน มีมากมายให้เลือกสรรในอินเทอร์เน็ต
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

วิธีช่วยให้มีสมาธิง่ายขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรื่องของเรื่องก็คือ ในแต่ละวันคนเรามีช่วงเวลาที่มีพลังมากสุดๆ และพลังน้อยสุดๆ ช่วงที่มีพลังมากที่สุดของคุณคือตอนไหนล่ะ พยายามอ่านหนังสือทำการบ้านช่วงที่คุณมีพลังมากที่สุด เพราะคุณจะมีสมาธิมากกว่าและจดจำข้อมูลที่ผ่านเข้าไปในสมองได้ดีขึ้น ถ้าจะอ่านเวลาอื่นก็ต้องสู้รบปรบมือกับจิตใจตัวเองหน่อยละ
    • สำหรับบางคน ช่วงที่มีพลังมากที่สุดคือตอนเช้าตรู่เพราะยังมีพลังงานของวันนั้นอยู่เต็มเปี่ยม ในขณะที่บางคนสมองลื่นไหลตอนกลางคืนหลังจากที่ได้อุ่นเครื่องไปสักพักแล้ว ไม่ว่าของคุณจะเป็นเวลาไหน ฟังร่างกายของคุณให้ดีและเลือกอ่านหนังสือเรียนในช่วงที่หัวแล่นที่สุด
  2. ประโยชน์ของการนอนนั้นมีมากมายเหลือคณานับ ไม่ใช่แค่ช่วยให้ฮอร์โมนทำงานเป็นระบบและทำให้สมองสังเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น แต่ยังช่วยเติมพลังสำหรับวันถัดไปให้เต็มด้วย จริงๆ แล้วการพยายามสร้างสมาธิตอนที่เหนื่อยสุดๆ ก็ไม่ต่างอะไรกับการตั้งสมาธิตอนเมาหรอก [7] ถ้าคุณไม่มีสมาธิเลย นั่นอาจเป็นเพราะเหตุนี้
    • คนส่วนใหญ่ต้องการการนอนหลับ 7–9 ชั่วโมง บางคนอาจจะมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ ถ้าไม่ต้องปลุกนาฬิกา คุณคิดว่าคุณอยากนอนเท่าไหร่ถึงจะเต็มอิ่ม พยายามนอนให้ได้ตามนั้นทุกคืนโดยการเข้านอนให้เร็วขึ้นนิดหน่อยตามกำหนด
  3. สุดท้ายคุณจะเป็นอย่างที่กิน และถ้าคุณกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จิตใจของคุณก็จะแข็งแรงด้วยเช่นกัน ตั้งเป้ากินผักผลไม้หลากสีที่ชื่นชอบ ข้าวและธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เนื้อไม่ติดมัน ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว (ไม่เอามันฝรั่งทอดมันเยิ้มหรือขนมหวานที่อุดมไปด้วยไขมัน) และไขมันดีอย่างไขมันที่อยู่ในดาร์กช็อกโกแลตและน้ำมันมะกอก อาหารที่ดีต่อสุขภาพทำให้คุณมีพลังงานมากขึ้น และช่วยให้คุณบังคับจิตใจได้ง่ายขึ้นด้วย [8]
    • หลีกเลี่ยงอาหารสีขาวอย่างขนมปังขาว มันฝรั่ง แป้ง ไขมัน และน้ำตาล เพราะเป็นอาหารที่ "ตายแล้ว" และไม่ควรดื่มน้ำหวานเพราะจะทำให้คุณง่วงเหงาหาวนอนตอนนั่งเรียนและตอนอ่านหนังสือ
  4. แรงกระตุ้นทั้งหมดอยู่ที่ตัวคุณ ถ้าคุณบอกตัวเองว่าคุณมีสมาธิได้ คุณก็จะมีสมาธิจริงๆ การให้กำลังใจจิตใจตัวเองคือจุดเริ่มต้นของการคิดบวก คุณทำได้และคุณก็ จะทำ ไม่มีอะไรหยุดยั้งคุณได้นอกจากตัวคุณเอง
    • ลองใช้กฎ "อีก 5" บอกตัวเองให้ทำอีก 5 อย่างหรือทำต่ออีก 5 นาทีก่อนค่อยเลิก พอครบ 5 อย่างหรือ 5 นาทีแล้ว ก็บอกตัวเองให้ ทำต่ออีก 5 อย่าง/นาที การแบ่งงานออกเป็นชิ้นเล็กๆ นั้นง่ายกว่าเพราะช่วงเวลาที่ต้องจดจ่อนั้นสั้นลง และทำให้คุณมีสมาธิได้นานขึ้น
  5. ขณะที่สดชื่น คุณจะมีพลังงานเหลือล้นสำหรับการใช้สมาธิ ทำงานที่สำคัญที่สุดและมีแนวคิดพื้นฐานลึกซึ้งที่สุดก่อน แล้วค่อยไปทำงานชิ้นที่ง่ายกว่า (หรือท้าทายน้อยกว่า) ที่ต้องใส่ใจรายละเอียดมากทีหลัง ถ้าคุณทำงานง่ายๆ ก่อน ใจคุณก็จะยังจดจ่อและเครียดกับงานที่ยากกว่าตลอดเวลา ทำให้ความสามารถในการทำงานและสมาธิลดลง
    • แต่ก็อย่างที่เขาว่ากันว่า เวลาอ่านหนังสือ ตอบคำถาม หรือเขียนเรียงความ อย่ามัวไปจมอยู่กับสิ่งที่ไม่เข้าใจหรือที่ยังหาคำตอบไม่ได้ บางครั้งคำถามข้อที่ยากที่สุดมันอาจจะต้องใช้เวลาหาคำตอบนานมากๆ และอาจจะต้องใช้เวลาทั้งหมดไปกับข้อนี้โดยไม่มีเวลาทำข้ออื่น ดังนั้น พยายามกำหนดตัวเองว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่และดูว่าตัวเองทำได้มากน้อยแค่ไหน เปลี่ยนไปทำข้อที่ง่ายกว่าก่อนถ้าจำเป็น
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองดูซิว่าเสียงคลื่นอัลฟาช่วยเพิ่มการจดจ่อ ความจำ สมาธิในการเรียนและอื่น ๆ ได้จริงไหม. เข้า YouTube แล้วค้นคำว่า BiNaural Beat เสียบหูฟัง ถ้า BiNaural Beat เวิร์กสำหรับคุณ ผลลัพธ์ที่ได้มันจะมหัศจรรย์มากเลยละ!
    • ฟังขณะทำการบ้านหรืออ่านหนังสือเรียน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรฟังเสียงระดับเบาถึงปานกลาง ฟังนาน ๆ ได้ไม่เป็นอันตราย
  2. เมื่อทำร่วมกับการจัดตารางที่ดี กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนเพียงพอ และอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนของคุณแล้ว การปฏิบัติตามขั้นตอนและเทคนิคต่างๆ อาจจะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น [9] การเรียนเป็นส่วนสำคัญในชีวิต และการเรียนรู้วิธีจดจ่อและมีสมาธิกับสิ่งต่างๆ ก็เป็นทักษะที่ได้ใช้ตลอดชีวิต
  3. หลังจากฟัง BiNaural Beat แล้ว ลองฟังเสียงบรรยากาศรอบตัวดู. หลังจากฟังไปสัก 2–3 ชั่วโมงแล้ว หูคุณจะใช้เวลา 2 -3 นาทีในการปรับให้เข้ากับเสียงปกติที่อยู่ในห้อง ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้าการได้ยินของคุณจะเพี้ยนไปจากเดิมนิดหน่อย อาจสร้างผลข้างเคียงประหลาดๆ อื่นๆ อีกหลายอย่าง แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ วิธีนี้ได้ผลดีเลยทีเดียว
    • หลังจากฟัง BiNaural Beat ไปได้สัก 10 – 25 นาทีอาจจะมีอาการปวดหัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะสมองของคุณกำลังปรับตัวให้เข้ากับจังหวะอยู่ แต่ถ้าผ่านไปแล้ว 30 นาทีอาการปวดหัวยังไม่ดีขึ้น ให้เลิกใช้วิธีนี้
    • ระหว่างฟัง BiNaural Beat จะเปิดเพลงคลอเพื่อให้เสียงมันน่าฟังขึ้นด้วยก็ได้ เมื่อนำมาผสมกันอาจจะช่วยให้สมาธิดีขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไฮไลต์คำหรือประโยคสำคัญและทวนซ้ำๆ จนกว่าจะจำขึ้นใจ ปิดหนังสือแล้วพูดออกมาดังๆ หรือเขียนลงไป
  • กำหนดงานที่ต้องทำในแต่ละวันเพื่อให้รู้ว่าตัวเองสามารถทำงานได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
  • ค้นหานิสัยการอ่านหนังสือเรียนของตัวเอง เช่นชอบอ่านโน้ตย่อของคราวที่แล้วหรืออ่านหน้าที่เคยอ่านแล้วซ้ำอีกที
  • เชื่อว่าตัวเองสามารถทำคะแนนสูงสุดได้และทำได้แน่นอน ทิ้งทุกอย่างไว้ก่อนและสนใจแต่สิ่งที่อยู่ตรงหน้า อย่าตะบี้ตะบันอ่านอย่างเดียว คุณต้องเข้าใจเนื้อหาด้วย
  • ไม่ยอมแพ้ (ทำต่อเนื่อง) คือความลับของเป้าหมายระยะกลางและระยะยาว หาพรสวรรค์ในตัวเอง (หาว่าตัวเองอยากเป็นอะไรและพาตัวเองไปให้ไกลกว่าจุดที่ยืน เริ่มพัฒนาขีดความสามารถ ปรารถนามันอย่างยิ่งยวด และทำในสิ่งที่จะช่วยให้พรสวรรค์/ทักษะของคุณเป็นรูปเป็นร่าง)
  • การคิดว่าคุณจะแก้ปัญหาอย่างไรถ้าคุณสอบตก ติด "F" หรือได้คะแนนน้อยกว่า 35 คะแนน ความคิดแบบนี้จะกระตุ้น (หรือ "ล่อใจ") ให้คุณตั้งใจทำให้ดีขึ้น
  • หมั่นเล็มหรือแทะผลไม้หรืออาหาร และจิบน้ำผลไม้เย็นๆ (จากขวดที่มีฝาปิด/กระติกเก็บความเย็นที่มีฝาปิดเรียบร้อย) เนื้อแดดเดียวและน้ำเพื่อไม่ให้หิวและอื่น ๆ คุณจะได้กระปรี้กระเปร่า/สดชื่น อิ่มแปล้ แต่อยากกินอีกเรื่อยๆ
  • ตั้งเป้าไว้ในแต่ละช่วง จำไว้เสมอว่า "คุณจะเป็นอย่างที่คุณเชื่อ" ความฝัน (หรือความหวัง) ของคุณเป็นจริงได้ด้วยการตั้งเป้าและทำ "ความหวัง" ให้สำเร็จเป็นขั้นเป็นตอน (มหาวิทยาลัย การงาน ครอบครัว) ฝันหวานถึงอนาคตที่เป็นไปได้ของคุณ!
  • คิดไว้เสมอว่าคุณจะได้ทำสิ่งดีๆ [อื่น ๆ] หลังจากที่คุณบรรลุเป้าหมายหลักแล้ว เลื่อนเป้าหมายระยะสั้นที่ทำให้คุณมีความสุขไปก่อนแล้วใช้เวลาไปกับการตระหนักว่าเป้าหมาย (ความฝัน/และแผนการที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น/ดีที่สุด) ในระยะยาวและยิ่งใหญ่กว่าคืออะไร
  • ห้องสมุดของบางมหาวิทยาลัยอนุญาตให้นักเรียนเข้ามาใช้บริการในช่วงสอบปลายภาค และอาจจะเปิดนานขึ้น/ทั้งคืน
  • ห้องที่ใช้อ่านหนังสือควรมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อช่วยให้ดวงตาสามารถจดจ่ออยู่กับหนังสือได้นาน
  • ตั้งเป้าหมายหรือคำท้าที่คุณอยากจะเอาชนะให้ได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีสมาธิและมุ่งมั่นที่จะพิชิตเป้าหมายมากขึ้น บอกตัวเองว่า "เอาละ เดี๋ยวฉันจะเลิกยุ่งกับมือถือ/คอมพิวเตอร์แล้วอ่านหนังสือเรียน 30 นาที เสร็จแล้วฉันก็จะกลับไปเล่นมือถือสัก 10 นาทีแล้วกลับมาอ่านหนังสือต่อ" กำหนดระยะเวลาอ่านหนังสือเรียนที่คุณทำได้จริงและคอยพักเบรกเป็นช่วงๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเริ่มปวดหัวให้พักทันที เพราะ"อาการปวดหัวจากการอ่านหนังสือ" บ่งบอกว่าคุณใช้สายตานานเกินไป
  • ในแต่ละช่วงอย่าอ่านหนังสือนานเกินไป เพราะสมองของคุณไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรได้นาน สุดท้ายแล้วคุณก็จะเริ่มคิดเรื่องอื่นและไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าขณะทบทวนบทเรียนได้
  • อย่านั่งนานๆ หลายชั่วโมง ลุกเดินบ้าง อย่านั่งติดโต๊ะเพราะมันไม่ดีต่อสุขภาพ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำเปล่า
  • ขนมขบเคี้ยวห่อเล็ก ๆ (เบา ๆ แคลอรี่ต่ำ)
  • สมุดและหนังสือ
  • กระดาษ ปากกา และดินสอ
  • สถานที่เงียบ ๆ (ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม)
  • เครื่องคิดเลข
  • พจนานุกรมเล่มหรือออนไลน์
  • โทรศัพท์มือถือสำหรับค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
  • นาฬิกา/นาฬิกาข้อมือ


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,619 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา