ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เหตุผลหลักของการเพิ่มไฟเบอร์ไปในอาหารของสุนัขก็เพื่อเสริมการบีบตัวเคลื่อนที่ของลำไส้ของสุนัขให้มีคุณภาพดีและบีบตัวเป็นประจำ มันยังช่วยลดอาการท้องผูกและท้องเสีย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของไฟเบอร์ อาหารบางอย่างมีไฟเบอร์สูงจนเป็นแคลอรี่แทนได้ ซึ่งก็จะทำให้รู้สึกอิ่มขึ้นและช่วยให้สุนัขลดน้ำหนักอีกด้วย คุณสามารถเพิ่มไฟเบอร์ไปในอาหารของสุนัขในหลายๆ วิธีตั้งแต่การใช้อาหารเสริมไฟเบอร์ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและการเพิ่มไฟเบอร์ที่เป็นอาหารมนุษย์ที่จะช่วยให้มันมีสุขภาพดี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ประเมินความจำเป็นการการเพิ่มไฟเบอร์ไปในอาหารสุนัข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารหลายชนิดมีปริมาณของไฟเบอร์ที่เพียงพออยู่แล้ว ตารางการวิเคราะห์ส่วนผสมหรือ Guaranteed Analysis ที่ปรากฎบนถุงอาหารของสุนัขควรที่จะระบุปริมาณสูงสุดของไฟเบอร์อย่างคร่าวๆ อาหารสุนัขส่วนใหญ่มีไฟเบอร์ประมาณ 5% และปกติแล้วปริมาณเท่านี้ก็จะเพียงพอต่อสุนัขที่มีสุขภาพดีโดยเฉลี่ยแล้ว [1]
  2. ถ้าสุนัขของคุณท้องผูกหรือท้องเสีย นี่อาจจะเป็นเพราะเชื้อโรคในท้อง ปรสิต โรคในทางเดินอาหารต่างๆ หรือจากการที่สุนัขต้องออกแรงเบ่งเนื่องจากภาวะต่อมลูกหมากโตหรือมีมวลที่กีดขวางที่ทางเดินของเสีย [2] ให้สังเกตสุนัขของคุณเพื่อดูว่าอาการเหล่านี้เป็นนานกว่า 2 วันหรือไม่
  3. อาการท้องผูกนั้นซ้อนทับกันกับอาการอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรง ถ้าคุณเห็นว่าสุนัขของคุณออกแรงเบ่งบ่อยๆ คุณควรที่จะพาสุนัขไปหาแพทย์ ถามสัตวแพทย์เกี่ยวกับการตรวจทางทวารหนัก ถ้าปัญหาหลักคืออาหารหรือการย่อย สัตวแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้อาหารเสริมไฟเบอร์
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Brian Bourquin, DVM

    สัตวแพทย์และเจ้าของ Boston Veterinary Clinic
    ไบรอัน บูร์ควิน หรือที่ลูกค้ารู้จักในชื่อ “Dr. B” เป็นสัตวแพทย์และเจ้าของ Boston Veterinary Clinic คลินิกรักษาและดูแลสัตว์เลี้ยงในเซาธ์เอนด์/เบย์วิลเลจ กับบรู๊คไลน์ในบอสตัน คลินิกแห่งนี้ขึ้นชื่อด้านการปฐมพยาบาลสัตว์เลี้ยงรวมถึงการดูแลป้องกัน การผ่าตัดเนื้อเยื่ออ่อนและสุขภาพฟัน นอกจากนี้ยังมีบริการฝึกนิสัย โภชนาการและการฝังเข็มหรือเลเซอร์ด้วย คลินิกแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลสัตว์ที่ได้รับมาตรฐาน AAHA (American Animal Hospital Association) และเป็นที่แรกและที่เดียวในบอสตันที่เป็นคลินิกแบบไร้ความกลัว ไบรอันมีประสบการณ์ 19 ปีและจบปริญญาเอกด้านสัตวแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
    Brian Bourquin, DVM
    สัตวแพทย์และเจ้าของ Boston Veterinary Clinic

    ผู้เชี่ยวชาญของเราเห็นด้วย: หากคุณกำลังคิดจะให้ไฟเบอร์เพื่อรักษาอาการท้องเสีย ให้สอบถามกับสัตวแพทย์ก่อน ปกติอาหารสุนัขจะมีไฟเบอร์ที่เพียงพอกับความต้องการของสุนัขอยู่แล้ว ดังนั้นปัญหาจึงอาจจะอยู่ตรงบางอย่างเช่นปรสิตภายใน การแพ้อาหาร หรือปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้น อย่างอาการตับอ่อนอักเสบ

    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เพิ่มไฟเบอร์ไปในอาหารของสุนัข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สุนัขพันธุ์เล็กต้องการแค่ 1 ช้อนโต๊ะต่อครั้ง ส่วนสุนัขพันธุ์โตที่มีน้ำหนัก 23 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้นควรใช้ 1/4 ถ้วย (240 มิลลิกรัม) ต่อมื้อ [3]
    • ตัดสินใจให้รอบคอบขณะที่ซื้อ ฟักทองกระป๋องนั้นไม่ใช่อย่างเดียวกันกับฟักทองที่ผสมอยู่ในพายที่มีสารปรุงแต่งและน้ำตาลที่ไม่ดีต่อสุขภาพสุนัข [4]
  2. ถั่วเขียวสดเป็นแหล่งไฟเบอร์ในการเพิ่มในอาหารสุนัข ให้เตรียมถั่วประมาณ 1 กำมือแล้วเอาไปอุ่นเล็กน้อยในไมโครเวฟ จากนั้นก็รอให้มันเย็น สับให้ละเอียดหรือปั่น จากนั้นให้เพิ่มไปในอาหารของสุนัข
    • ถั่วเขียวดิบนั้นย่อยได้ยากกว่า ดังนั้นหากใช้ถั่วเขียวดิบ สุนัขของคุณก็จะไม่ได้ประโยชน์ทางคุณค่าอาหารจากมัน อย่างไรก็ตาม มันเป็นขนมที่ดีมากเมื่อเล่นเกมหรือฝึกสุนัข
  3. มันเทศขนาดกลาง 1 หัวมีไฟเบอร์ถึง 3 กรัม ในการให้สุนัขกินมันเทศให้ปอกเปลือกก่อนจะหั่นให้เป็นลูกเต๋าเล็กๆ ใส่มันเทศที่หั่นแล้วไปในชามตื้นๆ และใส่น้ำไปเล็กน้อย ใช้พลาสติกแรปพันปิดไว้ จากนั้นนำไปอุ่นในไมโครเวฟจนคุณสามารถใช้ส้อมบดมันให้เละได้ง่ายๆ ให้เพิ่มมันเทศ 1-3 ช้อนโต๊ะไปในอาหารมื้อหลักของสุนัข
  4. ควรตระหนักว่าไฟเบอร์และผักอื่นๆ จะเพิ่มสารอาหารบางอย่าง เช่น โพแตสเซียมด้วย นี่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่มีประโยชน์สำหรับสุนัขถ้ามันมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่เป็นอยู่ด้วย เช่น โรคไต สัตวแพทย์สามารถช่วยตัดสินใจเลือกผักที่ดีที่สุดตามอาการของสุนัข
  5. ใส่จมูกข้าวประมาณ 1 ช้อน ข้าวโอ๊ตสุกหรือข้าวฟ่าง ไปในมื้ออาหารของสุนัข. โฮลเกรนนั้นก็ดีมากและไม่แพงในการเป็นไฟเบอร์เสริมในอาหารของสุนัข ผลิตภัณฑ์บางตัวนั้นอาจจะมีวิตามินหรืออาหารเสริมใส่เพิ่ม ดังนั้นขอให้แน่ใจว่าจะตรวจสอบข้อมูลโภชนาการก่อนที่จะใช้อาหารสุนัขสำเร็จที่มีขายตามท้องตลาด
  6. คุณสามารถใช้ยา Metamucil หรือไฟเบอร์อื่นๆ ที่ขายตามร้านขายยาเป็นเวลา 2-3 วันเพื่อช่วยให้สุนัขหายจากท้องผูก [5] โรยมันให้ทั่วอาหารของสุนัขจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะให้การทำงานของลำไส้ของสุนัขกลับมาเป็นปกติ ใช้ประมาณ 1/2 ช้อนชาสำหรับสุนัขพันธุ์เล็กหรือใช้ได้มากสุด 2 ช้อนโต๊ะต่อมื้อสำหรับพันธุ์โต ใส่น้ำไปเล็กน้อยเพื่อผสมไฟเบอร์
    • ใช้น้อยๆ และไม่ใช้เกิน 2 วันเพื่อให้แน่ใจว่าสุนัขของคุณจะไม่ได้มีอาการตรงกันข้ามอย่างอาการท้องเสีย
  7. เปลี่ยนเป็นอาหารที่มีส่วนผสมไฟเบอร์สูงและหาซื้อได้ทั่วไป (หรือที่สัตวแพทย์จ่ายให้ เช่น อาหารยี่ห้อ Hill's w/d และ Royal Canin สูตร GI Fiber Response) อาจจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่าในการเพิ่มไฟเบอร์โดยไม่ต้องซื้อของหรือเตรียมอะไรเพิ่ม คุณอาจจะซื้อหรือสั่งอาหารจากสัตวแพทย์ของคุณ หรือคุณอาจจะได้ใบจ่ายยาและซื้อที่ร้านขายส่งสินค้าสำหรับสัตว์
  8. 'ไฟเบอร์' เป็นคำที่ใช้อธิบายพอลิแซ็กคาไรด์หลายชนิดและไม่ใช่ไฟเบอร์ทุกอย่างจะมีส่วนผสมเหมือนกัน ไฟเบอร์มีหลายรูปแบบและก็จะมีผลแตกต่างกันไปผลกับการดูดซึมน้ำ การย่อย การทำปฏิกิริยาหมัก (Fermentation) ภายในลำไส้ นี่อาจจะได้ผลที่ไม่พึงประสงค์ก็ได้ เช่น ลำไส้แปรปรวน ท้องเฟ้อ และท้องเสีย [6] ถ้าคุณพบว่าสุนัขมีอาการเหล่านี้ ลองเปลี่ยนประเภทของไฟเบอร์หรือลดปริมาณที่คุณใช้
    • การเพิ่มไฟเบอร์ไปในอาหารมากเกินไปเพื่อลดน้ำหนักสุนัขนั้นอาจจะมีผลที่ทำให้เกิดอันตรายได้เพราะมันจะเจือจางสารอาหารที่สำคัญ แคลอรี่ และลดการดูดซึมของแร่ธาตุบางอย่าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตรวจดูที่อาหารของสุนัขเพื่อดูว่ามันมีไฟเบอร์เท่าไหร่ (หรือไม่มีเลย) ในอาหารที่สุนัขทานทุกมื้อ อาหารที่มีข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดนั้นจะมีไฟเบอร์น้อยกว่าอาหารที่มีโฮลเกรน ซึ่งได้แก่ บาร์เลย์ จมูกข้าวโอ๊ต และแป้งวีท ถ้ามีส่วนผสมเหล่านี้อยู่ในรายชื่อโภชนาการของกล่องอาหารสุนัขไม่มาก มันก็จะให้สารอาหารได้น้อยกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าใช้วิธีที่ทำที่บ้านโดยไม่ปรึกษาสัตวแพทย์ก่อน ถ้าสุนัขของคุณมีปัญหาที่ลำไส้ ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมมาแล้วจะสามารถรู้ปัญหาสุขภาพนั้นได้และช่วยวางแผนเพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขท้องผูกด้วย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Mark Morris Institute, Small Animal Clinical Nutrition, 4th ed. Marceline: Walsworth, 2000. Print.
  2. Washabau, R; Day, M. J.: Canine and Feline Gastroenterology Ed 1 St. Louis, Elsevier, 2013 p 109
  3. Mark Morris Institute, Small Animal Clinical Nutrition, 4th ed. Marceline: Walsworth, 2000. Print.
  4. http://www.vetinfo.com/dog-fiber-recommendations.html
  5. http://www.drsfostersmith.com/pic/article.cfm?dept_id=0&siteid=12&acatid=284&aid=460
  6. http://www.vetinfo.com/dog-fiber-recommendations.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,530 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา