ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเริ่มโต้วาทีได้อย่างถูกต้องจะทำให้ผู้ฟังสนใจคุณมากขึ้นและยังช่วยให้ข้อโต้แย้งของคุณชนะอีกด้วย ก่อนที่คุณจะเริ่มโต้วาที ให้ใช้เวลาเตรียมตัวเปิดการโต้วาทีที่หนักแน่นเพื่อชนะใจผู้ชมให้ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ดึงความสนใจของผู้ชม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรื่องเล่าที่ว่านี้อาจจะเป็นเรื่องราวว่าทำไมคุณถึงคลั่งไคล้ในหัวข้อที่คุณพูด เรื่องราวเกี่ยวกับคนที่ผู้ฟังจะสามารถเรียนรู้จากคนๆ นั้นได้ นิทานสอนใจ นิทานคติธรรม เหตุการณ์หรือเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ที่จับประเด็นหลักข้อโต้แย้งของคุณได้ [1]
    • เรื่องราวของคุณจะต้องสะท้อนใจความสำคัญของการโต้วาที เช่น เรื่องอาจจะสำรวจความท้าทายที่คุณต้องเผชิญในหัวข้อที่คุณกำลังจะพูด คุณเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นอย่างไร และบทเรียนที่คุณได้เรียนรู้จากความท้าทายนี้คืออะไร
    • เช่น "ในฐานะคนที่เป็นโรคลมชัก กัญชาที่ใช้เพื่อการรักษาคือสิ่งที่ทำให้อาการชักของผมไม่แย่จนเกินไปนัก ครอบครัวกับผมต้องเดินทางข้ามฝั่งประเทศไปเพื่อรักษาอาการของผม แต่มันก็คุ้มค่าที่จะเสี่ยง อาการชักของผมลดลงจาก 5 ครั้งต่อวันจนเหลือแค่สัปดาห์ละครั้งเท่านั้น"
  2. คำถามเชิงวาทศิลป์ที่ผ่านการเรียบเรียงและถามออกไปได้ดีสามารถโน้มน้าวผู้ฟังให้เข้าข้างคุณได้ คุณต้องให้ผู้ฟังตอบคำถามนั้นเงียบๆ ในใจในขณะที่มุ่งความสนใจมาที่หัวข้อของคุณโดยตรง ถามคำถามที่โน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อว่าคุณเป็นพวกเดียวกับเขาและคุณก็เชื่อในสิ่งเดียวกันกับพวกเขาด้วย [2]
    • เช่น คุณอาจจะถามว่า “คุณอยากเห็นคนที่คุณรักเจ็บปวดโดยไม่มีเหตุผลหรือเปล่าครับ”
  3. สถิติที่ยกมาจะต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หลักของข้อโต้แย้งโดยตรง ผลกระทบจากสถิติสามารถโน้มน้าวให้ผู้ฟังของคุณเข้าข้างวิธีการนำเสนอประเด็นของคุณได้โดยทันที [3]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “พลาสติกพันล้านตันที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรตอนนี้มีมากพอที่จะสร้างเกาะขนาดเท่าเกาะฮาวายได้อีก 1 เกาะ” จากนั้นพูดประเด็นของคุณต่อไปและอธิบายให้ผู้ชมฟังว่าทำไมวิธีการแก้ปัญหาของคุณจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
  4. การใช้คำพูดคนอื่นในสุนทรพจน์ของคุณจะส่งเสริมและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แนวความคิดของคุณ นอกจากนี้คำพูดของคนอื่นยังแสดงให้เห็นด้วยว่าคุณรอบรู้ในเรื่องที่คุณกำลังพูด คำพูดที่ยกมาจะต้องสัมพันธ์กับหัวข้อและเกี่ยวข้องกับผู้ฟัง พยายามยกคำพูดของคนที่มีชื่อเสียงหรือคนที่ผู้ฟังรู้จัก [4]
    • เช่น สมมุติว่าคุณกล่าวสุนทรพจน์ว่าทำไมคุณถึงคิดว่าการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยไม่สำคัญต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต คุณก็อาจจะเปิดประเด็นว่า “มาร์ก ทเวนเคยกล่าวไว้ว่า ‘อย่าให้โรงเรียนมาเกี่ยวข้องกับการศึกษา’”
  5. เช่น ภาพ วิดีโอ หรือสิ่งที่แสดงถึงแก่นของข้อโต้แย้ง ทัศนูปกรณ์ที่สร้างสรรค์จะเพิ่มความเข้าใจในประเด็นที่กล่าวถึง เพิ่มความสวยงามทางสุนทรียศาสตร์ และดึงดูดจินตนาการของผู้ฟัง นอกจากนี้ยังทำให้สิ่งที่คุณสื่อออกไปตราตรึงอยู่ในความทรงจำได้มากขึ้นอีกด้วย [5]
    • เช่น ถ้าคุณโต้แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนั้นเกิดขึ้นจริง แสดงภาพกลาเซียร์ก่อนและหลังที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่มากเกินไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เริ่มการโต้วาที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คำสำคัญในการโต้วาทีจำเป็นต้องให้ผู้พูดคนแรกอธิบายและนิยามก่อน นอกจากนี้ให้นิยามคำสำคัญที่ผู้ฟังอาจจะไม่รู้มากนักด้วย [6]
    • ระบุคำสำคัญในข้อโต้แย้งของคุณและหาความหมายจากพจนานุกรมหลายๆ เล่ม เลือกความหมายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคำ โดยควรเลือกความหมายที่เป็นกลางและตามแบบแผน [7]
    • คำนิยามของคุณอาจมีความหมายตามตัวอักษรหรือเป็นความหมายตามบริบทก็ได้ คำนิยามตามบริบทจะเพิ่มตัวอย่างของการนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในโลกความเป็นจริง เช่น คำนิยามตามบริบทของเงินอาจแสดงให้เห็นว่า เงินเป็นสิ่งที่ใช้ซื้อบริการต่างๆ เช่น อาหารและเชื้อเพลิง [8]
  2. หลังจากให้นิยามคำสำคัญแล้ว คุณต้องบอกผู้ฟังว่าคุณและกลุ่มของคุณจะโต้แย้งเรื่องอะไรและโต้แย้งทำไม เสริมข้อโต้แย้งของคุณให้แข็งแกร่งด้วยการพูดถึงจุดยืนของคุณในแบบต่างๆ [9]
    • เช่น “ทีมของเราจะบอกให้คุณทราบถึงความจำเป็น ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และประโยชน์ที่ได้จากการใช้กัญชาเพื่อการรักษา พวกเราจะบอกให้คุณรู้ว่าผู้ป่วยหลายพันรายรวมทั้งเด็กๆ ที่เป็นโรคลมชักนั้นมีอาการดีขึ้นจากการใช้กัญชาเพื่อการรักษา งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้กัญชาเพื่อการรักษานั้นลดโอกาสการเกิดลมชักได้ถึง 80% ยิ่งไปกว่านั้นผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้กัญชาเพื่อการรักษายังไม่ร้ายแรงเท่าผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาโรคลมชักตามแบบแผนทางการแพทย์อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก เราจะแสดงให้เห็นว่า การใช้กัญชาเพื่อการรักษานั้นเป็นวิธีการรักษาที่ใช้ได้จริง ปลอดภัย คุ้มค่าเงินผู้ป่วยและครอบครัว”
  3. ข้อโต้แย้งของทีมควรมีการเสนอญัตติว่าจะแก้ไขปัญหาที่คุณกำลังโต้แย้งได้อย่างไร โดยทีมจะต้องนิยามนโยบายที่พวกเขาอยากให้มีการบังคับใช้ ผู้พูดคนแรกควรพูดถึงองค์ประกอบหลักของนโยบายโดยคร่าวๆ แทนที่จะอธิบายนโยบายอย่างละเอียด [10]
    • ในการที่จะทำให้ผู้ฟังรู้ว่านโยบายของคุณสามารถนำไปใช้ได้จริง ให้ใช้นโยบายที่บังคับใช้ไปแล้วมาเป็นพื้นฐานนโยบายของคุณ เช่น คุณอาจจะเน้นว่าการห้ามไม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถก็เหมือนกับการไม่ให้ดื่มของมึนเมาขณะขับรถ
    • พยายามเน้นไปที่ 3 เหตุผลว่าทำไมถึงจำเป็นต้องใช้นโยบายนี้หรือทำไมต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย [11]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

นำเสนอการโต้วาที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณควรทักทายผู้ฟังเสมอ เพราะการทักทายผู้ฟังแสดงให้เห็นว่าคุณมั่นใจและจริงจังในหัวข้อที่คุณจะมาโต้วาที และยังแสดงถึงการให้เกียรติความคิดเห็นของผู้ฟังด้วย [12]
    • ทักทายผู้ฟังด้วยการพูดว่า “สวัสดีนักศึกษาและคณาจารย์ทุกท่าน หัวข้อการโต้วาทีในวันนี้คือ ที่จอดรถของนักศึกษาค่ะ” หรือ “สวัสดีอาจารย์และนักศึกษาทุกท่าน ขอบคุณที่สละเวลามาฟังการโต้วาทีในครั้งนี้ สำหรับวันนี้หัวข้อของเราคือที่จอดรถของนักศึกษาค่ะ”
  2. หลังจากทักทายผู้ฟังแล้ว ให้บอกข้อโต้แย้งของทีมอย่างสั้นกระชับ เพราะผู้ฟังอาจจะวอกแวกหรือหมดความสนใจได้หากคำพูดของคุณเยิ่นเย้อจนเกินไป และให้อธิบายบทบาทของผู้พูดแต่ละคนให้ผู้ฟังทราบด้วย [13]
    • บอกว่าทีมของคุณสนับสนุนข้างไหนด้วยการพูดว่า “เราเชื่อว่านักศึกษาที่ลงทะเบียนแล้วไม่ควรจะต้องจ่ายค่าบัตรจอดรถเพื่อจอดรถในมหาวิทยาลัยอีก” หรือ “เราเชื่อว่านักศึกษาที่ลงทะเบียนแล้วควรต้องจ่ายค่าบัตรจอดรถเพื่อจอดรถในมหาวิทยาลัย”
    • อธิบายบทบาทของผู้พูดแต่ละคนโดยกล่าวว่า “ในฐานะผู้พูดคนแรก ดิฉันจะนิยามคำสำคัญและบอกเค้าโครงข้อโต้แย้งหลักของเรา ผู้พูดคนที่ 2 จะยกเหตุผลมาสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว และผู้พูดคนที่ 3 จะมาสรุปข้อโต้แย้งของเรา”
  3. พยายามสบตาผู้ฟังบางคนโดยตรง การสบตาจะทำให้คุณสามารถประเมินปฏิกิริยาของพวกเขาได้จากการอ่านสีหน้า นอกจากนี้คุณยังสามารถเชื่อมโยงกับผู้ฟังบางคนในระดับบุคคลได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ข้อโต้แย้งของคุณน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วย [14]
    • จำไว้ว่าต้องสบตาผู้ฟังตอนจบประโยค
    • สบตาผู้ฟังคนใดคนหนึ่งค้างไว้แค่ 3 – 5 วินาที จากนั้นก็เปลี่ยนไปสบตาคนอื่นต่อ
  4. พูดให้ช้าลงด้วยการเตือนตัวเองให้หายใจระหว่างที่พูด หลังจากพูดจบประโยคให้หายใจลึกๆ จากนั้นค่อยพูดประโยคถัดไป [15]
    • นอกจากนี้อย่าลืมหยุดสักพักด้วย การหยุดสักพักจะทำให้คุณได้กลับมาหายใจและวางแผนว่าจะพูดอะไรต่อ และยังทำให้ผู้ฟังได้ประมวลสิ่งที่คุณเพิ่งพูดไปด้วย
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,825 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา