ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหมั่นเขียนไดอารี่จะทำให้เราได้บันทึกสิ่งที่ตนเองคิดลงไปและทบทวนความคิดของตนเอง อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นเขียนไดอารี่นั้นอาจเป็นส่วนที่ยากที่สุดก็เป็นได้! ไม่ต้องกังวลว่าสิ่งที่เราเขียนนั้นจะออกมาดีหรือไม่ดี แค่เขียนสิ่งที่คิดอยู่ในใจลงไปก็พอ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เริ่มลงมือเขียนจนจบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนวันเดือนปีที่ต้นหน้ากระดาษ เราจะได้รู้ว่าตนเองเริ่มเขียนไดอารี่วันแรกเมื่อไหร่ อาจเขียนหัวข้อลงไปด้วยอย่างเช่นว่า "บันทึกของกัปตันเรือ" หรือเขียนหัวข้อว่า "บันทึกอันล้ำค่า" เขียนสถานที่ที่เราอยู่และความรู้สึกของเรา เช่น "8/12/2016: อยู่บนรถประจำทาง รู้สึกตื่นเต้น" ถ้ากำลังไปที่ไหนสักแห่ง ก็ให้ใส่สถานที่ซึ่งกำลังจะไปนั้นด้วย เราอาจกลับมาอ่านไดอารี่นี้ในอนาคต เราจะได้มีจุดอ้างอิงเพื่อให้ตนเองสามารถนึกเรื่องราวต่างๆ ออก
  2. ไม่ต้องคิดมากว่าจะเขียนอะไรดี เริ่มบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าหรือเขียนอะไรก็ได้ที่เรานึกออกเป็นอันดับแรก เขียนถึงเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดซึ่งเกิดขึ้นในวันนั้น เขียนเกี่ยวกับเพื่อน การเรียน หรือคนที่เราชอบ [1]
    • เขียนเกี่ยวกับบุคคลที่เราคิดถึงเมื่อไม่นานมานี้ นึกให้ออกสิว่าบุคคลนี้เคยบอกอะไรเราไว้ และผู้อื่นพูดถึงเขาว่าอย่างไร โดยส่วนตัวแล้วเราคิดว่าเขาเป็นคนยังไง เขียนทุกอย่างนี้ลงไปในไดอารี่
    • บันทึกเรื่องราวที่ทำให้เรามีความสุขและบันทึกเรื่องราวที่ทำให้เรามีความทุกข์
    • เขียนเรื่องราวขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง ไดอารี่ไม่จำเป็นต้องมีแต่เรื่องราวของตัวเราเองเท่านั้น! สร้างตัวละครขึ้นมาสักตัวและเริ่มต้นเขียนไดอารี่ของตัวละครตัวนั้น
  3. สมมติว่าเรากำลังเขียนไดอารี่ถึงเพื่อนสนิทหรือใครสักคนที่เราเชื่อใจเป็นอย่างมากก็ได้ เขียนทุกอย่างที่เราคิดไม่ว่าดีหรือแย่ลงในไดอารี่ ไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะเขียนออกมาได้ดีหรือเปล่า สิ่งสำคัญคือขอให้ตนเองได้เริ่มเขียนเท่านั้น [2]
  4. เขียนอธิบายว่าบุคคลที่กล่าวถึงในไดอารี่เป็นอะไรกับเรา. ในการเขียนไดอารี่ครั้งแรก เมื่อเขียนกล่าวถึงบุคคลอื่น ให้เขียนลงไปว่าคนคนนั้นเป็นอะไรกับเรา คนคนนั้นเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด หรือคนที่เราชอบ ถ้าเราเขียนลงไปแบบนี่ เมื่อกลับมาอ่านไดอารี่อีกครั้งหลังจากผ่านไปหลายปี เราก็จะได้รู้ว่าบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญต่อช่วงชีวิตช่วงนั้นของเรา [3]
  5. เขียนทุกอย่างที่เราคิดออก ไม่ว่าสิ่งที่เขียนจะดูโง่เง่าแค่ไหนก็ตาม การเริ่มต้นเขียนไดอารี่ไม่ใช่การเขียนทุกสิ่งทุกอย่างให้ออกมาสมบูรณ์แบบ แต่เป็นการเขียนสิ่งที่ตนเองคิดลงไปในกระดาษ! [4]
    • ถ้านึกอะไรไม่ออก อาจลองเขียนถึงความแปลกประหลาดของการต้องมานั่งเขียนเรื่องตนเอง เขียนเหตุผลว่าทำไมเราถึงนึกอะไรไม่ออก เขียนเหตุผลว่าทำไมถึงต้องหมั่นเขียนไดอารี่ [5]
    • ลองกำหนดเวลาในการเขียน ตั้งเวลาสักสิบนาทีและจากนั้นเริ่มเขียน วิธีกำหนดเวลาในการเขียนอาจช่วยให้เราเริ่มต้นเขียนไดอารี่ได้!
  6. เมื่อเขียนไดอารี่เสร็จแล้ว ให้เขียนลงท้ายสักเล็กน้อย ถ้าเราเขียนไดอารี่ "ถึง" ตัวเอง เราอาจลงท้ายไดอารี่เหมือนลงท้ายจดหมาย เซ็นชื่อ ไม่จำเป็นต้องเขียนอะไรเป็นพิเศษเพื่อจบการเขียนไดอารี่ แค่เขียนถ้อยคำที่แสดงให้รู้ว่าตนเองต้องการจบเนื้อหาไว้แต่เพียงเท่านี้ก็พอ
    • เราอาจเขียนลงท้ายไว้ว่า "ฉันจะกลับมาเขียนใหม่ในวันพรุ่งนี้ วันนี้ไว้แค่นี้ก่อน!"
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใส่วันเดือนปี ข้อความ และตกแต่งหน้าแรกของไดอารี่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่วันเดือนปีที่เริ่มเขียนไดอารี่และวันเดือนปีที่เขียนหมดเล่ม. ถ้าเราเริ่มเขียนไดอารี่ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2016 เราก็ต้องเขียน "พฤศจิกายน 2016 " จากนั้นถ้าหากเราเขียนไดอารี่เสร็จและหมดเล่มในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า เราก็ต้องเขียนเพิ่มเป็น "พฤศจิกายน 2016 – กุมภาพันธ์ 2017" ต่อมาเมื่อเรากลับมาอ่านไดอารี่ที่เขียนเอาไว้ เราก็จะรู้ได้ทันทีเลยว่าสิ่งที่บันทึกไว้นั้นอยู่ในช่วงไหนของชีวิต
  2. ถ้ากลัวว่าจะมีใครสักคนมาแอบอ่านไดอารี่ของเรา เราอาจเขียนข้อความไว้ในหน้าแรกของไดอารี่เพื่อใครก็ตามที่แอบพลิกหน้าปกไดอารี่ของเราจะได้เห็นข้อความนี้ก่อน เขียนให้ชัดเจนเลยว่าเราไม่ต้องการให้ใครมาแอบอ่านไดอารี่ของเรา
    • เขียนว่า "ไดอารี่นี้เป็นทรัพย์สินของ (ชื่อและนามสกุลของตนเอง) ห้ามเปิดอ่านโดยเด็ดขาด!"
    • เขียนว่า "ไดอารี่ส่วนตัว! ห้ามอ่าน!!"
    • เขียนว่า "ทรัพย์สินส่วนบุคคล! กรุณาอย่าเปิดอ่าน!"
  3. วาดรูปหรือขีดเขียนอะไรลงไปก็ได้ ติดสติ๊กเกอร์ที่แสดงถึงความเป็นตัวเรา นำรูปภาพที่มีความหมายต่อเรามาติด ตกแต่งหน้าแรกของไดอารี่ให้สวยงาม เราจะได้มีแรงบันดาลใจในการเขียนไดอารี่!
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใส่ประวัติและข้อมูลส่วนตัวไว้ที่หน้าแรกของไดอารี่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ติดรูปถ่ายตัวเอง ติดสติ๊กเกอร์หรือวาดรูปเพิ่มเติมก็ได้ ใส่ข้อมูลระบุตัวตนเพื่อจะได้เป็นหลักอ้างอิงเมื่อเรากลับมาอ่านไดอารี่ในตอนที่มีอายุมากขึ้น เขียน "ประวัติส่วนตัว" สั้นๆ เพื่อบอกว่าเราเป็นใครตอนอายุเท่านั้น
  2. เขียนชื่อจริงและนามสกุล ใส่ข้อมูลวันเกิดและอายุ เราจะได้รู้ว่าตอนที่เขียนไดอารี่ครั้งแรกนั้นเราอายุเท่าไหร่ อย่าลืมใส่ข้อมูลรูปร่างลักษณะของตนเอง เช่น สีผม สีตา เป็นต้น
    • ใส่ข้อมูลสถานศึกษาหรือสถานที่ทำงาน อย่าลืมบอกด้วยว่าตนเองอาศัยอยู่ในอำเภอหรือเขตอะไร บ้านของเราอยู่ที่จังหวัดอะไร หรือใส่ข้อมูลที่อยู่ให้ครบเลยก็ได้
  3. เพื่อนที่ดีที่สุดของเรามีใครบ้าง คนที่ตนเองชื่นชอบนั้นมีใครบ้าง ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดมีใครบ้าง และระวังอย่าให้ใครมาแอบอ่านไดอารี่ของเรา ไม่อย่างนั้นคนคนนั้นจะรู้ทันทีเลยว่าเรารู้สึกต่อบุคคลเหล่านี้อย่างไร!
  4. เราชอบกินอะไรและไม่ชอบกินอะไร เราชอบดื่มอะไรมากที่สุดและชอบดื่มอะไรน้อยที่สุด นักร้องที่ชอบมากที่สุดคือใครและนักร้องที่ชอบน้อยที่สุดคือใคร ขนมที่เราชอบกินมากที่สุดคืออะไรและขนมที่ชอบกินน้อยที่สุดคืออะไร สัตว์เลี้ยงที่เราชอบมากที่สุดคืออะไร!
    • คงจะเป็นอะไรที่น่าสนุก เมื่อเรากลับมาอ่านไดอารี่ แล้วพบว่าตนเองชอบอะไรไม่เหมือนเดิมและเปลี่ยนไปไม่ชอบอะไรอย่างอื่นแทน!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เปลี่ยนชื่อหน้าปก ถ้าไม่อยากให้ใครมาแอบอ่านไดอารี่ส่วนตัวของตนเอง เปลี่ยนชื่อหน้าปกให้ดูเป็นวิชาการอย่างเช่น "สมุดแบบฝึกหัดวิชาเลข"
  • จะใช้ปากกาหรือดินสอในการเขียนไดอารี่ก็ได้ ถ้าใช้ปากกา เราจะเลือกสีที่ตนเองชอบก็ได้ แต่ต้องอ่านง่าย ข้อดีของการใช้ปากกาเขียนคือหมึกจะติดกระดาษถาวร แต่ถ้าใช้ดินสอ เราจะลบและแก้ไขคำผิดได้ง่าย!
  • เราจะแสร้งทำเป็นเขียนถึงบุคคลที่ไม่สำคัญในชีวิตของเราก็ได้ เช่น เพื่อนที่เรียนกันคนละห้อง พนักงานต้อนรับ พนักงานร้านขายของ เป็นต้น จะเขียนถึงบุคคลที่เราสมมติขึ้นมาเองก็ได้!
  • จะเปลี่ยนจากการเขียนไดอารี่มาเขียนบล็อกแทนก็ได้ เริ่มเขียนบล็อกของเราเองตั้งแต่วันนี้! การเขียนบล็อกจะช่วยให้เราตั้งใจเขียนและระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำมากขึ้น
  • ไดอารี่นี้เป็นไดอารี่ของเรา เราอยากจะเขียนอย่างไรก็ได้ อย่าให้ใครมากำหนดว่าเราควรจะเขียนไดอารี่ของตนเองออกมาเป็นอย่างไร
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลืมว่าถึงแม้เราจะระมัดระวังไม่ให้ใครมาอ่านไดอารี่ แต่ไดอารี่ของเราก็มีโอกาสถูกแอบอ่านอยู่ดี
  • ถ้าไม่อยากให้ใครมาอ่านไดอารี่ของเรา เราก็ต้องซ่อนไดอารี่ไว้ในที่ซึ่งผู้อื่นเข้าถึงได้ยาก เช่น
    • ในกระเป๋าถือ
    • ในชั้นหนังสือ หรือซ่อนในหนังสือสักเล่ม
    • ในตู้เสื้อผ้า
    • ใต้หมอน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 63,521 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา