ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปรัชญาเบื้องหลังคาราเต้นั้นกว้างใหญ่และซับซ้อน มันแตกหน่อมาจากการต่อสู้ทั้งที่ติดอาวุธและด้วยมือเปล่านับเป็นพันปี เทคนิคที่สมบูรณ์แบบเมื่อหลายร้อยปีก่อนก็ยังคงถูกฝึกปรือจนได้ไม่แพ้ใครซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากคนรุ่นใหม่แต่ละรุ่น พุทธศาสนา ลัทธิเต๋า และหลักบูชิโดล้วนมีบทบาทต่อการพัฒนาปรัชญาศิลปการต่อสู้แขนงนี้ทั้งสิ้น คาราเต้ในรูปแบบสมัยใหม่นั้นถือกำเนิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเมื่อราว 400 ปีที่แล้ว โดยมีรากฐานมาจากกังฟูของจีน ดูขั้นตอนที่ 1 ด้านล่างเพื่อเริ่มเรียนพื้นฐานของคาราเต้กันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมพร้อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    ฝึกสมาธิ. (5+ นาที) ล้างความคิดทั้งหมดออกไปจากจิตใจ เพ่งอยู่กับลมหายใจเข้าทางจมูกและออกทางปาก การหายใจลึกๆ และทำใจให้ว่างเปล่านั้นจะช่วยเตรียมคุณให้พร้อมฝึกคาราเต้ มันไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาก็จริง แต่ทำสมาธิอย่างน้อย 5 นาทีก็น่าจะพอทำให้จิตใจสลัดจากความคิดเพื่อเกิดสมาธิได้ และใช่แล้ว การฝึกสมาธิจะช่วยเพิ่มพูนทักษะการต่อสู้ได้! [1]
    • ลืมโรงเรียน ลืมเรื่องงาน ลืมครอบครัว ปัญหา ทุกอย่างเลย นึกภาพว่ามันระเหยหายไปต่อหน้าต่อตา พอทุกอย่างหายไป คุณจะเห็นแค่ห้องที่ว่างเปล่า และใจกลางห้องนั้นจะปรากฏเปลวไฟปะทุขึ้นมาจากความว่างเปล่า เปลวไฟแห่งความแข็งแกร่งและพลังงานท่วมท้นนี้จะเป็นตัวแทนของความหวังที่คุณอยากจะฝึกคาราเต้ได้สำเร็จ เมื่อคุณทำสมาธิเสร็จ ห้องทั้งห้องควรมีแต่เปลวไฟลุกโชน
  2. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    (10 นาที) เริ่มด้วยการวิ่งอยู่กับที่หรือวนรอบตึกสัก 5 นาที บวกด้วย วิดพื้น , ซิทอัพ (หรือทำท่าครันช์), เลกลิฟต์ และทำ วิดพื้น แบบรีเวิร์ส อีกราว 5 นาที (หรือท่าละ 20 ครั้ง)
    • การอบอุ่นร่างกายนั้นจำเป็นต่อความสามารถของกล้ามเนื้อ ถ้าคุณไม่ทำให้มันคลายตัวเตรียมพร้อมก่อนจะฝึกและยืดเหยียดร่างกายแล้ว มันอาจประท้วงคุณจนทำให้คุณไม่สามารถทำแม้แต่ท่าพื้นฐานได้ถูกต้อง
  3. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    ยืดเหยียด. (15 นาที) ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลักทั้งหมดของร่างกายก่อนทำให้ร่างกายผ่อนคลายไม่แข็งเกร็ง หาหนังสือเกี่ยวกับการยืดเหยียดมาดูถ้ายังไม่รู้จักท่าออกกำลังยืดเหยียด ในคาราเต้นั้นการยืดเหยียดขาจะมีส่วนสำคัญไม่ทำให้คุณเกิดอาการบาดเจ็บ
    • การยืดเหยียดมา หลัง จากการอบอุ่นร่างกาย เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มอบอุ่นขึ้น จะเป็นตอนที่มันตอบสนองต่อการยืดเหยียดได้ดีที่สุด ทำให้การยืดเหยียดปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพสูงสุด
  4. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    สำหรับผู้ชมที่ไม่เคยผ่านการฝึกมา คาราเต้อาจดูเหมือนการแสดงความรุนแรง แท้จริงแล้วมันกลับตรงกันข้ามเลย คาราเต้นั้นเป็นเรื่องของความสงบ โดยเฉพาะความสงบสันติของจิตใจ ในชีวิตจริงนั้นเราหนีความขัดแย้งไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อมันเกิดขึ้น จึงควรได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วและด้วยพลัง ผลที่ได้คือความมั่นใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความนอบน้อม
    • นี่คือศิลปะรูปแบบหนึ่งที่ต้องอาศัยความคิดและจิตใจไม่แพ้ร่างกาย ทั้งสามอย่างนี้จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กันเพื่อจะเป็นเลิศในกีฬาชนิดนี้ ในขณะที่ร่างกายต้องเรียนรู้จดจำการเคลื่อนไหว จิตใจก็จะต้องเรียนรู้จดจำการจะหยุดนิ่ง
    • ศิลปการป้องกันตัวทุกแขนงจะเริ่มและจบลงด้วยมารยาท คาราเต้ไม่ได้เป็นเรื่องของการเห็นแก่ตัว เชื่อกันว่าหากคุณอุทิศตนทุ่มเท คุณก็จะต้องได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ฝึกท่าทาง การทรงตัว และกำลังให้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    โอเค โอเค คุณอยากจะเน้นไปที่การเตะต่อยมันๆ แต่เสียดายที่การเตะ การจู่โจม หรือการป้องกันของคุณจะไม่มีน้ำยาสักเท่าไหร่หากคุณไม่ได้ฝึกท่าทางให้ถูกต้องเสียก่อน คุณคงไม่คิดจะเป็นนักเบสบอลผู้ยิ่งใหญ่ได้โดยที่ยังจับไม้ไม่ถูกเลยจริงไหม ไม่หรอก ท่าพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักคาราเต้หน้าใหม่ทั้งหลาย
    • คาราเต้มีสามรูปแบบที่แตกต่างกัน คุณจะพบการวางท่าทางที่ต่างกันสามท่าขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังฝึกแบบไหน คาราเต้ส่วนใหญ่จะเป็นท่าที่ดัดแปลงมาจากสามท่าหลักดังต่อไปนี้: [2]
      • ท่าธรรมชาติหรือท่าเดิน (ชิเซ็นไต-ดาจิ) เป็นท่าที่ขาหน้าชี้ตรงไปข้างหน้า ส่วนขาหลังกางเป็นมุม 45 องศาด้านหลังตัวคุณ เท้าทั้งสองข้างกางออกจากกันในความกว้างเท่าระยะก้าวเดินตามธรรมชาติ
      • ท่าขาหน้า (เซ็นคุสึ-ดาจิ) [2] เป็นท่าที่เหมือนท่าธรรมชาติ แต่เท้ากางออกกว้างขึ้นและทิ้งน้ำหนักตัวส่วนใหญ่ลงที่ขาหน้า
      • ท่าแมว หรือท่าขาหลัง (เนโกะอาชิ-ดาจิ) เท้าวางเหมือนท่าเดิน แต่จะทิ้งน้ำหนักลงที่ขาหลังเป็นส่วนใหญ่ ส้นเท้าหน้าจะเลือกยกสูงขึ้นมาก็ได้
  2. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    ท่าข้างบนนั้นเป็นท่า ต่อสู้ อย่างไรก็ตาม ในตอนเริ่มต้นของการต่อสู้ทุกครั้ง จะต้องเริ่มด้วยท่าเตรียมพร้อม คุณมีสามตัวเลือกพื้นฐานดังนี้:
    • ท่าเตรียมพร้อมในแบบฟูเกียวงาตะจะให้ส้นเท้าชิดและปลายเท้าชี้ออกในมุม 60 องศา
    • ท่าเตรียมพร้อมในแบบพินันจะให้เท้าแยกออกระดับไหล่ โดยปลายเท้าชี้ออกเป็นมุม 45 องศา
    • ท่าเตรียมพร้อมในแบบไนฮันจิจะให้เท้าวางขนานตรงกัน
  3. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    คาราเต้ไม่ใช่สิ่งที่คนเมาจะทำได้ดี สาเหตุคือมันต้องพึ่งพาอาศัยความสามารถในการทรงตัว เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมท่าทางถึงได้มีความสำคัญนัก! มันจะกำหนดจุดศูนย์กลางที่ลำตัวคุณ ทำให้คุณมีความยืดหยุ่นโดยที่ยังรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้ และพลังที่คุณรู้สึกขณะตั้งท่านั้นจะไม่หายไปเมื่อคุณเริ่มเตะ!
    • นึกถึงจุดศูนย์ถ่วงกลางลำตัวเสมอ หากคุณแยกขาออก ให้ย่อตัวลงเพื่อรักษาสมดุลร่างกายและเพิ่มพลังในการโจมตี แต่ถ้าคุณย่อตัวต่ำเกินไป คุณจะสูญเสียความคล่องแคล่วและความเร็ว เมื่อพูดถึงเรื่องความสมดุล คุณจึงจำเป็นต้องมองหาความพอดี
    • ในขณะที่การทรงตัวได้สมดุลเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อคุณเริ่มต้องป้องกันตนเอง คุณก็ต้องสามารถเปลี่ยนถ่ายการทรงตัวได้อย่างว่องไวเช่นกัน หากคุณอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป คู่ต่อสู้จะสามารถบุกจู่โจมเข้ามาได้โดยง่าย! เพราะอย่างนี้การเปลี่ยนถ่ายย้ายท่าจึงมีความสำคัญเช่นกัน
  4. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    มีคนตั้งมากมาย (ประเภทนักกล้ามตามฟิตเนส) ผู้สามารถยกน้ำหนักได้หลายสิบกิโลแต่ไม่อาจเก่งทางคาราเต้ มันไม่ได้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อเลย แต่เป็นเรื่องของ ความแรง และ ความเร็ว
    • สองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ระยะทางสู่เป้าหมายที่ยาวกว่าจะช่วยคุณเพิ่มความเร็วและจึงเพิ่มความแรงไปด้วย ถ้าคุณใช้ลำตัวทั้งร่าง ก็จะมีความแรงตามมาในการโจมตี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเร็วขึ้นตาม ลองคิดถึงคาราเต้ว่าไม่ใช่ความสามารถในการขยับของชิ้นใหญ่ แต่เป็นความสามารถในการขยับของชิ้นเล็กๆ อย่างว่องไวและแม่นยำ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ฝึกการเคลื่อนไหวให้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    (15 นาที) นี่เป็นท่าการออกหมัดสำคัญที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อจะโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ การปล่อยหมัดตรง, หมัดอัปเปอร์คัท, ท่าฝ่ามือสับแบบกังฟู, ท่าฝ่ามือทิ่มเหมือนหอกแบบกังฟู, ท่าโจมตีด้วยข้อศอก และท่าศอกกลับ สามารถดูท่าเหล่านี้ได้จากบทความในวิกิฮาวและในอินเทอร์เน็ต ฝึกมันตามลำดับและสลับทั้งสองมือ
    • การกันก็สำคัญเช่นกัน! ฝึกการกันราวกับว่านี่คือหมัดที่มีคนซัดใส่คุณ ทดลองผสมผสานท่าทางกับการตอบโต้กลับ ป้องกัน โจมตี ป้องกัน โจมตี...ไปเรื่อยๆ
    • จำไว้ว่าข้อนิ้วสองข้อแรกนั้นเป็นข้อนิ้วที่แข็งแกร่งที่สุดบนมือ มันสามารถเรียงเป็นแนวกับกระดูกแขนท่อนล่าง (กระดูกปลายแขนท่อนนอกกับกระดูกปลายแขนท่อนใน) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ความผิดพลาดส่วนใหญ่ของผู้คนคือ กำหมัดเอียง ต่อยสูงเกินไป หรือต่อยโดยเหวี่ยงหมัดจากหัวไหล่
  2. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    (15 นาที) เตะซ้ำสิบหนก็เพียงพอจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับขา เน้นให้เกินกว่าเป้าเพื่อเพิ่มความแรงเต็มที่ แต่ก็ฝึกการเคลื่อนที่ให้พลิ้วต่อเนื่องสวยงามเหมือนหงส์ พละกำลังจะเพิ่มตามมา
    • พื้นฐานการเตะคาราเต้มีห้าแบบด้วยกัน: [3]
    • เตะสะบัดเท้าไปข้างหน้า ง่ายๆ คือคิดว่ามันเหมือนกับเวลาคุณเล่นสะบัดผ้าเช็ดตัวดีดใส่เพื่อน ในท่าธรรมชาติ คุณดึงเท้าไปข้างหลัง งอเข่าแล้วเตะสะบัดเท้า (ที่มาของชื่อ) ออกไปข้างหน้าแล้วดึงกลับมาตามเดิมในทันที
    • เตะสะบัดเท้าไปด้านข้าง เหมือนกับการเตะสะบัดเท้าไปข้างหน้า...เพียงเปลี่ยนเป็นด้านข้าง
    • บิดเอวเตะไปด้านข้าง ยกเท้าข้างที่เตะขึ้นมาตรงเข่าขาตรงข้าม เตะพร้อมกับดันสะโพกไปข้างหน้า ในการเตะสะบัดเท้าไปข้างหน้านั้น ลำตัวคุณยังตั้งตรง แต่ในการเตะยัน ลำตัวจะเอียงไปตามขาข้างที่เตะ ทำให้มีแรงส่งขาข้างที่เตะยกสูงขึ้น
      • ผู้ชายในภาพเคลื่อนไหวข้างบนนั้นกำลังบิดเอวเตะ เห็นลำตัวของเขาย่อลงมาไหม
    • บิดเอวเตะไปข้างหลัง เหมือนบิดเอวเตะไปด้านข้าง แต่คุณมองไปทางข้างหลังและเตะไปในทิศทางเดียวกับสายตา
    • เตะตวัด จากท่าแมว ให้ดึงขาข้างที่เตะขึ้นมาระดับเดียวกับข้อศอก บิดสะโพกออกไปข้างหน้าแล้วหมุนตัว ทำให้เกิดการ "หมุนตวัด" ในการเตะตวัด แล้วสะบัดเท้ากลับมาที่เดิมอย่างไวที่สุด
  3. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    (15+ นาที) หาใครมาช่วยฝึก และใช้เทคนิคทั้งหมดสู้กับพวกเขาสัก 15 ถึง 30 นาที การมีคู่ซ้อมจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความสามารถที่จะผสมผสานการออกท่าและป้องกันตัวเองจากการถูกโจมตี หลังจากได้ฝึกเทคนิคทั้งการโจมตีและการป้องกันมาจนคล่องแล้ว
  4. Watermark wikiHow to เรียนรู้พื้นฐานของคาราเต้
    ฝึกกาตะ (แปลคร่าวๆ ว่า "รูปแบบการฝึก") ซ้ำแล้วซ้ำเล่า. เน้นที่กาตะหนึ่งโดยเฉพาะสำหรับช่วงนั้น พอชำนาญค่อยเปลี่ยนเป็นกาตะอื่น สำคัญมากที่ต้องเน้นกาตะระดับต่ำไปกับกาตะระดับสูงเพื่อพัฒนาและมีความละเอียดขึ้น
    • ให้แน่ใจว่าได้กลับมาฝึกมันใหม่หลังจากทำได้แล้ว! หลังจากทำหลายท่าจนคล่องแล้ว นำมันมารวมกันและผสานเป็นท่าที่ยากขึ้นกว่าเดิมเป็นการพัฒนาไปยิ่งขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาต่อย ผ่อนคลายอย่าเกร็งจนกระทั่งต่อยถูกเป้าหมาย บรู๊ซ ลีกล่าวไว้ว่า "การผ่อนคลายจำเป็นสำหรับการออกหมัดที่ไวและหนักขึ้น ให้หมัดนำปล่อยแบบไม่เกร็งและออกไปง่ายๆ อย่ากำหมัดแน่นเกินไปจนกว่าจะโดนเป้าหมาย หมัดทุกหมัดควรจบลงโดยการเล็งเลยเป้าหมายไปอีกหลายๆ นิ้ว ดังนั้น คุณจึงต่อยทะลุคู่ต่อสู้ไม่ใช่ต่อยถูกคู่ต่อสู้"
  • เวลาต่อย ให้จ้องตาคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
  • อย่าประมาทหรือประเมินคู่ต่อสู้สูงเกินไป ยิ่งคุณมั่นใจว่าจะแพ้/ชนะเขามากแค่ไหน คุณก็จะยิ่งแพ้/ชนะเขาตามที่คิดแค่นั้น
  • เวลาเตะ: การเตะตรงๆ ควรใช้อุ้งเท้าหรือส้นเท้า งอนิ้วเท้าเข้าเพื่อไม่ให้บาดเจ็บ ส่วนการเตะด้านข้างให้ใช้สันเท้าหรือส้น การเตะแบบสับต้องใช้ส้น (แต่นี่ไม่ใช่ท่าที่ใช้บ่อย) การเตะฟาดหางให้ใช้อุ้งเท้าหรือฝ่าเท้า
  • ให้แน่ใจว่าได้เปลี่ยนชุดที่เกิดฉีกขาดแล้ว ความปลอดภัยของเราควรมาก่อน
  • ฝึกยิมนาสติกเพื่อคุณจะได้รู้วิธีการตีลังกาเจ๋งๆ มาใส่ให้การเล่นคาราเต้
  • อย่าลองท่ายากแต่แรก เริ่มด้วยท่าแนะนำง่ายๆ ก่อน แล้วค่อยฝึกท่ายากขึ้น
  • จำไว้ว่าคาราเต้เป็นเรื่องของสันติ ไม่ใช่ความรุนแรง มันอาจดูรุนแรงแต่ส่วนใหญ่เป็นการป้องกันตัวเอง
  • โจมตีตรงจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ซ้ำหลายครั้ง จนเขาเหนื่อยอ่อนและเอาชนะได้ง่าย
  • เวลาถูกโจมตี:
    • รีบบุกใส่ก่อนพวกเขา นี่จะลดแรงบุกของเขาลง ทำให้เขาบาดเจ็บและไม่ต้องใช้พลังงานของเรามาก
    • ถ้าทำไม่ได้ ให้เคลื่อนที่ เปลี่ยนระยะห่าง และ/หรือเคลื่อนตัวออกจากแนวการบุกเพื่อเตรียมโต้กลับ
    • บล็อก ไม่จำเป็นต้องใช้มือ และไม่ฉลาดเลยถ้าจะกันการเตะต่ำด้วยมือ เพราะจะทำให้ไม่มีการป้องกันที่ศีรษะ


โฆษณา

คำเตือน

  • เวลากันการเตะหรือหมัดจากคู่ต่อสู้ จำไว้ว่าให้กำหมัดแน่น ไม่งั้นอาจมือหักได้นะ
  • จำไว้ว่าคู่ซ้อมนั้นเป็นของจริง ไม่ใช่กระสอบทราย ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวและเพิ่มความระมัดระวัง
  • ยืดเหยียดเสมอ และยืดเหยียด ทุกส่วน กล้ามเนื้อฉีกหรือเอ็นกระตุกนี่มันเจ็บปวดมากเลยนะ!
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 55,001 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา