ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เกือบทุกคนต้องเคยกังวลบ้างเป็นบางครั้ง แต่การกังวลมากเกินไปมีผลต่อวิถีชีวิตที่มีความสุข ทำให้คุณนอนหลับยากขึ้นและทำให้คุณลืมนึกถึงสิ่งดีๆ ในชีวิต นอกจากนี้ความกังวลยังทำให้คุณรับมือกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกังวลได้ยากขึ้นอีกด้วย ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ งานวิจัยบางชิ้นพบว่า การกังวลมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางกายได้ด้วย [1] การกังวลเป็นประจำเป็นนิสัยที่แก้ได้ยาก แต่ข่าวดีก็คือ มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อหยุดรูปแบบความกังวลที่มากเกินไป และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าความกังวลรบกวนชีวิตวันต่อวันของคุณและคุณไม่สามารถเลิกกังวลได้ ลองเลื่อนความกังวลออกไปก่อน อนุญาตให้ตัวเองกังวลได้ แต่แค่ช่วงใดช่วงหนึ่งของวันเท่านั้น [2]
    • เช่น คุณอาจจะแบ่งเวลาครึ่งชั่วโมงหลังอาหารในแต่ละวันเพื่อกังวลโดยเฉพาะ ในเวลาอื่นถ้าความกังวลผุดขึ้นมาในหัวคุณเมื่อไหร่ คุณก็รับรู้ถึงมันได้ แต่ให้บอกตัวเองว่า "ฉันจะคิดเรื่องนี้ทีหลัง" [3]
    • เทคนิคนี้ทำให้คุณได้เลื่อนเวลากังวลออกไปได้ชั่วครู่ เพื่อที่คุณจะได้ผ่านแต่ละวันไปได้
  2. จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่า การเขียนความกังวลของคุณลงไปช่วยให้คุณปล่อยวางมันได้ [4] นอกจากนี้การเขียนความกังวลลงไปยังช่วยทำให้ปัญหาดูแก้ไขได้มากขึ้นด้วย
    • กลยุทธ์นี้ใช้ได้ผลดีกับการเลื่อนความกังวลออกไป การเขียนรายการความกังวลช่วยให้คุณรู้สึกเหมือนว่า คุณจะได้ปล่อยวางความกังวลจนกว่าจะถึง "เวลากังวล" จากนั้นเมื่อเวลากังวลมาถึง คุณก็แค่กลับไปดูรายการนั้นใหม่ [5]
  3. การพูดถึงสิ่งที่คุณกังวลช่วยคุณได้ วิธีนี้ช่วยปรับมุมมองของสิ่งต่างๆ และช่วยให้คุณได้รู้ถึงต้นตอของปัญหา [6]
    • แต่ระวังว่าการเล่าเรื่องความกังวลมากเกินไปอาจทำให้เพื่อนๆ ของคุณทนฟังต่อไปแทบไม่ไหว ถ้าปัญหานี้ยังคงดำเนินต่อไป ให้ลองไปพบที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอื่นๆ
  4. งานวิจัยไม่นานมานี้พบว่า คนที่พึ่งพาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมวิตกกังวลมากกว่า [7] ลองลดเวลาอยู่หน้าจอลงเพื่อช่วยให้คุณเลิกกังวลมากจนเกินไป [8]
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้โซเชียลมีเดียที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น นอกจากนี้ยังทำให้คุณผ่อนคลายได้ยากอีกด้วย ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความกังวลทั้งสิ้น [9]
    • การปิดเครื่องมือสื่อสารหลายๆ ครั้งในแต่ละวันทำให้คุณควบคุมความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีได้มากขึ้น [10]
  5. การให้มือทำอะไรสักอย่าง เช่น ถักไหมพรมหรือนับ "ลูกประคำแก้กังวล" อาจช่วยลดความเครียดและความกังวลได้ [11] งานวิจัยจากสภาวิจัยทางการแพทย์ไม่นานมานี้พบว่า การทำให้มือไม่ว่างระหว่างที่มีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นอาจทำให้เหตุการณ์นั้นรบกวนจิตใจคุณในภายหลังน้อยลง [12]
    • งานวิจัยไม่ได้ค้นพบผลกระทบต่อความกังวลของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่มีปัญหาเกิดขึ้น ให้ใช้มือทำอะไรเป็นรูปแบบและซ้ำไปซ้ำมา เพราะอาจลดความวิตกกังวลได้ในภายหลัง [13]
  6. การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ดีกับร่างกายของคุณเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีที่ช่วยลดความกระวนกระวายที่นำไปสู่ความวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย [14] การออกกำลังกายเป็นประจำอาจได้ผลดีกว่าการใช้ยาลดระดับความกังวลตามที่แพทย์สั่ง
    • งานวิจัยในสัตว์พบว่า การออกกำลังกายเพิ่มระดับเซอโรโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่บรรเทาความกังวลและทำให้คุณรู้สึกมีความสุขมากขึ้น [15]
  7. การหายใจช้าๆ ลึกๆ กระตุ้นเส้นประสาทเวกัสที่ช่วยลดความเครียดและความกังวล [16]
    • บางคนแนะนำสูตรการหายใจ "4-7-8" เมื่อกังวล วิธีนี้ก็คือ ให้คุณหายใจออกทางปากให้สุด จากนั้นหายใจเข้าทางจมูก นับถึง 4 ขณะที่คุณหายใจเข้า ค้างลมหายใจไว้ 7 วินาที สุดท้ายให้หายใจออกทางปาก นับถึง 8 ขณะหายใจออก [17]
  8. งานวิจัยทางการแพทย์พบว่า การฝึกสมาธิมีผลต่อสมองในด้านการลดความวิตกกังวล ถ้าคุณเป็นคนขี้กังวลไม่หาย การเรียนรู้ที่จะ ฝึกสมาธิ อาจมีประโยชน์กับคุณมาก
    • การทำสมาธิเพิ่มกิจกรรมในสมองส่วน Ventromedial Prefrontal Cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความกังวล [18] นอกจากนี้มันยังบังคับให้คุณอยู่กับปัจจุบันด้วย การทำสมาธิถ้าทำอย่างถูกต้องจะทำให้คุณไม่นึกถึงปัญหาในอนาคตเลย อย่างน้อยก็ขณะที่คุณกำลังฝึกสมาธิอยู่
  9. งานวิจัยทางการแพทย์เมื่อไม่นานมานี้สนับสนุนความคิดที่ว่า กลิ่นน้ำมันหอมระเหยบางกลิ่นสามารถลดความเครียดและความกังวลได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลิ่นเกรปฟรุตที่มีประสิทธิภาพในด้านนี้โดยเฉพาะ [19]
    • น้ำมันหอมระเหยและผลิตภัณฑ์อโรมาเธอราปีอื่นๆ มีขายตามร้านสุขภาพและร้านอาหารธรรมชาติทั่วไป คุณจะแค่ลองดมกลิ่นเกรปฟรุตดูก็ได้นะ!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เปลี่ยนการคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งการพยายามกดความกังวลไว้ยิ่งทำให้มันดูแย่ลง เพราะฉะนั้นอย่าพยายามเมินเฉยต่อความกังวลของคุณ เมื่อไหร่ที่มันผุดขึ้นมาในหัว ยอมรับมัน แต่ก็ให้พยายามเดินหน้าต่อไปด้วย [20]
  2. เมื่อคุณนึกถึงสิ่งที่ทำให้คุณกังวล วิธีที่จะประมวลผลสิ่งที่คุณกังวลได้ดีก็คือการจัดประเภทให้มัน จัดระเบียบสิ่งที่ทำให้คุณกังวลแต่ละอย่างอย่างเจาะจง ดังนี้ :
    • ปัญหานี้คุณแก้ได้หรือไม่ได้ ถ้าสิ่งที่คุณกังวลเป็นปัญหาที่คุณมีอำนาจที่จะแก้ไขได้ วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดอาจจะเป็นการเริ่มแก้ไขมัน เมื่อคุณมีแผนที่จะแก้ไขปัญหาแล้ว คุณก็จะกังวลน้อยลง ถ้าคุณไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ยอมรับมัน พยายามผ่านไปให้ได้ แล้วเดินหน้าต่อไป [23]
    • นี่เป็นความกังวลถึงสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นหรือไม่น่าจะเกิดขึ้น ความกังวลถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอาจรบกวนจิตใจคุณได้จริงๆ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่าสิ่งนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น ก็จะเป็นขั้นแรกที่คุณจะได้ปล่อยความกังวลไป [24]
    • นี่เป็นความกังวลถึงสิ่งที่แย่มากๆ หรือไม่ ลองนึกว่าคุณกังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้ามันเกิดขึ้น มันจะแย่แค่ไหน เรื่องที่เรากังวลส่วนใหญ่ถึงเวลาจริงแล้วมันมักจะไม่แย่ขนาดนั้น ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่ามันไม่ใช่หายนะ สิ่งนี้อาจช่วยให้คุณปล่อยวางมันได้ และจะยิ่งจริงมากขึ้นเป็นสองเท่าถ้ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง! [25]
    • ระหว่างที่กำลังประมวลผลอยู่นี้ ให้พยายามคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ถามตัวเองว่าคุณมีหลักฐานอะไรที่บอกว่าความกังวลของคุณตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ลองนึกว่าคุณจะบอกเพื่อนคนที่มีปัญหาเดียวกันนี้ว่าอะไร พยายามจินตนาการผลลัพธ์ที่ตามมาที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุด ไม่ใช่นึกถึงกรณีเลวร้ายสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ [26]
  3. ถ้าเรื่องที่คุณกังวลเรื่องใดเรื่องหนึ่งรบกวนจิตใจคุณบ่อยครั้ง คุณอาจจะพยายามทำให้มันน่าเบื่อ เพื่อที่สมองของคุณจะได้กลับไปคิดถึงสิ่งนั้นน้อยลง วิธีนี้ทำได้ด้วยการคิดถึงสิ่งนั้นซ้ำไปซ้ำมาหลายๆ นาที [27]
    • เช่น ถ้าคุณกังวลว่าคุณจะประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ให้ท่องไว้ในหัวว่า "ฉันอาจจะประสบอุบัติทางรถยนต์ ฉันอาจจะประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์" ในระยะสั้น วิธีนี้อาจทำให้คุณยิ่งกังวล แต่หลังจากนั้นอีกสักหน่อย คำในหัวจะเริ่มเสื่อมอำนาจและกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับคุณ และมีโอกาสว่าหลังจากนั้นมันจะไม่ผุดขึ้นมาในหัวของคุณบ่อยเหมือนเดิมอีกแล้ว
  4. การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านการคิดของคุณคือ การยอมรับว่าชีวิตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้และไม่สมบูรณ์แบบ นี่เป็นกุญแจหลักของการหยุดความกังวลได้ในระยะยาว จุดเริ่มต้นที่ดีของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็คือการทำแบบฝึกหัดเขียน จดคำตอบของคำถามเหล่านี้ลงไป: [28]
    • เป็นไปได้ไหมที่คุณจะแน่ใจเกี่ยวกับทุกสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น
    • ความต้องการความแน่นอนมีประโยชน์ต่อคุณในแง่ไหน
    • คุณมักจะคาดการณ์ว่าสิ่งแย่ๆ จะเกิดขึ้นแค่เพราะคุณไม่แน่ใจหรือเปล่า แล้วมันสมเหตุสมผลไหม
    • คุณอยู่กับโอกาสที่เรื่องแย่ๆ จะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า ถ้าผลลัพธ์ไม่น่าจะออกมาเป็นแบบนั้น
    • เมื่อเกิดความกังวลขึ้นในจิตใจ พยายามเตือนตัวเองถึงคำตอบของคำถามเหล่านี้
  5. อารมณ์เป็นสิ่งที่ติดต่อกันได้ ถ้าคุณใช้เวลากับคนขี้กังวลหรือคนที่ทำให้คุณกังวลมากๆ คุณอาจจะต้องพิจารณาใหม่ว่าคุณจะใช้เวลากับคนพวกนี้มากแค่ไหน [29]
    • ใช้เวลานึกถึงคนที่คุณใช้เวลาด้วย และคิดว่าพวกเขามีผลกระทบกับคุณอย่างไร การเขียน "ไดอารี่กังวล" ที่ติดตามว่าเมื่อไหร่ที่คุณกังวลมากที่สุดก็อาจช่วยคุณได้ ถ้าคุณพบว่าตัวเองกังวลทันทีหลังจากที่ไปเจอใครสักคน คุณอาจจะตัดสินใจว่าคุณต้องใช้เวลากับเขาหรือเธอให้น้อยลง หรือคุณอาจจะตัดสินใจว่ามีบางหัวข้อที่คุณไม่อยากจะเสวนากับคนๆ นี้อีกเลย
    • การเปลี่ยนวงสังคมสามารถเปลี่ยนวิธีคิดของคุณได้
  6. ความกังวลส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากความกลัวเรื่องในอนาคตมากกว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน การจดจ่ออยู่กับสภาพแวดล้อมและช่วงเวลาที่คุณกำลังประสบเป็นวิธีที่ช่วยปิดกั้นความกังวลได้เป็นอย่างดี [30]
    • บางคนแนะนำเทคนิค "หยุด ดู ฟัง" วิธีนี้ก็คือ เวลาที่คุณกังวล ให้หยุดและรับรู้ถึงความกังวลนั้น หายใจลึกๆ จากนั้นมองสิ่งรอบข้าง ใช้เวลา 5 นาทีจดจ่ออยู่กับรายละเอียดของโลกรอบตัวคุณ ขณะที่คุณทำอย่างนั้น ให้พูดปลอบใจตัวเองและสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเองว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเรียบร้อย [31]
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • กินช็อกโกแลต! น้ำตาลที่มากเกินไปหรืออาหารขยะอื่นๆ ไม่ใช่ความคิดที่ดี แต่งานวิจัยล่าสุดพบว่า การรับประทานดาร์กช็อกโกแลตในปริมาณน้อยๆ เป็นประจำช่วยลดความเครียดและความกังวลได้ [32] การรับประทานดาร์กช็อกโกแลต 40 กรัมทุกวัน 2 สัปดาห์ช่วยลดความเครียดและมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆ [33]
  • เรามักจะกังวลถึงสถานการณ์ที่ท้าทายเราหรือทำให้เราไม่สบายใจ บางครั้งการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้อยู่ในสถานการณ์ที่คุณกังวลก็เป็นความคิดที่ดีเหมือนกัน วิธีนี้ช่วยให้คุณเห็นว่า คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ ทำให้มันกลายเป็นแหล่งที่มาของความวิตกกังวลน้อยลง [34]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าความกังวลของคุณยังคงอยู่ต่อเนื่องและรุนแรง คุณอาจจะต้องพบนักบำบัด เพราะเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะเป็นโรคกังวลทั่วไป [35] ถ้าวิธีที่แนะนำในข้างต้นไม่ได้ผลกับคุณเลย และความกังวลก็ยังคงมีผลต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของคุณอยู่ ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ


โฆษณา
  1. http://www.anxietyuk.org.uk/2012/07/for-some-with-anxiety-technology-can-increase-anxiety/
  2. http://www.fastcompany.com/3040809/how-to-be-a-success-at-everything/7-surprising-things-that-can-help-you-stop-worrying
  3. http://www.apa.org/news/press/releases/2004/03/trauma-memory.aspx
  4. http://www.huffingtonpost.com/2013/10/01/stop-worrying-anxiety-cycle_n_4002914.html
  5. http://wellandgood.com/2012/04/04/exercise-is-better-than-xanax-how-workouts-banish-worries/?utm_source=huffingtonpost.com&utm_medium=referral&utm_campaign=pubexchange_article
  6. http://well.blogs.nytimes.com/2009/11/18/phys-ed-why-exercise-makes-you-less-anxious/
  7. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/09/19/3-quick-ways-to-stop-worrying-on-the-spot/
  8. http://www.fastcompany.com/3040809/how-to-be-a-success-at-everything/7-surprising-things-that-can-help-you-stop-worrying
  9. http://scan.oxfordjournals.org/content/early/2013/06/03/scan.nst041
  10. http://www.fastcompany.com/3040809/how-to-be-a-success-at-everything/7-surprising-things-that-can-help-you-stop-worrying
  11. http://www.huffingtonpost.com/2013/10/01/stop-worrying-anxiety-cycle_n_4002914.html
  12. http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0005796704000853
  13. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  14. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/insight-therapy/201501/how-stop-worrying-and-get-your-life
  16. https://www.psychologytoday.com/blog/insight-therapy/201501/how-stop-worrying-and-get-your-life
  17. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  18. http://www.webmd.com/balance/features/9-steps-to-end-chronic-worrying?page=3
  19. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  20. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  21. http://www.helpguide.org/articles/anxiety/how-to-stop-worrying.htm
  22. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/09/19/3-quick-ways-to-stop-worrying-on-the-spot/
  23. http://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/pr900607v?tokenDomain=presspac&tokenAccess=presspac&forwardService=showFullText&journalCode=jprobs&
  24. http://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/pr900607v?tokenDomain=presspac&tokenAccess=presspac&forwardService=showFullText&journalCode=jprobs&
  25. http://www.webmd.com/balance/features/9-steps-to-end-chronic-worrying?page=3
  26. http://www.nimh.nih.gov/health/publications/generalized-anxiety-disorder-gad/index.shtml

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,820 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา