ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทำเป็นไม่สนใจคนที่มักจะทำให้เราหดหู่หรือทุกข์ใจนั้นอาจยากลำบาก ยิ่งถ้าคนคนนั้นเป็นบุคคลที่เราต้องพบปะและพูดคุยทุกวันที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือที่บ้าน ก็ยิ่งยากที่จะทำเป็นไม่สนใจคำพูดและการกระทำของเขา บทความนี้จึงขอเสนอวิธีเลิกสนใจคนประเภทนี้ด้วยการแนะนำวิธีออกห่างจากคนที่คิดลบเหล่านี้ วิธีคบหากับคนที่คิดบวกและคอยช่วยเหลือ ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปฏิบัติดู เผื่อจะช่วยให้เรามีความสุขและความมั่นคงในชีวิตขึ้นมาบ้าง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ออกห่างจากคนพวกนี้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ง่ายที่สุดคือหลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับบุคคลนั้น เราอาจลดโอกาสในการพบหน้ากันด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งเคยไปด้วยกันบ่อยๆ หรือสถานที่ซึ่งเรารู้ดีว่าจะต้องพบบุคคลนั้นบ่อยๆ
    • ลองกินอาหารร้านใหม่ๆ ซื้อเครื่องดื่มร้านใหม่ๆ และนั่งดื่มกาแฟร้านใหม่ๆ มองหาสถานที่ใหม่ๆ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ซึ่งคนคนนั้นจะไปสักหน่อย
    • พยายามไปเดินห้างสรรพสินค้าที่อยู่ไกลจากบ้านของคนคนนั้น (ถ้าเรารู้ว่าเขาอาศัยอยู่ที่ไหน)
    • ถ้าเราและคนคนนั้นมีเพื่อนร่วมกัน และเพื่อนคนนั้นชวนเราออกไปเที่ยวด้วยกัน ให้ถามเขาว่าคนคนนั้นจะไปด้วยหรือไม่ แล้วจากนั้นจึงค่อยตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ไป
  2. การตั้งขีดจำกัดในการติดต่อกับคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยนั้นเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงที่ดีวิธีหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องตัดพวกเขาออกไปจากชีวิตเรา ถ้าคนคนนั้นเป็นญาติเราหรือถ้าต้องอยู่ที่เดียวกันทุกวัน การตัดสัมพันธ์กันอาจเป็นเรื่องยาก แต่การตั้งขีดจำกัดในการปฏิสัมพันธ์จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงเขาได้ จึงทำให้เรารู้สึกดีขึ้น [1]
  3. 3
    พยายามพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับคนคนนั้นให้สั้นและน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้. อาจตอบกลับไปสั้นๆ โดยไม่แสดงอารมณ์ใดๆ และไม่ต้องขยายความสิ่งที่พูด ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า "โทษที ฉันขอตัวกลับไปทำงานก่อน" [2]
    • อย่าพูดอะไรที่เป็นการทำร้ายจิตใจ หรือทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เพราะถ้าหากพูดออกไปแล้ว สิ่งต่างๆ ก็จะยิ่งแย่ลง
    • ถ้าเราจำกัดการติดต่อและหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยได้ ความสัมพันธ์ระหว่างเราและเขาก็จะจืดจางลงไปเองจนกระทั่งไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันอีกในอนาคต
  4. ไม่ว่าจะทำงานด้วยกัน มีเพื่อนคนเดียวกัน หรือบังเอิญเจอกันเป็นบางครั้งบางคราว พยายามอย่าเข้าไปสนทนาด้วย เมื่อคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยนั้นพยายามดึงเราเข้าไปพูดคุยกับเขา เราอาจพยายามทำเป็นไม่สนใจเขา ถ้าคนคนนั้นพยายามเข้ามาพูดด้วย [3]
    • พยายามอย่าสบตาคนคนนั้น
    • พยายามอย่าสนใจสิ่งที่คนคนนั้นพูดและอย่าไปตอบโต้สิ่งที่เขาพูด
    • ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องพูดอะไรออกไปสักอย่าง พยายามแสดงความเห็นหรือความรู้สึกส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่บุคคลนั้นพูด
    • ไม่ว่าเราจะแสดงอาการเพิกเฉยอย่างเปิดเผย หรือพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจราวกับไม่ได้ยินหรือฟังคนคนนั้น เราก็ได้แสดงให้เขารู้แล้วว่าเรานั้นไม่สนใจสิ่งที่เขาพูดเลย
  5. หาใครสักคนไปเป็นเพื่อนถ้าจำเป็นต้องพูดคุยกับคนคนนั้นจริงๆ. ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบหน้ากันในที่ทำงานหรืองานสังคมได้ อาจขอให้เพื่อนคนหนึ่งไปกับเราด้วย เพื่อนคนนี้อาจช่วยกันไม่ให้เราต้องเผชิญหน้ากับคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยได้ เพื่อนจะช่วยให้การพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ กับคนคนนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและชักนำการสนทนาไปสู่เรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าคนคนนั้นพยายามเข้าเรื่องที่เราไม่อยากคุยด้วย
    • ให้เพื่อนของเรารู้ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้าง เพื่อนคนนั้นต้องยินดีและเต็มใจที่จะช่วยเรา จะได้ไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเหมือนถูกหลอกใช้หรือสับสันงุนงงภายหลัง
    • อาจมีการส่งสัญญาณบางอย่างโดยไม่ใช้คำพูดเพื่อให้เราและเพื่อนรู้ว่าถึงเวลาขอด้วยออกจากการสนทนา ถ้าต้องการรีบจบการสนทนาจริงๆ
  6. ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบเจอกันได้ ให้พยายามสุภาพกับพวกเขาเป็นพิเศษเสมอ [4] บางครั้งความสุภาพก็สามารถช่วยลดการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้อื่นได้ [5]
    • พยายามอย่าแสดงกิริยาหยาบคายกับคนที่เราไม่ชอบ
    • จงเข้มแข็งและมั่นใจ นึกถึงคุณสมบัติที่ดีของตนเองเข้าไว้และพึงระลึกไว้ว่าเราเป็นคนที่สมควรได้รับความสุขบ้างเช่นกัน
    • อย่าปล่อยให้คนพวกนี้มาทำให้เรารู้สึกแย่ด้วยการเอาแต่พูดเรื่องไม่ดีใส่ จงปฏิเสธและอย่าไปรับฟัง
    • พูดแต่เรื่องดีๆ ถึงแม้จะรู้สึกอยากทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายก็ตาม จากนั้นจึงค่อยขอตัวออกมาจากการสนทนา ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า "เธอนำเสนอผลงานได้ยอดเยี่ยมมาก ฉันจะไปดื่มกาแฟสักหน่อย ขอตัวนะ"
  7. ถึงแม้พยายามหลีกเลี่ยงคนพวกนี้อยู่ แต่ก็ยังมีโอกาสพบเจอคนที่คิดไม่ดีและมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อยู่ดี โดยปกติคนพวกนี้ (ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว) พยายามทำให้เราไม่สบายใจอยู่แล้ว พวกเขาอาจบอกว่าเราโง่ ถึงได้พลาดโอกาสดีๆ อยู่เสมอหรือพยายามทำให้เรารู้สึกหมดหวังและหมดกำลังใจที่จะทำให้ความฝันของตนเป็นจริง ถ้าได้ตัดสินใจที่จะไม่ข้องแวะด้วยแล้ว ก็จงพยายามเข้มแข็งไว้และอย่าปล่อยให้คนพวกนี้มายุ่งกับเราหรือเปลี่ยนแปลงตัวเราได้ [6]
    • ถึงแม้เราจะรู้สึกว่าตนเองนั้นอ่อนแอหรือด้อยกว่า แต่ก็จงเชื่อมั่นว่าเรานั้นสามารถเก่งและเข้มแข็งกว่านี้ได้ ความเชื่อมั่นนี้จะช่วยปกป้องเราไม่ให้คล้อยตามคนที่เอาแต่คิดและพูดอะไรในแง่ลบได้
    • อย่าปล่อยให้คำพูดและการกระทำที่ไม่ดีของผู้อื่นมามีผลกระทบต่อความรู้สึกหรือการดำรงชีวิตของเรา ใช้การยืนยันสิ่งดีๆ และการพูดกับตนเองเพื่อทำลายความคิดลบใดๆ ที่คนคนนั้นพยายามนำมาครอบงำเรา
    • เตือนตนเองว่าเราเป็นคนดี มีครอบครัวและมิตรสหายคอยใส่ใจห่วงใยเรา การเตือนตนเองแบบนี้จะทำให้เราเห็นว่าตนเองนั้นก็มีสิ่งดีๆ ที่คนคนนั้นไม่รู้อยู่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ตัดช่องทางติดต่อสื่อสาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเราอยากตัดการติดต่อกับใครสักคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วย เราอาจใช้วิธีบล็อกเบอร์โทรหรือบล็อกข้อความจากคนคนนั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ก็ได้ ถ้าเราไม่ต้องติดต่อกับคนคนนั้นเป็นประจำ แต่ก็ไม่เสียหายอะไรถ้าจะเลือกบล็อกเบอร์โทรหรือบล็อกข้อความไว้
    • วิธีบล็อกเบอร์โทรสำหรับไอโฟน (iPhone) เลือกคนที่ต้องการบล็อกการโทรจากรายชื่อผู้ติดต่อและเลือก "Block This Caller" วิธีการบล็อกข้อความ ให้ไปที่ข้อความ เลือกคนที่อยากบล็อกและเลือก "Details" จากนั้น "Info" แล้วก็ "Block Contact" [7]
    • วิธีการบล็อกเบอร์โทรหรือข้อความของมือถือแอนดรอยด์ (Android) ไปที่ "Call Settings" และเลือก "Call Rejection" ซึ่งจะพาเราไปที่ "Auto Reject List" จากนั้นเราแค่ค้นหาและเลือกเบอร์ที่เราต้องการบล็อก
    • วิธีการบล็อกเบอร์โทรหรือข้อความของมือถือวินโดวส์โฟน (Windows phone) ไปที่ "Settings" และเลือก "Call + SMS Filter" จากนั้นเปิดสวิตช์ "Block Calls" จากนั้นกดเบอร์โทรศัพท์ที่เราต้องบล็อกค้างไว้ เลือก "Block Number" แล้วกด "OK"
    • ถ้าเป็นมือถือแบล็คเบอร์รี (BlackBerry) เราจะต้องพูดคุยกับผู้ให้บริการเพื่อบล็อกเบอร์โทรศัพท์ที่เราไม่ต้องการรับสาย
  2. ถึงแม้จะสามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าตัวต่อตัวได้สำเร็จ แต่คนคนนั้นอาจยังสามารถติดต่อเราผ่านทางสื่อสังคมได้อยู่ ถ้าเราเป็นเพื่อนหรือติดตามใครสักคนทางสื่อสังคม คนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยก็สามารถรู้ได้ว่าเรากำลังทำอะไร หรือไปที่ไหน ทำให้เขาอาจส่งข้อความข่มขู่หรือก่อกวนผ่านสื่อสังคมได้ด้วย [8]
    • ถ้าเป็นเพื่อนหรือติดตามคนคนนั้นในสื่อสังคม เราสามารถเลิกเป็นเพื่อนหรือเลิกติดตามเขาได้ เรายังสามารถบล็อกเขาได้ด้วยเพื่อไม่ให้เขาเห็นว่าเราโพสต์อะไรหรือติดต่อเราได้
    • ถ้าเราไม่ได้เป็นเพื่อนหรือติดตามคนคนนั้นทางสื่อสังคมแล้ว หรือถ้าเราได้ยกเลิกการเป็นเพื่อนกับเขาไปแล้ว ให้เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวภายในสื่อสังคมที่ใช้นั้น จะได้มีเพื่อนของเราเท่านั้นที่เห็นสิ่งที่เราโพสต์
  3. ถ้าคนที่เราไม่อยากข้องแวะด้วยนั้นมีอีเมลแอดเดรสของเรา เราก็อาจเป็นฝ่ายที่ต้องกลัวเขาจะส่งอีเมลที่มีเนื้อหาคุกคามหรือหาเรื่องเรา เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ได้ด้วยการบล็อกอีเมลของคนคนนั้น หรือคัดข้อความที่ได้จากคนคนนั้นออกไป (ขึ้นอยู่กับเราใช้อีเมลอะไร)
    • วิธีคัดอีเมลออกในจีเมล (Gmail) ให้เลือกข้อความที่คนคนนั้นส่งมาในอินบ็อกซ์ของเราด้วยการติ๊กเครื่องหมายถูก คลิกเมนูที่ปรากฏขึ้นมา เลือก "More" จากนั้นก็ "Filter messages like these" และในหน้าใหม่เลือก "Delete it" [9]
    • วิธีบล็อกอีเมลในไมโครซอฟท์เอาท์ลุค (Microsoft Outlook) ให้คลิกขวาข้อความจากคนคนนั้น จากนั้นคลิก "Junk" ตามมาด้วย "Block Sender" [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รักษาความสุขของตนเองเอาไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจมีบางครั้งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงคนที่เอาแต่คิดอะไรในแง่ลบได้ ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ญาติ หรือเพื่อนบ้าน เราก็อาจพบเหตุที่ทำให้ต้องไปอยู่ใกล้ๆ (หรือแม้แต่พูดคุย) คนพวกนี้เป็นครั้งคราว เมื่อเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น เราต้องรู้ว่าอะไรทำให้เราไม่มีความสุขและพยายามป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้มาทำให้เราหดหู่ [11]
    • เขียนว่ามีใคร สถานที่ และสิ่งใดบ้างที่ทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุข โกรธ หรือท้อแท้
    • ลองใคร่ครวญสิว่าทำไมผู้คน สถานที่ และสิ่งเหล่านั้นทำให้เรารู้สึกไม่ดี
    • ลองคิดสิว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไร และหาวิธีการที่จะช่วยเราหลีกเลี่ยงหรือลดการต้องมาอยู่ในสถานการณ์ที่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่
  2. ถึงแม้ว่ารู้สึกอยากระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจ แต่การทำแบบนี้อาจทำให้หมางใจกับผู้อื่นได้ คนที่เราไประบายทุกข์ให้ฟังอาจเป็นเพื่อนของคนที่เราไม่ชอบ หรือเขาอาจเบื่อที่เราเอาแต่พูดเรื่องไม่ดีของคนอื่น ถ้าเอาแต่บ่นว่าใครสักคนอยู่เรื่อย เพื่อนและเพื่อนร่วมงานอาจเริ่มอยากตีตัวออกห่างจากเรา [12]
    • แทนที่จะบ่นเรื่องคนคนนั้นให้ผู้อื่นฟัง เลือกไม่พูดถึงเสียเลยจะดีกว่า
    • พูดคุยกับผู้อื่นในเรื่องดีๆ ที่ทำให้เรามีความสุข ไม่อย่างนั้นเราจะเสียแรงและเวลาไปมากกับการบ่นเรื่องของคนเราที่ไม่ชอบ
  3. เมื่อเราโทษคนอื่นด้วยการใช้วาจาและการกระทำที่ไม่ดี สิ่งเหล่านั้นจะทำให้เขาอยู่เหนือกว่าเราและเราก็จะเริ่มสูญเสียการควบคุมตนเองไปทีละนิด ไม่ว่าใครสักคนจะทำให้เราขุ่นเคืองใจแค่ไหน เราเท่านั้นที่จะเป็นคนตัดสินใจว่าจะจมอยู่กับความโกรธและความแค้นอยู่อย่างนั้นหรือปล่อยมันไป ถึงแม้จะพูดหรือทำอะไรไม่ดีลงไปเพราะความโกรธ แต่คำพูดและการกระทำของเรานั้นก็ยังคงเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง ฉะนั้นเราจึงต้องรับผิดชอบด้วย [13]
    • คำพูดและการกระทำของเราจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรา เราไม่สามารถโทษคนอื่นได้ เมื่อเราเป็นคนเลือกที่จะพูดหรือทำอะไรบางอย่างไปแล้ว ถึงแม้จะพูดหรือทำไปเพราะโกรธใครบางคนก็ตาม
    • พยายามเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดที่มีต่อบุคคลนั้น เพราะสิ่งที่เราคิดอยู่มีอิทธิต่อคำพูดและการกระทำของเรา ฉะนั้นการระวังและยับยั้งความคิดที่ไม่ดีช่วยป้องกันเราไม่ให้พูดหรือทำอะไรที่ไม่สมควร
    • พอสามารถเพิกเฉยคนที่ชอบทำร้ายจิตใจเราได้แล้ว ก็ปล่อยให้คนคนนั้นไปซะ หยุดเสียเวลาและเสียแรงคิดถึงคำพูดและการกระทำของเขาเสียที ยับยั้งใจตนเองไว้ เมื่อไรก็ตามที่นึกถึงความร้ายกาจของเขาขึ้นมา
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

คบหาคนที่คิดบวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่คิดบวกมักจะดึงดูดคนที่คิดบวกด้วยกัน ถ้าเราอยากให้คนที่คิดบวกอยากคบหาเราเป็นเพื่อน เราก็ควรเป็นคนที่คิดบวกเช่นเดียวกันด้วย เราจะสามารถคิดบวกได้เองหลังจากที่เราได้นึกถึงและเห็นข้อดีอันน่าพึงปรารถนาของตนแล้ว [14]
    • ลองคิดสิว่าเรามีข้อดีอะไรบ้าง เรามักชื่นชมคนอื่นหรือชอบช่วยเหลือผู้อื่นหรือเปล่า
    • พยายามตั้งใจนึกถึงและเห็นข้อดีของตนเองบ่อยๆ ข้อดีนี้ไม่ใช่แค่ข้อดีที่ผู้อื่นเห็นเท่านั้น แต่เป็นข้อดีที่เราเองก็เห็นด้วยเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้กลายเป็นคนที่คิดบวกในที่สุด
    • ให้การกระทำของเราแสดงให้เห็นว่าเรานั้นเป็นคนอย่างไรและมีชีวิตแบบไหน
  2. รู้ว่ายังมีคนที่รักและเป็นห่วงเราอยู่ข้างๆ เสมอ. เรานั้นมีคนที่รักและหวังดีต่อเราอยู่แล้ว เมื่อเราออกห่างจากคนที่เราไม่ต้องการข้องแวะได้แล้ว ให้เราพยายามพบปะพูดคุยกับคนที่เราต้องการให้เขาอยู่เคียงข้าง การรักษาความสัมพันธ์กับคนที่เขาห่วงใย ใส่ใจ และดูแลเราให้แน่นแฟ้นไว้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะพวกเขาเหล่านั้นเป็นเพื่อนที่ดีและสามารถช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นได้ [15]
    • นึกถึงเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานที่มักจะคิดอะไรดีๆ อยู่เสมอแม้ในยามที่ประสบกับความยากลำบาก อย่าลืมนึกถึงคนที่ใจดี เห็นแก่ผู้อื่น และมีเมตตาที่สุดในชีวิตของเราด้วย
    • พบปะพูดคุยกับบุคคลเหล่านั้น พยายามหาเวลาพบปะพูดคุยกัน และพยายามชวนพวกเขามาทำกิจกรรมร่วมกันกับเราบ่อยๆ จะได้มีโอกาสใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น
  3. พบปะและทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ที่มีแนวคิดดีๆ. นอกจากหมั่นพบปะพูดคุยกับคนที่คอยห่วงใยใส่ใจเราแล้ว เราควรหาโอกาสพบปะและทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่มีแนวคิดดีๆ การทำความรู้จักเพื่อนใหม่แบบนี้จะช่วยให้เราวงสังคมของเราเต็มไปด้วยผู้คนที่เราเคารพนับถือและอยากอยู่ใกล้ การมีวงสังคมแบบนี้จะช่วยพัฒนาตัวเราให้ดีขึ้นและทำให้เรากลายเป็นมิตรสหายที่น่าคบหาของผู้อื่น [16]
    • อาจหาเพื่อนใหม่ด้วยการเข้ายิม เข้ากลุ่มคนที่มีความศรัทธาเดียวกัน เข้าชมรมต่างๆ (เช่น ชมรมปีนเขา เป็นต้น) และเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีโอกาสพบเจอผู้คนที่มีแนวคิดดีๆ
    • ลองไปเป็นอาสาสมัคร เราจะรู้สึกดีทีเดียวที่ได้มาเป็นอาสาสมัครและเราจะได้พบผู้คนอื่นที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน (ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนมีเมตตาและคิดบวก)
    • ถึงแม้จะแค่ได้นั่งดื่มกาแฟหรือกินข้าวด้วยกันช่วงสั้นๆ แต่เราก็จะอารมณ์ดีขึ้นและได้ปรับมุมมองของตนเองใหม่
    • เป็นฝ่ายเข้าหา ถ้าผู้คนเหล่านี้มีภารกิจที่ต้องทำมากมาย จงเป็นฝ่ายเข้าไปพูดคุยเพื่อนัดหมายหาวันที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกที่จะพบปะพูดคุยกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าบังเอิญพบคนที่เราไม่อยากเข้าไปข้องแวะด้วย ให้ทำเป็นไม่เห็นไปเสีย ปรับเปลี่ยนความเร็วในการก้าวเดิน อยู่นิ่งๆ หรือหันไปทางอื่น ถ้าคนคนนั้นต้องการจะพูดคุยกับเรา ให้บอกเขาไปว่าเรากำลังรีบและต้องไปแล้ว ถ้าไม่สามารถทำอะไรได้เลย ก็ให้ฟังที่เขาพูดไปอย่างเงียบๆ
  • ถึงแม้คนคนนั้นเป็นญาติของเรา ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะยอมให้เขาทำพฤติกรรมที่ไม่ดีใส่เรา ถ้ามีใครทำให้เรารู้สึกแย่หรือเจ็บช้ำน้ำใจ เรามีสิทธิที่จะตัดสัมพันธ์กับเขาอย่างนิ่มนวลและค่อยเป็นค่อยไปได้
  • อย่าทำกิริยาหยาบคายหรือพูดจาไม่ดีใส่คนคนนั้น การทำแบบนี้ไม่ช่วยแก้ปัญหาที่เขาได้ทำกับเราไว้หรอก อีกทั้งยังทำให้เราดูเป็นคนไม่ดีอีกด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ใส่ใจใครสักคนอีกแล้ว เราก็ต้องทำใจแล้วว่าเราและเขาอาจไม่มีทางพูดคุยกันอีกและต้องยอมรับกับสภาพที่เกิดขึ้นนี้
  • บางครั้งเราอาจตัดสินใจกลับไปพูดคุยกับคนคนนั้นเหมือนเดิมเพราะต้องการยุติการทะเลาะเบาะแว้ง แต่พึงระลึกไว้ว่าอาจไม่สามารถกลับไปคุยกันได้หรือควรกลับไปคุยกันเสมอไป แต่ถ้าคนคนนั้นเป็นคนที่เราต้องพบอยู่เป็นประจำ (เช่น ญาติ หรือเพื่อนร่วมงาน) ก็อาจจำเป็นต้องทำ
  • ถ้าบุคคลนั้นเป็นพวกชอบใช้ความรุนแรง การเพิกเฉยคนแบบนั้นจะเป็นการยั่วให้เขาโกรธและทำให้สถานการณ์แย่ลง ฉะนั้นขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและรีบออกห่างจากดีกว่า!


โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
หาเสี่ยเลี้ยง
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
จบความสัมพันธ์
ดูว่าผู้ชายกำลังหลอกใช้คุณเพื่อเซ็กส์หรือไม่
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,948 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา