ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความรู้สึกอิจฉาเป็นเรื่องธรรมชาติและอาจเป็นแรงผลักดันให้เราก็ได้ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่พอใจเวลาเห็นรูปเสื้อผ้า งาน หรือรถยนต์ที่คุณอยากได้ใน Instagram คุณก็อาจจะต้องหาทางแก้ไขปัญหา หรือความอิจฉาก็อาจกลายเป็นความหึงหวงที่ทำให้คุณหวาดระแวงและสร้างปัญหาระหว่างคุณกับคนรัก อารมณ์เหล่านี้ควบคุมไม่ง่าย แต่การก้าวเดินต่อไป ความรู้สึกมั่นคง และความมั่นใจในตัวเองก็มักเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน จัดการกับความอิจฉาด้วยการทบทวนว่าจะทำอย่างไรกับมัน ปรับความสนใจใหม่ และพัฒนาตัวเอง คุณทำได้อยู่แล้ว!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

จัดการกับความอิจฉาในระยะเวลาสั้นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะเห็นแฟนคุยกับผู้หญิงคนอื่นหรือรู้ว่าเพื่อนได้รถกระบะแบบเดียวกับที่คุณอยากได้เป๊ะเลย แต่แทนที่จะระเบิดอารมณ์ออกมา ให้ตั้งสติดีๆ หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก 5 วินาที จากนั้นหายใจออกช้าๆ ทางปาก ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกสงบลง [1]
    • ถ้าคุณอยากทบทวนถึงปัญหา ให้รอจนกว่าคุณจะตั้งสติได้แล้วเท่านั้น เช่น ถ้าคุณเห็นแฟนคุยกับผู้หญิงคนอื่น ให้ตั้งสติก่อนแล้วค่อยเข้าไปหาเขาแล้วพูด ‘สวัสดี’ ทั้งสองคน เธออาจจะเป็นแค่เพื่อนหรือคนที่เรียนห้องเดียวกันก็ได้
  2. ในโลกโซเชียลมีเดียคุณจะเห็นคนเล่าเศษเสี้ยวชีวิตของตัวเองที่กระตุ้มต่อมอิจฉาของคุณอยู่ไม่ขาดสาย แต่สิ่งที่คุณอาจจะไม่รู้ก็คือ ผู้หญิงที่โพสต์ภาพดอกไม้ที่แฟนซื้อให้อาจจะไม่มีความสุขกับความสัมพันธ์เลยก็ได้ คนเรามักจะโพสต์เฉพาะสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงด้านบวก เพราะฉะนั้นอยู่ให้ห่างจากโซเชียลมีเดียระหว่างที่คุณกำลังเอาชนะความอิจฉา [2]
    • ถ้าคุณไม่สามารถอยู่ห่างจากโซเชียลมีเดียได้ ให้เลิกติดตามหรือเลิกเป็นเพื่อนกับคนที่คุณอิจฉา
  3. เวลาที่คุณรู้สึกอิจฉา คุณอาจจะแสดงออกโดยการเรียกเขาแบบเสียๆ หายๆ หรือพยายามลดคุณค่าความสำเร็จของคนอื่น อย่างไรก็ตามการแสดงออกแบบนี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความรู้สึกไม่มั่นคงและทำให้คนอื่นรู้สึกแย่ไปด้วย เพราะฉะนั้นแทนที่จะพูดจาไม่ดี ให้เก็บคำวิจารณ์ไว้ในใจหรือไม่ก็กล่าวชมเขา [3]
    • เช่น ถ้าแฟนของคุณกลับมาบ้านแล้วเล่าเรื่องเพื่อนร่วมงานคนใหม่ให้ฟัง อย่าพูดทำนองว่า “อ๋อ เพราะเขาฉลาดมาก ตอนนี้คุณก็เลยอยากไปกับเขางั้นเหรอ” ให้คนรักได้เล่าสิ่งต่างๆ ให้คุณฟังโดยไม่ต้องกลัวว่ามันจะหยาบคายหรือเปล่า
  4. ถ้าคุณอิจฉาพี่น้อง เพื่อนสนิท หรือคนรักมากๆ และอิจฉามานานหลายปี ให้บอกเขา การเล่าความรู้สึกออกมาจากใจช่วยให้คุณก้าวออกจากความรู้สึกที่เป็นลบและเปิดโอกาสให้คุณได้คุยกันอย่างเปิดอก [4]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “แก พี่รู้ว่าช่วงนี้พี่ไม่ค่อยน่ารักกับแกเท่าไหร่ แต่พอแกเข้าธรรมศาสตร์ได้แต่พี่เข้าไม่ได้ พี่ก็เลยเสียใจ พี่อิฉาแกเพราะพี่รู้สึกว่าแกกำลังใช้ชีวิตตามความฝันของพี่อยู่ พี่รู้ว่าแกไม่ผิดหรอก และพี่ก็ไม่อยากรู้สึกแบบนี้เหมือนกัน”
  5. ทบทวนว่าคุณกับคนที่คุณอิจฉามีอะไรเหมือนกันบ้าง. คลายปมอิจฉาด้วยการนึกถึงสิ่งที่คุณกับคนที่คุณอิจฉามีเหมือนกัน ยิ่งคุณสองคนเหมือนกันเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีเรื่องให้อิจฉาเขาน้อยลง! [5]
    • เช่น คุณอาจจะอิจฉาเพื่อนบ้านเพราะว่ารถเขาสวย แต่อย่าลืมว่าคุณสองคนอยู่ละแวกบ้านเดียวกัน และบ้านของคุณก็อาจจะหน้าตาเหมือนกัน นอกจากนี้คุณเองก็อาจจะเรียนโรงเรียนเดียวกันและมีเพื่อนร่วมกันด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับความสนใจใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    ระบุที่มาของความอิจฉา. การเข้าใจว่าทำไมตัวเองถึงอิจฉาสามารถช่วยให้คุณเอาชนะความอิจฉาได้ มันเกิดจากความภาคภูมิใจในตัวเองที่ต่ำและความรู้สึกไม่มั่นคงหรือเปล่า คุณเคย มีประเด็นเรื่องความไม่ซื่อสัตย์หรือไม่ หรือว่าคุณกำหนดมาตรฐานที่เกินจริงในความสัมพันธ์ เมื่อคุณระบุที่มาได้แล้ว ให้ทบทวนว่าคุณจะปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
    • การเขียนบันทึกทุกวันอาจช่วยให้คุณค้นพบได้ว่า ความอิจฉาของคุณมาจากไหน
    • การบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้น นักจิตบำบัดอาจจะช่วยให้คุณเจอแหล่งที่มาของความอิจฉาขณะที่คุณกำลังจัดการกับความรู้สึกนี้อยู่ก็ได้
  2. การที่คุณไม่พอใจกับความสำเร็จของคนอื่นไม่ได้ช่วยให้คุณเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น เวลาที่คุณเห็นคนอื่นทำในสิ่งที่คุณอยากทำ ให้กล่าวชมเขา เพราะมันแสดงถึงการให้เกียรติและการถ่อมตัว [6]
    • เช่น ถ้าเพื่อนทำงานที่เจ๋งมากๆ ให้พูดว่า “โมเม งานเธอเจ๋งมากเลย แถมเธอยังได้รางวัลแล้วก็เลื่อนตำแหน่งตลอดเลยด้วย เธอสุดยอดมาก! มีเคล็ดลับอะไรไหม”
    • ช่วงนี้แฟนหนุ่มของคุณอาจจะดูห่วงใยรักใคร่คุณมากกว่าเก่า บอกเขาไปสิว่าคุณซาบซึ้งในสิ่งที่เขาทำ
  3. แทนที่จะเอาแต่พูดว่าคนอื่นทำอะไรบ้าง ลองหันกลับมามองตัวเองสิ! หาเวลาสักครู่เขียนรายการหรือคิดถึงสิ่งที่คุณทำได้ดีอย่างน้อย 3 สิ่ง จะเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่การจัดการหรือการทำอาหาร ไปจนถึงการเป็นผู้ฟังที่ดีและคนที่ตั้งใจทำงาน [7]
    • ทำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจุดแข็งที่คุณเขียนในวันนี้เพื่อสร้างความมั่นใจ เช่น ทำอาหารมื้ออร่อย
  4. ทุกวันที่คุณตื่นขึ้นมาเป็นพรอย่างแท้จริง จดจำและคิดถึงหนึ่งสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณในแต่ละวัน วิธีนี้จะช่วยลดความรู้สึกอิจฉา เพราะว่าคุณจะเริ่มเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองมีมากขึ้น [8]
    • คุณอาจจะมีสุดยอดคุณแม่ที่รักและคอยสนับสนุนคุณ หรือคุณอาจจะเข้าโรงเรียนดีๆ ได้และกำลังจะเปิดเทอมเร็วๆ นี้ ขอบคุณพรเหล่านี้ที่คุณได้มา!
  5. ฝึกสมาธิ ทุกวัน. การฝึกสมาธิทำให้หัวของคุณโล่งและช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สำคัญ ความคิดที่เกี่ยวข้องกับความอิจฉาอาจทำให้จิตใจในแต่ละวันมัวหมอง แต่การนั่งเงียบในพื้นที่ที่ปราศจากสิ่งรบกวนในตอนเช้าอย่างน้อย 10 นาทีจะทำให้จิตใจของคุณเบาสบายขึ้น ระหว่างนี้ให้กำหนดจิตไปที่ลมหายใจและความรู้สึกของร่างกายเพียงอย่างเดียว
    • ถ้าคุณไม่คุ้นเคยทำการทำสมาธิเท่าไหร่ คุณก็สามารถดาวน์โหลดแอปฯ เช่น Simple Habit หรือ Calm มาช่วยได้
  6. คุณอาจจะมีเพื่อนรวยๆ ที่ชวนคุณไปร้านอาหารแพงๆ หรือทริปสุดหรูเสมอ ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณอิจฉาที่เขามีเงินเยอะ แต่แทนที่จะปล่อยให้สิ่งนั้นมาควบคุมคุณ ทำไมคุณไม่เป็นฝ่ายคุมบังเหียนล่ะ! เลือกร้านอาหารที่คุณจะไปและเลือกที่จะไม่ไปเที่ยวถ้าคุณจ่ายไม่ไหว แล้วเปลี่ยนไปเที่ยวใกล้ๆ แทน [9]
    • คุณอาจจะบอกว่า “เฮ้ย โจ๊ก ฉันชอบไปกินร้านอาหารห้าดาวกับแกนะ แต่พูดจริงๆ คือมันเกินงบไปหน่อย ถ้าแกอยากไปกินข้าวเย็นด้วยกันสัปดาห์ละครั้งก็ได้นะ แต่ส่วนใหญ่แล้วแกอาจจะต้องให้ฉันเป็นคนเลือกร้าน หวังว่าแกคงเข้าใจนะ”
  7. ทำอะไรสนุกๆ ทุกวันเพื่อเบี่ยงเบนตัวเองจากความอิจฉา. เวลาที่คุณกำลังสนุก คุณจะคิดถึงสิ่งที่คุณอิจฉาไม่ค่อยได้! กำหนดตารางเวลาให้ตัวเองมีอะไรให้ตั้งตารอทุกวัน เช่น ดูซีรีส์เรื่องโปรด กินไอศกรีม หรือไปชอปปิง ชีวิตคนเรามันสั้น เพราะฉะนั้นใช้ทุกวันให้คุ้มค่าดีกว่า!
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทำให้ชีวิตของตัวเองดีขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ความอิจฉาเป็นแรงผลักดันให้คุณเป็นคุณในเวอร์ชันที่ดีที่สุด กำหนดขั้นตอนการทำงานที่ช่วยให้คุณบรรลุสิ่งที่คุณต้องการในชีวิต ตั้งเป้าหมายที่คุณสามารถทำได้ภายใน 5 วัน และสิ่งที่คุณจะให้ความสำคัญในอีก 5 ปีข้างหน้า [10]
    • เช่น คุณอาจจะอยากได้งานที่เงินเดือนสูง สำหรับเป้าหมายระยะสั้น เทอมนี้พยายามเรียนให้ได้ A ทุกวิชา ส่วนเป้าหมายระยะยาวก็อาจจะเป็นการหาที่ปรึกษาหรือการหาที่ฝึกงานในสาขาของคุณ
  2. คุณอาจจะอิจฉาเพราะว่าทุกคนดูเหมือนจะสนุกกันหมด ถ้าอย่างนั้นก็สร้างความสนุกสนานให้ตัวคุณเองสิ! วางแผนเที่ยวสนุกในวันหยุดสุดสัปดาห์กับคนรัก ไปสวนสนุกหรือไปเที่ยวทะเลกันก็ได้ ทำอะไรก็ได้ที่คุณมีความสุข! [11]
  3. คุณจะกังวลเรื่องคนอื่นน้อยลงถ้าคุณหันมาใส่ใจสุขภาพตัวเอง เพิ่มความมั่นใจด้วยการ ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยการรับประทานผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และอย่าดื่มนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยคืนละ 8 ชั่วโมง [12]
    • ดื่มน้ำเยอะๆ ด้วย!
  4. ไม่แน่ใจว่าความอิจฉาของคุณอาจจะมาจากการที่คุณแวดล้อมไปด้วยเพื่อนๆ ที่จงใจทำให้คุณอิจฉา ซึ่งไม่ดีแน่ๆ แทนที่จะอยู่ท่ามกลางพลังลบแบบนั้น มาใช้เวลากับเพื่อนๆ ที่จิตใจดี จริงใจ และติดดินดีกว่า!
    • คนคิดบวกจะสนับสนุน จริงใจ จิตใจดี และคอยช่วยเหลือคุณ ส่วนคนที่คิดลบจะดูถูก วิจารณ์ และทำให้คุณท้อแท้
  5. ถ้าความอิจฉาทำให้คุณแทบไม่สามารถมีความสุขกับชีวิตได้อีกต่อไป ก็อาจถึงเวลาที่ต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น นักจิตบำบัดหลายคนผ่านการฝึกอบรมให้ช่วยลูกค้าจัดการกับความรู้สึกอิจฉาหรือความรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ จำไว้ว่าการขอความช่วยเหลือไม่ใช่เรื่องเสียหาย! การเก็บความทุกข์ไว้เงียบๆ ต่างหากที่แย่กว่ากันมาก [13]
    • ค้นหานักจิตบำบัดหรือที่ปรึกษาใกล้บ้านในอินเทอร์เน็ต หรือคุณจะให้แพทย์หรือบริษัทประกันเป็นคนแนะนำก็ได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,759 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา