ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณตัดสินใจที่จะรับเจ้าตุ๊กแกเสือดาวมาเป็นสมาชิกใหม่ คุณต้องรู้เรื่องบางเรื่องเสียก่อนที่จะซื้อแล้วรับมันมาเป็นสัตว์เลื้อยคลานคู่ใจ แม้แต่ “ชุดเลี้ยงแบบสำเร็จรูป” ยังต้องนำมาตกแต่งเพิ่มเติมบ้างเลย นั่นก็เพราะความไม่เหมาะสมของทราย หรือแสงสีที่จ้าเกินไปที่วางขายตามร้านสัตว์เลี้ยงทั่วไปนั่นแหละ ตุ๊กแกเสือดาวนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย แต่มันก็มีอายุขัยที่นานหลายปี และต้องการการเอาใจใส่อย่างมากในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและอาหารด้วยนะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จัดที่อยู่อาศัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซื้อตู้ขนาด 10-20 แกลลอน (40-75 ลิตร) ที่มีฝาข้างบนเป็นตาข่าย. ให้ซื้อตู้กระจกหรือพลาสติกมาจากร้านขายของสัตว์เลี้ยง เพื่อไว้เป็นที่อยู่ให้กับตุ๊กแกเสือดาว รวมถึงฝาตาข่ายที่มั่นคงปลอดภัยด้วย ฝาตาข่ายนี่สำคัญมาก โดยเฉพาะถ้าหากว่าคุณเลี้ยงแมวเอาไว้ที่บ้านอยู่แล้ว คุณอาจเห็นมันวางขายอยู่ที่แผนกสัตว์น้ำ แผนกสัตว์ป่า หรือแผนกสำหรับสัตว์ขนาดเล็ก หากว่าคุณมีบ้านให้มันอยู่แล้ว ให้ลองดูว่ามันเหมาะสมกับความต้องการของสัตว์เลี้ยงคุณหรือไม่ โดยที่ตู้ควรกว้างกว่าความสูงของตู้ เพราะตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์บกที่อาศัยและหากินบนพื้น
    • คุณยังสามารถซื้อตู้ที่มีประตูเลื่อนข้างหน้า แทนที่จะใช้ฝาปิดแบบตาข่ายได้อีกด้วย ตู้ชนิดนี้จะง่ายต่อการจัดการกับตุ๊กแกของคุณ
    • ตู้ขนาด 20 แกลลอน (75 ลิตร) สามารถใส่ตุ๊กแกเสือดาวได้ 1 ตัว เพราะไม่ว่าจะเป็นตู้ขนาดเท่าไร สัตว์เลื้อยคลานมักจะเกิดอารมณ์กดดันและเริ่มทำการต่อสู้ ถ้าหากว่าจับมันมาอยู่ด้วยกัน แม้จะเป็นในช่วงผสมพันธุ์ก็ตาม ฉะนั้นจึงควรแยกตัวเมียและตัวผู้ออกจากกันหลังจากที่มันผสมพันธุ์กันเสร็จแล้ว [1]
  2. คลุมพื้นของภาชนะใส่ตุ๊กแกไว้ด้วยแผ่นกระเบื้องปูพื้นชนิดพิเศษสำหรับสัตว์เลื้อยคลาน แผ่นกระเบื้องหินเรียบๆ หรือแผ่นหญ้าเทียม ส่วนพรมสำหรับสัตว์เลื้อยคลานก็เป็นตัวเลือกที่ดี แต่เล็บและฟันของตุ๊กแกอาจไปติดกับหญ้าเทียมเอาได้ และจิ้งหรีดที่เป็นเหยื่อก็อาจเข้าไปติดกับวัสดุได้เช่นกัน คุณอาจเลือกที่จะใช้กระดาษชำระแผ่นใหญ่หรือกระดาษหนังสือพิมพ์แทนก็ได้ แต่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อยๆ ถ้ามันเริ่มสกปรกหรือฉีกขาดด้วยล่ะ และจิ้งหรีดอาจซุกเข้าไปใต้แผ่นกระดาษได้โดยง่าย สิ่งที่ห้ามใช้ปูพื้นเด็ดขาดนั้น ได้แก่ ทราย ขี้เลื่อย หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กและทำให้เกิดฝุ่นผงได้ เพราะมันอาจเป็นสาเหตุของอาการป่วย หากตุ๊กแกเผลอกินมันเข้าไป [2] [3]
    • หากใช้หินหรือวัสดุที่มีน้ำหนักมาก ให้ปูกระดาษชำระแผ่นใหญ่หรือผลิตภัณฑ์ปูพื้นที่ทำจากเส้นใยมะพร้าว (เช่น ยี่ห้อ Eco Earth) สักสองสามชั้นบนพื้นตู้ เพื่อลดความเสี่ยงที่หินจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ หรือจะใช้ทรายปูแทนก็ได้ แต่อย่าให้ตุ๊กแกได้สัมผัสกับทรายเด็ดขาด
    • ห้ามใช้ชิ้นไม้ซีดาร์หรือไม้ยางชนิดอื่นเป็นอันขาด เพราะมันอาจเป็นพิษต่อตุ๊กแกได้ และอาจเข้าไปติดในหลอดอาหารของพวกมันได้ด้วย
  3. ใช้แผ่นให้ความร้อนสำหรับตู้ใส่สัตว์เลื้อยคลานโดยเฉพาะ หรือเครื่องให้ความร้อนที่เอาไว้วางใต้ตู้ เพื่อให้ความร้อนกับตู้อยู่ในอุณหภูมิประมาณ 23.3-26.7ºC แต่สำหรับประเทศไทยมักมีสภาพอากาศในอุณหภูมิประมาณนี้อยู่แล้ว จึงอาจไม่จำเป็นต้องใช้ ให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์ติดไว้แต่ละข้างของตู้เพื่อวัดอุณหภูมิ ตอนกลางคืนอุณหภูมิไม่ควรต่ำกว่า 21ºC. [4]
  4. ใช้อินฟราเรดหรือโคมไฟสีแดงที่ให้ความร้อนวางไว้ด้านในด้านหนึ่งของตู้ ปรับอุณหภูมิให้อยู่บริเวณ 29.4-32.2ºC ตุ๊กแกเสือดาวต้องการจุดที่ให้ความร้อนเพื่อช่วยในการย่อยอาหารอย่างเหมาะสม และเพื่อที่มันจะได้ปรับตัวได้ด้วยการย้ายไปมาระหว่างบริเวณที่อุณหภูมิอุ่นกว่าและเย็นกว่าในตู้ [5]
    • ห้ามใช้โคมไฟที่ให้ความร้อนที่มีแสงสีขาวเด็ดขาด เพราะมันจะไปรบกวนตารางการพักผ่อนของตุ๊กแกได้
    • ห้ามให้อุณหภูมิสูงเกินกว่า 34.4ºC
  5. ตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลาพลบค่ำ หมายถึงมันมักจะตื่นในช่วงโพล้เพล้ แต่มันก็ยังปรับตัวเพื่ออยู่ในสภาพที่มีแสงแดดถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 12 ชั่วโมงในช่วงฤดูหนาวได้ด้วยเช่นกัน วิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดวงจรให้มันคือการใช้ไฟส่องจากข้างบนตู้โดยตั้งเวลาอัตโนมัติไว้ ซึ่งมีขายตามร้านขายของสัตว์เลี้ยง หรือคุณอาจเปิดปิดไฟด้วยตัวเองก็ย่อมได้ ตุ๊กแกเสือดาวไม่เหมือนสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นตรงที่มันชอบหลอดไฟแบบธรรมดาๆ มากกว่าหลอดที่เป็นแสงยูวีแบบพิเศษ
    • ใช้หลอดไฟวัตต์ต่ำหรือแบบประหยัดไฟเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่ร้อนเกินไป
  6. หาซื้อถ้ำหิน ขอนไม้ หรือที่กำบังสำหรับสัตว์เลื้อยคลานจากร้านขายของเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง โดยให้มีขนาดใหญ่พอที่ตุ๊กแกจะเข้าไปซ่อนอยู่ใต้นั้นได้ หรืออีกทางหนึ่งคือทำที่กำบังด้วยตัวเองจากท่อ PVC เนื้อเนียนหรือวัสดุอื่นๆ แต่ให้หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่เคยทิ้งวางอยู่กลางแจ้ง และวัสดุที่ขอบมีคม ให้วางที่กำบังเอาไว้สามที่ที่ต่างกัน เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตุ๊กแกดังนี้: [6]
    • วางที่กำบังอันแรกไว้ที่บริเวณอุณหภูมิต่ำๆ ในตู้ และคอยใส่กระดาษชำระแผ่นใหญ่ชื้นๆ หรือสแฟกนั่มมอสเอาไว้ใต้ที่กำบังนั้น เรียกที่กำบังนี้ว่า "ที่ซ่อนแบบชื้น" และพื้นจะต้องมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเพื่อให้ตุ๊กแกลอกคราบได้ง่ายๆ (ไม่แนะนำให้วางที่กำบังชนิดนี้ไว้ที่บริเวณที่อุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้เกิดการระเหยโดยง่าย) [7] )
    • วางที่กำบังอันที่สองไว้ตรงบริเวณที่อุณหภูมิต่ำๆ ของตู้แต่ปล่อยไว้ให้แห้ง
    • วางที่กำบังอันสุดท้ายไว้ที่บริเวณอุณหภูมิอุ่นๆ ของตู้ และปล่อยไว้ให้แห้ง
  7. หาตุ๊กแกเสือดาวที่มีการผสมพันธุ์ที่มีการรับรองหากเป็นไปได้ หรือหาจากร้านขายสัตว์เลี้ยงที่มีสัตว์ต่างๆ ที่สุขภาพดีและได้รับการดูแลอย่างดี เลือกตุ๊กแกที่ดวงตาใส สะอาด และมีหางที่อวบอ้วน นิ้วหัวแม่เท้าที่หายไปและคราบรอบๆ ปากของตุ๊กแกนั้นเป็นสัญญาณของอาการป่วย
    • หากคุณได้ตุ๊กแกที่ดูป่วยเป็นโรคมา อย่านำมันไปผสมพันธุ์เด็ดขาด เพราะมันอาจสืบสายพันธุ์ที่ไม่แข็งแรงออกมาได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การให้อาหารและการดูแลทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถาดหรือชามปากกว้างก้นตื้นนั้นเหมาะที่สุดแล้ว ที่จะมีไว้ให้ตุ๊กแกดื่มน้ำและลงไปอาบน้ำโดยที่มันจะได้ไม่จมลงไป โดยวางถาดไว้ในจุดที่เย็นๆ ของตู้ เปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวันและทำความสะอาดถาดเมื่อถึงเวลาที่จำเป็น ซึ่งปกติแล้วควรทำความสะอาดวันเว้นวัน
  2. เก็บภาชนะบรรจุสำหรับแมลงที่ยังมีชีวิตแยกเอาไว้. จิ้งหรีดและหนอนนกเป็นๆ นั้นเป็นแหล่งอาหารทั่วไปของตุ๊กแกเสือดาว แต่คุณอาจให้แมลงสาบดูเบียแทนก็ได้ โดยซื้อจากร้านขายของสัตว์เลี้ยง [8] พวกหนอนผีเสื้อก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง แต่เพราะว่ามันมีไขมันที่สูงมาก คุณควรให้มันในโอกาสพิเศษมากกว่าจะเป็นมื้อหลัก และเพราะตุ๊กแกเสือดาวจะไม่ค่อยกินแมลงที่ตายแล้ว คุณจึงต้องมีภาชนะพลาสติกเจาะรูบนฝาเพื่อเก็บแมลงเป็นๆ เอาไว้ โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของสัตว์เลี้ยง หรือหาภาชนะอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าพอให้แมลงสามารถผสมพันธุ์กันได้
    • หากใช้จิ้งหรีด ให้ใส่แผงไข่ลงไปในภาชนะใส่แมลงด้วย
    • เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและทำให้อาหารน่ากิน แมลงควรมีตัวเล็กกว่าพื้นที่ว่างระหว่างตาทั้งสองข้างตุ๊กแก
    • หากจะเก็บหนอนผีเสื้อไว้ในระยะเวลาสั้นๆ ให้เก็บเอาไว้ในตู้เย็น แต่ถ้าจะผสมพันธุ์ให้มันขยายจำนวนขึ้น ให้เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง แล้วหนอนบางตัวจะกลายเป็นแมลง
  3. ซื้อ “ผงแคลเซียมที่ไม่มีวิตามินดี3” และผงวิตามินดี3 สำหรับสัตว์เลื้อยคลาน โดยมักเรียกกันว่า "ผงฝุ่น (Dusting Powder)" ก่อนที่จะให้แมลงกับตุ๊กแก ให้ใส่แมลงลงไปในถุงพลาสติกพร้อมผงนี้ก่อน แล้วเขย่าถุงจนแมลงถูกปกคลุมไปด้วยผงสีขาว จากนั้นให้มันเป็นอาหารของตุ๊กแกทันทีดังที่ได้อธิบายเอาไว้
    • โดยปกติแล้วคุณสามารถให้ผงวิตามินต่อการให้อาหารครั้งเว้นครั้ง และผงแคลเซียมทุกๆ สามครั้งในการให้อาหาร ขึ้นอยู่กับอายุและอาหารของตุ๊กแกของคุณ ฉะนั้นคุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเสียก่อน
  4. ทางเลือกอื่นที่น่าสนใจในการเพิ่มสารอาหารลงไปในอาหารของตุ๊กแกคือการเลี้ยงแมลง "ด้วยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง" ใช้อาหารสูตรพิเศษเพื่อการนี้ หรือเพียงแค่ใส่ผลไม้ ข้าวโอ๊ต และ/หรือผักลงไปในภาชนะที่ใส่แมลงประมาณ 12-24 ชั่วโมงก่อนที่จะป้อนแมลงให้กับตุ๊กแก แครอทกับแอปเปิลนั้นให้ผลดีมาก สิ่งที่สำคัญมากคืออย่าผสมวิตามินหรือแคลเซียมที่อาจง่ายสำหรับคุณแต่มันอาจฆ่าตุ๊กแกของคุณได้ [9] [10] หากคุณจะลองผสมลงไป ให้ใช้ผงที่อธิบายไว้ข้างบน อย่าใช้แบบที่จะเอามาแทนกัน
  5. ตุ๊กแกเสือดาวที่อายุต่ำกว่าสี่เดือนนั้นต้องการอาหารทุกวัน แต่ตุ๊กแกที่แก่กว่านั้นให้อาหารแค่วันเว้นวันหรือทุกๆ 3 วันแทน [11] อีกอย่างคือ ตุ๊กแกหนึ่งตัวควรให้อาหารเพียงพอที่จะกินภายใน 10-15 นาที หรือจิ้งหรีดประมาณ 7-10 ตัว [12] เอาแมลงทั้งหมดออกมาหลังจากเวลาผ่านไป 15-20 นาทีแล้ว เพราะมันอาจไปทำร้ายผิวหนังของตุ๊กแกเสือดาว หรือกินมูลของพวกตุ๊กแกได้
    • หากตุ๊กแกกินช้าลง หรือเริ่มอ้วนเกินไป ให้ไปดูส่วนที่อธิบายเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพเพื่อคำแนะนำ
  6. กำจัดมูล แมลงที่ตายแล้ว หรือเศษขยะออกจากตู้เลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหรือกำจัดสิ่งที่ดึงดูดเหล่าแมลงร้ายๆ เข้ามา และทุกๆ สัปดาห์ ให้ล้างตู้ทั้งใบด้วยน้ำอุ่นและน้ำยาที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นอันตรายกับสัตว์เลื้อยคลาน จากนั้นล้างน้ำยาออกให้หมดก่อนที่จะใส่ตุ๊กแกเสือดาวกลับไปในตู้เหมือนเดิม ส่วนวัสดุรองตู้ ให้เปลี่ยนเมื่อกลิ่นเริ่มออกชัด โดยปกติจะเปลี่ยนหนึ่งครั้งต่อหกเดือน
    • หากใช้กระเบื้องหรือวัสดุที่คล้ายกัน พวกวัสดุที่ไม่ใช่วัสดุใช้แล้วทิ้ง ให้เอาออกมาจากตู้ชั่วคราว แล้วทำความสะอาดพื้นตู้ข้างใต้เมื่อเริ่มได้กลิ่นไม่พึงประสงค์
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การดูแลให้ตุ๊กแกเสือดาวปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างมือด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ ก่อนที่จะจับตัวมันขึ้นมา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายมายังตัวคุณหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ต้อนมันขึ้นมาบนมือ หรือค่อยๆ ช้อนตัวมันขึ้นมาแล้วประคองเอาไว้ในมือไม่ให้มันตกลงไป [13] อย่าจับมันขึ้นจากหางเด็ดขาด เพราะมันสามารถสลัดหางทิ้งได้จากสัญชาตญาณที่มันทำกับผู้ล่านั่นเอง
    • หากหางถูกสลัดทิ้งแล้ว ให้เอาออกจากตู้แล้วทำความสะอาดตู้ทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่โคนหาง จนกว่ามันจะรักษาตัวเองและงอกหางใหม่ออกมาได้
    • ห้ามสูบบุหรี่ในห้องเดียวกับที่ตุ๊กแกอยู่ และห้ามสูบตอนอุ้มมันอยู่เป็นอันขาด [14]
  2. ตุ๊กแกเสือดาวจะลอกคราบประมาณหนึ่งครั้งต่อเดือน ซึ่งเวลาที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับอายุของมัน ผิวของมันจะกลายเป็นสีเทาหรือขาวประมาณวันสองวันก่อนที่จะเริ่มทำการลอกคราบ เมื่อผิวหนังเก่าหลุดลอกออกไปเรียบร้อยแล้ว ก็มักจะถูกตุ๊กแกกินเข้าไปเอง ซึ่งไม่เป็นอันตรายใดๆ และไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้
    • ถ้าผิวที่ลอกออกมาแล้วติดอยู่ที่นิ้วเท้ามัน ให้ค่อยๆ ถูออกด้วยสำลีก้านชุบน้ำ ตุ๊กแกของคุณอาจไม่ชอบการทำแบบนี้เท่าไร แต่ถ้าทิ้งเอาไว้ นิ้วของมันอาจหลุดไปเลยก็ได้
    • ถ้าผิวหนังเก่าติดอยู่บนตัวของตุ๊กแก ปกติแล้วก็ควรทิ้งไว้อย่างนั้น ยกเว้นว่ามันจะติดอยู่ใกล้กับบริเวณตาของตุ๊กแก ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ ให้ฉีดน้ำบริเวณข้างตู้เพื่อทำให้อากาศเกิดความชุ่มชื้น แต่อย่าฉีดใส่ตุ๊กแกโดยตรง
  3. หากคุณได้วางที่กำบังชื้นๆ ให้มัน อย่างที่อธิบายไว้แล้วในส่วนของการจัดตู้ ตุ๊กแกโตเต็มวัยมักจะควบคุมความชื้นบนผิวหนังได้ด้วยตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม หากตุ๊กแกเริ่มมีเบ้าตาที่ลึก มีอาการท้องผูก หรือมีการลอกคราบที่ช้า (ในขั้นตอนที่ผิวหนังสีขาวเก่าๆ ผลัดเป็นผิวใหม่) นั่นอาจเป็นปัญหาที่น่ากังวลเกี่ยวกับสุขภาพของมัน คุณอาจต้องฉีดน้ำให้มันสักครั้งหนึ่งต่อวันหรือทุกสองวัน แต่อย่าทำให้มันชื้นเกินไป เพราะอาจเป็นสาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังที่ร้ายแรงก็เป็นได้ [15] [16] ซึ่งหากพาตุ๊กแกไปหาสัตวแพทย์จะเป็นการปลอดภัยกว่า
    • ตุ๊กแกเสือดาวที่อายุน้อยกว่าหนึ่งเดือนอาจ “ร้อง” ออกมาเมื่อถูกฉีดน้ำใส่ แต่ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเจ็บปวดแต่อย่างใด [17]
  4. อีกนัยหนึ่ง หากมีความชื้นมากเกินไปในอากาศบริเวณที่ตุ๊กแกอยู่ ให้ซื้อไฮกรอมิเตอร์เพื่อใช้วัดความชื้นภายในตู้ หากค่าความชื้นขึ้นมามากกว่า 40% ให้หันพัดลมไปทางเหนือตู้ หรือเปลี่ยนถาดใส่น้ำให้มีขนาดเล็กลง [18]
  5. ตุ๊กแกเสือดาวจะสะสมไขมันไว้ที่หางของมัน ฉะนั้นหางมันจะดูกว้างใหญ่และอวบอ้วน อย่างไรก็ตาม หากหางของตุ๊กแกใหญ่กว่าตัวมัน และ/หรือไขมันเริ่มถูกสะสมรอบๆ แขนขาของมัน ให้ลดปริมาณอาหารต่อการให้ในแต่ละครั้งลง [19]
  6. หาสัตวแพทย์ฉุกเฉินทันทีหากตุ๊กแกของคุณไม่ตอบสนองต่อการที่คุณแตะต้องตัวมันหรืออาหารที่ให้มัน หรือหากคุณรู้สึกได้ถึงอาการกระตุก น้ำหนักที่หางลดลง เลือดออก หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ร้ายแรง และให้รีบไปปรึกษาสัตวแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงหากสังเกตได้ถึงอาการท้องเสีย ท้องผูก มีคราบสกปรกเกาะอยู่บนตัว หรือว่าบริเวณนิ้วเท้าหรือปลายหางมีสีที่เข้มขึ้นหรือเปลี่ยนสีไป [20] นิสัยการกินหรือตารางการนอนที่เปลี่ยนไปอาจขึ้นอยู่กับอายุของมันโดยธรรมชาติ แต่ก็แนะนำให้ทำการปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานอยู่ดี
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตุ๊กแกเสือดาวที่ได้รับการดูแลอย่างดีมักจะมีอายุประมาณ 15 ถึง 20 ปี และอาจมีอายุถึง 30 ปีได้เลย [21] ขอให้แน่ใจว่าคุณสามารถอยู่ดูแลมันในระยะเวลาประมาณนี้ได้
  • ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชไว้ในตู้ที่เลี้ยงตุ๊กแก แต่สามารถวางของตกแต่งและชั้นเอาไว้ได้ ขอให้หาข้อมูลของพืชหรือถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลานก่อนที่จะใส่พืชใหม่ๆ ลงไปในตู้ เพราะพืชบางชนิดเป็นพิษกับตุ๊กแกเสือดาว หรือจะตกแต่งด้วยต้นไม้ปลอมก็ได้
  • ตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลาพลบค่ำ ฉะนั้นมันมักจะทำอะไรๆ ในช่วงเวลาที่อาทิตย์ตกดินแล้ว (อย่างเช่นเวลาโพล้เพล้และเวลารุ่งสาง) ไม่ใช่สัตว์กลางคืนอย่างที่ตุ๊กแกตัวอื่นเป็น [22]
  • ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ทรายเป็นอันตรายกับมัน โดยเฉพาะกับตัวอ่อนที่เพิ่งฟัก! หากคุณได้รับตุ๊กแกตัวเต็มวัยพร้อมทรายที่อยู่ตู้ที่เลี้ยงมัน คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บได้ด้วยการรีบเอาทรายออกแล้วแทนที่ด้วยวัสดุที่เหมาะสมกว่าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ให้หนอนผีเสื้อและ/หรือหนอนนกกับมันเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น หากให้มากกว่านี้อาจทำให้อาหารไม่ย่อยได้
  • ตุ๊กแกเสือดาวนั้นเป็นสัตว์ที่ง่ายต่อการดูแล แต่ควรให้ผู้ที่มีอายุมากกว่าเจ็ดปีขึ้นไปในดูแลมัน และก่อนที่จะเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานใดๆ ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและการเล่นกับมันเสียก่อน
โฆษณา

คำเตือน

  • เสียงดังๆ อาจทำให้ตุ๊กแกเกิดความเครียดได้
  • ห้ามใช้แสงสีขาวกับตุ๊กแกเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสายตาของพวกมันได้
  • เอาแมลงที่พวกมันไม่กินออกจากตู้ซะ เพราะมันอาจทำร้ายตุ๊กแกได้
  • ห้ามใช้หินร้อนๆ หรือเครื่องทำความร้อนที่เป็นหินในการให้ความร้อนกับตู้ เพราะตุ๊กแกอาจเข้าไปซุกอยู่ในนั้นและผิวของมันอาจร้อนไหม้ได้
  • ตุ๊กแกอาจเป็นพาหะของเชื้อซาลโมเนลลาได้ ขอให้ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังที่จะจับมัน หรือจับอะไรก็ตามที่มันเข้าไปยุ่งด้วย
  • การเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวไว้ในตู้เดียวกันอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ฉะนั้นอย่าเลี้ยงมันไว้ในตู้เดียวกัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,274 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา