ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ยินดีด้วยที่คุณกำลังจะมีสมาชิกใหม่ในบ้าน! แต่คำถามคือ “คุณจะดูแลลูกสุนัขตัวใหม่อย่างไร?” ขอบอกก่อนว่า บทความนี้เน้นสำหรับผู้ที่เพิ่งซื้อ อุปถัมภ์ หรือเก็บลูกสุนัขอายุตั้งแต่ 8 สัปดาห์ขึ้นไปมาเลี้ยง หากมันอายุต่ำกว่านั้นหรือยังไม่หย่านมแม่ คุณก็ไม่ควรนำมันมาเลี้ยงแยก เพราะไม่ดีต่อคุณภาพชีวิตของพวกมัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

การนำลูกสุนัขมาเลี้ยงที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แน่ใจก่อนว่าพันธุ์ที่คุณจะเลี้ยงนั้นเหมาะกับคุณ. ลักษณะขนของพันธุ์ดังกล่าวเหมาะกับสภาพอากาศที่คุณอยู่หรือไม่ ขนาดตัวของมันล่ะ เหมาะกับขนาดที่พักคุณหรือเปล่า มันเป็นพันธุ์ที่มีความกระตือรือร้นเท่าๆ กับตัวคุณเองด้วยมั้ย สิ่งเหล่านี้นอกจากต้องคำนึงถึงเพื่อความสุขสมบูรณ์ของลูกสุนัขแล้ว มันยังหมายถึงความสุขของคุณและคนในครอบครัวด้วย
  2. ลูกสุนัขมักชอบใช้ปากสำรวจสภาพแวดล้อม ดังนั้น การปกป้องตัวมันและบ้านของคุณเอง ควรทำเรื่องต่อไปนี้ด้วย
    • เคลื่อนย้ายวัตถุที่แตกง่ายให้ห่างจากบริเวณที่จะเลี้ยงลูกสุนัข
    • ปิดหน้าต่างบานเล็กๆ และนำพวกสายไฟบนพื้นรวบหรือเก็บขึ้นให้หมด
    • เก็บพวกวัตถุเคมีต่างๆ
    • ใช้ถังขยะที่ใหญ่เกินกว่าที่ลูกสุนัขจะปีนลงไปได้ และหนักกว่าที่มันจะทำล้มได้
    • เตรียมทำประตูพับหรือหาซื้อกรงเปิด-ปิด เพื่อใช้ควบคุมบริเวณลูกสุนัข
  3. บริเวณครัวหรือห้องน้ำถือเป็นที่ๆ เหมาะในการให้ลูกสุนัขพักผ่อนตอนกลางวัน ด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมและมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย ส่วนตอนกลางคืนให้ลูกสุนัขนอนในกรงเปิด-ปิดข้างเตียงคุณ เพื่อจะได้ยินเสียงมันเวลามันต้องการไปขับถ่าย
  4. หาชามอาหารและชามน้ำดื่มแบบสแตนเลสอย่างละใบให้ลูกสุนัข. สแตนเลสจะเหมาะกว่าแก้ว เพราะมันทนกว่าและยังรักษาความสะอาดง่ายกว่าด้วย หากคุณมีสัตว์เลี้ยงมากกว่าหนึ่งอย่าง ควรแยกชามใครชามมันด้วย เพื่อป้องกันการขัดแย้ง โดยเฉพาะการต่อสู้กันในเวลาให้อาหาร พวกมันจึงจะได้สารอาหารครบถ้วนของแต่ละตัว
  5. คุณสามารถหาซื้อกรงเปิด-ปิดที่มีหมอน หรือเบาะนอน หรือจะใช้ตะกร้าหวายที่ยัดด้วยผ้าหลายๆ ผืนแทนก็ได้ ขอแค่ให้ที่นอนดังกล่าวนุ่มสบาย อุ่น และแห้ง รวมถึงเตรียมผ้าห่มเอาไว้เผื่ออากาศหนาวมาก และสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวในบ้าน ก็ควรมีเตียงใครเตียงมันเช่นกัน
  6. ลูกสุนัขของคุณจะเป็นเหมือนเด็กบ้าพลัง ดังนั้นคุณต้องเตรียมของเล่นไว้บ้าง ทั้งของเคี้ยวเล่นและของเล่นแบบนิ่มๆ ทนทานและไม่แตกง่ายเพื่อป้องกันการมันกัดกลืนลงคอไป อย่าให้กระดูกปลอมเป็นของเล่นแก่ลูกสุนัข แต่ควรให้เป็นของรางวัลเวลาทำถูกต้อง
  7. เลือกขนมที่ใช้เป็นรางวัลสำหรับลูกสุนัขของคุณ. ขนมที่ใช้เป็นรางวัล เพื่อให้มันเวลาเชื่อฟังคำสั่ง ควรมีประโยชน์ ขนาดเล็ก เคี้ยวหรือกลืนง่าย จุดประสงค์ของการให้รางวัลคือ การบอกมันว่าทำในสิ่งที่คุณชอบหรือถูกต้องแล้ว ดังนั้น คุณคงไม่อยากให้มันเอาแต่กิน เวลาที่คุณอยากจะฝึกมันต่อไปหรอกนะ
    • คุณอาจหาอ่านรีวิวได้ทางอินเทอร์เน็ต แต่ในประเทศยี่ห้อที่ได้รับความนิยม ก็มีเช่น Jerhigh, Pedigree และ Sleeky
    • พยายามซื้อให้หลากหลาย เช่น แบบนุ่มและแบบกรอบ โดยแบบนุ่มนั้น พวกลูกสุนัขจะชอบ ทำให้ฝึกง่าย และแบบกรอบ เอาไว้เวลาที่คุณต้องการให้มันทำความสะอาดฟัน
  8. อาหารบด อาหารกระป๋อง อาหารทำเอง หรืออาหารดิบๆ ล้วนแต่เป็นตัวเลือกที่ดี แต่ลองปรึกษาสัตวแพทย์ดูอีกทีก็ได้ หากคุณรับเลี้ยงหรือซื้อต่อมาจากคนอื่นอีกที ควรถามพวกเขาด้วยว่า ลูกสุนัขของคุณปกติแล้วกินอะไร และคุณอาจให้มันกินตามเดิมไปก่อน หากต้องการจะเปลี่ยน ก็รอให้ผ่านไปสองสามสัปดาห์ก่อน และค่อยๆ ปรับเป็นอาหารในแบบของคุณในเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ หากคุณเปลี่ยนในทันที ลูกสุนัขของคุณอาจจะมีอาการอาเจียนหรือท้องเสียได้
    • อย่าซื้ออาหารสุนัขแบบที่ใส่สี ปรุงแต่งรส หรือมีสารกันเสีย เพราะสุนัขบางตัวจะแพ้ต่อสารเหล่านี้
  9. อย่างน้อยคุณควรมีไม้แปรงขน หวี ถุงมือยาง กรรไกรตัดเล็บ แชมพูสุนัข ครีมบำรุงขน ยาสีฟันสุนัข และผ้าเช็ดตัวเตรียมไว้สำหรับลูกสุนัขของคุณ การทำความสะอาดหรือแต่งขนไม่ได้ทำเพื่อความน่ารักของลูกสุนัขเท่านั้น แต่ยังเป็นไปเพื่อความสุขและสุขภาพของลูกสุนัขของคุณด้วย
  10. ใช้เชือกคล้องไนล่อน หรือปลอกคอหนังทรงแบน และป้ายโลหะกับลูกสุนัขของคุณ. ปลอกคอที่ไม่ได้ขนาดพอดี อาจทำร้ายลูกสุนัขของคุณได้ โดยเฉพาะที่ลำคอและต้นคอของมัน พยายามเผื่อขนาดตอนมันโตด้วย
  11. ปกติลูกสุนัขมักกลัวเวลาที่ต้องไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ พยายามใส่ใจและให้ความรักกับลูกสุนัขของคุณในช่วงสองสามวันแรกเป็นพิเศษ คุณอาจปล่อยให้มันเดินสำรวจรอบๆ บ้าน โดยมีสายจูงเบาๆ ให้มันลากไปและคอยเดินตามมัน คุณไม่จำเป็นต้องให้มันรู้ทุกซอกทุกมุมในช่วงแรกๆ แค่เน้นที่ๆ คุณจะเลี้ยงมันทั่วไปก็พอ
    • อย่าปล่อยให้มันเป็นอิสระมากนัก อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
    • เอามันใส่กรงเปิด-ปิดและนอนข้างเตียงคุณในตอนกลางคืน มันจะได้ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้งหรือโดดเดี่ยว
  12. การตบหรือนวดเบาๆ ที่ลำตัว ขา และหัวของลูกสุนัขของคุณบ่อยๆ เป็นสิ่งสำคัญและควรทำทุกวัน นี่ไม่เพียงทำให้มันรู้สึกว่าเป็นที่รัก แต่ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกสุนัขของคุณด้วย [1] .
  13. . ลูกสุนัขก็เหมือนเด็กทารกเรื่องความบอบบาง คุณควรอุ้มมันเบาๆ โดยค่อยๆช้อนขึ้นมาไว้ในอ้อมแขน และเอาแขนข้างนึงรองตัวมันไว้ตลอดเวลา
  14. ลูกสุนัขมักจะอยากรู้อยากเห็น ต่อให้คุณดูแลมันดีแค่ไหน มันก็อาจจะวิ่งหนีหายไปได้ในพริบตา คุณควรใส่ปลอกคอที่ติดป้ายโลหะให้มัน โดยมีที่อยู่หรือเบอร์โทรของคุณไว้ด้วย นอกเหนือไปจากชื่อของมัน
    • ในบางประเทศ คุณอาจต้องขอใบอนุญาติของสุนัข ในการเลี้ยงสุนัขให้ถูกต้องตามกฏหมายด้วย
    • ในกรณีดังกล่าว ลูกสุนัขของคุณจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเห็บหมัดก่อนด้วย
  15. ไมโครชิพดังกล่าวจะมีขนาดเล็ก ประมาณข้าวสารหนึ่งเม็ด ฝังเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณลำคอ เหนือหัวไหล่ จากนั้น ทางสัตวแพทย์ผู้ฝังไมโครชิพ ก็จะให้คุณกรอกรายละเอียดติดต่อของคุณไว้ หากลูกสุนัขของคุณหลงทางหายไป ทางสัตวแพทย์ก็จะสแกนชิพดังกล่าว เพื่อโทรเรียกให้คุณมารับมันกลับไป
    • แม้ว่าคุณอาจติดปลอกคอพร้อมป้ายโลหะให้มันแล้ว ผู้เชี่ยวชาญก็ยังแนะนำว่า วิธีการฝังชิพดีกว่า ตรงที่ไม่สามารถหลุดหายหรือเอาออกได้
  16. สวนที่มีรั้วแน่นหนาลอดไม่ได้จะเหมาะมาก พยายามศึกษาดูว่า มันชอบเล่นของเล่นอะไร หากอยู่ในร่ม ก็จัดกรงเปิด-ปิดของมัน ให้เป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของมัน [2]
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

การให้อาหารลูกสุนัขของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าบางคนอาจเลือกซื้อที่ราคาถูกไว้ก่อน แต่มันอาจจะไม่ดีกับลูกสุนัขของคุณก็ได้ พยายามเลือกยี่ห้อที่มีการผสมโปรตีนเกรดสูงจากปลา ไก่ แกะ เนื้อ และ/หรือไข่เอาไว้ด้วย อาจลองปรึกษาสัตวแพทย์ดูก็ได้ หากคุณต้องการเปลี่ยนอาหารเมื่อไร พยายามค่อยๆ ปรับไปทีละนิดไม่ให้ท้องไส้ลูกสุนัขของคุณปั่นป่วน
  2. ให้อาหารสูตรสำหรับลูกสุนัขหลายๆ มื้อต่อวัน ขนาดของอาหารแต่ละมื้อขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และขนาด หาข้อมูลปริมาณอาหารให้เหมาะกับลูกสุนัขของคุณ ควรให้อาหารมีปริมาณขั้นต่ำจากที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำในแต่ละวัน ตามขนาด สายพันธุ์ และอายุของลูกสุนัขของคุณ หากรู้สึกว่าตัวมันผอมไป ก็ค่อยเพิ่มปริมาณอาหารทีละนิด ส่วนจำนวนมื้อขึ้นอยู่กับอายุของมัน:
    • อายุ 6-12 สัปดาห์ : 3 - 4 มื้อต่อวัน
    • 12-20 สัปดาห์: 3 มื้อต่อวัน
    • 20 สัปดาห์ขึ้นไป: 2 มื้อต่อวัน
  3. ทำตามคำแนะนำการให้อาหาร สำหรับลูกสุนัขพันธุ์เล็กจิ๋ว. ลูกสุนัขพันธุ์เล็กพิเศษอย่าง ยอร์กไชร์เทอเรียร์ ปอมเมอเรเนียน และชิวาว่า เป็นต้นนั้น มักจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงต้องการอาหารใส่ท้องอยู่เสมอทั้งวัน หรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงครั้ง จนกว่าจะอายุ 6 เดือน เพื่อเป็นการป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำเกินไป จนอาจลูกสุนัขของคุณทำให้อ่อนล้า สับสน หรืออาจจะชักได้ [3]
  4. การให้อาหารเป็นมื้อๆ จะช่วยให้ลูกสุนัขของคุณปรับตัวเข้าบ้านใหม่ได้ดีกว่า และยังช่วยป้องกันไม่ให้มันตะกละ นอกจากนี้ ยังเป็นการทำให้มันรู้สึกดีกับมนุษย์ ด้วยการเชื่อมโยงการให้อาหารของคุณเข้ากับสถานที่ใหม่แห่งนี้ คุณควรให้ลูกสุนัขของคุณทานอาหารแต่ละมื้อไม่เกิน 20 นาที [4]
  5. การสังเกตเวลาลูกสุนัขของคุณกินอาหาร จะช่วยให้คุณประเมินสุขภาพของมันได้ เช่น หากจู่ๆ มันเกิดเบื่ออาหารขึ้นมา ก็ควรจดไว้ เพราะกรณีนี้อาจเกิดจากการไม่ชอบอาหารบางอย่าง หรือมีสาเหตุทางการแพทย์ร่วมด้วยก็ได้
    • การคอยสังเกตการณ์ลูกสุนัขของคุณ ถือเป็นหน้าที่ หากจำเป็นก็ต้องปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อหาสาเหตุกรณีที่พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
  6. คุณอาจอยากให้ลูกสุนัขของคุณทานอาหารเหลือ แต่การทำเช่นนั้น นอกจากจะทำให้มันอ้วนง่ายด้วยอาหารของมนุษย์ และเสี่ยงต่อสุขภาพแล้ว ยังทำให้มันมีนิสัยชอบขอ และยากที่จะแก้ภายหลัง
    • พยายามให้อาหารสำหรับลูกสุนัขของคุณเท่านั้น เพื่อสุขภาพที่ดีของมัน
    • ขณะที่คุณกำลังทานอาหาร พยายามอย่าไปสนใจมันเลย
    • สอบถามสัตวแพทย์ เกี่ยวกับการให้อาหารมนุษย์แก่ลูกสุนัขของคุณว่า แบบไหนสามารถให้ได้บ้าง เช่น อกไก่ย่าง หรือพวกถั่วแขกสดๆ
    • อาหารที่มีไขมันมาก อาจทำให้ลูกสุนัขของคุณเป็นโรคตับอ่อนอักเสบได้
  7. ร่างกายลูกสุนัขของคุณมีกายวิภาคต่างจากคนเรา อาหารบางอย่างที่คุณกินและย่อยได้ อาจเป็นพิษและอันตรายแก่ลูกสุนัข เช่น อาหารต่อไปนี้:
    • องุ่น
    • ลูกเกด
    • ชา
    • แอลกอฮอล์
    • กระเทียม
    • หัวหอม
    • อะโวคาโด
    • เกลือ
    • ช็อกโกแลต
    • หากสุนัขของคุณเกิดทานอาหารดังกล่าวเข้าไป อาจต้องพามันไปคลินิกสัตว์แพทย์ที่ใกล้บ้านคุณ
  8. คุณควรมีชามใส่น้าสะอาดให้แก่ลูกสุนัขของคุณไว้ตลอดเวลา และควรตระหนักว่า ลูกสุนัขมักต้องปัสสาวะหลังจากดื่มน้ำมากๆ เข้าไปไม่นาน รีบพามันออกไปนอกบ้านล่วงหน้า อย่าปล่อยให้มันปลดทุกข์ในบ้านของคุณ
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ดูแลสุขภาพลูกสุนัขของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูแลสภาพแวดล้อมลูกสุนัขของคุณให้ปลอดภัยเสมอ. การปล่อยให้บริเวณที่เลี้ยงลูกสุนัขของคุณสกปรกหรือเป็นอันตราย นอกจากจะเป็นภัยต่อมันแล้ว ยังอาจทำให้คุณต้องควักเงินรักษามันมากมาย ไม่คุ้มกันเลย
    • ทำความสะอาดที่นอนลูกสุนัขของคุณทันที หากพบว่ามีการเปื้อนอึหรือฉี่ของมัน ในกรณีที่ยังฝึกมันให้ไปขับถ่ายเป็นที่ไม่ได้
    • กำจัดพืชที่อาจเป็นอันตรายต่อมัน. หากลูกสุนัขของคุณกลืนหรือกินพืชบางอย่างเข้าไปอาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งพืชที่อันตรายต่อลูกสุนัขของคุณ และมักพบได้ตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยเช่น พวกต้นไม้ที่มียางทั้งหลาย รวมถึงลั่นทม ชวนชม พญาไร้ใบ รำเพย ยี่โถ ต้นปลด ต้นบอน เทียนหยด เทียนซ้อน ฯลฯ มีมากมายนับไม่ถ้วน คุณควรหาข้อมูลพืชในบริเวณบ้านดูว่าเป็นพิษต่อลูกสุนัขของคุณหรือไม่ ถ้าใช่ ก็พยายามเอาออกไปให้ห่างมัน
  2. ลูกสุนัขแต่ละสายพันธุ์ ย่อมต้องการออกกำลังกายมากน้อยต่างกัน ซึ่งคุณควรพิจารณาในเรื่องนี้ก่อนที่จะหามาเลี้ยงด้วย หลังมื้ออาหารทุกครั้ง คุณควรพามันออกไปเดินเล่นข้างนอก หรือเล่นเพื่อออกกำลังกาย คุณควรเริ่มพามันออกไปเดินเล่นตามสวนทันทีที่ถึงวัยปลอดภัยตามที่สัตวแพทย์แนะนำ ปกติแล้ว ลูกสุนัขมักจะเล่นอย่างบ้าพลังแค่สั้นๆ และตามด้วยการงีบหลับยาว
    • ช่วงที่ลูกสุนัขของคุณกำลังเติบโตนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงการเล่นแบบหนักหน่วงรุนแรง อย่าเพิ่งให้วิ่งไกลมาก จนกว่าจะอายุ 9 เดือน
    • ให้ลูกสุนัขของคุณเดินเล่นอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็น 2-4 ช่วง หากมันได้รับวัคซีนครบแล้ว คุณอาจจะแวะให้มันทักทายกับลูกสุนัขตัวอื่นๆ ด้วยได้
  3. [5] โดยอาจลองสอบถามจากคนรู้จัก หรือไปลองด้วยตนเอง โดยดูจากความเป็นมิตร มีการจัดการที่ดี และไม่มีกลิ่นสกปรก และลองถามลองภูมิของสัตวแพทย์หรือพยาบาลดูสักหน่อย พวกเขาควรจะตอบคำถามอย่างตั้งใจ เพราะคุณควรจะเลือกคลินิกที่คุณสบายใจที่สุด
    • คุณควรสอบถามสัตวแพทย์เกี่ยวกับยากำจัดพยาธิตั้งแต่ครั้งแรกที่พาลูกสุนัขของคุณไปพบสัตวแพทย์ และสัตวแพทย์อาจจะแนะนำให้กำจัดพยาธิที่พบเป็นประจำอย่างเช่น พยาธิตัวกลมก่อนเลย หรืออาจจะต้องมีการเก็บอุจจาระของลูกสุนัขของคุณไปตรวจก่อน
    • การกำจัดพยาธิ ไม่เพียงแต่จะดีกับสุขภาพลูกสุนัขของคุณเท่านั้น แต่ยังช่วยปกป้องคุณและคนในครอบครัวด้วย เพราะมันแพร่สู่กันได้
  4. หากลูกสุนัขของคุณอายุประมาณ 12-16 สัปดาห์ ก็อาจถึงเวลาต้องไปรับวัคซีนรอบใหม่แล้ว คุณควรสอบถามจากสัตวแพทย์ดูอีกทีว่า มีระเบียบการอย่างไรบ้าง
  5. ปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณ เกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งสัตวแพทย์อาจจะรอให้การฉีดวัคซีนผ่านไปเสียก่อน แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสัตวแพทย์ด้วย
    • ตัวอย่างเช่น การทำหมันสุนัขพันธุ์ใหญ่ มักจะมีความยุ่งยากและราคาแพงกว่า ดังนั้น สัตวแพทย์ของคุณอาจจะแนะนำให้พาสุนัขดังกล่าวมาทำหมันก่อนที่จะน้ำหนักมากไปกว่า 25 กิโลกรัม
    • คุณควรทำหมันให้สุนัขตัวเมียก่อนจะถึงช่วงฮีทครั้งแรก เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงการเกิดโรคมดลูกอักเสบ มะเร็งรังไข่ และเนื้องอกในเต้านม [6]
  6. พยายามทำให้การไปพบสัตวแพทย์มีความสุขกับลูกสุนัขของคุณ. คุณอาจนำขนมหรือของเล่นไปเป็นรางวัลให้มันด้วย เพื่อให้ลูกสุนัขของคุณสนุกหรือทนกับประสบการณ์ดังกล่าวได้ ก่อนที่จะพามันไปตรวจ คุณควรทำท่าเหมือนเวลาสัตวแพทย์ตรวจกับมัน เช่น จับเท้า หาง และใบหน้า เพื่อให้ลูกสุนัขของคุณเคยชินเสียก่อน
  7. . พยายามช่างสังเกต จะได้รู้ปัญหาแต่เนิ่นๆ ปกติลูกสุนัขต้องมีดวงตาใสแจ๋ว และหายใจโล่ง ไม่มีอะไรติดขัดในโพรงจมูก ขนของลูกสุนัขควรจะสะอาดเป็นประกาย ไม่ใช่หยาบและบางโกร๋น รวมถึงตรวจดูรอยฟกช้ำ บวม อักเสบ หรือรอยข่วนและรอยแผลต่างๆ และดูหางมันเพื่อสังเกตอาการท้องเสียด้วย
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ประทินโฉมให้ลูกสุนัขของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การแปรงขนนอกจากจะช่วยให้ลูกสุนัขของคุณสะอาดและมีสุขภาพดีแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คุณเช็คผิวหนังและขนของมันเพื่อดูอาการไปในตัว ซึ่งสุนัขแต่ละสายพันธุ์ ก็ต้องใช้แปรงหรือกรรมวิธีในการอาบน้ำทำความสะอาดแตกต่างกันไป คุณควรถามจากสัตวแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ดูก่อน
    • พยายามแปรงให้ทั่ว แม้แต่หน้าท้องและขาด้านหลัง
    • ควรเริ่มแปรงขนลูกสุนัขของคุณตั้งแต่ตอนมันยังเด็ก จะได้ไม่กลัวแปรง
    • พยายามใช้เวลาน้อยๆ แค่ไม่กี่นาทีในการแปรงขนลูกสุนัขของคุณช่วงแรกๆ จะได้ไม่สร้างความรำคาญให้มัน โดยอาจใช้ขนมและของเล่นล่อด้วย
  2. คุณควรถามจากสัตวแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เกี่ยวกับเทคนิคการตัดเล็บลูกสุนัขที่ถูกต้อง หากคุณไม่เรียนรู้เสียก่อน อาจจะตัดโดนเนื้อมันได้และทำให้ลูกสุนัขของคุณบาดเจ็บหนัก โดยเฉพาะหากลูกสุนัขของคุณมีเล็บดำ ซึ่งจะทำให้มองเห็นยากกว่าปกติ
    • การปล่อยให้ลูกสุนัขของคุณเล็บยาว อาจทำให้มันเกร็งที่ข้อเท้า และทำให้พื้นบ้านคุณเป็นรอย รวมถึงเฟอนิเจอร์และตัวคนในบ้านด้วย
    • พยายามตัดเล็บให้ลูกสุนัขของคุณสัปดาห์ละครั้ง นอกจากจะมีคำแนะนำอย่างอื่นจากสัตวแพทย์
    • พยายามใช้เวลาน้อย แค่ไม่กี่นาทีในการตัดเล็บลูกสุนัขของคุณไม่กี่เล็บก่อน จะได้ไม่สร้างความรำคาญให้มัน โดยอาจใช้ขนมและของเล่นล่อด้วย
  3. ของเคี้ยวเล่นต่างๆ สำหรับสุนัข จะช่วยให้ลูกสุนัขของคุณมีสุขภาพฟันแข็งแรง แปรงและยาสีฟันสำหรับลูกสุนัข ก็สามารถช่วยเสริมเพิ่มในจุดนี้ได้ แถมฟันลูกสุนัขของคุณยังจะสะอาดด้วย พยายามค่อยๆ แปรงไปจนกว่ามันจะเคยชิน ให้มันรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่สนุก </ref> Don’t forget to shower him with treats and praise! [7] อย่าลืมชมเชยและให้รางวัลมันล่ะ!
  4. การอาบน้ำลูกสุนัขของคุณมากเกินจำเป็น อาจทำให้ผิวมันแห้งแตกและกำจัดไขมันที่จำเป็นออกจากขนมัน ค่อยๆ ฝึกให้มันเคยชินกับน้ำและการอาบน้ำ อย่าลืมใช้ขนมและของเล่นล่อใจเหมือนเคย
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

การฝึกลูกสุนัขของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามเริ่มขั้นตอนนี้ตั้งแต่วันแรกที่คุณนำมันกลับมาบ้าน ยิ่งรอนานไป มันยิ่งทำเรื่องปวดหัวมาก และลูกสุนัขของคุณก็ยิ่งฝึกยากขึ้น คุณอาจจะใช้ถาดรองช่วยในช่วงสองสามวันแรกก่อน แต่ใช้เผื่อเวลาฉุกเฉินในช่วงแรกๆ เท่านั้น โดยเฉพาะหากคุณไม่มีสวนหลังบ้านให้พาลูกสุนัขออกไปขับถ่าย
    • หาถาดรองหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ปูรองในกรงเปิด-ปิดของลูกสุนัขของคุณไว้ด้วย เวลาที่คุณไม่อยู่
    • อย่าปล่อยให้มันเพ่นพ่านในบ้าน หากคุณไม่เล่นกับมัน ก็เอามันไปไว้ในกรงเปิด-ปิด กรงฝึกหัด กรงบ้าน หรือผูกไว้กับเข็มขัดของคุณหรือโต๊ะเก้าอี้บริเวณนั้น
    • สังเกตอาการเวลาที่ลูกสุนัขของคุณต้องการขับถ่าย และรีบพามันออกไปทันที ที่จุดเดียวกันทุกครั้ง
    • ชมเชย (และให้รางวัล) ลูกสุนัขของคุณทันทีที่มันออกไปถ่ายข้างนอกบ้าน!
  2. การฝึกดังกล่าวมีประโยชน์ในหลายแง่มุม อันดับแรก มันเป็นการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงหรือทางลบของลูกสุนัขของคุณ ทำให้คุณปล่อยมันไว้ลำพังได้ โดยไม่ต้องกังวล อีกอย่างนึง มันเป็นเทคนิคที่ช่วยในการฝึกลูกสุนัขของคุณให้ขับถ่ายเป็นที่ได้ด้วย หากใช้ถูกวิธี
  3. สุนัขที่เชื่อฟังและประพฤติตัวดี ย่อมเป็นที่รักใคร่สนุกสนานแก่คนในบ้าน คุณควรเริ่มให้ถูกทางด้วยการฝึกนิสัยดีๆ แต่เนิ่นๆ คุณและลูกสุนัขของคุณจะได้มีความเหนียวแน่นกันมากขึ้น การต้องมาดัดนิสัยเสียๆ ของลูกสุนัขของคุณนั้น ยากกว่าการหัดนิสัยดีๆ ให้มันหลายเท่า
    • สอนให้มันรู้จักเดินมาหา
    • สอนให้มันนั่ง
    • สอนให้มันนอนหมอบ
  4. พยายามพาลูกสุนัขของคุณออกไปนั่งรถเป็นเพื่อนคุณระหว่างขับบ่อยๆ จะได้เคยชิน มิฉะนั้น การนั่งรถสำหรับมันในครั้งต่อไป อาจจะทำให้มันกลัว หากลูกสุนัขของคุณเกิดอาการไม่สบายในรถ คุณอาจพามันไปหาสัตวแพทย์เพื่อดูว่ามียาอะไรแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนสำหรับมันได้บ้าง จะช่วยให้มันเดินทางร่วมกับคุณอย่างมีความสุขมากขึ้น
  5. คอร์สดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้คุณฝึกสุนัขได้เก่งมากขึ้นแล้ว ยังจะช่วยฝึกการเข้าสังคมให้สุนัขของคุณ ให้มันเคยชินกับผู้คนและสภาพแวดล้อมที่มันไม่คุ้นเคย

เคล็ดลับ

  • คุณควรระวังลูกสุนัขของคุณกับเด็กเล็กในบ้านด้วย รวมถึงพยายามแนะนำให้คนอื่นๆ ในครอบครัว ใช้วิธีการฝึกลูกสุนัขของคุณแบบเดียวกับที่คุณทำ (เช่น ให้มันอยู่เฉยๆ หรือห้ามวิ่งเล่นในบ้าน เป็นต้น)
  • ดูให้แน่ใจว่า ลูกสุนัขของคุณได้นอนหลับเพียงพอ 6-10 ชั่วโมงต่อคืน
  • พยายามให้ความรักความเอาใจใส่ และอ่อนโยน (แต่เข้มงวด) แก่ลูกสุนัขของคุณ ในการฝึกให้มันมีพฤติกรรมที่ดีด้วย
  • หากคุณหาซื้อลูกสุนัขมาให้ลูกหลานในบ้าน ควรเตรียมใจเลี้ยงมันด้วยตนเองไว้ เพราะเด็กๆ มักจะหมดความสนใจในไม่ช้า
  • ล้างชามอาหารลูกสุนัขของคุณทุกวัน โดยใช้น้ำอุ่นและสบู่ล้างจานเล็กน้อย หรือจะใช้เครื่องล้างจานก็ได้ การล้างชามอาหารลูกสุนัข จะช่วยป้องกันแบคทีเรียและเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการป่วย และยังทำให้ลูกสุนัขของคุณเจริญอาหารมากขึ้นด้วย
  • แทนที่จะพยายามแปรงฟันให้สุนัขของคุณ คุณอาจเลือกให้มันกินขนมอบแห้งหรือรมควันอย่างหูวัว หรือขนมในลักษณะเดียวกันนี้ก็ได้ การที่สุนัขได้เคี้ยว จะช่วยขัดฟันมันไปในตัว
  • ระวังสัตว์ร้ายหรือสัตว์มีพิษอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายแก่ลูกสุนัขของคุณ มันเป็นหน้าที่ของเจ้าของสุนัขทุกตัว หากมันออกไปวิ่งเล่นข้างนอกโดยไม่มีรั้วกั้น คุณควรล่ามเชือกมันเอาไว้ เพราะลูกสุนัขของคุณยังอาจตัวเล็กอยู่ ซึ่งจะทำให้หาตัวมันได้ยากขึ้น หากมันเกิดพลัดหลงไป
  • คุณควรพาลูกสุนัขของคุณไปฝังชิพ เพราะเมื่อมันเกิดพลัดหลงไป ก็จะช่วยให้คุณมีโอกาสเจอมันได้ง่ายขึ้น

คำเตือน

  • อย่าปล่อยให้ลูกสุนัขของคุณเล่นกับสุนัขแปลกหน้าตัวอื่นๆ จนกว่ามันจะได้รับวัคซีนครบเสียก่อน คุณอาจฝึกให้มันเข้าสังคมแต่เนิ่นๆ ด้วยการเล่นกับสุนัขที่ไม่ดุร้าย และฉีดวัคซีนครบแล้ว ภายในบริเวณที่ๆ ปลอดจากเชื้อโรคหรือสารอันตรายใดๆ
  • อย่าวางสิ่งของที่ลูกสุนัขของคุณสามารถกลืนและอาจสำลักได้ ไว้ตามพื้นบ้านจุดต่างๆ
  • บทความนี้เน้นสำหรับผู้ที่เพิ่งซื้อ อุปถัมภ์ หรือเก็บลูกสุนัขอายุตั้งแต่ 8 สัปดาห์ขึ้นไปมาเลี้ยง หากมันอายุต่ำกว่านั้นหรือยังไม่หย่านมแม่ คุณก็ไม่ควรนำมันมาเลี้ยงแยก เพราะไม่ดีกับสุขภาพของพวกมัน ในบางประเทศหรือบางมลรัฐของอเมริกา จะถือว่าผิดกฏหมายด้วย

สิ่งของที่ใช้

  • ลูกสุนัข (หากที่พักคุณมีขนาดเล็ก ควรเลือกลูกสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา หรือชิทสุ)
  • ชามสแตนเลสสองใบ
  • ของเคี้ยวเล่น
  • ขนมสำหรับลูกสุนัข (แบบนุ่มและแบบกรอบ)
  • วัคซีนลูกสุนัข
  • ยาถ่ายพยาธิ
  • อุปกรณ์ทำหมัน
  • ที่นอนสบายๆ
  • บ้านหรือกรงสุนัขใต้ร่มเงา และมีแผงกั้นลม (กรณีหน้าหนาว) เมื่อมันเติบโตขึ้น
  • เชือกไนลอนและปลอกคอทรงแบน
  • สายจูงไนลอน
  • ป้ายโลหะ (ระบุชื่อสุนัข และเบอร์โทร/ที่อยู่ของคุณ)
  • อาหารสำหรับลูกสุนัข
  • อุปกรณ์ตกแต่งสุนัขขั้นพื้นฐาน (แปรงและกรรไกรตัดเล็บ)
  • ประกันชีวิตและสุขภาพของสุนัข (ถ้ามี)
  • ยาป้องกันแมลง -ลองปรึกษาสัตวแพทย์


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 22,078 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม