ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลังจากใคร่ครวญอยู่นาน คุณก็คงตัดสินใจว่า ได้เวลาเพิ่มสมาชิกตัวน้อยๆ เข้ามาอยู่ในครอบครัวคุณแล้ว คุณคงได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์ต่างๆ ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ตัวเอง และพบแบบที่นิยมเลี้ยงกันแล้ว [1] แถมยังมีลูกสุนัขเป็นคอกให้เลือกด้วย ขั้นตอนสุดท้าย ก็เหลือแค่การเลือกมาเลี้ยงสักหนึ่งตัว จำไว้ว่า ไม่มีกลเม็ดใดที่จะ “ทดสอบลูกสุนัข” ได้โดยสมบูรณ์แบบ ดังนั้น คุณควรโฟกัสไปที่การเลือกลูกสุนัข ที่เหมาะกับคุณและครอบครัวมากกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เยี่ยมคอกลูกสุนัข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามซื้อลูกสุนัขจากผู้เพาะพันธุ์ แทนที่จะซื้อจากร้านสัตว์เลี้ยง. แม้ว่าคุณอยากจะไปอุ้มลูกสุนัขน่ารักมาจากร้านขายสุนัข แต่การซื้อในลักษณะนี้มีความเสี่ยงมาก เพราะลูกสุนัขในร้านเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะถูกแยกไว้เพียงลำพังในกรงเล็กๆ ดังนั้น คุณจึงไม่มีโอกาสได้เห็นเวลาที่มันอยู่ร่วมกับลูกสุนัขตัวอื่น ซึ่งทำให้การพิจารณาพฤติกรรมและนิสัยของมันทำได้ยาก [2]
    • โรคสุนัขส่วนใหญ่ที่ร้าน อาจถูกแยกออกจากคอกเร็วเกินไป ดังนั้น พวกมันจึงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้พฤติกรรมต้นแบบจากแม่ของมัน หรือจากพี่น้องของมัน ลูกสุนัขที่ถูกแยกออกตอนอายุ 5 ถึง 6 สัปดาห์ และนำไปส่งให้ร้านขายสัตว์เลี้ยง จะไม่ได้รับการบ่มเพาะนิสัยจากแม่ของมัน หรือจากผู้เพาะพันธุ์ที่มีฝีมือเลย ซึ่งทำให้มันโตขึ้นมามีนิสัยขี้กลัวหรือก้าวร้าว แทนที่จะเชื่องกับคนที่เลี้ยง
    • คุณควรรู้ด้วยว่า ลูกสุนัขส่วนใหญ่ที่ขายในร้านสัตว์เลี้ยง มักเกิดในโรงเพาะฯ (สุนัขหลายตัวต้องอยู่ในกรงตลอดชีวิต) และมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี อย่าอุดหนุนลูกสุนัขจากร้านเหล่านั้น หากคุณต้องการหยุดวงจรอุบาทนี้
  2. นัดหมายเวลากับผู้เพาะพันธุ์ทันที หลังจากที่ลูกสุนัขคลอดออกมา. คุณต้องไม่ถือลูกสุนัขจากคอกที่ถูกขายไปแล้วครึ่งหนึ่ง เพราะลูกสุนัขที่ดีที่สุด มักถูกขายออกไปก่อนเพื่อน ดังนั้น พยายามนัดกับผู้เพาะพันธุ์ล่วงหน้าว่า จะไปเลือกซื้อหลังจากลูกสุนัขเกิดใหม่ทันที [3] แม้ว่าพวกเขามักจะไม่ยอมให้ใครมาเยี่ยมที่คอก จนกว่าลูกสุนัขจะอายุ 7-8 สัปดาห์ อย่างน้อยก็ควรไปลงชื่อไว้เป็นลูกค้ารายแรกๆ
    • หาสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่มีประสบการณ์และไว้ใจได้ ไปเลือกซื้อสุนัขกับคุณด้วย ก็ย่อมมีประโยชน์ในการช่วยคุณคัดเลือก เพราะเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ของชีวิต
    • ก่อนที่ลูกสุนัขจะเกิด พยายามตีสนิทกับผู้เพาะพันธุ์เอาไว้ก่อน เขาหรือเธอย่อมที่จะคอยอัพเดทให้คุณรู้ความเป็นไปของตัวแม่สุนัข และแจ้งให้คุณทราบเวลาที่มันใกล้คลอด
  3. อย่าซื้อลูกสุนัขจากการคลอดครั้งแรกของแม่พันธุ์. ลองถามผู้เพาะพันธุ์ว่า คอกไหนเป็นลูกของแม่พันธ์สุนัขตัวไหน ถ้าจะให้ดี คุณควรซื้อลูกสุนัขจากการคลอดครั้งที่สาม ที่ผสมกับพ่อพันธุ์ตัวเดิม เพื่อให้แน่ใจว่า แม่ของมันเคยให้กำเนิดลูกสุนัขที่สุขภาพแข็งแรงมาแล้ว กับพ่อพันธ์ตัวเดิม
    • แม่สุนัขจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อบุคลิกและสุขภาพของลูกสุนัข แม่พันธุ์ที่สุขภาพแย่ ก็มีแนวโน้มในการคลอดลูกสุนัขอ่อนแอออกมา แม้ว่าจะมีพ่อพันธุ์ที่แข็งแรงก็ตาม ดังนั้น มันจึงสำคัญที่คุณต้องใช้เวลาศึกษาแม่พันธุ์สุนัข ก่อนที่มันจะคลอดลูก และพูดคุยกับผู้เพาะพันธุ์เกี่ยวกับสุขภาพของแม่มันด้วย
  4. พูดคุยเรื่องสุขภาพของลูกสุนัขกับผู้เพาะพันธุ์. ผู้เพาะพันธุ์ที่ดีจะมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพโดยรวม และลักษณะของลูกสุนัข ผู้เพาะพันธุ์ควรจะมีความมั่นใจในสุขภาพของแม่พันธุ์สุนัข และเขาควรจะอนุญาตให้คุณได้ลองพบปะกับแม่พันธุ์และลูกของมัน ในการไปเยี่ยมชม [4]
    • หากคุณกำลังมองหาผู้เพาะพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับ และใช้เวลาอยู่ที่ฟาร์มของพวกเขา คุณก็ย่อมจะมีความสนิทสนมกับพวกเขา ดังนั้น คุณอาจพึ่งพาพวกเขาให้ช่วยคุณเลือกสุนัขในคอก เพราะพวกเขาได้เฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของลูกสุนัขมา จึงย่อมจะรู้ว่าลูกสุนัขตัวไหนมีความโดดเด่น หรือชอบแย่งซีนตัวอื่น และตัวไหนที่ขี้อายหรือเจ้าเล่ห์ เป็นต้น
    • ระหว่างการไปเยี่ยมชมคอกสุนัข อย่าเกรงใจที่จะถามความเห็นผู้เพาะพันธุ์เกี่ยวกับสุนัขในคอก แต่ต้องมั่นใจว่า คุณได้เช็คดูด้วยตนเองเพื่อยืนยันในเรื่องสุขภาพและบุคลิกภาพของลูกสุนัขแต่ละตัวแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การตรวจสอบพฤติกรรมและนิสัยของลูกสุนัข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของลูกสุนัข แม้ว่าคุณอยากจะได้ตัวที่ขี้เล่นและร่าเริง แต่คุณต้องหลีกเลี่ยงตัวที่ชอบโดดเด่นจากตัวอื่น และตัวที่เหนียมอายกับตัวอื่นด้วย [5]
    • อย่าลืมเลือกสุนัขที่เป็นมิตร อยากรู้อยากเห็น และกล้าคลุกคลีอยู่รอบๆ พี่น้องมัน รวมถึงตัวคุณเองด้วย มันควรจะมาคลอเคลียเท้าคุณ กัดแทะเชือกรองเท้าคุณ ปีนขึ้นมาบนตักคุณ และคอยมองคุณ มันอาจจะเริ่มเล่นกับคุณ และ/หรือปลุกปล้ำกับตัวอื่นๆ ด้วย
    • สมมุติว่ามีลูกสุนัข 4 ตัว และมี 3 ใน 4 ตัวนั้นวิ่งหนีหรือเห่าใส่คุณอย่างหวาดระแวง แสดงว่าลูกสุนัขทั้งหมดนั้นอาจไม่เหมาะกับคุณ ถึงแม้ว่า อีกตัวหนึ่งที่เหลือจะดูท่าทางไม่ก้าวร้าวหรือขี้กลัว แต่มันก็อาจขี้อาย ซึ่งความขี้อายและไม่เชื่อใจอาจฝังอยู่ในยีนส์ของมัน ซึ่งอาจส่งผลให้มันเติบโตขึ้นมามีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
    • อย่าเชื่อผู้เพาะพันธุ์ที่หัวเราะแก้เก้อ เกี่ยวกับลูกสุนัขตัวที่ขี้อายหรือก้าวร้าว หากลูกสุนัขมีท่าทางก้าวร้าวเกินไปหรือขี้อายเกินไป อาจบ่งชี้ว่า ผู้เพาะพันธุ์ไม่มีทักษะเพียงพอในการเพาะลูกสุนัข พวกเขาควรจะหมั่นเข้าหาลูกสุนัข เพื่อที่พวกมันจะได้ไม่กลัวลูกค้า
    • หลีกเลี่ยงการซื้อลูกสุนัขตัวใหญ่ที่สุดหรือเล็กที่สุดในคอก คุณควรดูจำนวนตัวลูกสุนัขในคอก โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งมีจำนวนลูกสุนัขในคอกมากเท่าไหร่ ย่อมหมายความว่าสุขภาพดีมากเท่านั้น [6]
  2. ลองพิจารณาเกี่ยวกับบุคลิกของลูกสุนัขที่คุณต้องการ คุณและคนในครอบครัวชอบลูกสุนัขแบบขี้เอาใจ หรือแบบไม่ขึ้นกับใครมากกว่า ลองพูดคุยกับผู้เพาะพันธุ์เกี่ยวกับนิสัยของแต่ละตัว ลูกสุนัขแต่ละพันธุ์อาจมีนิสัยหลายแบบ อย่างเช่น [7]
    • จอมเกเร: ในแว้บแรก ลูกสุนัขที่ชอบรังแกตัวอื่น อาจดูเหมือนชอบเล่นและเข้าหาตัวอื่น แต่ลองสังเกตดูว่า มันชอบแย่งของเล่น หรือเล่นแรงๆ กับสุนัขตัวอื่นหรือเปล่า มันยังอาจจะชอบข่วนกรง หรือปีนขึ้นไปทับลูกสุนัขตัวอื่นๆ เล่นด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นสัญญาณบ่งบอกความแน่วแน่ ฉลาด และพลังอันมุ่งมั่น แต่บุคลิกแบบนี้อาจไม่เหมาะจะนำไปเลี้ยงในบ้าน เพราะคุณจะต้องการเวลามากมายในการดูแลและลองเชิงกับมัน ดังนั้น หากคุณมีข้อจำกัดเรื่องเวลาและมีความตึงเครียดในบ้านมากพออยู่แล้ว เจ้าสุนัขขี้รังแกแบบนี้ก็อาจไม่เหมาะสมกับคุณและครอบครัว
    • จอมกบฏ: ลูกสุนัขประเภทนี้คิดไว รักสนุก และน่าสนใจ พวกมันอาจจะขี้เล่นและมีความกระตือรือร้นเหมือนกับสุนัขขี้รังแก แต่มีความอ่อนไหวมากกว่าและก้าวร้าวน้อยกว่า ลูกสุนัขประเภทจอมกบฏมักจะดูมีความสง่างาม โดยที่ไม่ดื้อหรือถือตัว ดังนั้น มันอาจจะเหมาะกับผู้เลี้ยงที่กระตือรือร้นหรือครอบครัวที่มีเด็กโต
    • จอมอินดี้. ลูกสุนัขประเภทนี้ขี้เล่นและชอบเข้าหาคนอื่น แต่ก็สามารถนั่งเล่นหรือสนุกกับของเล่นของมันได้ตามลำพัง สุนัขประเภทนี้เหมาะกับบ้านที่เรียบง่ายและสงบสุข หรือเจ้าของที่สูงอายุ หรือไม่มีลูกหลานในบ้าน
    • จอมเอาใจ: ลูกสุนัขที่ขี้เอาใจอาจดูง่ายหน่อย โดยรวมแล้ว ใครไม่ชอบให้ลูกสุนัขที่ท่าทางกระตือรือร้นและมีชีวิตชีวาบ้างล่ะ แต่คุณจำเป็นต้องเลี้ยงมันอย่างเคร่งครัดและตรงไปตรงมากับสุนัขประเภทนี้ด้วย เพราะมันจะต้องการฝึกและกระตุ้นค่อนข้างมาก หากคุณฝึกมันอย่างดีและให้มีระเบียบวินัย สุนัขประเภทขี้เอาใจแบบนี้ จะเชื่องเป็นพิเศษ ลูกสุนัขประเภทนี้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับคนในครอบครัว
    • จอมชิล: ลูกสุนัขที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ดูฉลาดน้อยกว่าตัวอื่นในคอก แต่มันมักจะรักษาสมดุลระหว่างการเล่น การมีปฏิสัมพันธ์ และการนอนได้ดี พวกมันยังเหมาะสมกับคนเลี้ยงที่เรียบง่ายและสบายๆ จงเลือกลูกสุนัขประเภทนี้หากบุคลิกของพวกมันเป็นไปตามสายพันธุ์ของมัน และหากคุณกำลังมองหาลูกสุนัข เพื่อไปช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในบ้านที่มีเด็กโต
    • จอมเหนียม: หรือที่รู้จักกันดีในฐานะลูกสุนัขขี้อาย พวกมันเกิดมาโดยมีอีโก้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น พวกมันอาจจะหมอบลงกับพื้นเข้าหาคุณ หรือโก่งหลังของมันในท่าแบบยอมอ่อนข้อให้ คุณอาจจะหลงไหลในท่าทางที่น่ารักเหนียมอายของมัน แต่ลูกสุนัขประเทศนี้มักต้องการเวลา ในการที่จะบ่มเพาะความนับถือตัวเองให้จบมัน ผ่อนคลายเวลาอยู่กับคนอื่น พวกมันเหมาะสมกับเจ้าของที่เป็นโสด และมีเวลาในการใส่ใจและฝึกฝนพวกมันมากๆ ไม่ใช่ครอบครัวที่มีเด็กหลายคน
    • คุณต้องตระหนักด้วยว่า สายพันธุ์ของสุนัข ก็มีผลต่อนิสัยและประเภทของพวกมัน ลองพูดคุยกับคนที่เพาะเลี้ยงมันดู เพื่อจะได้เข้าใจว่าสายพันธุ์และนิสัยของมันแต่ละตัวสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด
  3. พยายามค้นหาลูกสุนัขที่ไม่บ้าพลังมากเกินไป แต่ก็ไม่ขี้อายเกินไปด้วย แม้ว่าคุณจะมีสเป็คอยู่ในใจแล้ว แต่ครอบครัวส่วนใหญ่จะเข้ากับลูกสุนัข ที่ทั้งไม่เอาแต่ใจเกินไปหรือขี้กลัวมากเกินไป คุณควรเลือกสุนัขแบบทางสายกลาง เอาตัวที่มีลักษณะดี ไม่กัดและไม่ขู่คำรามก็พอ คุณควรเลือกลูกสุนัขที่มีความมั่นใจพอที่จะวิ่งเข้าหาคุณและคนในครอบครัว โดยมีหูตั้งชันและหางแกว่งไปมาด้วยความตื่นเต้น [8]
    • อย่าพยายามบอกตัวเองว่า จะเลี้ยงลูกสุนัขขี้อายให้มีความกล้ามากขึ้นได้ เรื่องแบบนี้มันฝังอยู่ในพันธุกรรม ลูกสุนัขขี้อายย่อมโตมาเป็นสุนัขที่ขี้อาย ซึ่งยากที่จะอยู่ร่วมด้วย และอาจถึงกับหันมางับคุณเข้าให้ หากมันตกใจหรือรู้สึกไม่สบายใจ
  4. หลังจากที่คุณกลั่นกรองลูกสุนัขเหลือเพียงไม่กี่ตัวแล้ว ลองขอคนที่เพาะพันธุ์มันดูว่า อนุญาตให้คุณลองเล่นกับมันทีละตัวหรือไม่
    • ลองอุ้มลูกสุนัขแต่ละตัว กอดและประคองมันดู หากมันตอบสนองด้วยการร้องครางและพยายามดิ้น นั่นไม่ใช่สัญญาณที่ดี เพราะอาจจะมีปัญหาด้านพฤติกรรม สำหรับสุนัขที่แหยๆ หรือขี้อาย ในการที่จะให้ใครอุ้ม แต่หากมันดูขัดขืนเล็กน้อยในตอนแรก และมองดูคุณหรือยอมเชื่อใจในภายหลังไม่นานหนัก ก็พอจะถือเป็นสัญญาณที่ดี
    • ลองสัมผัสอุ้งเท้า ปากและใบหูของมัน เพื่อประเมินการตอบสนอง สุนัขที่ถูกอุ้มมาตั้งแต่เด็กๆ จะไม่ใส่ใจ หากคุณสัมผัสมันบริเวณดังกล่าว.
    • ลองนั่งหรือคุกเข่ากับพื้นและเรียกลูกสุนัขเข้าไปหาคุณ ลองดีดนิ้วหรือตกพื้นเบาๆ เพื่อเรียกความสนใจจากลูกสุนัข หากมันวิ่งเข้าหาคุณโดยเร็ว ก็แสดงว่ามันคุ้นเคยกับคน
    • ลูกสุนัขถูกดึงความสนใจได้ง่าย แต่ไม่ยอมเข้าหาคุณโดยทันที แสดงว่ามันอาจมีบุคลิกแบบอินดี้ แต่หากมันไม่ยอมเข้าหาคุณเลย ก็แสดงว่า มันอาจมีปัญหาในการสนิทกับผู้คน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การตรวจเช็คสุขภาพกายของลูกสุนัข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจเช็คลูกสุนัขแต่ละตัวเท่าที่เห็นอย่างคร่าวๆ. ลักษณะของพวกมันควรดูดีและแน่นกลม ไม่ถึงกับอ้วน และต้องไม่ผอม แม้แต่สายพันธุ์ที่ผอมอย่างเกรฮาวด์และวิปเพ็ทต์ ลูกสุนัขก็ยังควรมีลักษณะกลมมน จนกว่าจะถึงอายุประมาณ 4 เดือน
  2. ตรวจสอบดวงตา ใบหู เหงือก ฟัน และบั้นท้ายของลูกสุนัข. ลูกสุนัขที่มีสุขภาพดีจะมีดวงตาสดใส ปราศจากตะกอนและขี้ตา มันยังควรมีใบหูและเหงือกและฟันที่สะอาดด้วย [9]
    • ลูกสุนัขควรจะมีขนที่ส่องเป็นประกาย และไม่มีรอยเปื้อนหรือแผลเหวอะตามลำตัว หรือรอบบั้นท้าย
    • พวกมันยังไม่ควรมีคราบอุจจาระหรือปัสสาวะ รอบๆ อวัยวะเพศมันด้วย
  3. หลังจากที่คุณได้กลั่นกรองลูกสุนัขที่คุณชอบได้ 1 - 2 ตัวแล้ว ก็ควรทดสอบอีก 2 ประการ คือ การมองเห็นและการได้ยิน [10]
    • การทดสอบการได้ยิน ลองปรบมือของคุณข้างหลังหูของมัน และดูการตอบสนอง หรือลองกระทืบเท้าข้างหลังมัน หรือแกล้งทำกุญแจตกใกล้ๆ มัน จำไว้ว่า มันยากที่จะดูว่า ลูกสุนัขตัวไหนหูหนวก ในบริเวณที่เต็มไปด้วยสุนัขตัวอื่น ดังนั้น คุณควรทดสอบเรื่องนี้เวลาที่มันอยู่ลำพังหรือห่างไกลจากตัวอื่น
    • การทดสอบการมองเห็น ลองกลิ้งลูกบอลไปในรัศมีสายตาของลูกสุนัข และสังเกตการตอบสนองของมันว่า มันเข้าใกล้หรือเล่นกับลูกบอลไหม
  4. ลูกสุนัขที่มีสุขภาพดีจะหายใจเงียบๆ โดยไม่จามหรือหายใจฟึดฟัด และไม่ควรจะมีขี้มูกหรือสิ่งสกปรกในโพรงจมูกมัน
    • มันยังสำคัญที่คุณต้องเช็คดูลักษณะการเดินและวิ่งตามปกติของลูกสุนัขว่า ไม่มีอาการเป๋ หรือดูเหมือนเจ็บปวดและเกร็ง ซึ่งจะรับประกันได้ว่าพวกมันไม่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อหรือบั้นเอว ซึ่งอาจจะพัฒนาไปเป็นอาการที่รุนแรงตอนที่มันโตขึ้น [11]
  5. ทำได้โดยให้ลูกสุนัขมางับหรือเลียมือของคุณเล่น เวลาทีลูกสุนัขพยายามงับคุณแรงขึ้น ลองแกล้งส่งเสียง “โอ๊ย” ดังๆ จากนั้น ดูปฏิกริยาตอบสนองของมัน หากลูกสุนัขมีอาการตื่นเต้น คุณอาจต้องทดสอบอีกครั้ง ลองสังเกตดูว่า มันเข้าใจความเจ็บปวดของคุณและรู้สึกกังวลหรือกลัวมั้ย แทนที่จะรู้สึกตื่นเต้น [12]
    • อย่ากังวลไป หากลูกสุนัขสังเกตท่าทีของคุณ หยุดงับ และก็กลับมางับเล่นใหม่ มันเป็นธรรมชาติของลูกสุนัข
    • ลูกสุนัขที่ตอบสนองต่อคนและสุนัขตัวอื่น เวลาที่พวกเขาแสดงอาการเจ็บปวด มีแนวโน้มที่จะโตขึ้นไปเป็นสุนัขที่มีการควบคุมขากรรไกรได้ดี ซึ่งหมายความว่า สุนัขของคุณจะสามารถเล่นต่อสู้ได้ โดยไม่ทำให้คุณเจ็บ ถ้ายังจะสามารถรับอาหารจากมือของคนได้อย่างนุ่มนวล หรือเวลาเล่นกับคนทั่วไป
    • ลูกสุนัขที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวดของคุณ มีแนวโน้มจะเชื่อฟังมากกว่าด้วย หากคุณเป็นเจ้าของมัน
  6. พาลูกสุนัขไปหาสัตวแพทย์ หลังจากที่คุณพามันกลับบ้านสัก 2-3 วันแล้ว. อย่าลืมเอาข้อมูลการได้รับวัคซีนและยากำจัดพยาธิ รวมถึงการได้รับยาอื่นๆ ที่สุนัขตัวนี้เคยได้รับไปด้วย คนที่เพาะเลี้ยงมัน ควรจะมีเอกสารเหล่านี้ให้คุณ ตอนที่คุณซื้อลูกสุนัข [13]
    • คุยกับสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลและเอาใจใส่ลูกสุนัข
  7. วางแผนในการเอาลูกสุนัขเก็บไว้ที่บ้าน จนกว่ามันจะอายุ 12-16 สัปดาห์ ยกเว้นจะพาไปหาหมอ. ลูกสุนัขอาจจะได้รับภูมิคุ้มกันเชื้้อโรคจากแม่ของมัน แต่ในช่วงที่มันเติบโต จะมีช่องว่างทางภูมิคุ้มกันระยะหนึ่ง จนกว่ามันจะได้รับการฉีดยาหรือวัคซีนอีกครั้ง ดังนั้น คุณต้องรักษาสุขภาพให้พวกมัน โดยการจำกัดช่วงเวลาในการไปหาสัตวแพทย์ จนกว่ามันจะอายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การไปเลือกสุนัขจากคอกของมัน เป็นแค่ก้าวแรกในการดูแลและเป็นเจ้าของลูกสุนัข การดูแลมันอย่างถูกวิธี เป็นก้าวต่อไปที่สำคัญมาก พยายามพูดคุยเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการเป็นเจ้าของสุนัขที่ดี และหาข้อมูลเกี่ยวกับเคล็ดลับในการเลี้ยงสุนัขด้วยตนเอง คอยติดต่อสัตวแพทย์เข้าไว้ และอย่ากลัวที่จะถามคำถามเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกสุนัข
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,592 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา