ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
เสื้อชั้นในเป็นอะไรที่เรามักจะทึกทักกันไปเองเวลาซื้อว่านี่แหละไซส์เรา นี่แหละใช่แล้ว แต่การหาเสื้อชั้นในให้ถูกแบบนั้นทั้งช่วยเผยรูปร่างและความมั่นใจในตัวเองให้กับคุณด้วยนะ มันอาจต้องใช้เวลาสักหน่อยในการหาเสื้อชั้นในที่ใช่ แต่จำไว้เลยว่า คุ้มค่าแน่นอน และนี่คือคู่มือที่จะเอาไว้ช่วยหาบราที่ใช่สำหรับคุณเอง
ขั้นตอน
-
1หาขนาดรอบอกของคุณ. ใช้สายวัดมาวัดรอบชายโครงใต้ฐานอก จับสายวัดให้กระชับหน้าอก ปัดค่าที่วัดได้ไปยังค่าประมาณที่ใกล้ที่สุด 1 inch (2.5 cm) แล้วเพิ่ม 4 inches (10 cm) ถ้ามันเป็นค่าเลขคู่ และ 5 inches (13 cm) ถ้ามันเป็นเลขคี่ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่าง ถ้าคุณวัดได้ 31 inches (79 cm) ขนาดรอบอกของคุณคือ 36
- ต้องวัดแน่นๆ เพราะคุณต้องให้ฐานรอบอกของบรากระชับตัว
-
วัดรอบๆ เต้านมในส่วนที่อิ่มที่สุด บริเวณเหนือหัวนม. ใช้สายวัดโอบรอบเต้าส่วนที่อิ่มที่สุด เพื่อสายวัดจะวัดผ่านตรงหัวนมไปด้วย อย่าดึงสายรัดจนตึง [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ถ้าไม่ได้ค่าเป็นนิ้วพอดี ให้ปัดเศษ
-
3เอาขนาดรอบอกไปลบจากขนาดเต้านมเพื่อหาขนาดคัพ. ขนาดคัพนั้นมาจากความแตกต่างระหว่างขนาดรอบอกกับขนาดเต้านมแทนที่จะเป็นเฉพาะเต้านมอย่างเดียว สำหรับค่าความแตกต่างทุก 1 inch (2.5 cm) ให้เพิ่มขนาดของคัพขึ้น ตัวอย่าง: [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ความแตกต่าง 0 inches (0 cm) คือคัพ AA
- ความแตกต่าง 1 inch (2.5 cm) คือคัพ A
- ความแตกต่าง 2 inches (5.1 cm) คือคัพ B
- ความแตกต่าง 3 inches (7.6 cm) คือคัพ C
- ความแตกต่าง 4 inches (10 cm) คือคัพ D
- ถ้าขนาดคัพของคุณใหญ่กว่าคัพ D ผู้ผลิตบราจะแบ่งขนาดต่างกันออกไป ฉะนั้นคุณอาจต้องลองก่อนซื้อ [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
รู้ว่าขนาดคัพนั้นต่างจากขนาดรอบอก. เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ว่าขนาดของคัพนั้นจะใหญ่ขึ้นไปพร้อมๆ กับรอบอก โดยเป็นไปในทางกลับกัน ตัวอย่างเช่น ไซส์ 36 คัพ C นั้นใหญ่กว่าไซส์ 34 คัพ C ฉะนั้น:
- ถ้าคุณต้องการลองเสื้อชั้นในที่มีขนาดรอบอกเล็กลง ก็ต้องแทนที่ด้วยการเพิ่มขนาดคัพ เช่น ถ้าคุณรู้สึกว่าบราขนาดรอบอก 36 คัพ B หลวมเกินไป ให้ลองสวมบราขนาดรอบอก 34 คัพ C แทน
- และถ้าคุณต้องการลองเสื้อชั้นในที่มีขนาดรอบอกใหญ่ขึ้น ก็ต้องเลือกแบบที่คัพเล็กลง เช่น ถ้าเสื้อชั้นในขนาดรอบอก 34 คัพ B มันแน่นเกินไปตรงช่วงรอบอก ก็ให้ลองแบบรอบอก 36 คัพ A ดู
-
สวมบราที่บริเวณเอวแล้วดึงขึ้นเฉพาะข้างหน้า. ดึงข้างหน้าขึ้นให้มากสุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ให้มันเลื่อนขึ้นไปบนหน้าอกของคุณ
- วิธีนี้จะช่วยให้มั่นใจว่าเสื้อชั้นในข้างหลังจะอยู่ต่ำๆ เพื่อการรองรับที่เหมาะสม
- มันจะช่วยให้มั่นใจอีกเช่นกันว่ามันขึ้นไปอยู่ข้างหน้า อย่างที่คุณอยากให้มันอยู่ตรงนั้น
-
รีดเนื้อไปข้างหน้า และปาดเนื้ออ่อนๆ ไปข้างหน้า. เริ่มจากเนื้อหลังรักแร้ และดันออกไปให้มากสุดเท่าที่จะทำได้ในทรงเสื้อชั้นใน
- เนื้อบริเวณเต้านมนั้นมีความนุ่มนิ่ม และถ้าใส่บราได้เข้าที่แล้ว ก็ควรปล่อยมันเอาไว้แบบนั้น
- จับด้านหน้าของเสื้อชั้นในเอาไว้แล้วเขย่ามันเล็กน้อยให้ทุกอย่างเข้าที่ลงตัว
-
รู้ว่าอกและเต้านมควรอยู่แถวไหน. ด้วยเสื้อชั้นในที่พอดี ยอดอกของคุณควรอยู่กึ่งกลางระหว่างข้อศอกและไหล่
-
อย่ารัดสายเข้าแน่นเกินไป. การรัดแน่นเกินไปจะทำให้การสวมใส่เสื้อชั้นในไม่ค่อยสบาย ทั้งนี้จะส่งผลต่ออารมณ์และท่าทางของคุณด้วย
- อย่ารัดสายแน่นมากไป เพราะมันจะไปกดบริเวณไหล่ของคุณ และเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณหลังค่อมในภายภาคหน้าได้
- อย่ารัดสายแน่นไป เพราะมันจะดึงให้เสื้อชั้นในข้างหลังยกขึ้นสูง ควรปล่อยให้ข้างหลังต่ำเข้าไว้ เพื่อการรองรับข้างหน้าที่เพียงพอ
- ตอนที่ลองบราก่อนที่จะซื้อ ให้เกี่ยวตะขอที่อยู่นอกสุด มันจะช่วยให้ชุดชั้นในกระชับขณะที่ยืดออกเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว
-
ไปลองชุดชั้นในให้พอดีบ่อยๆ โดยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ. ขนาดหน้าอกของคุณมีสิทธิ์เปลี่ยนไปตามสรีระอื่นๆ ของร่างกายคุณ
- ไปลองชุดชั้นในทุกครั้งที่คุณน้ำหนักลดหรือเพิ่มมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน อย่างการตั้งครรภ์หรือรับประทานยาที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ร้านขายชุดชั้นในสตรีและตามห้างสรรพสินค้ามักมีบริการให้ลองชุดชั้นในโดยผู้เชี่ยวชาญโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- อย่าอายไปเลยน่า! ผู้เชี่ยวชาญหญิงเหล่านี้มักจะใจดีและมีความเชี่ยวชาญ แล้วก็เคยเห็นอะไรทำนองนี้มาแล้วทั้งนั้น [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ลองไปลองที่ร้านที่มีชุดชั้นในให้เลือกขนาดรอบอกและคัพที่หลากหลาย ไม่อย่างนั้นคุณอาจถูกจำกัดให้ซื้อแค่ไซส์ที่ร้านนั้นๆ มีขายเท่านั้น
-
หาซื้อยี่ห้อที่ดี. ในขณะที่เสื้อชั้นในมีขายตามท้องตลาดทั่วไป ร้านค้ามักจะมีไซส์แบบ“ฟรีไซส์“ ควรหาร้านหรือยี่ห้อที่มีเสื้อชั้นในแบบเฉพาะที่เข้ากับรูปร่างของคุณ
- ถ้าคุณไม่ค่อยมีเวลาไปเดินห้างฯเท่าไรนัก ให้ลองไปร้านขายชุดชั้นในสตรีหรือซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้
- อย่าเครียดและกดดันจนเลือกซื้อเฉพาะกับร้านใดร้านหนึ่งหรือคนขายคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ยังมีตัวเลือกอีกมากมายเลยนะ!
-
คำนวณเงินก่อนตัดสินใจซื้อ. เสื้อชั้นในอาจมีราคาแพง แต่การที่ใส่ได้พอดีกับตัวย่อมสำคัญกว่าราคาที่ถูกกว่า
- บราที่ใส่แล้วไม่พอดีกับตัวนั้นไม่คุ้มที่จะซื้อหรอก มันจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายทั้งกายและใจเลย
- ถ้าเป็นไปได้ มีเสื้อชั้นในไว้ในตู้เสื้อผ้าเป็นจำนวนน้อยก็จะดี โดยซื้อเสื้อชั้นในอเนกประสงค์ อย่างแบบที่ “ปรับได้” หรือแบบที่ถอดสายออกได้ และนึกถึงสีของเสื้อผ้าที่คุณมีอยู่ แล้วซื้อเสื้อชั้นในให้สีเข้ากันดูสิ
-
ลองสวมเสื้อชั้นในทุกครั้งก่อนจะจ่ายเงินซื้อ. เรื่องไซส์มันก็แค่จุดเริ่มต้น เพราะไซส์ของเสื้อชั้นในนั้นมีความแตกต่างกัน และเสื้อชั้นในทุกตัวก็มีความเข้ารูปต่างกันเล็กน้อย สละเวลาลองสวมในร้านสักหน่อย เพื่อให้มั่นใจว่านี่แหละ เสื้อชั้นในที่เหมาะสมกับคุณ
- ตอนที่กำลังซื้อเสื้อชั้นในอยู่นั้น ให้วางแผนเวลาการซื้อให้พอกับการเลือกและลองชุดชั้นใน อย่าเครียดไปถ้าคุณยังไม่เจอแบบที่พอดีกับตัวในตอนนั้น
- ถ้าคุณซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ขอให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ที่คุณสั่งมานั้นมีการประกันคืนของอย่างเป็นธรรม
-
รู้ว่าเสื้อชั้นในแบบไหนเข้ากับรูปร่าง. รูปร่างของทรวงอกและสรีระของคุณนั้นไม่ใช่จะซ้ำกับใครง่ายๆ ขึ้นอยู่กับสัดส่วนเฉพาะตัว รูปแบบที่ดูดีกับคุณมากกว่าแบบอื่นๆ
- เสื้อชั้นในของคุณจะดูดีขึ้นอีกถ้ามันเข้ากับสรีระทั้งตัวของคุณ และจะเป็นการดีถ้าไหล่ของคุณดูกว้างเท่ากับสะโพกของคุณ
- ถ้าคุณเป็นคนไหล่กว้าง ลองหาเสื้อชั้นในที่มีสายรัดแคบ และรูปแบบค่อนข้างดึงมาตรงกลาง
- ถ้าคุณเป็นคนไหล่แคบ ให้เลือกเสื้อชั้นในที่ขยายเส้นแนวขวางบริเวณเนื้ออกให้กว้างขึ้น
- ถ้าคุณเป็นคนมีเนื้ออกน้อย เสื้อชั้นในแบบที่ดึงมาตรงกลางหน่อยจะช่วยเพิ่มเนื้ออกให้คุณ
- ลองดูว่ารูปร่างหน้าอกคุณเป็นอย่างไร หน้าอกนั้นมีรูปร่างหลายแบบหลายขนาด โดยหาดูลักษณะรูปร่างของหน้าอกของคุณได้ตามคู่มือในอินเทอร์เน็ต
-
ลองหมุนตัวไปมา เพื่อให้แน่ใจว่าบรายังเกาะอยู่ดี. ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะแล้วหมุนเอวไปทางซ้ายสลับกับขวา
- เสื้อชั้นไม่ควรเลิกขึ้นข้างบนหรือรู้สึกรัดแน่นเกินไปเมื่อทำแบบนี้ ถ้าเสื้อชั้นในเริ่มไหล ให้ลองไซส์ที่เล็กลง และถ้ารู้สึกว่ามันรัด ก็แปลว่าแน่นเกินไป
- ถ้าคุณกำลังลองเสื้อชั้นในแบบสปอร์ตบรา ให้ย่ำเท้าวิ่งกับที่หรือกระโดดขึ้นลงเพื่อทดสอบว่ามันสามารถควบคุมการ’เด้ง’ได้อย่างดี
- โน้มตัวไปข้างหน้า ถ้าหน้าอกของคุณโผล่ออกจากเสื้อชั้นใน แปลว่ามันไม่พอดีตัวนะ
-
ปรับแต่งเสื้อชั้นในถ้าจำเป็น. มีตัวช่วยเสริมมากมายที่ช่วยให้เสื้อชั้นในของคุณใส่สบายยิ่งขึ้น
- ทุกๆ คนจะมีหน้าอกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างอยู่แล้ว ปรับความยาวของสายแต่ละข้างให้ได้ความยาวที่เหมาะสม และตัดสินใจในการเสริมหน้าอกด้านใดด้านหนึ่ง
- ถ้าเสื้อชั้นในส่วนแถบรอบตัวแน่นเกินไป ลองซื้อส่วนขยายเสื้อชั้นในมาก็ได้
- ถ้ารู้สึกเจ็บไหล่จากที่สายเสื้อชั้นในรัดไหล่ คุณอาจต้องลองใช้แผ่นรองสายเสื้อชั้นในก็ได้
- ถ้าสายเสื้อชั้นในชอบหลุดออกจากไหล่ ให้ใช้คลิปในการรวบมันไว้ด้วยกันข้างหลัง
-
เข้าใจถึงสรีระของตัวเอง. ถ้าคุณไม่พอใจกับรูปร่างตัวเอง การไปซื้อเสื้อชั้นในอาจเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่า ร่างกายของพวกเราทุกคนนั้นต่างไม่เหมือนกัน แต่เสื้อชั้นในเป็นสินค้าตลาด ฉะนั้นมันจึงไม่อาจดูดีบนร่างกายของคนทุกคนได้
- จำไว้ว่าแม้จะมีร่างกายที่สมบูรณ์แบบ (ถ้ามันมีจริงๆ น่ะนะ) เสื้อชั้นในที่ไม่พอดีตัว ใส่ไม่สบาย ก็ทำให้ลำบากพอตัวเลยล่ะ
- ถ้ามีอะไรบางอย่างที่ไม่พอดีกับคุณ จำไว้ว่าก็ยังมีอย่างอื่นให้คุณใส่ได้ อย่าตัดสินตัวเองอย่างผิวเผินไปเลย
- ถ้าคุณหาบราใส่ลำบาก ไม่ใช่ว่ารูปร่างคุณไม่สวยหรือประหลาดหรอกนะ คุณก็แค่แตกต่างเท่านั้น
-
รู้จักแต่ละส่วนของเสื้อชั้นใน. [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เพื่อที่จะหาสาเหตุว่าตรงส่วนไหนของชุดชั้นในที่พอดีหรือไม่พอดี ต้องรู้ถึงส่วนต่างๆ ของชุดชั้นในด้วยนะ
- ส่วนคัพ: ส่วนที่หน้าอกของคุณใส่เข้าไปในนั้นนั่นแหละ มักทำมาจากผ้ายืด และอาจมีถึงสามตะเข็บด้วยกัน
- ส่วนแถบรอบตัว: เป็นส่วนที่ยืดหยุ่น ซึ่งจะอยู่รอบตัวส่วนอกของคุณ
- ส่วนแถบเชื่อม: เป็นส่วนหนึ่งของแถบรอบตัว ที่จะเริ่มตั้งแต่ด้านข้างของคัพไปถึงส่วนที่เป็นตะขอด้านหลัง
- ส่วนสายเสื้อชั้นใน: จะอยู่รอบไหล่ของคุณ และมักจะปรับสายได้ บางครั้งก็จะมีแผ่นรองกันเจ็บอยู่ด้วย
- ส่วนตะขอ: มักจะเป็นตะขอและที่เกี่ยวอยู่ด้านหลัง แต่ก็สามารถอยู่ด้านหน้าได้ หรืออาจไม่มีเลยก็ได้
- ส่วนตัวเชื่อมกลาง: เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างส่วนคัพทั้งสองด้านหน้า
-
นับจำนวนหน้าอกของคุณ. ถ้าเกิดมันโผล่ขึ้นมาเหมือนคุณมีเต้านมสี่เต้า คุณกำลังเผชิญกับ “ภาวะหน้าอกล้น“
- นั่นแสดงให้เห็นว่าส่วนคัพของเสื้อชั้นในเล็กเกินไป และไม่มีพื้นที่พอสำหรับเต้านม
- มันจะยิ่งเห็นชัดขึ้น ถ้าคุณลองใส่เสื้อทับอีกที
-
ตรวจสอบดูว่าเสื้อชั้นในไม่เลื่อนขึ้นเหนือหน้าอกคุณ. ถ้ามันเลื่อน อาจแปลว่าส่วนแถบรอบตัวนั้นหลวมเกินไป
- ลองยกแขนขึ้นทั้งสองข้าง แล้วโน้มตัวไปข้างหลังเล็กน้อยเพื่อทดสอบดูว่ามันเลื่อนหรือไม่
- จำไว้ว่าเมื่อรอบอกเพิ่มขึ้น ขนาดคัพก็ต้องลดลง
-
ตรวจสอบว่าส่วนตัวเชื่อมกลางด้านหน้าราบเรียบดี. ถ้ามันไม่ราบไปกับอก แปลว่าเสื้อชั้นในตัวนั้นไม่พอดีกับตัวคุณ
- มันอาจเป็นเพราะส่วนโครงที่รองรับหน้าอกมีรูปร่างไม่เข้ากันกับหน้าอกของคุณ
- เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นด้วยว่าขนาดคัพใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไปอย่างใดอย่างหนึ่ง
-
ตรวจสอบว่าส่วนแถบรอบตัวไม่หลวมไปด้านหลังหรือรัดด้านข้างของคุณ. คุณควรสอดนิ้วเลื่อนไปรอบๆ ใต้ขอบผ้าได้
- ถ้าคุณสามารถดึงมันไปข้างหลังได้เป็นระยะไกลกว่านิ้วสองนิ้ว แปลว่ามันหลวมเกินไป
- ถ้าส่วนแถบรอบตัวรัดด้านข้างแน่นเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บหลังจากที่ใส่อยู่ แปลว่าแถบนั้นเล็กเกินไป
- ถ้าแถบรอบตัวลอยขึ้น ให้ลองคลายสายเสื้อชั้นในดู ถ้าไม่ได้ผล แปลว่าแถบรอบตัวนั้นใหญ่เกินไป
-
จำไว้ว่า “เนื้อส่วนเกินด้านหลัง” นั้นมีอยู่เป็นเรื่องปกติ. ไม่ได้หมายความว่าแถบรอบตัวแน่นเกินกว่าที่ควรจะเป็นเสมอไป
- หรือว่าจะลองหาเสื้อชั้นในที่มีแถบรอบตัวกว้างขึ้น หรือเป็น“แถบแนบเนื้อ”แทน เพื่อให้สบายตัวขึ้นก็ได้
- ถ้าแถบรอบตัวไม่ได้ทำให้คุณเจ็บ ก็อย่าเพิ่มขนาดมัน ไม่อย่างนั้นเสื้อชั้นในอาจพยุงหน้าอกได้ไม่ดีพอ
- การเกิดเหตุการณ์แบบนี้แสดงให้เห็นได้เช่นกันว่าขนาดของคัพนั้นเล็กเกินไป [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ทางแก้ไขอีกทางหนึ่งคือ ให้ใส่เสื้อชั้นในที่เข้ารูปไปเลย
-
ตรวจดูให้แน่ใจว่าส่วนของคัพไม่โหวงหรือไม่มีช่องว่างด้านบน. นั่นอาจหมายถึงไซส์ของคัพที่เล็กเกินไป รูปแบบไม่พอดีตัว หรืออาจยังใส่เสื้อชั้นในไม่ถูกต้องก็เป็นได้
- ลองขยับลองโกยหน้าอกเพื่อให้มันอยู่ตรงกึ่งกลางของส่วนคัพดู
- เสื้อชั้นในตัวนี้อาจไม่เข้ากับรูปหน้าอกของคุณ
- ถ้าหน้าอกส่วนล่างของคุณดูอวบอิ่มกว่าด้านบน คุณอาจต้องเปลี่ยนรูปแบบของเสื้อชั้นใน อย่างเช่น “เสื้อชั้นในครึ่งเต้า” หรือ “เสื้อชั้นในแบบลาดเอียง”
-
ลองดูว่าสายเสื้อชั้นในไม่รัดไหล่ของคุณจนจมลงไป. ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บ รวมถึงปัญหาอื่นๆ
- สายเสื้อชั้นในที่จมลงไปในไหล่ของคุณจะทำให้เกิดผลเสียระยะยาว อย่างเช่น ปวดหัว ปวดหลัง รอยทาบที่ติดตัวเป็นแผลเป็น หรือแม้กระทั่งความเสียหายของเส้นประสาทก็ตาม
- ลองหาเสื้อชั้นในที่มีสายกว้าง มีแผ่นรองรับ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนหน้าอกใหญ่
- การเจ็บไหล่อาจบ่งบอกว่าแถบรอบตัวอาจใหญ่ไป และไม่มีการรองรับที่ดีพอ ซึ่งการรองรับควรมาจากแถบรอบตัว ไม่ใช่สายเสื้อชั้นใน
-
ดูว่าสายเสื้อในไม่ตกจากไหล่. ถ้าคุณปรับสายแล้วแต่มันก็ยังตกลงมาอยู่ดี ให้ลองเสื้อชั้นในตัวอื่นซะ
- ผู้หญิงตัวเล็ก และผู้หญิงที่มีไหล่ลาดมักเจอกับปัญหานี้กันบ่อยๆ
- ขอให้แน่ใจว่าได้ปรับสายเสื้อชั้นในให้เข้าใกล้กันพอและสายเสื้อในควรเป็นแบบปรับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
-
ดูว่าเสื้อชั้นในมีโครงนั้นใส่สบายหรือไม่. โครงของเสื้อชั้นในที่พอดีจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัว
- ถ้าส่วนคัพเล็กเกินไป ส่วนที่เป็นโครงก็จะไม่พอดีกับใต้ทรวงอกของคุณ
- เช่นเดียวกันที่หน้าอกของคุณไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างเข้ากับโครงของเสื้อชั้นในยี่ห้อนั้นๆ เสมอไป
- คุณอาจมีปัญหาในการสวมเสื้อชั้นในที่มีโครง ถ้าคุณเป็นคนที่ซี่โครงใหญ่อยู่แล้ว
- เสื้อชั้นในมีโครงนั้นไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์หรือเพิ่งได้รับการผ่าตัดมา
- เงื่อนไขการรักษาทางการแพทย์ทางชนิดอาจทำให้ไม่เหมาะกับการใส่เสื้อชั้นในมีโครงนัก
- เสื้อชั้นในที่ไม่มีโครงก็สามารถรองรับหน้าอกคุณได้เช่นกัน แม้ว่าคุณจะมีหน้าอกที่ใหญ่ก็เถอะ ถ้าหากสวมได้พอดีตัวก็ถือว่าใช้ได้แล้ว
เคล็ดลับ
- ก่อนที่จะเริ่มซื้อเสื้อชั้นใน ให้ลองโดยต้องถอดเสื้อออกก่อน ถือเป็นวิธีที่ดีที่จะตรวจสอบถ้าหากว่าเห็นตะเข็บหลุดลุ่ยออกมา หรือว่าคุณอาจไม่ชอบรูปแบบของมันก็ได้
- หลังจากที่ได้ลองสวมเสื้อชั้นในแล้ว ให้ดูว่าชอบอันไหน จำรูปแบบและยี่ห้อไว้ เพื่อที่วันหลังจะได้กลับมาซื้ออีก
- หาซื้อเสื้อชั้นในที่เป็นผ้าฝ้ายเพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าขนาดเท่านี้ รูปแบบนี้ และความรู้สึกพอดีเหล่านี้ทำให้คุณสวมใส่มันได้สบายอย่างแท้จริง
คำเตือน
- ขอให้ระวังเสื้อชั้นในที่มีวัสดุที่คุณมีอาการแพ้ ที่คุณอาจไม่ได้ระมัดระวังตอนที่ซื้อมันมา ถ้าหากว่าคุณเคยมีอาการบวม (เหมือนโรคลมพิษ) หรือคันมากๆ คุณอาจแพ้นิกเกิลหรือพลาสติกในเสื้อชั้นในก็เป็นได้ จำเอาไว้ว่าอาการแพ้เกิดขึ้นบริเวณไหน และให้ระวังอย่าเลือกวัสดุชนิดนั้นในการซื้อเสื้อชั้นในครั้งต่อไป ถ้าหากเกิดอาการแพ้ ให้รับประทานยาแก้แพ้ (ยาไดเฟนไฮดรามีน) หรือในกรณีที่อาการหนักมาก ก็ให้ไปพบแพทย์ฉุกเฉิน
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.realsimple.com/beauty-fashion/clothing/shopping-guide/how-to-measure-bra-size?slide=126291#126291
- ↑ https://www.realsimple.com/beauty-fashion/clothing/shopping-guide/how-to-measure-bra-size?slide=126291#126291
- ↑ https://www.realsimple.com/beauty-fashion/clothing/shopping-guide/how-to-measure-bra-size?slide=56307#56307
- ↑ http://www.wizardofbras.com/fittingschool.aspx
- ↑ http://www.goodhousekeeping.com/beauty/fashion/best-bra-guide-0800-2
- ↑ http://www.wizardofbras.com/fittingschool.aspx
- ↑ http://www.wizardofbras.com/fittingschool.aspx
- ↑ http://www.wizardofbras.com/fittingschool.aspx