ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เคยลังเลไหมว่าจะพูดอะไรดี เวลาเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือคนในครอบครัวบอกคุณว่าเขากำลังเจ็บป่วย เรียกว่าเป็นสถานการณ์ชวนอึดอัดใจ ต้องมีคิดมากเป็นธรรมดา เพราะกลัวจะทำให้อีกฝ่ายไม่สบายใจเอา ยังไงขอแค่คุณเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นห่วงเขาแบบจริงใจ เขาต้องรับรู้แน่นอน บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเลือกคำพูดที่เหมาะสมเวลาพูดคุยกับคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยให้คุณเอง รวมถึงวิธีปฏิบัติตัวหลังรับรู้เรื่องอาการป่วยไข้ของเขาด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ควรพูดอะไรกับคนที่ไม่สบาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียกว่าเป็นประโยคตอบรับที่เป็นห่วงเป็นใยและสมเหตุสมผล เวลามีคนเล่าว่าเขาเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นคำพูดเล็กๆ น้อยๆ แต่สื่อให้รู้ว่าอยากให้เขารู้สึกดีขึ้น และคุณใส่ใจเขา พยายามพูดให้จริงจังและจริงใจเข้าไว้
    • ถ้าอยากให้เขารู้มากๆ ว่าคุณเป็นห่วง ก็พูดประมาณว่า “พักผ่อนเยอะๆ นะ มีอะไรบอกเราได้ตลอดเลย”
    • ถ้าอยากเปิดประเด็นชวนคุย ลองพูดว่า “เข้าใจเลย เราเคยเป็นโรคนี้มาก่อน ถ้าไม่เป็นเองจะไม่รู้เลยว่ามันทรมานมากๆ”
    • แต่ถ้าไม่รู้อาการของเขาแน่ชัดว่าหนักหนาแค่ไหน และเขาเองก็ไม่ได้เล่า ก็อย่าไปลงลึกอะไรมาก
  2. “ไม่เป็นไรนะ เราอยู่นี่แล้ว มีอะไรบอกเรานะ”. ถ้าเป็นคนสำคัญในชีวิต ก็ทำให้เขามั่นใจเลยว่าคุณพร้อมจะเคียงข้างดูแล เขาอาจจะบอกว่าไม่เป็นไร เขาดูแลตัวเองได้ แต่อย่างน้อยเขาก็เห็นความจริงใจของเรา และถึงจะเป็นแค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราทำให้ เขาก็ชื่นใจแน่นอน
    • ถ้าต้องพูดเป็นทางการหน่อยกับพนักงาน นักเรียน หรืออื่นๆ อาจจะพูดประมาณว่า “ถ้ามีอะไรที่ผมพอช่วยได้ บอกได้นะครับ”
    • ถ้าอยากพูดตรงๆ อย่างเป็นมิตร ก็บอกว่า “มีอะไรจะให้เราช่วย บอกเลยนะ อย่าเกรงใจ”
    • ถ้าเป็นเพื่อนสนิทกัน ก็บอกว่า “อยากกินไรมั้ย เราหาให้ได้ทุกอย่างเลย พักเยอะๆ”
    • ถ้าไม่สนิทกัน ไม่ต้องพูดอะไรมากจะดีกว่า อย่างถ้าเป็นเพื่อนร่วมชั้น แค่เคยเห็นหน้ากัน บังเอิญทำงานกลุ่มกันครั้งสองครั้ง หรือคนรู้จักที่ทำงาน ก็แค่บอกว่าหายเร็วๆ นะครับนะคะก็พอ อย่าไปลงลึกหรือแสดงความเป็นห่วงเป็นใยมากไป โดยเฉพาะถ้าไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริงๆ
  3. . ถ้าสนิทกัน ก็พูดแบบใส่พลังให้ทั้งกำลังใจและความร่าเริงได้ เป็นเหมือนการเชียร์ให้เขารู้สึกดีขึ้น ยิ่งถ้าทำให้เขายิ้มได้ เขายิ่งมีกำลังใจ แซวๆ กันก็ได้ แต่ขอให้คิดถึงใจเขาและพร้อมเป็นกำลังใจ ถ้าเขาไม่ได้เป็นโรคร้าย เขาจะมีกำลังใจขึ้นแน่นอน คำพูดที่หยิบยกไปใช้ได้ก็เช่น
    • “เซ็งจัง คนคูลๆ แบบแกป่วยได้ไงวะ!”
    • “หายเร็วๆ นะ โคตรเบื่อ ไม่มีใครตบมุกโบ๊ะบ๊ะกันเหมือนเดิมเลย”
    • “มาชิงป่วยคนเดียวได้ไงเนี่ย แล้วเราจะไปค่ายกับใคร! บ้า ล้อเล่น ถ้ายังไม่หาย ห้ามมาโรงเรียนนะ เป็นห่วง!”
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ควรพูดอะไรกับคนที่อาการหนัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. “ถ้าทำแบบนั้นจะสบายขึ้นไหมคะ หนูช่วยได้นะคะ”. จริงใจและหมายความตามที่พูดจริงๆ เช่น “จริงๆ นะคะ หนูช่วยได้ มีอะไรบอกได้เลยค่ะ” พยายามพูดเฉพาะอะไรที่รู้สึกตามนั้นและทำได้จริงๆ ถึงการพูดให้กำลังใจจะเป็นเรื่องดี แต่การกระทำเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยเหลืออีกฝ่ายได้จริงสำคัญกว่า [1] อาจจะพูดประมาณ
    • “คือบางคนเขาก็พูดไปแบบนั้น ว่า ‘มีอะไรให้ช่วยก็บอกนะ’ แต่เราพูดจริงๆ นะ ถ้าเราช่วยอะไรได้บอกเราเลย”
    • “ถ้ามีอะไรที่เราช่วยได้ อยากให้เราทำ บอกได้เลยนะ จะดูหมาให้ ขับพาไปไหน บอกได้ทันทีเลย”
    • “เราเคยเบิกประกันตอนป่วยล่าสุด ถ้าสงสัยตรงไหนเรื่องเอกสารหรือติดต่อประกัน บอกเราได้เลย เดี๋ยวเราทำให้”
    • แต่บางทีคนป่วยเขาก็ไม่อยากให้ไปยุ่งมาก แบบนั้นต้องเคารพการตัดสินใจของเขา อย่าล้ำเส้น ถ้าเขาอยากได้กำลังใจหรืออยากให้ช่วย เขาจะบอกคุณเอง
  2. ถ้าไม่รู้จะพูดอะไรดี บางทีความจริงใจสำคัญที่สุด โดยเฉพาะถ้าอีกฝ่ายป่วยเป็นโรคร้าย บางทีไม่ต้องพูดอะไรเลยเขาอาจจะสบายใจกว่า แต่ก็ไม่ผิดถ้าคุณจะพูดตรงๆ กับคนป่วย เพราะบางคนเขาก็ว่าดีกว่าให้กำลังใจกันลมๆ แล้งๆ โดยเฉพาะมาบอกให้หายเร็วๆ [2] ประโยคที่น่าจะพูดได้ก็เช่น
    • “เราขอโทษจริงๆ เราพูดไม่ออกเลย ไม่รู้จะพูดยังไงจริงๆ”
    • “ขอเวลาเราตั้งสติหน่อยนะ มันกะทันหันมากเลย”
    • “เราไม่คิดเลยจริงๆ ตกใจมากเลย ไม่รู้จะพูดยังไงดี”
  3. . คำถามอย่าง “ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง โอเคไม่โอเคตรงไหน?” เหมือนบอกให้เขารู้ว่าคุณพร้อมรับฟัง เปิดอกมาได้ถ้าเขาพร้อม เขาอาจจะรู้สึกอาย เจ็บปวด เศร้าซึม ไม่รู้จะบอกเล่าใครดี จะด้วยความเกรงใจหรืออะไรก็ตาม ถ้าคุณถามไปสั้นๆ แบบจริงใจ เป็นคำถามปลายเปิด ถ้าเขามีอะไรในใจก็คงระบายกับคุณเอง [3] คำพูดอื่นๆ ก็เช่น
    • “ตอนนี้โอเคมั้ย?”
    • “เป็นยังไงบ้าง?”
    • หรือจะพูดตรงกว่านั้น ถ้าเป็นเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว เช่น “ถ้าปวดมาก อยากตะโกน ร้องไห้ หรืออะไรก็ไม่เป็นไรนะ เรารับได้ ขอให้เธอสบายก็พอ ไม่ต้องคิดอะไรเยอะแยะ อยากจะทำอะไรก็ทำเลย”
  4. . ถ้าเขากำลังปวดกายปวดใจ คงจะดีถ้าได้รู้ว่าเขาสำคัญกับใครสักคน แถมการพูดคุยกันแต่เรื่องดีๆ ยังช่วยเยียวยาคนที่กำลังเจ็บป่วยได้ไม่มากก็น้อย [4] ลองพูดประมาณว่า
    • “รักคุณนะ”
    • “คิดเรื่องคุณอยู่ตลอดเลย ถ้าคุณเป็นอะไรไปผมอยู่ไม่ได้แน่”
    • “ถ้าเธอไม่อยู่ เราจะทำยังไง”
  5. ถ้าเขาธรรมะธัมโมหน่อย ก็บอกว่า “จะสวดภาวนาให้”. บอกว่าจะสวดภาวนา หรือทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรของเขา แล้วแต่ศาสนาที่เขานับถือ ถ้าเขาตั้งใจจะปฏิบัติอยู่แล้ว ก็ทำเป็นเพื่อนกันเลย ถ้าเขาอยากไปศาสนสถานก็อาจจะอาสาพาไปให้ [5]
    • เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ถึงคุณจะไม่ได้นับถือหรือศรัทธาอะไรเป็นพิเศษ แต่ถ้าเขานับถือศรัทธา การกระทำของคุณจะมีความหมายต่อเขามากเลย
  6. . คนป่วยโดยเฉพาะถ้าต้องแยกพักรักษาตัวนานๆ จะเหงาน่าดู ถ้าเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว ต้องหมั่นแวะไปพูดคุยถามไถ่ ยิ่งถ้าเป็นเพื่อนสนิท วันสองวันควรได้คุยกันสักครั้ง ถ้าเป็นญาติที่ไม่ได้ใกล้ชิดสนิทสนม อาจจะโทรหรือส่งข้อความหาทุกอาทิตย์หรือนานกว่านั้นก็ได้ ขอแค่ให้เขารู้ว่าคุณไม่ได้ลืมเขา [6] อาจจะพูดประมาณว่า
    • “คิดถึงจัง เป็นยังไงบ้าง?”
    • “เป็นยังไงบ้าง? พอดีเห็นอะไรแล้วนึกถึงขึ้นมา”
    • “สะดวกวันไหน อยากแวะไปหาจัง? อยากเจอแล้ว”
    • “ไงจ๊ะ! เป็นไงบ้าง? แชทกันหน่อยมั้ย?”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

คำพูดที่ควรและไม่ควรใช้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจจะฟังดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ถ้าเขาเล่าอะไรก็เพราะเขาอยากระบายให้ใครสักคนฟัง คุณอาจจะร้อนรน คิดว่า ต้องทำอะไรสักอย่าง ซึ่งก็ดี แต่จริงๆ เขาอาจจะแค่อยากระบายให้ฟังอย่างเดียว อย่างน้อยก็ครั้งแรกที่เขาเปิดใจพูดถึงอาการป่วยของตัวเอง [7]
    • ให้เขากำหนดทิศทางของบทสนทนา ถ้าเขาอยากลงลึกเรื่องอาการป่วยของตัวเอง ก็ปล่อยไปตามนั้น ถ้าเขาอยากตัดบท ก็เหมือนกัน ลองจับสังเกตแล้วจะรู้ความต้องการของเขา ก็ทำไปตามนั้น
    • ถ้าเป็นคนสนิท คุณอาจจะกลัว โกรธ หรือสับสน ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา แค่อย่าสื่ออารมณ์เหล่านั้นไปให้เขารู้ก็พอ
  2. เวลามีใครป่วย คนรอบตัวชอบปฏิบัติกับเขาแตกต่างออกไปจากเดิม อาจจะทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือกลัวไปซะทุกอย่าง ไม่กล้าแตะต้องเรื่องนี้ แต่ขอให้คุณทำเหมือนที่เคยทำ อย่าพยายามทำตัวแปลกออกไป แค่เป็นคุณ เขาก็พอใจแล้ว [8]
    • ถ้าปกติคุณชอบปล่อยมุก ก็เล่นมุกตลกโปกฮาเหมือนเดิม เวลาอยู่กับเพื่อนฝูงครอบครัว
    • ถ้าชอบดูหนังกันทั้งคู่ ก็คงสนุกถ้าพูดคุยกันเรื่องหนังที่เพิ่งดูด้วยกันไป
  3. ถ้าเขาอยากปรึกษา เดี๋ยวเขาถามเอง ถ้าเขาอยากเล่าเรื่องการรักษา วินิจฉัย หรือพยากรณ์โรค เขาก็จะบอกเอง อย่าไปจี้ถามรายละเอียดเกินกว่าที่เขาสบายใจจะเล่า และต้องเคารพความเป็นส่วนตัวเรื่องอาการป่วยของเขา [9]
    • ถึงจะเป็นเพื่อนที่สนิทกันสุดๆ แต่อาจจะมีรายละเอียดที่เขารู้สึกอาย ไม่อยากเล่า ก็อย่าไปเก็บมาคิดมากหรือน้อยใจ ขอให้เข้าใจเขาหน่อย
    • โดยทั่วไปพยายามอย่าพูดอะไรประมาณ
      • “รักษาไม่ได้เหรอ? ถามหมอดีๆ รึยัง?”
      • “ถ้าเราเป็นเธอนะ จะไปที่โรงพยาบาล...แทน หมอเก่งกว่าเยอะเลย”
  4. ถึงเขาจะโกรธหรือทำตัวเหินห่าง ก็อย่าเก็บมาใส่ใจ. คุณอาจจะไม่ได้พูดอะไรผิด แต่เขาอาจจะเข้าใจเจตนาคุณผิดได้ ถ้าเขาโกรธคุณ ก็อย่าไปคิดเล็กคิดน้อย เพราะตอนนี้เขาไม่สบายตัวไม่สบายใจ คุณอยากพูดอะไรก็มีสิทธิ์ แต่เขาก็มีสิทธิ์แสดงความรู้สึกของเขาเช่นกัน พยายามท่องไว้ เขาเกลียดสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ไม่ได้เกลียดคุณ [10]
  5. อย่าทำให้รู้สึกว่าสถานการณ์ดีหรือแย่กว่าที่เป็นจริงๆ. คนป่วยรู้ดีที่สุดว่าอะไรเป็นอะไร อย่าไปลดทอนให้โรคร้ายเป็นเรื่องเล็กลง และก็อย่าเล่นใหญ่ให้ไข้หวัดกลายเป็นโรคร้ายแทน ขอให้พูดอะไรตามจริงด้วยความจริงจังและจริงใจ [11]
    • ที่ไม่ควรพูดคือ
      • “มันไม่แย่ขนาดนั้นหรอก เดี๋ยวก็หาย!”
      • “สวดมนต์เยอะๆ เดี๋ยวก็หายเอง”
      • “โอ๊ย เดี๋ยวก็หาย ไม่เป็นไรมากหรอก”
  6. เป็นเรื่องปกติถ้าคุณเองก็จะทุกข์พอกัน แต่อย่าไประบายใส่คนป่วยเขา เพราะปัญหาของเขาเองก็หนักพออยู่แล้ว ถึงใส่อารมณ์ไป นอกจากไม่ได้ช่วยแล้วยังเหมือนไปเพิ่มภาระให้เขา ถ้าหนักหนาจริงๆ ก็ร้องไห้ออกมา ปรึกษาเพื่อนที่มีร่วมกัน พบนักบำบัด หรือเปิดอกกับคนในครอบครัวที่คุณไว้ใจก็ได้ [12]
    • ถ้าทำได้ ขอให้เป็นหลักที่มั่นคงให้กับคนป่วย ถ้าเขาสติแตก ร้องไห้ฟูมฟาย จะร้องไปด้วยกันก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเขาแค่กังวล ก็อย่าไปทำตัวเหมือนฟ้าถล่มซะเอง (ถึงจะรู้สึกแบบนั้นก็ตาม)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จะส่งการ์ดอวยพรให้เพื่อนที่ป่วยหายเร็วๆ หรือส่งกระเช้ารวมของเพื่อสุขภาพไปให้เพื่อที่กำลังป่วยหรือรู้สึกไม่ดีก็ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,117 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา