PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ความกลัวบันไดเลื่อน หรือที่เรียกว่า เอสคาลาโฟเบีย (escalaphobia) มีผลกระทบต่อหลายคนทั่วโลก [1] ถ้าคุณเป็นโรคกลัวบันไดเลื่อน คุณอาจจะรู้สึกเหมือนติดกับเมื่อคุณอยู่ด้านบนบันไดเลื่อนและรู้สึกราวกับว่าตัวคุณอาจจะตกหรือล้มที่บันไดเลื่อน คุณยังอาจจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความรู้สึกร้อนวูบวาบ การหายใจเร็วๆ สั้นๆ และการสั่นอย่างฉับพลันเมื่อคุณพยายามก้าวขึ้นบันไดเลื่อน [2] คุณอาจจะหลีกเลี่ยงบันไดเลื่อนทั้งหมดในห้างสรรพสินค้า รถไฟใต้ดิน ตึกสำนักงาน และบริเวณสาธารณะอื่นๆ เพื่อจัดการกับความกลัวของคุณ [3] จำใส่ใจไว้ว่าการปรับนิสัยการขึ้นบันไดเลื่อนของคุณจะเป็นประโยชน์เมื่อคุณกลัวบันไดเลื่อนโดยทั่วไปมากกว่าเป็นโรคกลัวจริงๆ หากคุณทรมานจากโรคกลัวบันไดเลื่อนแล้วล่ะก็ คุณอาจจะจำเป็นต้องลองรับการบำบัดกับมืออาชีพ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การปรับนิสัยของตัวคุณเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองไปข้างหน้ามากกว่ามองลงข้างล่างตอนที่อยู่บนบันไดเลื่อน. หลีกเลี่ยงการจ้องบันไดเลื่อนแล้วจ้องมองตรงไปข้างหน้าในขณะที่คุณขึ้นบันไดเลื่อน นี่จะช่วยให้คุณอยู่นิ่งๆ บนบันไดเลื่อนเพื่อให้คุณสามารถไปถึงปลายทางของคุณได้ [4]
    • ซึ่งนี่จะช่วยลดอาการเวียนหัวใดๆ ที่คุณอาจจะรู้สึกเมื่อขึ้นบันไดเลื่อนอีกด้วย
  2. ใช้ราวบันไดด้านข้างเพื่อทรงตัวให้มั่นคงบนบันไดเลื่อนและเพื่อป้องกันไม่ให้เวียนหัว [5]
    • คุณอาจจะเดินทางไปกับคนที่จะจับแขนของคุณไว้ตอนที่คุณขึ้นบันไดเลื่อนได้อีกด้วย ซึ่งนี่จะช่วยให้คุณรู้สึกสมดุลและรับรู้ความลึกในขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อน
    • บางคนที่ทุกข์ทรมานจากความกลัวบันไดเลื่อนพบว่าการใส่รองเท้าที่เหมาะสมและทนทานในขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อนนั้นสามารถทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยและสบาย [6]
  3. บางคนที่เป็นโรคกลัวบันไดเลื่อนไม่ชอบความรู้สึกเหมือนติดกับหรือถูกห้อมล้อมและล้อมรอบไปด้วยคนอื่นๆ บนบันไดเลื่อนในช่วงเวลาที่วุ่นวายของวันหรือในชั่วโมงเร่งด่วน แทนที่จะพยายามขึ้นบันไดเลื่อนตอนคนเยอะๆ ให้รอจนกว่าคนจะบางตาแล้วค่อยขึ้น นี่อาจจะช่วยให้คุณรู้สึกอึดอัดและถูกขังน้อยในขณะที่ขึ้นบันไดเลื่อน [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การใช้การบำบัด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. นักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัด (Hypnotherapist) เชื่อว่าบางครั้งจิตใต้สำนึกของคุณจะตอบสนองอย่างไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นบันไดเลื่อน นักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัดจะพยายามเปลี่ยนการตอบสนองในจิตใต้สำนึกของคุณเพื่อให้คุณหาทางตอบสนองต่อสถานการณ์บางอย่างใหม่และจะปลดปล่อยคุณจากความกลัวและโรคกลัวของคุณ [8] [9]
    • การสะกดจิตสำหรับโรคกลัวบันไดเลื่อนนั้นสามารถทำได้ในการรักษาเริ่มแรกครั้งเดียวโดยการใช้การสัมผัสผ่านการกระจายจินตนาการ โดยที่นักบำบัดจะแนะนำคุณผ่านการสร้างภาพว่าคุณอยู่บนบันไดเลื่อนในขณะที่คุณผ่อนคลายอย่างมาก โดยปกติจะมีรักษาติดตามผลเพื่อดูว่าความกลัวของคุณยังสงบอยู่หรือไม่
    • ขอให้แพทย์แนะนำนักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัดที่ได้รับการรับรอง และค้นหาออนไลน์ก่อนคุณจะนัดพวกเขา คุณยังอาจจะถามเพื่อนๆ และครอบครัวได้อีกด้วยว่าพวกเขาเคยไปหานักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัดดีๆ เพื่อรักษาความกลัวหรือโรคกลัวของพวกเขาบ้างหรือไม่ [10]
  2. CBT). จิตบำบัดนี้จะเน้นที่การปรับความคิดที่ไม่ถูกต้องหรือในเชิงลบเพื่อให้คุณสามารถพิจารณาความกลัวหรือโรคกลัวด้วยความคิดชัดเจนและตอบสนองต่อพวกมันด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ [11] คุณจะต้องไปรับการรักษาจากนักจิตบำบัดสักระยะเพื่อรักษาโรคกลัวบันไดเลื่อนของคุณและค้นหาทางออกที่จะช่วยให้คุณเอาชนะความกลัวของคุณได้
    • ก่อนที่จะลองเข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ให้ขอคำแนะนำเกี่ยวกับนักจิตบำบัดจากแพทย์ของคุณ แผนประกันสุขภาพของคุณ หรือเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่เคยมีประสบการณ์ดีๆ ในการรักษาโดยการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ให้หาว่าแผนประกันของคุณเสนอความคุ้มครองจิตบำบัดว่าอย่างไร ก่อนที่คุณจะตกลงรักษากับนักบำบัด ให้ตรวจสอบราคาและตัวเลือกการชำระเงินสำหรับการรักษานั้น [12]
    • คุณควรจะตรวจสอบคุณสมบัติของนักจิตบำบัดก่อนคุณไปรักษา ค้นหาประวัติการศึกษา ประกาศนียบัตร และใบอนุญาตของเขา นักจิตบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วส่วนใหญ่จะมีปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทางจิต
  3. พยายามหาข้อมูลการรักษาแบบเผชิญหน้า (Exposure-based Treatment). การรักษาประเภทนี้จะให้คุณอยู่ในสถานการณ์ที่คุณเผชิญหน้ากับอาการกลัวของคุณในลักษณะที่ควบคุมได้ นักบำบัดจะป้องกันคุณไม่ให้หลีกเลี่ยงความกลัวของคุณและอาจจะใช้ตัวเตือนความจำเพื่อรับรู้อากัปกิริยาภายในอื่นๆ เช่น ความรู้สึกทางกายภาพภายใน การรักษาแบบเผชิญหน้าส่วนใหญ่แล้วเป็นการที่นักบำบัดจะช่วยให้คุณอดทนต่อความกลัวและความวิตกกังวลที่คุณเชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือวัตถุบางอย่าง [13]
    • ยกตัวอย่างเช่น นักบำบัดอาจจะให้คุณสัมผัสบันไดเลื่อนเพิ่มขึ้น เมื่อคุณสบายใจที่จะมองบันไดเลื่อนแล้ว นักบำบัดก็อาจจะให้คุณวางเท้าข้างหนึ่งบนบันไดเลื่อนแล้วก็ค่อยๆ วางเท้าทั้งสองข้างบนบันไดเลื่อน การอยู่ข้างๆ บันไดเลื่อนแล้วก็ขึ้นบันไดเลื่อนโดยมีนักบำบัดอยู่ด้วยจะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ว่าผลความกลัวบันไดเลื่อนที่คุณอาจจะจินตนาการไว้นั้นจะไม่เกิดขึ้น
  4. การบำบัดด้วยวิธีนี้แรกเริ่มนั้นถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) และได้รับการปรับให้เข้ากับการรักษาโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจง ในระหว่างการบำบัดแบบ EMDR คุณจะได้สัมผัสกับภาพของวัตถุหรือสถานการณ์ที่กลัวและนักบำบัดจะเป็นผู้ควบคุมเพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของดวงตา ฟังการเคาะหรือเสียงที่เป็นจังหวะ วัตถุประสงค์คือเพื่อลดภาวะอาการกลัวของคุณผ่านการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็วและการประมวลผลภาพของสถานการณ์หรือวัตถุที่กลัว [14]
    • ผู้เชี่ยวชาญบางคนโต้แย้งว่าการบำบัดแบบ EMDR นั้นเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความกลัวที่พัฒนามาจากประสบการณ์ที่บอบช้ำทางจิตใจมากกว่าหรือความกลัวที่ไม่มีเหตุผลหรือเป็นไปไม่ได้จริงมากกว่า หลายคนที่เป็นโรคกลัวควรจะลองบำบัดด้วยการสะกดจิตหรือการเผชิญหน้าก่อนที่พวกเขาจะลองการบำบัดแบบ EMDR
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การพูดคุยกับแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งคนที่มีปัญหาในการทรงตัวบนบันไดเลื่อนหรือมีอาการเวียนหัวขณะที่พวกเขาลงบันไดเลื่อนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับหูหรือตาก็ได้ เข้ารับการตรวจตาของคุณเพื่อหาปัญหาการมองเห็นใดๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความไม่สมดุลหรือความไม่มั่นคง และขอให้แพทย์ตรวจหูของคุณเพื่อหาปัญหาใดๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดอาการเวียนหัว [15]
  2. แพทย์ของคุณสามารถวินิจฉัยโรคกลัวของคุณได้โดยยึดตามอาการ และประวัติทางการรักษาทางการแพทย์ ทางจิตเวช และทางสังคมของคุณ ให้เตรียมตัวตอบคำถามในการสัมภาษณ์ทางคลินิกเกี่ยวกับความกลัวบันไดเลื่อนของคุณและความรุนแรงของความกลัวของคุณ [16]
    • คำนิยามทางคลินิกของโรคกลัว คือ ความกลัวต่อวัตถุหรือประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหกเดือนหรือมากกว่านั้น คุณอาจจะประสบกับอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงเมื่อสัมผัสกับวัตถุหรือประสบการณ์นั้น เช่นเดียวกับความเศร้าเสียใจหรือความวิตกกังวลที่รุนแรงมาก คุณอาจจะรู้ว่าความกลัวของคุณไม่มีเหตุผลหรือเหลวไหลและจะข้องใจว่าคุณไม่สามารถก้าวผ่านอาการกลัวของคุณได้ ในที่สุดความกลัวของคุณอาจจะแข็งแกร่งมากจนคุณจะปรับกิจวัตรประจำวัน ชีวิตทางสังคมของคุณ หรือชีวิตการทำงานของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับอาการกลัวของคุณ [17]
    • เมื่อแพทย์ให้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคกลัวบันไดเลื่อนอย่างเป็นทางการแล้ว คุณอาจจะใช้สิ่งนี้เพื่อขอรับการบำบัดและการรักษาปัญหาของคุณได้
  3. แพทย์ของคุณอาจจะส่งตัวคุณให้นักจิตวิทยาที่ได้รับการรับรอง ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมทางความคิด หรือแม้กระทั่งนักสั่งจิตใต้สำนึกบำบัด ให้หารือเกี่ยวกับตัวเลือกเหล่านี้และข้อดีและข้อเสียของแต่ละตัวเลือกก่อนที่คุณจะตกลงรักษา
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,178 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา