ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มรสุมชีวิตไม่ใช่แค่อุปสรรคหรือความยากลำบากแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดที่ขวางกั้นไม่ให้คุณไปถึงเป้าหมายและมีความสุขได้ ซึ่งอาจจะรวมถึงความอยุติธรรมทางสังคมและโศกนาฏกรรมส่วนบุคคล เช่น ความเจ็บป่วยหรือการสูญเสีย ประสบการณ์เหล่านี้อาจนำไปสู่ความรู้สึกหมดหวังและความหดหู่ ทุกคนจะต้องผ่านมรสุมนี้สักครั้งในชีวิต แต่คุณสามารถเอาชนะมรสุมชีวิตได้ด้วยทัศนคติที่ถูกต้องและความมุมานะ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับทัศนคติของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่ประสบกับมรสุมชีวิต คุณจะถูกอุปสรรคและความผิดหวังเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ใจไขว้เขวได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเพิ่มพูนอย่างรวดเร็วและถาโถมใส่คุณจนรับแทบไม่ไหว คุณต้องแยกให้ออกระหว่างความไม่สะดวกหรือความผิดหวังเล็กๆ น้อยๆ กับอุปสรรคที่ขวางกั้นไม่ให้ไปถึงเป้าหมายที่แท้จริงให้ออก เช่น การสูญเสียพาหนะไปโรงเรียนและการต้องนั่งรถเมล์เป็นความไม่สะดวกสบาย แต่การตกงานและการไม่มีเงินเรียนต่ออีกแล้วเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการเรียนมหาวิทยาลัยให้จบ
    • การระบุปัญหาและเข้าใจว่าปัญหาไหนเร่งด่วนที่สุดจะช่วยให้คุณคิดแผนเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ยอมรับว่ามรสุมชีวิตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้. แม้ว่าบางคนอาจจะเจอมรสุมชีวิตหนักกว่าคนอื่น แต่ทุกคนก็ต้องมีช่วงเวลาที่ทุกข์กับอุปสรรคและความยากลำบากด้วยกันทั้งนั้น การยอมรับว่ามรสุมชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่เกิดขึ้นกับทุกคนเป็นปกติจะทำให้คุณเสียเวลาไปกับความรู้สึกอับจนหนทางและสิ้นไร้ไม้ตอกน้อยลง [1]
    • การยอมรับมรสุมชีวิตไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องไม่รู้สึกเศร้าและท้อแท้กับอุปสรรค ปล่อยให้ตัวเองได้รู้สึกถึงอารมณ์ที่เป็นลบ แต่ลองตั้งเวลาว่าจะให้ตัวเองจมอยู่กับอารมณ์นั้นได้นานแค่ไหน เช่น ให้เวลาตัวเองร้องไห้และรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดสัก 30 นาที พอหมดเวลาแล้วก็ให้เบนความสนใจไปที่การทำภารกิจให้ลุล่วง
  3. นี่อาจไม่ใช่ครั้งแรกที่คุณต้องเผชิญอุปสรรค ซึ่งยิ่งเป็นหลักฐานที่ชวนให้เชื่อได้ว่าคุณมีความสามารถที่จะเอาชนะอุปสรรคได้ [2] คุณผ่านพ้นความยากลำบากทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นมาได้จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาคุณก็พบความแข็งแกร่งที่จำเป็นต่อการเอาชนะอุปสรรคมาได้ตลอด เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะคิดว่าตัวเองจะทำไม่ได้เหมือนที่ผ่านมา
    • ลองเขียนรายการมรสุมชีวิตและความสำเร็จในอดีตเพื่อให้คุณเห็นว่า พลังเข้มแข็งของคุณนั้นน่าประทับใจมากแค่ไหน
  4. ถ้าคุณอยากเอาชนะมรสุมชีวิต คุณก็ต้องมองหาข้อดีของมัน ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมดีๆ ของสถานการณ์ที่คุณกำลังเผชิญอยู่ หรือผลลัพธ์ที่ดีที่คุณจะรู้สึกได้ถ้าคุณประสบความสำเร็จในสิ่งที่คุณต้องการในอนาคต เขียนรายการสิ่งดีๆ ทุกอย่างในชีวิต หรือสิ่งดีๆ ทุกอย่างที่คุณต้องตั้งตาคอย แล้วคุณจะเห็นว่ามีเรื่องที่ให้ความสุขคุณได้มากกว่าที่คุณคิด [3]
    • ถ้าคุณกำลังพยายามอย่างหนักที่จะมองหาข้อดีในสถานการณ์ของคุณ ให้มองหาแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของผู้อื่น [4]
  5. อย่ามองว่าความผิดพลาดคือความล้มเหลว แต่ให้เข้าใจและรับรู้ว่าคุณทำบางอย่างผิดพลาด ระบุสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากสถานการณ์นั้นๆ และสิ่งที่คุณจะทำต่างออกไปในครั้งหน้า [5]
    • ถ้าคุณกำลังพยายามมองหาว่าสถานการณ์สร้างโอกาสอะไรให้คุณได้เรียนรู้บ้าง ลองเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนอื่นฟังและขอให้เขาหรือเธอมองหาบทเรียนที่ได้รับ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้เหมือนเป็นเรื่องของคนอื่นเพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นกลาง
  6. เรียนรู้สิ่งที่คุณได้จากในอดีตและรีบนำบทเรียนที่ได้มาปรับใช้ในอนาคต อดีตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นการจมอยู่กับมันอาจนำไปสู่ความสิ้นหวัง แต่อนาคตต่างหากที่แสดงถึงความเป็นไปได้
    • เพื่อเบนความสนใจของคุณไปที่อนาคต ให้เข้าใจว่าความยากลำบากในอดีตสามารถทำให้ความสำเร็จในอนาคตหอมหวานยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นการเอาชนะมรสุมชีวิตก็จะกลายเป็นเป้าหมายในอนาคต [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ลงมือทำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การตั้งเป้าหมายที่สมเหตุสมผลและย่อยออกเป็นเป้าหมายเล็กๆ ที่สามารถทำให้สำเร็จได้เป็นขั้นเป็นตอนจะช่วยให้คุณมีแรงกระตุ้นและบรรเทาความท้อแท้ได้ และทุกครั้งที่คุณทำเป้าหมายเล็กๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่าได้สำเร็จ ความมั่นใจของคุณก็จะมากขึ้นด้วย [7] เช่น ถ้าคุณอยากลดน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ให้ตั้งเป้าลดน้ำหนักให้ได้ครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ การจะลดน้ำหนักให้ได้ 30 กิโลกรัมนั้นใช้เวลานานกว่า เพราะฉะนั้นการจดจ่อไปที่เป้าหมายเล็กๆ ในแต่ละสัปดาห์จะเพิ่มโอกาสให้คุณได้เพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองอยู่เสมอ
    • นอกจากนี้ การจดจ่อไปที่เป้าหมายเล็กๆ ยังทำให้อุปสรรคดูสำคัญน้อยลงด้วย การลดน้ำหนักไม่ได้ครึ่งกิโลกรัมดูไม่แย่เท่าลดน้ำหนัก 30 กิโลกรัมไม่ได้
  2. การมีสิ่งเตือนใจเป็นภาพให้นึกถึงเป้าหมายไว้ในหลายๆ ที่จะช่วยให้คุณมีแรงกระตุ้นและใช้พลังงานได้อย่างตรงจุด เก็บสิ่งเตือนใจไว้ที่บ้าน ออฟฟิศ ใต้โต๊ะนักเรียน และในกระเป๋าเป้หรือกระเป๋าถือ
    • ภาพเตือนใจเหล่านี้อาจจะเรียบง่ายหรือสะดุดตาสุดๆ เลยก็ได้แล้วแต่ความพอใจของคุณ บางคนอาจจะเป็นแค่การติดรายการเป้าหมายไว้ในสถานที่หลักๆ แต่คนอื่นอาจจะชอบเอาภาพเป้าหมายมารวมกันเป็นภาพคอลลาจ
  3. หาวิธีแก้ไขปัญหาไว้หลายๆ แบบและสร้างแผนสำรองขึ้นมา การมีทางเลือกเผื่อไว้จะทำให้คุณยังคงมีความหวังและเพิ่มเส้นทางสู่ความสำเร็จถ้าความพยายามในครั้งแรกของคุณล้มเหลว [8]
    • เขียนรายการวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ การเขียนวิธีแก้ไขปัญหาที่มีความเป็นไปได้ลงไปจะทำให้วิธีแก้ไขปัญหาดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
  4. คนให้คำปรึกษาจะช่วยชี้แนะแนวทางและให้การสนับสนุน ทำให้คุณพุ่งตรงไปยังเป้าหมายอยู่เสมอ คนให้คำปรึกษาเป็นแหล่งหลบภัยที่ดีเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้าย คุณอาจจะมีคนให้คำปรึกษาหลายคนที่นำเสนอมุมมองหลายๆ มุมและชี้แนะมุมมองของชีวิตในหลายๆ ด้านให้แก่คุณ
    • การเลือกคนให้คำปรึกษาอาจดูเป็นเรื่องน่ากลัว แต่คุณอาจจะรู้จักคนที่จะให้คำปรึกษาที่ดีแก่คุณได้อยู่แล้วหลายคน อาจจะเป็นครูหรืออาจารย์ที่มหาวิทยาลัย สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน
  5. การยอมแพ้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาใดๆ ของคุณ สถานการณ์ส่วนใหญ่สุดท้ายแล้วก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา คุณอาจจะเจอความช่วยเหลือและวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้ด้วยการพยายามแก้ปัญหาต่อไป
    • การปลีกตัวออกจากสิ่งที่คุณกังวลใจนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องสัญญากับตัวเองว่าจะกลับมาแก้ไขปัญหาต่อไปทันทีที่คุณรู้สึกกังวลใจน้อยลงแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการนอนที่มีคุณภาพ ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความรู้สึกอยู่ดีมีสุขโดยรวม พลังเข้มแข็งที่มากขึ้น และความภาคภูมิใจในตัวเองที่สูงขึ้น [9] การดำเนินชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพนั้นจะทำให้คุณรับมือกับมรสุมชีวิตในปัจจุบันได้ดีขึ้น และฉีดวัคซีนป้องกันตัวเองจากมรสุมชีวิตในอนาคต
    • ค่อยๆ เริ่มฝึกกิจวัตรการออกกำลังกายใหม่ๆ ทีละน้อยอยู่เสมอเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  2. การรับรู้อยู่เสมอว่าสิ่งที่คุณต้องขอบคุณมีอะไรบ้างจะช่วยเพิ่มมุมมองที่ดีอยู่เสมอ ทัศนคติที่ดีจะช่วยให้คุณแก้ไขปัญหาในอนาคตและป้องกันไม่ให้คุณรู้สึกว่ามันหนักหนาเกินไป [10]
    • ใช้เวลาวันละ 10-15 นาทีต่อวันคิดว่ามีอะไรที่คุณต้องขอบคุณบ้าง
  3. การมีคนเข้ามาช่วยเหลือในยามที่คุณต้องเผชิญมรสุมชีวิตจะทำให้คุณอบอุ่นใจและได้รับการสนับสนุน การสร้างระบบสนับสนุนก่อนที่คุณจะต้องการความช่วยเหลือจะทำให้คุณสามารถดึงความช่วยเหลือเหล่านั้นในเวลาที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น ใส่ใจเพื่อนๆ ครอบครัว และรักษาความสัมพันธ์ของคุณกับพวกเขาให้ดีอยู่เสมอ [11]
    • กำหนดเวลาที่จะโทรศัพท์หากันและพบปะกันเป็นประจำเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นอยู่เสมอ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับมรสุมชีวิต
  • เข้าสังคมอยู่เสมอ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณคิดว่าคุณอาจจะทำร้ายตัวเอง ให้ขอความช่วยเหลือทันที
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติดและแอลกอฮอล์ เพราะรังแต่จะทำให้คุณรู้สึกหมดหวัง


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,007 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา