ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เรือล่มฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าใครต้องเดินทางทางน้ำ ก็ควรรู้วิธีเอาตัวรอดไว้ เพราะอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ นอกจากอันตรายจากเรือล่มแล้ว ถ้าคุณรอดชีวิตมา ก็ยังมีอันตรายอีกหลายอย่างรออยู่ เช่น ลอยคอกลางทะเลจนโดนแดดเผา หนาวจัด ฉลามกัด และอื่นๆ แต่ถ้ารู้จักวางแผน ร่วมแรงร่วมใจกัน แบ่งงานกันทำเป็นขั้นเป็นตอน ก็จะมีโอกาสรอดจากเหตุเรือล่มเพิ่มขึ้นอีกเยอะ ขอแค่วางแผน ลงแรง และโชคช่วยอีกนิด ก็รอดชีวิตจากเรือล่มได้แน่นอน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วางแผน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงๆ แล้วสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณรอดชีวิตจากเหตุเรือล่ม ก็คือต้องตั้งสติก่อน โดยเฉพาะในยามที่ทุกคนแตกตื่นตอนเรือเพิ่งล่ม ถ้าคุณสติแตกตามไปด้วย ก็เท่ากับเอาตัวเองไปเสี่ยงโดยใช่เหตุ [1]
    • ถ้ารู้ตัวว่ากำลังสติแตก ให้พยายามผ่อนคลาย หายใจเข้า-ออกลึกๆ
    • คิดก่อนทำ อย่าวิ่งพล่านหาเรือชูชีพหรือโดดลงน้ำทันทีที่เกิดเหตุ ให้หยุดคิดพิจารณาถึงทางรอดหลายๆ ทาง
  2. ระหว่างที่เรือกำลังจม สำคัญว่าต้องมองหาอะไรที่ลอยน้ำได้ ไม่งั้นลงน้ำแล้วคุณจะรอดชีวิตอยู่ได้ไม่นาน อะไรที่ลอยน้ำได้ก็เช่น
    • เสื้อชูชีพ / ห่วงยาง
    • เรือบด
    • แพยาง [2]
  3. ถ้าต้องกระโดดออกจากเรือจริงๆ อย่าถอดรองเท้า ก่อนโดดลงน้ำก็ดูลาดเลาซะก่อน จะได้ไม่ตกไปทับคนหรือวัตถุอื่นๆ เอาแขนกอดหน้าท้องไว้ข้างหนึ่ง มือจับศอกของแขนอีกข้างที่บีบจมูกไว้ แล้วโดดลงน้ำให้ไกลจากเรือมากที่สุด ให้ไขว้ขาแล้วพยายามเอาขาลงน้ำก่อน [3]
  4. เพราะเรือลำใหญ่เวลาจมจะมีแรงดูด ดึงอะไรรอบๆ เรือดิ่งลงไปด้วย แปลว่ายิ่งเรือใหญ่ก็ยิ่งต้องออกห่างจากเรือให้มากที่สุดตอนเรือจม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะแรงดูดของเรือใหญ่จะดึงคุณจมดิ่งไปด้วย แม้ใส่เสื้อชูชีพก็ตาม [4]
    • ว่ายน้ำท่ากบให้ห่างออกจากเรือ
    • เตะน้ำแรงๆ
    • ถ้าว่ายน้ำไม่ค่อยแข็ง ก็ตั้งสติ พยายามลอยตัวแล้วว่ายท่าลูกหมาตกน้ำ พาตัวเองให้ห่างออกจากเรือ
  5. ถ้าไม่มีห่วงยาง แพยาง หรือเสื้อชูชีพ ให้มองหาอะไรที่ลอยน้ำ อะไรก็ได้ในเศษซากของเรือ ที่คุณเกาะแล้วลอยคอในน้ำได้ เช่น
    • บานประตู
    • ชิ้นส่วนของเรือที่ลอยน้ำมา
    • เรือบด แพยาง หรือห่วงยาง/เสื้อชูชีพที่ไม่มีใครใช้
  6. พอออกห่างเรือมาอยู่ในระยะที่ปลอดภัยแล้ว ให้รีบสำรวจตัวเองว่าบาดเจ็บตรงไหนหรือเปล่า เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะบางทีคุณอาจต้องได้รับการรักษาโดยด่วน จุดที่ควรสังเกตก็คือ
    • เลือดไหลตรงไหนไหม ถ้ามีเลือดไหล แผลเล็กหรือใหญ่ อาจจะต้องห้ามเลือดด้วย tourniquet หรือสายพันห้ามเลือด เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ เพราะถ้าเสียเลือดมากจะยิ่งเสี่ยงเกิดภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) [5]
    • แขน/ขาหักหรือเปล่า ถ้าหักก็ถือว่าเรื่องใหญ่ เพราะจะทำให้ว่ายน้ำลำบากขึ้น ถ้าพบว่าตัวเองแขน/ขาหัก ต้องรีบให้ผู้รอดชีวิตคนอื่นช่วยปฐมพยาบาล
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ร่วมแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอสำรวจร่างกายตัวเองแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ และหาทางลอยตัวได้แล้ว ให้ดูว่าคุณจะช่วยเหลือผู้รอดชีวิตคนอื่นๆ ได้ยังไง บางคนอาจบาดเจ็บสาหัส ต้องการความช่วยเหลือด่วน [6]
    • ช่วยคนที่อาจกำลังช็อก โดยพูดคุยปลอบโยน ว่าเดี๋ยวเราก็ปลอดภัยแล้ว บอกให้เขารู้ว่าคุณจะไม่ทิ้งเขาไปไหน
    • ดูแลคนที่ได้รับการกระทบกระเทือน
  2. พอปรับตัวรับสภาพตอนนี้ได้แล้ว ให้คุยกับทุกคนในกลุ่มแล้วแบ่งงานกัน ผู้รอดชีวิตในกลุ่มน่าจะมีทักษะหรือความถนัดแตกต่างกันไป ลองระดมสมองเพิ่มโอกาสรอด เผื่อความช่วยเหลือจะมาเร็วกว่าที่คิด [7]
    • อย่าแยกตัว ยิ่งเกาะกลุ่มกันก็ยิ่งเพิ่มโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีสติและแบ่งหน้าที่กัน
  3. พอคุณและผู้รอดชีวิตหาทางลอยตัว ขึ้นจากน้ำได้แล้ว ก็ให้เริ่มวางแผนและรวบรวมเสบียง ยิ่งหาเสบียงได้เยอะและคิดหาทางใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ก็เท่ากับเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง เสบียงสำคัญก็คือ
    • น้ำจืด พยายามหาน้ำดื่มแล้วจัดแบ่งให้เพียงพอสำหรับทุกคน และดื่มไปได้นานที่สุด
    • อาหาร
    • ปืนยิงพลุสัญญาณ หรืออะไรที่ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รอดได้แม้แช่น้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นอกจากจมน้ำตายแล้ว ภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) ก็ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากสำหรับคนเพิ่งรอดชีวิตจากเรือล่ม เพราะการแช่อยู่ในน้ำเย็นๆ นานๆ จะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ถ้าลดต่ำเกินไป ร่างกายจะช็อก หยุดทำงาน แล้วตายได้
    • ถ้าคุณเกาะอะไรลอยตัวอยู่ ไม่ได้อยู่บนแพยาง ให้พยายามกอดเข่าชิดอก จะรักษาอุณหภูมิร่างกายได้
    • ถ้าคุณลอยคออยู่พร้อมคนอื่น หรืออยู่ในแพยาง ให้นั่งเบียดๆ กันหรือกอดกันไว้
    • ใส่เสื้อผ้าให้ครบชิ้น ถึงเปียกชุ่มก็ไม่เป็นไร จะได้คงความอบอุ่นไว้ได้ [8]
  2. ที่อันตรายต่อจากการจมน้ำและภาวะตัวเย็นเกิน ก็คือฉลามนี่แหละ โดยเฉพาะใครเรือล่มกลางทะเล ที่ฉลามอันตรายตอนเรือล่ม เพราะจะมาตามกลิ่นเลือดของผู้บาดเจ็บ หรือมาตามฝูงปลาที่ตอดวัตถุต่างๆ ที่ลอยอยู่ตามผิวน้ำ
    • อย่าตีน้ำหรือสาดน้ำไล่ พยายามทำตัวนิ่งๆ ไม่ดึงดูดความสนใจของฉลามมายังคุณหรือผู้รอดชีวิตคนอื่นๆ
    • ถ้าใครมีแผลเปิด พยายามห้ามเลือดให้มากที่สุด เพราะยิ่งเลือดไหล ฉลามกับปลาอื่นๆ จะได้กลิ่นมาแต่ไกลเลย [9]
  3. พอพ้นน้ำหรือมีอะไรเกาะและปลอดภัยแล้ว ให้เริ่มมองหาฝั่ง ถ้าไม่เจอ โอกาสรอดชีวิตจะลดน้อยถอยลงทุกวัน เพราะเสบียงเริ่มร่อยหรอ วิธีมองหาฝั่งก็เช่น
    • กะตำแหน่งปัจจุบันโดยอ้างอิงจากตำแหน่งล่าสุดที่รู้ จะด้วยชาร์ต แผนที่ หรือดูดาวเอาก็ตาม
    • สัญญาณที่บอกว่ากำลังจะถึงฝั่ง คือมีนกบินมา หรือมีเศษไม้/ขยะลอยมา ถ้าเห็นนก ให้มองไปตามทิศทางที่นกบินมา และทิศทางที่นกบินไป
    • มองหาฝั่งที่เส้นขอบฟ้า ถ้าอยู่ค่อนมาทางกลางทะเล อาจจะมองแทบไม่เห็น แต่ขอให้ช่วยกันดูให้ดีที่สุด [10]
  4. ถ้าหิวน้ำมากแต่ไม่มีน้ำจืด และโชคดีพอมีอุปกรณ์ ก็อาจจะพอหาทางได้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกขนาดใหญ่สำหรับคลุม มากางปูบนแพยางหรือเรือชูชีพ ถ้าฝนตกก็จะช่วยรองน้ำไว้ได้ แต่ถ้าโชคร้ายฝนไม่ยอมตก อาจจะพอมีหยดน้ำที่กลั่นตัวจากน้ำค้างยามเช้าหลงเหลือบ้าง [11]
    • ห้ามดื่มน้ำทะเลเด็ดขาด เพราะจะทำให้คุณขาดน้ำในที่สุด ให้หาวิธีเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืดแทน
  5. ไม่ว่าจะคุณจะอยู่ในเรือ ลอยคออยู่ในน้ำ หรือติดเกาะก็ตาม ให้พยายามหาทางส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือเป็นระยะ ถ้าอยู่เฉยๆ นิ่งๆ ทีมกู้ภัยอาจจะผ่านเลยคุณและผู้รอดชีวิตคนอื่นๆ ไป วิธีส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือก็เช่น
    • ยิงพลุสัญญาณ - อันนี้แล้วแต่ว่าคุณเหลือปืนยิงพลุสัญญาณกี่กระบอก บางกรณีอาจจะต้องเก็บไว้ใช้ตอนเห็นเรือหรือเครื่องบินผ่านมาในระยะสายตา
    • กระจก - ใช้กระจกส่องทำมุมสะท้อนแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะส่องไปในทิศทางที่มีเรือผ่านมา
    • ก่อกองไฟ - ถ้าติดเกาะ ให้ก่อกองไฟเป็นจุดสนใจของทีมกู้ภัย
    • สร้างอะไรสักอย่างที่ชายหาดให้เห็นเด่นชัด - เช่น ลากทางมะพร้าวหรือเศษไม้มาต่อกันเป็นคำว่า “SOS” [12]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าต้องเดินทางโดยเรือแต่ว่ายน้ำไม่เป็น ก็ควรจะไปลงเรียนสักคอร์ส
  • เรือลำใหญ่ เช่น เรือเดินสมุทร เรือสำราญ กว่าจะจมลงไปทั้งลำ อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมงกระทั่งหลายวัน การอยู่บนเรือจนกว่าลูกเรือจะแนะนำให้ออกจากเรือ บางทีก็ปลอดภัยกว่า
  • ถ้ารู้แน่แล้วว่าเรือกำลังจะล่ม ให้รีบสวมเสื้อชูชีพ และถ้าเป็นไปได้ให้สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ลงน้ำแล้วจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะตัวเย็นเกิน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าน้ำทะลักเข้าเรืออย่างรวดเร็ว อย่าเพิ่งดึงให้เสื้อชูชีพพองจนกว่าจะออกไปนอกเรือ ไม่งั้นจะลอยขึ้นด้านบนจนติดอยู่ในเรือได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,041 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา