ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เสี้ยนนั้นมักชอบมีขนาดเล็ก แต่ทำให้เจ็บชะมัด แถมยากจะเอาออกอีก ถ้าเสี้ยนนั้นใหญ่หรือทำให้เจ็บมาก คุณก็จำต้องไปพบแพทย์ให้เอาออก อย่างไรก็ดี ถ้าคุณเจอเสี้ยนเล็กๆ ตำให้เจ็บและชวนหงุดหงิด มีหลายวิธีที่คุณจะใช้เอาเสี้ยนออกได้และรักษาแผลนั้นเช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ใช้แหนบคีบออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้าง บริเวณที่ถูกตำ. ก่อนจะเอาเสี้ยนออก ล้างมือกับผิวรอบบริเวณที่ถูกตำด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ มันจะช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายจนเกิดการติดเชื้อ [1]
  2. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    ก่อนใช้แหนบต้องแน่ใจว่าได้ใช้รับบิ้งแอลกอฮอล์มาฆ่าเชื้อบนแหนบแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือเกิดเชื้อกระจายภายในแผล การมีเชื้อโรคในแผลจะทำให้แผลอักเสบ [3] .
    • เวลาจะใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อบนแหนบ ให้แช่มันในถ้วยแอลกอฮอล์สักสองสามนาที หรือใช้สำลีที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วเช็ดแหนบด้วยรับบิ้งแอลกอฮอล์
    • หาซื้อรับบิ้งแอลกอฮอล์ได้ตามร้านขายยา ร้านของชำหรือร้านค้าปลีกใหญ่ๆ ก็มีขาย
  3. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    ลองใช้แว่นขยายมาช่วยเอาเสี้ยนออก มันจะช่วยให้คุณเห็นเสี้ยนชัดเจนขึ้นและลดความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น [4]
  4. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    หากเสี้ยนมีผิวหนังปิดไว้อยู่ คุณต้องใช้เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาเขี่ยแยกผิวหนังและยกผิวตรงนั้นขึ้น ฆ่าเชื้อเข็มโดยแช่หรือเช็ดด้วยรับบิ้งแอลกอฮอล์ แล้วใช้เข็มเขี่ยหนังให้แยกออกแล้วยกมันขึ้นเพื่อเอาเสี้ยนออกได้ง่ายกว่าเดิม [6]
    • ถ้าเสี้ยนอยู่ลึกเกินกว่าจะเขี่ยผิวให้เปิดออก ลองคิดไปโรงพยาบาลให้แพทย์จัดการให้จะดีกว่า
  5. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    พอเห็นปลายเสี้ยนแล้ว ใช้แหนบคีบมันออกมาในทิศทางเดียวกับที่มันตำเข้าไป [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ใช้เทปกาวเอาออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    เสี้ยนที่บอบบาง อย่างพวกเสี้ยนไม้หรือไฟเบอร์กลาส มักจะตอบสนองต่อการเอาออกด้วยเทปกาวได้ดี คุณสามารถใช้เทปกาวต่างชนิดมาใช้ในการนี้ ไม่ว่าจะกระดาษกาว เทปกาวหนังไก่ หรือเทปพันสายไฟ คุณแค่ใช้มันชิ้นเล็กๆ เอง
    • ให้แน่ใจว่าบริเวณรอบเสี้ยนนั้นแห้งสะอาดก่อนจะใช้เทปกาวแปะลงไป
    • ล้างและเช็ดมือให้แห้งก่อนเริ่มเช่นกัน
  2. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    แปะเทปลงไปบนจุดที่เสี้ยนตำและกดไว้ให้แน่นเพื่อให้มันติดกับเสี้ยน ให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ไปกดให้เสี้ยนยิ่งจมลงไปในชั้นผิวหนัง ให้กดออกไปจากจุดที่เสี้ยนตำเข้าไป [9]
  3. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    หลังจากแน่ใจว่าเทปกาวติดเสี้ยนแล้ว ให้ดึงเทปออก ลอกเทปออกช้าๆ ในทิศทางเดียวกับที่เสี้ยนตำเข้าไปในผิว [10] เมื่อดึงเทปกาวออก เสี้ยนน่าจะติดกับเทปถูกดึงออกมาด้วย
  4. Watermark wikiHow to เอาเสี้ยนออก
    หลังดึงเทปออก ตรวจดูว่ามีเสี้ยนติดอยู่หรือไม่ คุณควรตรวจที่ผิวด้วยว่ายังมีเศษเสี้ยนทิ่มอยู่ในผิวหรือเปล่า ถ้ายังมีเสี้ยนหรือเศษของมันอยู่ ให้ลองทำซ้ำหรือลองวิธีอื่นดู
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

เอาออกด้วยกาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถใช้กาวอย่างกาวขาวที่เด็กนักเรียนใช้ แค่ทากาวตรงที่เสี้ยนตำกับบริเวณรอบๆ [11] ให้แน่ใจว่ากาวหนาพอที่จะครอบคลุมเสี้ยนได้หมด
    • อย่าใช้พวกกาวมหัศจรรย์ มันจะไม่หลุดจากผิวแถมยังผนึกเสี้ยนไว้ในผิวแทนที่จะดึงออกมาอีกต่างหาก [12]
    • คุณสามารถใช้แว็กซ์กำจัดขนหรือแผ่นแว็กซ์แบบเดียวกับที่ใช้กาวได้ [13]
    • ล้างและเช็ดมือรวมทั้งบริเวณรอบเสี้ยนให้แห้งสะอาดก่อนเริ่ม
  2. กาวจะต้องแห้งสนิทก่อนถึงจะลอกออกได้ มิฉะนั้นมันจะไม่ติดเสี้ยน ทิ้งกาวไว้สัก 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง ตรวจดูอยู่เรื่อยๆ ว่ากาวแห้งหรือยัง มันไม่ควรรู้สึกแฉะหรือเหนอะ
  3. หลังจากแน่ใจว่ากาวแห้ง ลอกขอบกาวและดึงออกในทิศทางเดียวกับที่เสี้ยนตำเข้าไป ดึงช้าๆ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อคุณลอกกาวไปเหนือตำแหน่งเสี้ยน เสี้ยนสมควรติดออกมา
  4. หลังลอกกาวออกแล้ว ดูที่กาวว่ามีเสี้ยนติดอยู่หรือไม่ ควรตรวจดูว่ามีเศษเสี้ยนติดผิวหรือเปล่า ถ้ามีให้ทำซ้ำหรือลองวิธีอื่น
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ดูแลแผลเสี้ยนตำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณเอาเสี้ยนออกสำเร็จแล้ว บีบแผลเบาๆ จนกระทั่งเห็นเลือดออกมา นี่จะช่วยเอาเชื้อโรคที่ติดอยู่กับเสี้ยนออกมาจากบาดแผล [14]
    • อย่าบีบแรงเกินไป ถ้าบีบเบาๆ ที่แผลแล้วไม่มีเลือดไหล ก็ทิ้งไว้เช่นนั้น คุณสามารถใช้วิธีอื่นฆ่าเชื้อโรค รวมไปถึงใช้ยาฆ่าเชื้อ
    • ล้างแผลด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยหนึ่งนาทีจะช่วยทำความสะอาดผิวบริเวณนั้น
  2. ถ้าแผลเสี้ยนตำยังคงมีเลือดไหลหลังบีบมันหรือมีเลือดไหลอยู่แล้ว ให้ห้ามเลือดโดยการกดไปที่บริเวณนั้น [15] มันจะช่วยไม่ให้เสียเลือดจนมากเกินไป [16] เลือดที่ไหลจากบาดแผลเล็กจะหยุดไหลในไม่กี่นาที ถ้าเลือดไหลมากเกินไปหรือไหลไม่ยอมหยุด ให้ไปพบแพทย์ทันที
  3. ล้างแผลเสี้ยนตำด้วยสบู่กับน้ำอุ่นหลังจากเอาเสี้ยนออก นี่จะช่วยทำความสะอาดแบคทีเรียกับเชื้อโรคที่ยังหลงเหลืออยู่ในบาดแผล หลังทำเสร็จแล้ว คุณยังอาจทาขี้ผึ้งฆ่าเชื้ออีกก็ได้ [19]
  4. หลังเลือดหยุดไหลและทำความสะอาดแผลแล้ว คุณอาจต้องการปิดบริเวณนั้นเพื่อป้องกันแบคทีเรียเข้าสู่บาดแผล ให้ใช้ผ้ากอซหรือพลาสเตอร์ยามาติดทับบริเวณนั้น พลาสเตอร์ยาจะเพิ่มแรงกดที่จะช่วยให้เลิอดหยุดไหลด้วย [22]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

รับการช่วยเหลือทางแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัดสินว่าคุณควรเอาเสี้ยนออกเองหรือไปพบแพทย์. เสี้ยนเล็กๆ ที่อยู่ใต้ชั้นผิวนั้นสามารถเอาออกเองที่บ้านได้อย่างปลอดภัย [23] อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์อาจจำเป็นต้องให้แพทย์เอาเสี้ยนออก
    • เมื่อคุณไม่แน่ใจว่ามันเป็นเสี้ยนอะไรหรือทำไมถึงรู้สึกปวดเหลือเกิน ก็ควรไปพบแพทย์ทันที [24]
    • ไปพบแพทย์ถ้าเสี้ยนนั้นอยู่ลึกเกินกว่าครึ่งเซนติเมตร หรือถ้าเสี้ยนนั้นไปโดนกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท
  2. ถ้าเสี้ยนตำลึก ทำให้ปวดมาก ไม่ยอมหลุดออก หรือแค่คุณไม่อยากเอามันออกเอง ให้ไปพบแพทย์ทันที มันจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อรุนแรงให้น้อยลง [25] ไปพบแพทย์ด้วยถ้า: [26]
    • เสี้ยนนั้นมีตาเสี้ยน
    • เสี้ยนไม่หลุดออกง่ายๆ
    • แผลนั้นลึกและสกปรก
    • คุณฉีดยาแก้บาดทะยักครั้งสุดท้ายเกินห้าปีแล้ว
  3. ถ้าคุณเริ่มพบสัญญาณการติดเชื้อจากบริเวณที่เอาเสี้ยนออก ให้พบแพทย์ทันที แพทย์จะสั่งจ่ายยารักษาและเอาเศษเสี้ยนที่ยังอาจหลงเหลืออยู่โดยที่คุณมองไม่เห็นออก [27] สัญญาณของการติดเชื้อได้แก่: [28]
    • มีหนองไหลออกจากบริเวณนั้น
    • มีอาการปวดตุบๆ บริเวณนั้น
    • มีอาการบวมแดง
    • มีไข้
  4. ถ้าเสี้ยนนั้นเล็กมากและไม่ก่อความเจ็บปวดใดๆ คุณอาจปล่อยมันทิ้งไว้ได้เลย ผิวหนังคุณอาจดันเสี้ยนออกมาเอง ผิวยังอาจทำให้เกิดสิวรอบๆ เสี้ยนแล้วให้มันไหลออกมาเอง [29]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าจะทำให้บริเวณนั้นรู้สึกชาก่อนเอาเสี้ยนออก ให้ถูน้ำแข็งรอบๆ เสี้ยน แต่อย่าถูตรงนั้นโดยตรง เช็ดให้แห้งแล้วลองเอาเสี้ยนออก
  • ใช้แหนบ กรรไกรตัดเล็บ หรืออะไรที่พอหาได้มากดรอบๆ เสี้ยน เพราะการกดไปที่ผิวจะทำให้มันลดต่ำลง แล้วดันผิวตรงกลางให้สูงนูนขึ้นมา
  • แช่เสี้ยนในน้ำร้อนแล้วค่อยดึงออกมา
  • ใช้ครีมรักษาริดสีดวงทวารบนบริเวณที่ถูกเสี้ยนตำจะช่วยลดอาการบวมแดง ดังนั้นจะช่วยอาการปวดลงให้เหลือน้อยที่สุด
  • เหยาะเกลือลงไปในบริเวณที่ถูกตำ แล้วเอาน้ำแข็งกดไว้กับเกลือ
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้แน่ใจว่าได้ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกเสี้ยนตำเพื่อช่วยลดโอกาสติดเชื้อ
โฆษณา
  1. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/splinter/
  2. http://www.whattoexpect.com/toddler/childhood-injuries/splinters-in-children.aspx
  3. http://www.peoplespharmacy.com/2014/06/30/household-glue-offers-remedy-for-easy-splinter-removal/
  4. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/splinter/
  5. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  6. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  7. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  8. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  9. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  10. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  11. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  12. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  13. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  14. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  15. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  16. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/splinter/
  17. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  18. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid/basics/art-20056604
  19. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/splinter/
  20. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/splinter/
  21. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/splinter/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 67,043 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา