ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ขากรรไกรค้าง (lockjaw) ก็คืออาการที่อ้าปากหรือหุบปากได้ไม่สนิท หรือกล้ามเนื้อที่ขากรรไกรหดเกร็งจนเจ็บปวด ขากรรไกรค้างเป็นความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint disorder (TMJ)) ชนิดหนึ่ง ที่เกิดกับข้อต่อและกล้ามเนื้อโดยรอบที่ใช้ตอนอ้าปากและหุบปาก อาการอ้าปากได้จำกัด (trismus) เป็นอาการเบื้องต้นของบาดทะยัก (tetanus) ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นแล้วต้องได้รับการรักษาทันที [1] [2] แต่อีกหลายคนก็กรามแน่น ปวดกราม หรือมีเสียงคลิก ที่ไม่เกี่ยวกับบาดทะยักแต่อย่างใด ซึ่งน้อยคนที่รู้ว่าควรแก้ไขยังไง โชคดีที่ถ้าขากรรไกรค้างไม่มาก คุณสามารถแก้ไขได้โดยกินอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย และใช้สมุนไพร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ผ่อนคลายและบริหารขากรรไกรให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล้ามเนื้อตึงเกร็งทำให้เสี่ยงขากรรไกรค้างหรือยิ่งค้างหนัก ซึ่งโยคะนี่แหละช่วยคลายความเครียด แก้กล้ามเนื้อตึงเกร็งได้ดี เวลาเล่นโยคะต้องใช้ทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงจิตใจด้วย ทำให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจก็สดชื่น เวลาเล่นโยคะ เหมือนได้เข้าถึงแก่นของปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด จนกล้ามเนื้อแถวขากรรไกรกระตุกเกร็ง มีโยคะหลายท่าเลยที่ช่วยแก้ขากรรไกรค้างได้ เช่น
    • ท่าอาสนะ (Asanas) เช่น "Adho Mukh Svanasana" หรือที่เรารู้จักกันดีในท่า Downward Facing Dog เป็นท่าที่ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวและขากรรไกรมากขึ้น ท่าอาสนะนี้ ร่างกายของเราจะเป็นรูปตัว ‘V’ คว่ำ ก้นโด่งขึ้นไป ยันพื้นด้วยส้นเท้ากับฝ่ามือ
    • "Salamba sarvangasana" (Shoulder stand) เป็นท่าที่รองรับน้ำหนักตัวด้วยไหล่ ไหล่จะแนบไปกับเสื่อโยคะหรือผ้าที่ปูรองไว้ ร่างกายตั้งแต่ไหล่ลงไปจะตั้งฉากกับพื้น พอกลับหัวแล้วเลือดเลยไหลเวียนไปที่หัวได้มากขึ้น แต่เป็นท่าอันตรายที่ต้องจัดท่าทางให้ถูกต้อง ต้องมีคนช่วยเซฟก่อนลองทำด้วยตัวเอง จะได้ป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น
    • "Viparita Karani" เป็นท่ายกขาขึ้นกำแพง เริ่มจากนอนหงายบนพื้น หาหมอนหรืออะไรมาหนุนหลังส่วนล่างไว้ แล้วเหยียดขาขึ้นไปแนบกำแพง
    • "Shavasana" หรือ "Savasana" (ท่าศพ) ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงเกร็ง เป็นท่าที่ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนอย่างสมบูรณ์ ให้นอนหงายราบไปกับพื้น แบมือขึ้น แล้วคลายกล้ามเนื้อแต่ละส่วนของร่างกายแบบรู้ตัว จากหัวจรดเท้า
  2. นั่งสมาธิ . เทคนิคช่วยผ่อนคลายแบบนี้จะทำให้ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรดีขึ้นได้ [3] ท่าที่ช่วยคลายข้อต่อขากรรไกรได้ดี ก็คือนั่งสมาธิ เริ่มจากนั่งขัดสมาธิสบายๆ แล้วเน้นผ่อนคลายลิ้น เพราะส่วนใหญ่ลิ้นจะเกร็งติดเพดานปากแบบที่คุณไม่ค่อยรู้ตัว ต่อมาผ่อนคลายดวงตา ตามด้วยขากรรไกร รวมถึงผิวหน้าบริเวณมุมปากด้วย
    • ขั้นตอนพวกนี้เป็นขั้นแรกของ "ปรัตยาหาระ (pratyahara)" คือเน้นการตื่นรู้ภายใน การผ่อนคลายขากรรไกรแบบนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝน แต่บอกเลยว่าดีต่อขากรรไกรมาก
  3. การออกกำลังกายถือว่าสำคัญมากถ้าไม่อยากขากรรไกรค้าง ถ้าหมั่นทำเป็นประจำและทำถูกวิธี จะทั้งช่วยแก้ไขและป้องกันขากรรไกรค้าง เริ่มจากผ่อนคลาย อย่าเกร็งไหล่ ปล่อยขากรรไกรล่างตามสบาย อย่าเกร็งลิ้น และอย่าขบฟันเข้าด้วยกัน [4]
    • วอร์มกล้ามเนื้อขากรรไกร โดยขยับขากรรไกรขึ้น-ลง ซ้าย-ขวาเล็กน้อย ห้ามขบฟันเด็ดขาด อ้าปาก-หุบปากเรื่อยๆ แต่ต้องไม่รู้สึกปวด เมื่อย หรือขัด
    • ขยับขากรรไกรไปข้างหน้าให้มากที่สุดแล้วเอากลับมา จากนั้นทำซ้ำไปทางด้านข้าง แล้วผ่อนคลาย
  4. กำมือไว้ใต้คางแล้วอ้าปาก จากนั้นกดนิ้วโป้งใต้คางตอนขยับขากรรไกรไปข้างหน้า รวมถึงตอนทำซ้าย-ขวาด้วย ยื่นคางข้างไว้แบบนั้น 2 - 3 วินาที ต่อมาอ้าปากกว้างที่สุด แล้วพยายามหุบปาก สู้กับแรงต้านของนิ้วที่กดฟันล่างข้างหน้าไว้
    • ส่องกระจก แล้วค่อยๆ ขยับขากรรไกรล่างขึ้น-ลงตรงๆ อย่าเอียง ระวังอย่าให้ขากรรไกรดังคลิกหรือค้าง
    • แต่ละท่าให้ทำวันละ 10 ครั้งขึ้นไป
  5. TheraBite เป็นเครื่องแบบพกพาสำหรับรักษาขากรรไกรค้าง ใช้แล้วจะขยับขากรรไกรได้ถูกต้องตามหลักกายวิภาค เครื่องนี้มีทั้งการเคลื่อนไหวขากรรไกรตามปกติและยืดเหยียด เพื่อฟื้นฟูขากรรไกร
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint disorder หรือ TMJ) คือปัญหาที่มักเกิดกับข้อต่อที่ยึดขากรรไกรไว้กับกะโหลก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการที่เราเรียกกันว่า “ขากรรไกรค้าง” [6] TMJ เป็นแล้วขากรรไกรจะดังคลิก กดเจ็บ ปวด และระบม ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก และรู้สึกยึดๆ ค้างๆ [7] ขากรรไกรค้างบางทีก็เกิดจากสารพิษของแบคทีเรียบาดทะยัก (tetanus) ที่ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรง [8] บาดทะยักเกิดจากแผลลึกหรือปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือมูลสัตว์ ต้องรีบรักษาทันที โดยไปแผนกฉุกเฉินหรือเรียกรถพยาบาลเมื่อเกิดอาการขากรรไกรค้าง
  2. น้ำมันมัสตาร์ดช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ส่วนกระเทียมช่วยต้านอักเสบ นอกจากนี้กระเทียมยังมีสรรพคุณต้านจุลชีพ (anti-microbial) เลยช่วยรักษาอาการติดเชื้อที่อาจทำให้อาการหนักขึ้นได้ ถ้าขากรรไกรไม่ได้ติดเชื้อหรืออักเสบ จะขยับง่ายขึ้นเยอะเลย [13]
    • ต้มกระเทียม 2 กลีบในน้ำมันมัสตาร์ด 1 ช้อนชา แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นใช้น้ำมันนี้นวดบริเวณที่ปวดหรือล็อค 2 - 3 ครั้งต่อวัน
    • ควรปรึกษาคุณหมอ หมอฟัน หรือหมอจัดฟันและขากรรไกรก่อนรักษาเองด้วยสมุนไพร
  3. ถ้าเอาสมุนไพรต่อไปนี้มาชงชาหรือน้ำสมุนไพรดื่ม จะช่วยเรื่องขากรรไกรค้างได้
    • คาวา คาวา (Kava kava) : ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการวิตกกังวล
    • ดอกเสาวรส (Passionflower) : ลดอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย และไม่สบายตัว จากกล้ามเนื้อตึงเกร็งและอารมณ์แปรปรวน
    • ฟีเวอร์ฟิว (Feverfew) : บรรเทาอาการปวด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    • คาโมไมล์ (Chamomile) : บรรเทาอาการระคายเคืองในผู้ใหญ่ และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากความตึงเครียด [14]
    • เปปเปอร์มินต์ (Peppermint) : บรรเทาอาการระคายเคืองและลดปวด
    • เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) : บรรเทาอาการปวดบวม [15]
  4. เพราะช่วยคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการแสบร้อนของระบบประสาท ลดกล้ามเนื้อกระตุกเกร็งที่ขากรรไกร [16] ถ้ากินอาหารอุดมแมกนีเซียม จะช่วยบรรเทาอาการตึงเกร็งและการอักเสบของกล้ามเนื้อ อันเป็นผลให้ขากรรไกรค้าง
    • อาหารที่อุดมแมกนีเซียมคืออัลมอนด์ มะม่วงหิมพานต์ กล้วย อะโวคาโด แอพริคอตอบแห้ง ถั่วเมล็ดกลม ถั่วฝัก ถั่วเหลือง และโฮลเกรน เช่น ข้าวฟ่าง และข้าวกล้อง [17]
    • ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำในแต่ละวัน ก็คือ 310 - 320 มก. สำหรับผู้หญิง และ 400 - 420 มก. สำหรับผู้ชาย [18] ก่อนเปลี่ยนแปลงอาหารให้ปรึกษาคุณหมอก่อน จะกินอาหารเสริมแมกนีเซียมด้วยก็ได้ ถ้าได้แมกนีเซียมจากอาหารประจำวันไม่เพียงพอ
  5. แคลเซียมช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก ถ้าเกิดภาวะพร่องแคลเซียม จะทำให้กล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง เรียกว่า tetany (ชักเกร็ง) [19] ให้เน้นกินอาหารอุดมแคลเซียม กระดูกขากรรไกรจะได้แข็งแรง กล้ามเนื้อขากรรไกรก็ขยับได้มากขึ้น ไม่กระตุกเกร็งจนขากรรไกรค้าง
  6. ร่างกายต้องได้รับวิตามินดีเพียงพอ ถึงจะดูดซึมแคลเซียมได้ดี ถ้าเกิดภาวะพร่องวิตามินดี จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง อาจจะปวดกระดูกได้ เพราะงั้นถ้าใครวิตามินดีไม่พอ ก็เสี่ยงเกิด TMJ และขากรรไกรค้างได้มากกว่าคนอื่น [22]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้นวดกล้ามเนื้อขากรรไกรเบาๆ ด้วยปลายนิ้ว ลองคลำหาสันกรามให้เจอบริเวณที่ปวดหรือดังคลิก แล้วนวดวนเบาๆ สักข้างละ 1 นาที จะช่วยคลายกล้ามเนื้อและเอ็นที่ยึดได้ [25]
  2. ประคบเย็นช่วยลดบวมลดอักเสบ ส่วนประคบร้อนช่วยบรรเทาปวดและคลายกล้ามเนื้อ [26] ให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือเอาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัด ส่วนประคบเย็นใช้เจลแพ็คหรือผ้าห่อถุงน้ำแข็งก็ได้ [27] นอกจากนี้ยังใช้ heat pack หรือแผ่นประคบร้อน บรรเทาอาการปวดเมื่อยตึงเกร็งที่คอและไหล่ได้ด้วย
    • ระวังอย่าให้ร้อนลวกหรือเย็นจนกัดผิว! ประคบเย็นแค่ 10 นาที หรือประคบร้อนแค่ 5 นาทีพอ ที่สำคัญต้องมีผ้าคั่นที่ประคบกับผิวไว้เสมอ ป้องกันผิวถูกลวก/กัด
  3. ต้องจัดท่าทางตัวเองให้เหมาะสมตลอดวัน โดยเฉพาะตอนนั่งทำงานที่โต๊ะ หน้าคอม หรือแค่นั่งเฉยๆ นานๆ หัวและคอต้องตั้งตรง กล้ามเนื้อจะได้ผ่อนคลาย ไม่ตึงเกร็ง
  4. คนที่กัดหรือบดฟันบ่อยๆ ยิ่งเสี่ยงเป็น TMJ เพราะมีแรงกดที่ข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะคนที่ นอนกัดฟัน ถ้าลดละเลิกพฤติกรรมตรงนี้ได้ ก็จะลดโอกาสเกิดขากรรไกรค้างเพราะ TMJ [28]
  5. เวลากล้ามเนื้อขากรรไกรเจ็บแน่น ต้องให้ขากรรไกรได้พัก อย่าไปเพิ่มภาระให้ขากรรไกร อาหารที่แนะนำก็เช่น ซุป/น้ำแกง ไข่ ปลา คอทเทจชีส สมูธตี้ และผักต้ม โดยกินทีละน้อยๆ อย่าเคี้ยวอะไรแข็งๆ เหนียวๆ [29]
    • อย่าเคี้ยวหมากฝรั่ง
  6. ขาดน้ำแล้วกล้ามเนื้อหดเกร็ง เป็นตะคริวง่าย ทำให้ยิ่งขากรรไกรค้าง [30] ให้ดื่มน้ำเรื่อยๆ กล้ามเนื้อและกระดูกจะได้แข็งแรง แต่ละวันต้องดื่มให้ได้ 8 แก้วขึ้นไป
    โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tetanus/symptoms-causes/dxc-20200458
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tetanus/symptoms-causes/dxc-20200458
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tmj/symptoms-causes/dxc-20209401
  4. http://www.findhomeremedy.com/11-effective-natural-cures-for-lockjaw/
  5. http://www.findhomeremedy.com/11-effective-natural-cures-for-lockjaw/
  6. https://naturallydaily.com/how-to-get-rid-of-lockjaw/
  7. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/
  8. https://medlineplus.gov/ency/article/002423.htm
  9. https://medlineplus.gov/ency/article/002423.htm
  10. http://emedicine.medscape.com/article/241893-overview
  11. https://medlineplus.gov/calcium.html
  12. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Calcium-Consumer/
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/vitamin-d-deficiency/faq-20058397
  14. https://medlineplus.gov/ency/article/002405.htm
  15. https://medlineplus.gov/ency/article/002405.htm
  16. https://www.painscience.com/articles/spot-07-masseter.php
  17. http://my.clevelandclinic.org/health/articles/treatment-options-for-temporomandibular-disorders-tmd
  18. http://www.findhomeremedy.com/11-effective-natural-cures-for-lockjaw/
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tmj/symptoms-causes/dxc-20209401
  20. http://my.clevelandclinic.org/health/articles/treatment-options-for-temporomandibular-disorders-tmd
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/symptoms-causes/dxc-20186052

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 54,478 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา