ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ใครๆ ก็ต้องเคย ที่นอนหลับสบายตอนกลางคืน แล้วอยู่ๆ เกิดเป็นตะคริวขึ้นมา โดยเฉพาะคนท้องกับคนสูงอายุ ตะคริวขานี้เกิดขึ้นได้ด้วยหลายสาเหตุด้วยกัน บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำข้อมูลและเคล็ดลับเด็ดๆ ช่วยแก้ตะคริวขาตอนนอนให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

แก้ตะคริวขาตอนนอนแบบพิสูจน์แล้วว่าเห็นผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าน้ำโทนิคที่มีควินินช่วยแก้ตะคริวขาตอนนอนได้ [1] แต่ขนาดองค์การอาหารและยาของอเมริกา หรือ FDA ยังไม่แนะนำให้กินควินินในปริมาณมาก ปกติจะพบในยา Qualaquin ที่ใช้แก้ตะคริวกล้ามเนื้อ [2] ข้อมูลจาก Cohrane Review ปี 2540 เกี่ยวกับงานวิจัยทั้งที่มีการตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์ พบว่ากลุ่มทดลองที่ใช้ควินินแล้ว เมื่อเทียบกับยาหลอก (placebo) ถึงจะอาการดีขึ้นจริง แต่ก็มีผลข้างเคียง โดยเฉพาะโรคเสียงดังในหู (tinnitus) เยอะกว่ากลุ่มที่ใช้ยาหลอก ผู้เขียนสรุปว่า "ด้วยเหตุผลเรื่องผลข้างเคียงของควินิน เลยแนะนำให้เริ่มรักษาแบบไม่ใช้ยาก่อนจะดีกว่า เช่น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อจากแรงภายนอก (passive muscle stretching) แต่ถ้าบำบัดรักษาแบบไม่ใช้ยาแล้วไม่เห็นผล ก็ควรใช้ควินินต่อไป โดยแพทย์ผู้สั่งยาต้องติดตามทั้งผลดีและผลเสียที่เกิดกับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด" [3]
  2. ขวดน้ำร้อนหรือผ้าห่มไฟฟ้าจะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดตะคริวได้ แต่ห้ามใช้ผ้าห่มไฟฟ้าแล้วเผลอหลับไปเด็ดขาด
    • ถ้ามีแผ่นประคบร้อน อาจจะทาวิคส์ วาโปรับ แล้วนวดบริเวณที่เป็นตะคริวร่วมด้วย สักพักจะรู้สึกเย็นขึ้น ช่วยลดตะคริวได้
  3. เป็นไปได้ว่าร่างกายคุณขาดโพแทสเซียม เลยทำให้เป็นตะคริวขาหรือแขนตอนนอน (ส่วนใหญ่จะเป็นขา) [4] ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ ให้ลองเพิ่มอาหารที่อุดมโพแทสเซียม ตามที่แนะนำไว้ด้านล่าง หรือกินอาหารเสริมโพแทสเซียมควบคู่ไปกับมื้ออาหารแทน แหล่งโพแทสเซียมตามธรรมชาติก็เช่น
    • ผลไม้ เช่น กล้วย เนคทารีน (nectarines คือท้อประเภทหนึ่ง) อินทผาลัม แอพริคอต ลูกเกด และองุ่น
    • ผักตระกูลกะหล่ำหรือบร็อคโคลี
    • ส้มและเกรปฟรุต
    • ปลาทะเล หมู และแกะ
  4. ถ้าตั้งครรภ์อยู่ ให้กินอาหารเสริมแมกนีเซียม. ถ้าเป็นคุณแม่ยังสาว กินอาหารเสริมแมกนีเซียมจะดีเป็นพิเศษ เพราะสำคัญต่อการทำงานทั่วไปของร่างกาย [5] [6] แต่ถ้าอายุค่อนข้างมากหรือไม่ได้ให้นมลูกแล้ว งานวิจัยชี้ว่ากินอาหารเสริมแมกนีเซียมแล้วจะไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่
  5. บางทีก็เป็นตะคริวตอนนอนเพราะร่างกายขาดน้ำ เพราะงั้นต้องดื่มน้ำ (H 2 O) ให้เพียงพอระหว่างวัน ตอนกลางคืนนอนหลับแล้วจะได้ไม่เป็นตะคริว
    • แล้วควรจะดื่มน้ำมากแค่ไหนในแต่ละวัน? จากข้อมูลของ Mayo Clinic พบว่าผู้หญิงควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณ 2.2 ลิตร (0.6 แกลลอนอเมริกา) ต่อวัน ส่วนผู้ชายให้ดื่มประมาณ 3 ลิตร (0.8 แกลลอนอเมริกา) ต่อวัน [7]
    • จะรู้ได้ยังไงว่าเราดื่มน้ำมากพอแล้ว? ก็ต้องสังเกตจากสีของฉี่ตัวเอง ถ้าฉี่ค่อนข้างใส แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้าฉี่สีเหลือง โดยเฉพาะเหลืองเข้ม แปลว่าต้องดื่มน้ำมากกว่านั้น
    • งดแอลกอฮอล์ เพราะดื่มแอลกอฮอล์มากๆ แล้วร่างกายจะเสียน้ำ ยิ่งเป็นตะคริวหนักกว่าเดิม แถมการลดละเลิกแอลกอฮอล์ยังดีต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมด้วย
  6. เป็นยาที่บล็อกไม่ให้แคลเซียมเข้าสู่เซลล์ต่างๆ และผ่านผนังหลอดเลือดในร่างกาย ปกติจะใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่ก็แก้ตะคริวที่เกิดตอนนอนได้เช่นกัน [8] แต่ควรกินไหม และมากน้อยแค่ไหน ต้องปรึกษาคุณหมอประจำตัวดู
  7. ถ้าผ้าปูหรือผ้าคลุมเตียงตึงเกินไป ตอนนอนอาจจะทำให้ปลายเท้าชี้ลงได้ กระตุ้นให้เกิดตะคริวที่น่อง เพราะงั้นพยายามปูที่นอนหลวมๆ หน่อยจะช่วยได้ แต่ถ้าเป็นตะคริวไปแล้ว ให้รีบเกร็งนิ้วเท้าเข้าหาตัว [9]
  8. ถ้ายืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องก่อนนอน จะช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ ให้อ่านวิธีการถัดไป ว่าจะบริหารกล้ามเนื้อน่องได้ยังไง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ยืดเหยียดแก้ตะคริว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถือผ้าขนหนูหรือผ้าปูเตียงในแนวนอน แล้วยืดเท้าและขาไปตรงกลาง พับเหมือนแฮมเบอร์เกอร์ครึ่งชิ้น ให้ห่อขาส่วนที่เป็นตะคริวไว้ จากนั้นจับปลายผ้าแล้วดึงกระชับเหมือนเด็กติดผ้าห่ม ท่ายืดเหยียดนี้ช่วยกดและนวดขาอย่างเห็นผล
  2. นั่งลง ยืดขาข้างหนึ่งออกไป แต่งอขาอีกข้าง (ข้างที่จะยืดเหยียด) ให้เข่าใกล้อก จับฐานนิ้วเท้าของขาข้างที่งอไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวให้ได้มากที่สุด [10]
  3. นอนตะแคงไปทางต้นขาข้างที่ไม่ได้เป็นตะคริว หันหน้าหากำแพง ยืดขาข้างที่เป็นตะคริว ให้ตั้งฉากกับลำตัว ขาจะได้แตะกำแพงและเหยียดตรง ทำท่านี้ค้างไว้ 10 - 20 วินาที แล้วค่อยหดขากลับมา เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
  4. ยืดเหยียดเอ็นร้อยหวาย ที่เชื่อมส้นเท้าและน่องเข้าด้วยกัน. นั่งลง เหยียดขาข้างหนึ่ง งอขาอีกข้าง ขยับส้นเท้าของขาข้างที่งอเข้ามาหาก้น กดส้นเท้าให้ราบไปกับพื้น ยกนิ้วเท้าขึ้น แล้วค้างไว้จนยืดเหยียดคลายกล้ามเนื้อได้เห็นผล
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

แก้ตะคริวตอนนอนแบบบ้านๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วางสบู่ก้อนทั่วไป รองขาส่วนที่เป็นตะคริวไว้. หรือหยดสบู่เหลวสูตรอ่อนโยนป้องกันการแพ้ ตรงส่วนที่เป็นตะคริวโดยตรง รอ 2 - 3 วินาที แล้วเขาว่าตะคริวจะ (เกือบ) หายไป!
    • ทำไมสบู่แก้ตะคริวได้? บางคนก็ว่าไม่ได้ผล แต่เขาว่าสบู่ที่แนบน่องจะมีโมเลกุลกระจายออกมา ช่วยบรรเทาอาการได้ดี [11] หรือเป็นเพราะโมเลกุลที่เคลื่อนไหว กระจายไปในอากาศได้ หรือแค่เพราะมีอะไรไปแนบส่วนที่เป็นตะคริวโดยตรง
  2. ทฤษฎีนี้เชื่อว่านมช่วยแก้ภาวะแคลเซียมไม่สมดุล เลยแก้ตะคริวกลางดึกได้ แต่อีกมุมหนึ่ง นมก็มีฟอสฟอรัสสูง อาจทำให้ตะคริวยิ่งแย่ได้ เพราะงั้นก็ต้องลองดูว่าได้ผลสำหรับคุณหรือเปล่า หลายคนเขาก็ว่าได้ผลอยู่นะ
  3. คนนิยมใช้น้ำมันพริมโรสแก้หลายโรค ตั้งแต่สิวกับผื่นแพ้ผิวหนัง (eczema) ไปจนถึงคอเลสเตอรอลสูงและโรคหัวใจ เพราะงั้นก็เป็นไปได้ว่าน้ำมันพริมโรสแก้ตะคริวหรือปวดขาเพราะหลอดเลือดอุดตันได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานหรืองานวิจัยมารองรับเท่าไหร่ [12] ลองกินน้ำมันพริมโรส 3 - 4 กรัม (0.11 - 0.14 ออนซ์) ก่อนนอนดู
  4. ยีสต์ชนิดนี้น่าจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงขาได้สะดวกขึ้น เพราะไปเพิ่มวิตามินบี คุณหมอบางคนก็แนะนำ แต่ยังไม่มีการทดลองทางคลินิกที่เห็นผล ฟันธงได้ชัดเจน [13] ยังไงลองใช้ brewer's yeast วันละ 1 ช้อนโต๊ะดู
  5. skullcap ช่วยแก้วิตกกังวลและนอนไม่หลับ ปกติคนนิยมกินร่วมกับ valerian ที่เป็นเหมือนยากล่อมประสาท [14] [15] ถึงการทดลองทางคลินิกจะพบว่า skullcap ทำให้ตับเสียหายได้ แต่ในกรณีที่ใช้ร่วมกับสมุนไพรบางชนิดเท่านั้น [16]
    • ถ้าจะใช้สมุนไพรอย่าง valerian กับ skullcap หรือเอาไปทำทิงเจอร์ ต้องอ่านฉลากให้ละเอียด โดยเฉพาะ valerian ที่มีกลิ่นฉุน บางคนก็ไม่ชอบ หรือใช้เวลานานกว่าจะรับได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ยาที่อาจทำให้เป็นตะคริวขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นยาที่เอาไว้ขับน้ำส่วนเกินจากร่างกาย โดยส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ แล้วเปลี่ยนเป็นฉี่ คุณอาจจะพอเดาได้ ว่าทำไมยาชนิดนี้ถึงก่อปัญหาให้คนที่มักเป็นตะคริว นั่นเพราะตะคริวบางทีก็เกิดเพราะภาวะขาดน้ำ ถ้าคุณใช้ยาชนิดนี้อยู่แล้วชอบเป็นตะคริวขาตอนกลางคืน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเปลี่ยนไปใช้ยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ระยะยาวแทน หรือให้คุณหมอแนะนำทางเลือกอื่นให้ [17]
  2. thiazide diuretics ก็เหมือนยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น คือทำให้เกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกายพร่องไป จนเป็นตะคริวได้ง่ายกว่าเดิม ปกติคนนิยมใช้ thiazide diuretics รักษาโรคอย่างความดันโลหิตสูงและหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
    • ยารักษาความดันสูงอีกกลุ่มคือ beta-blockers ก็ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้ เพราะ beta-blockers ไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนกลุ่มอะดรีนาลีน ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) ช้าลง นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังชี้ชัดไม่ได้ ว่าทำไมถึงทำให้ขาเป็นตะคริวได้ แต่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการที่หลอดเลือดแดงหดตัว
  3. เป็นยาที่ใช้แก้คอเลสเตอรอลสูง เลยอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ ทำให้พลังงานในกล้ามเนื้อลดลง ต้องลองปรึกษาคุณหมอ ว่าสามารถเปลี่ยนยากลุ่ม statins และ fibrates เป็นวิตามินบี 12 กรดโฟลิก และวิตามินบี 6 แทนได้ไหม [18]
  4. ยาลดความดันกลุ่ม ACE-inhibitors จะไปยับยั้ง angiotensin II หรือฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว บางทียากลุ่ม ACE-inhibitors ทำให้สมดุลเกลือแร่ของโพแทสเซียมเสียไป จนกล้ามเนื้อเป็นตะคริวนั่นเอง
  5. เช็คว่ายารักษาโรคจิต (anti-psychotics) ทำให้เกิดตะคริวขาไหม. ถ้าคุณเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia), โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar) หรือโรคทางจิตอื่นๆ ก็คงต้องใช้ยาที่ช่วยแก้อาการซึมเศร้า เห็นภาพหลอน และหงุดหงิดกังวลใจ ซึ่งยากลุ่มนี้ เช่น Abilify, Thorazine และ Risperdal อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม และอ่อนแรงได้ จนเกิดตะคริวที่ขาขึ้นมา จึงควรปรึกษาคุณหมอ ถ้าแน่ใจว่าเป็นตะคริวขาเพราะยารักษาอาการทางจิตพวกนี้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สาเหตุหลักที่ทำให้ขาเป็นตะคริวตอนกลางคืนมากที่สุด คือภาวะขาดแมกนีเซียม ร่างกายต้องได้รับแมกนีเซียม 200 มก. ทุกวัน สักพักถึงจะเห็นผล
  • เขาว่าดื่มน้ำแตงกวาดองแล้วช่วยแก้ตะคริวขาได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเป็นตะคริวขาบ่อยๆ (เป็นทุกคืน คืนละ 2 - 4 ครั้ง) แปลว่าคุณน่าจะมีโรคหรือความผิดปกติทางร่างกายสักอย่างแล้ว ให้ไปตรวจร่างกายกับคุณหมอโดยเร็วจะดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,183 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา