ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายคนประสบกับปัญหาท้องอืด ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายตัวมากๆ ได้ แต่โชคดีที่มีหลายวิธีที่จะทำให้ดีขึ้นหรือกำจัดมันโดยการปรับเปลี่ยนการกินหรือวิถีชีวิต แต่หากวิธีการเหล่านี้ไม่ได้ผลก็ให้ขอคำปรึกษากับแพทย์ดีกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

บรรเทาอาการโดยทันทีด้วยยาหน้าเคาน์เตอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์. อาหารเสริมโพรไบโอติกส์จะประกอบไปด้วยยีสต์และแบคทีเรียที่เหมือนกับในลำไส้ที่ดี โดยแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยอาหาร ซึ่งอาจจะช่วยให้อาการท้องอืดเนื่องจากอาการเหล่านี้ลดลงได้ : [1]
    • ท้องเสีย
    • ลำไส้แปรปรวน
    • ย่อยยาก
  2. แม้ว่ามีการรักษาด้วยธรรมชาติแบบนี้มากแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่ามันสามารถขจัดแก๊สได้จริงๆ แต่หากสนใจก็สามารถลองดูได้ โดยซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ตัวที่มีชาร์โคลเป็นส่วนประกอบ : [2]
    • Charcoal Plus
    • CharcoCaps
  3. ยาเหล่านี้จะช่วยทำลายฟองแก๊สที่ก่อความอึดอัดในทางเดินอาหารและทำให้การลำเลียงอาหารสะดวกขึ้น แม้จะใช้กันมาก แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าได้ผลจริง ดังนั้นหากจะใช้ก็ให้อ่านและทำตามคำแนะนำบนฉลากของผู้ผลิต ยี่ห้อทั่วไปจะมี: [3]
    • Mylanta
    • Gas-X
    • Mylicon
    • Gelusil
  4. ถ้าชอบกินถั่ว กะหล่ำปลีและบล็อกโคลี่จริงๆ และไม่อยากตัดมันออกไป อาจจะแก้ได้ด้วยการใช้ Beano โดยผลิตภัณฑ์นี้ประกอบด้วยเอนไซม์ที่ช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารโดยไม่เกิดแก๊สมากนัก [4] [5]
    • สามารถซื้อ Beano ได้ที่ร้านขายยาทั่วไป โดยมีทั้งแบบเม็ดและแบบหยอด
    • อ่านและทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต
  5. หลายคนที่ไม่ย่อยแลคโตสอาจจะยังคงโหยหาผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ไอศกรีม ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเลิกกินหรอก โดยสามารถใช้เอนไซม์นี้ได้ ยี่ห้อทั่วไปก็มี : [6]
    • Lactaid
    • Dairy Ease.
    โฆษณา


ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนโภชนาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยสามารถทดแทนด้วยผักและผลไม้อื่นที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งไม่รบกวนการย่อยอาหารและทำให้เกิดอาการท้องอืดที่แสนทรมาน รวมทั้งการกินขนมปังกรอบทั่วไปก็อาจทำให้ท้องอืดได้เพราะมันมีน้ำตาลสูง รวมถึงไขมันทรานส์อย่างน้ำมันปาล์ม ซึ่งการรวมตัวของน้ำตาลกับไขมันมากๆ นั้นอาจจะทำให้จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้แย่ลง โดยลองลดการกินของเหล่าดูและสังเกตว่าดีขึ้นไหม และอาหารเหล่านี้มักก่อให้เกิดแก๊สในการย่อย : [7]
    • กะหล่ำปลี
    • กะหล่ำดาว
    • ดอกกะหล่ำ
    • บล็อกโคลี่
    • ถั่ว
    • ผักกาดขาว
    • หัวหอม
    • แอปเปิ้ล
    • ลูกพีช
    • ลูกแพร์
  2. แม้ว่าใยอาหารจะดีต่อสุขภาพและช่วยในการลำเลียงอาหารผ่านทางเดินอาหาร แต่มันก็สามารถเพิ่มปริมาณแก๊สในลำไส้ได้ โดยอาหารที่มีเส้นใยสูงนี้รวมถึงขนมปังธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวกล้อง โฮลวีตและรำข้าว [8]
    • ถ้าเพิ่งปรับการกินโดยเพิ่มใยอาหารไม่ว่าจะด้วยอาหารเสริมหรือเปลี่ยนไปกินอาหารแบบธัญพืชเต็มเมล็ด ก็ต้องค่อยๆ ปรับอย่างช้าๆ ลดปริมาณใยอาหารที่กินลงแล้วค่อยเพิ่มใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว
  3. ร่างกายจะย่อยอาหารที่มีไขมันได้ช้า เวลาในการย่อยที่เพิ่มขึ้นมานี้ก็รวมถึงเวลาที่มากขึ้นในการสร้างและสลายแก๊สด้วย นี่คือวิธีการต่างๆ ในการลดปริมาณการบริโภคไขมัน: [9]
    • กินเนื้อไม่ติดมัน เช่น ปลาและสัตว์ปีกแทนเนื้อแดงที่เต็มไปด้วยไขมัน แต่ถ้ายังอยากกินอยู่ก็ให้เลาะเอาส่วนมันๆ ตรงหนังออก [10]
    • ดื่มนมไขมันต่ำหรือนมขาดมันเนยแทนนมสดบริสุทธิ์ เพราะแม้ว่าจริงๆ แล้วคนเราต้องการไขมันในการที่จะใช้ละลายวิตามินบ้างบางชนิด แต่คนส่วนใหญ่จะกินมากเกินไป [11]
    • ทำอาหารกินเองที่บ้าน เพราะอาหารตามร้านทั่วไปจะมีครีม เนยและน้ำมันเยอะ แต่การทำด้วยตัวเองจะสามารถควบคุมปริมาณไขมันที่ใส่ลงไปได้ โดยอาหารฟาสต์ฟู้ดส่วนมากจะมีไขมันสูงด้วย
  4. ดูด้วยว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะเป็นปัญหาไหม. ถ้ากำลังควบคุมอาหารและพยายามที่จะตัดการบริโภคน้ำตาลก็ให้ใช้อย่างอื่นมาทดแทน แต่บางคนก็มีปฏิกิริยากับมันแล้วทำให้เกิดแก๊สหรือท้องเสีย ดังนั้นก็ให้ตรวจสอบจากอาหารควบคุมน้ำหนักที่ซื้อให้ดี เพราะสารเหล่านี้ถูกใส่ในอาหารแคลอรี่ต่ำหลายอย่าง โดยให้มองหาส่วนประกอบเหล่านี้: [12]
    • ไซลิทอล
    • ซอร์บิทอล
    • แมนนิทอล
  5. เด็กจะย่อยแลคโตสได้ดีกว่าเพราะหลายคนจะสูญเสียความสามารถในการย่อยผลิตภัณฑ์จากนมไปตามอายุที่ล่วงเลย โดยแก๊สและอาการท้องอืดจะเป็นอาการทั่วๆ ไป ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้หลังจากกินผลิตภัณฑ์จากนม อาจต้องลดการบริโภคลงดูแล้วดูว่าได้ผลไหม ผลิตภัณฑ์ที่ต้องจำกัดมี : [13]
    • นม บางคนก็ดื่มได้ถ้ามันถูกต้มให้เดือดทั่วและอุณหภูมิสูงๆ ก่อน
    • ไอศกรีม
    • ครีม
    • ชีส
  6. เช่น โยเกิร์ตและนมบัวหิมะที่มีการเจริญของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยในการย่อยอาหารอย่างเหมาะสม และการกินโยเกิร์ตอาจจะช่วยได้ หากมีปัญหาการย่อยมาจากสิ่งเหล่านี้ : [14]
    • อาการลำไส้แปรปรวน
    • เพิ่งจะกินยาปฏิชีวนะที่รุนแรง จนอาจจะไปลดแบคทีเรียที่ดีต่อลำไส้ในทางเดินอาหารได้
  7. ถ้ากินเกลือมากมันจะทำให้กระหายและทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้เพื่อรักษาสมดุลของอิเล็คโทรไลท์ โดยถ้ารู้สึกกระหายหลังกินเสร็จเป็นประจำให้ลองลดการกินเกลือด้วยการ : [15] [16]
    • ไม่เติมเกลือลงไปในอาหารทั้งช้อน ถ้าติดนิสัยแล้วก็ให้ใช้เป็นขวดแบบเขย่าแทน
    • อย่าใส่เกลือในน้ำที่หุงข้าวหรือพาสต้า รวมทั้งลดปริมาณเกลือที่หมักในเนื้อก่อนทำอาหาร
    • เมื่อซื้อสินค้าที่เป็นแบบกระป๋องให้ดูว่าเป็นแบบโซเดียมต่ำด้วย ซึ่งก็คือปริมาณเกลือที่ต่ำเช่นกัน เพราะสินค้าหลายอย่างถูกบรรจุกระป๋องโดยใช้น้ำเกลือ
    • กินข้างนอกบ้านให้น้อยลง เพราะร้านอาหารมักจะใส่เกลือลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ปรับวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้ร่างกายลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่างๆ ได้เร็วขึ้น โดยย่นระยะเวลาที่มันจะอยู่ในลำไส้และหมักหมมอยู่อย่างนั้น นอกจากนี้มันยังช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เพิ่มระบบเมตาบอลิซึมและผ่อนคลายทั้งภายนอกร่างกายและภายในจิตใจอีกด้วย [17]
    • มาโยคลินิกแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิค 75 - 150 นาทีต่อสัปดาห์หรือครั้งละ 15 – 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเลือกทำกิจกรรมที่ชอบ ซึ่งคนส่วนใหญ่ขอบวิ่งเหยาะ เดิน ว่ายน้ำ หรือเข้าร่วมทีมกีฬา เช่น บาสเกตบอลหรือวอลเล่ย์บอล
    • เริ่มง่ายๆ ก่อนแล้วก็ค่อยเพิ่มความเข้มข้นให้สูงขึ้น โดยหากมีปัญหาสุขภาพที่จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการออกกำลังกายให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
  2. ถ้ามีอาการนี้ ของเสียจะไม่ถูกขับถ่ายออกมาตามที่ควร นั่นแสดงว่ามันมีเวลาในการที่จะหมักหมมอยู่ในลำไส้เพิ่มและมันจะผลิตแก๊สมากขึ้น และมันอาจจะไปขัดทางระบายออกของแก๊สด้วย [18]
    • กินมื้อย่อยบ่อยๆ เพื่อให้ระบบยังทำงานอยู่ตลอดโดยไม่เป็นภาระมากเกินไป โดยลองกินมื้อหลักให้น้อยลงแล้วเพิ่มของว่างไประหว่างมื้อเช้ากับมื้อเที่ยงและมื้อเที่ยงกับมื้อเย็น
  3. หลายคนมักจะกลืนอากาศเข้าไปโดยไม่รู้ตัว และหากมีนิสัยเหล่านี้อาจจะต้องเปลี่ยน [19]
    • สูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่มักจะกลืนอากาศเข้าไปตอนที่สูบทำให้เกิดอาการท้องอืดและแก๊ส ซึ่งสามารถลดอาการเหล่านี้และปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้โดยเลิกมัน
    • จิบเครื่องดื่มด้วยหลอด คล้ายกับการสูบบุหรี่โดยการดูดในอากาศจะทำให้เหมือนจะกลืนมันเข้าไป
    • เขมือบอาหาร คนส่วนใหญ่จะกลืนอากาศมากเมื่อกินเร็วเกินไปและไม่ใช้เวลาในการเคี้ยวเลย ดังนั้นพยายามใช้สติในการกินอย่างช้าๆ ซึ่งมันยังช่วยให้กินน้อยลงด้วย
    • เคี้ยวหมากฝรั่งหรือกินลูกอมแข็งๆ ในการเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดูดลูกอมและชิมรสชาติทำให้การสร้างน้ำลายเพิ่มขึ้น ซึ่งมันทำให้กลืนมากขึ้นและก็เหมือนกับเป็นการเพิ่มการกลืนอากาศที่มากขึ้นไปด้วย
  4. เครื่องดื่มมีฟองหรือโซดามีรสชาติดีแต่มันจะปล่อยแก็สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยการงดมันจะทำให้สามารถลดปริมาณแก๊สที่จะเข้าไปสู่ลำไส้ ซึ่งมีดังนี้: [20]
    • โซดาและน้ำอัดแก๊ส
    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผสมโซดา
  5. ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียดขึ้นมาได้เองเมื่ออยู่ภายใต้ความกดดันมากๆ โดยฮอร์โมนตัวนี้สามารถปรับการย่อยอาหารไป ถ้าเครียดมากก็ลองผ่อนลงด้วยวิธีที่ร่างกายตอบสนองดู เพราะไม่เพียงแต่จะรู้สึกผ่อนคลายแต่ยังอาจปรับการย่อยให้ดีขึ้นได้ด้วย [21] [22]
    • ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย โดยนี่เป็นขั้นตอนหลายอย่างที่หลายคนใช้ ซึ่งสามารถใช้วิธีต่างๆ ได้จนพบว่าอันไหนดีสุด : มองภาพที่ทำให้รู้สึกสงบ นั่งสมาธิ โยคะ นวด รำไทเก็ก ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด หายใจเข้าออกแบบลึกๆ หรือบีบและคลายกล้ามเนื้อแต่ละกลุ่มในร่างกาย
    • นอนหลับให้เพียงพอ ผู้ใหญ่ส่วนมากต้องการนอนอย่างน้อย 7 – 8 ชั่วโมงต่อคืน โดยถ้าพักผ่อนได้ดีจะทนกับความเครียดในชีวิตได้ดีขึ้นและแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ [23]
    • รักษาการติดต่อทางสังคมกับเพื่อนและครอบครัว โดยการคงความสัมพันธ์ทางสังคมไว้จะช่วยให้มีการสนับสนุนที่ดีจากบุคคลรอบข้าง และหากคนที่ให้ความสำคัญด้วยอยู่ไกลก็สามารถติดต่อด้วยโทรศัพท์ จดหมาย อีเมลหรือสังคมออนไลน์ได้ [24]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

มองหาการช่วยเหลือทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรไปพบแพทย์ ถ้าอาการปวดมันหนักจนทำลายชีวิตประจำวัน โดยอาการเหล่านี้อาจจะบ่งบอกโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการรักษา : [25]
    • คลื่นไส้อยู่ตลอด
    • อุจจาระสีดำหรือมีสีแดงสดเป็นเลือดริ้วๆ
    • ท้องเสียหรือท้องผูกอย่างรุนแรง
    • ปวดทรวงอก
    • น้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ
  2. มันมีอาการหลายแบบที่จะทำให้เกิดแก๊สได้เหมือนกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นแค่แก๊สก็ไปให้หมอตรวจได้ โดยอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนแก๊สได้เหมือนกัน : [26]
    • ไส้ติ่งอักเสบ
    • นิ่วในถุงน้ำดี
    • ลำไส้อุดตัน
    • ลำไส้แปรปรวน
    • โรคหัวใจ
  3. ต้องซื่อสัตย์และเปิดใจรับกับหมอ โดยต้องตรวจภายนอกร่างกายและถามเกี่ยวกับอาหารการกินเพื่อที่จะได้วินิจฉัยได้ดีที่สุด [27]
    • ให้หมอแตะหน้าท้องและฟังว่ากลวงไหม ถ้าใช่ก็หมายความว่ามีแก๊สมาก
    • หมออาจจะฟังเสียงด้วยสเตรโตสโคป โดยเสียงท้องร้องอาจเป็นสัญญาณของการมีแก๊สในลำไส้เล็กมาก
    • บอกนิสัยการกินจริงๆ ทั้งหมดกับหมอ
    • เตรียมประวัติการรักษารวมทั้งรายการยา อาหารเสริมและวิตามินทั้งหมดที่กินให้หมอ
    โฆษณา
  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002467.htm
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000104.htm
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/basics/causes/con-20019271
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/basics/treatment/con-20019271
  5. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/expert-answers/probiotics/faq-20058065
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002415.htm
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/water-retention/art-20044983
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/basics/fitness-basics/hlv-20049447
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/in-depth/gas-and-gas-pains/art-20044739?pg=2
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/basics/causes/con-20019271
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/in-depth/gas-and-gas-pains/art-20044739
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-management/art-20044289?pg=2
  13. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/relaxation-technique/art-20045368?pg=2
  14. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-management/art-20044289?pg=2
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-management/art-20044289?pg=2
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/basics/symptoms/con-20019271
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/basics/symptoms/con-20019271
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/basics/tests-diagnosis/con-20019271

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,987 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา