PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

หลายสูตรแก้แฮงค์หรือเมาค้างหลังดื่ม มักมีแต่วิธีไม่น่าอภิรมย์ เหมือนเอาไว้แกล้งกันมากกว่า บางทีก็อดสงสารบรรพบุรุษยุคก่อนๆ ไม่ได้ ก็สมัยนั้นยังไม่มีร้านขายยานี่นะ บทความวิกิฮาวนี้เลยจะมาแนะนำวิธีการทำให้สร่างเมาแบบอ่อนโยนต่อร่างกายและจิตใจ รับรองทำแล้วจะรู้สึกดีขึ้น ตื่นเช้ามาไม่คลื่นไส้ อาหารย่อยแน่นอน

ต่อไปนี้เป็น 10 สูตรแก้ปวดท้องหลังดื่มแอลกอฮอล์แบบเห็นผล

1

ดื่มน้ำที่ช่วยให้สบายท้อง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำเปล่า น้ำแกง เครื่องดื่มเกลือแร่ หรือน้ำขิงช่วยคุณได้. อาการคลื่นไส้และปวดท้องพอประมาณหลังดื่มมาทั้งคืน มักเกิดจากเยื่อบุกระเพาะระคายเคือง เพราะมีกรดเกินในกระเพาะ [1] ต่อไปนี้เป็นเครื่องดื่มอ่อนๆ ช่วยให้สบายท้อง ปรับสภาพกระเพาะให้ปกติ
    • ปกติน้ำเปล่าช่วยได้เสมอ แค่จิบไปช้าๆ จนพอใจ
    • แกงจืดใสๆ เบาๆ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ไอโซโทนิก ช่วยบรรเทาหลายอาการพร้อมกัน โดยเติมเกลือกลับเข้าสู่ระบบของร่างกาย ร่างกายได้รับน้ำด้วย
    • น้ำขิงก็เชื่อกันมานาน ว่าแก้คลื่นไส้ ซึ่งก็มีหลักฐานงานวิจัยรองรับอยู่พอประมาณ แต่บางคนส่วนน้อยมากๆ ก็ดื่มแล้วให้ผลตรงกันข้ามซะงั้น [2]
    โฆษณา
2

กินขนมหรืออาหารที่เป็นแป้งจืดๆ สักหน่อย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารแบบนี้นอกจากแก้ปวดท้องแล้ว ยังแก้สั่น ไม่มีแรง เพราะน้ำตาลในเลือดตกฮวบได้ด้วย [3] พยายามกินช้าๆ หน่อย จะได้ไม่คลื่นไส้หรืออาเจียนกะทันหัน
3

ดื่มเครื่องดื่มหวานๆ หรือซ่าๆ เฉพาะตอนคลื่นไส้หรือกรดไหลย้อน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เครื่องดื่มพวกนี้ทำให้ปวดท้องกว่าเดิม แต่ช่วยแก้คลื่นไส้ได้. พวกน้ำแร่ซ่าๆ หรือน้ำอัดลม เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มติดบ้านที่ช่วยแก้คลื่นไส้ กรดไหลย้อนได้ แต่ข้อเสียคืออาจจะอาหารไม่ย่อยหรือปวดท้องกว่าเดิม ที่ว่าช่วยได้เพราะน้ำตาลในน้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม จะไปแก้ท้องไส้ปั่นป่วน แก้แฮงค์ได้ดี แต่ไม่แนะนำให้ดื่มตอนกำลังปวดท้อง [4]
    • น้ำซ่าๆ อัดแก๊สทั้งหลาย โดยเฉพาะน้ำอัดลม ข้อเสียคือมีความเป็นกรด แต่ไม่น่าเชื่อว่าในคนส่วนใหญ่ ไม่ทำให้กรดไหลย้อนหรือกรดในกระเพาะมากไปกว่าเดิม [5] แต่บางคนก็ดื่มแล้วอาการไม่ค่อยดี แนะนำให้แค่จิบๆ ก่อน แล้วสังเกตอาการ
    • หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและผลิตภัณฑ์นม. เพราะเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้ปวดท้องคลื่นไส้กว่าเดิม หลังดื่มแอลกอฮอล์มาทั้งคืน [6]
    โฆษณา
4

ซื้อยากินเอง ถ้าแสบร้อนกลางอกหรืออาหารไม่ย่อย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาลดกรด หรือยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการทั่วไปได้. ยาชนิดที่ว่า ช่วยบรรเทาอาการเฉพาะหน้า และใช้บรรเทาอาการต่อเนื่องใน 2 - 3 วันได้อย่างปลอดภัย [7] ก็เหมือนยาทุกชนิด คือห้ามกินเกินครั้งละ 1 เม็ด ยกเว้นว่าแพทย์แนะนำ ต่อไปนี้เป็นข้อมูลยาที่ควรรู้
    • ยาลดกรด หาง่ายแถมใช้แล้วเห็นผลดี ถ้าเป็นยาลดกรดที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนต (เช่น Alka-Seltzer) จะเห็นผลน้อยกว่า แต่ผลข้างเคียงก็น้อยตาม [8]
    • ยาต้านตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 (หรือยายับยั้งการหลั่งกรด) นี่แหละน่าสนใจ ลองสอบถามเภสัชกร หรือหาซื้อยาชื่อประมาณ cimetidine, ranitidine, nizatidine และ famotidine [9]
    • ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump inhibitors (PPIs) เช่น omeprazole เหมาะกับอาการที่ต่อเนื่องหลายวัน แต่ไม่ได้บรรเทาอาการเฉพาะหน้า [10]
    • ถ้ากินยาพวกนี้แล้วไม่หายปวดท้อง หรือยังมีอาการต่อไปอีก 2 - 3 วัน แนะนำให้ไปหาหมอจะดีกว่า
5

ถ้าไม่มียา ให้ใช้เบคกิ้งโซดา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เบคกิ้งโซดาเป็นยาลดกรดที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ดีเป็นพิเศษ แต่ก็หาง่าย. ถ้าหาร้านขายยาไม่ได้ ไปร้านขายยาไม่ไหว ก็ลองมองหายาลดกรดง่ายๆ ในครัวดู ถึงจะไม่ทำให้หายปวดท้องดีเท่ายาลดกรดอื่นๆ แต่อย่างน้อยก็บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก หรืออาหารไม่ย่อยจากกรดเกินในกระเพาะ [11] ลองผสมเบคกิ้งโซดา 1/2 ช้อนชา (3 มล.) กับน้ำเปล่า 1/2 ถ้วยตวง (125 มล.) ดู [12]
    • แนะนำให้ใช้สูตรนี้แค่ชั่วคราวเท่านั้น และไม่เหมาะกับคนที่แพทย์สั่งให้กินอาหารโซเดียมต่ำอยู่ ที่สำคัญคือสูตรนี้ใช้แล้วอาจทำให้ดูดซึมยาที่แพทย์สั่งไม่ค่อยได้
    โฆษณา
6

กินวิตามินบี 6 แบบเม็ด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิตามินบี 6 ก็ช่วยได้ แต่แนะนำให้กินดักไว้ตั้งแต่คืนก่อนหน้า. มีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าคนที่กินวิตามินบี 6 ตลอดคืนที่ดื่มแอลกอฮอล์ จะมีอาการเมาค้างน้อยลงถึงครึ่งหนึ่งเลย [13] พอเช้าวันถัดมา ก็ไม่ได้ถึงกับหายเมาค้างแบบมหัศจรรย์ แต่ก็พอช่วยได้ [14] อย่างน้อยที่สุดคือเติมสารอาหารที่พร่องไปหลังดื่มแอลกอฮอล์ [15]
7

กินยาอะเซตามีโนเฟน อย่ากิน NSAIDs

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แอสไพรินกับไอบูโพรเฟนทำให้กระเพาะระคายเคืองได้. หลายคนพึ่งยาแก้ปวดจนเคยตัว เวลาเมาค้างจนปวดหัวตุบๆ แต่ถ้าท้องก็ปวดอยู่แล้ว อย่าไปกินยาอย่างแอสไพริน ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน และ NSAIDs ให้ระคายเคืองกว่าเดิม ถ้าปวดท้องแนะนำอะเซตามิโนเฟน (พาราเซตามอล หรือ Tylenol นั่นเอง) ขนานน้อยๆ จะดีกว่า [18]
    • คำเตือน: อะเซตามิโนเฟนเป็นอันตรายต่อตับพอๆ กับแอลกอฮอล์เลย ถ้าคุณเป็นนักดื่ม หรือเมาค้างบ่อยๆ ไม่แนะนำให้ใช้ ลองปรึกษาคุณหมอเพื่อรักษากระเพาะดีกว่า ถ้าใช้ยา NSAIDs ก็จะปลอดภัยกว่าด้วย [19]
    โฆษณา
8

หลีกเลี่ยงอาหารแสลง ถ้าปวดท้องนานเกิน 1 วัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. "gastritis diet" หรืออาหารสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะ ช่วยบรรเทาอาการปวดไม่ยอมหาย หรือท้องอืดได้. ดื่มแอลกอฮอล์แล้วจะไปกระตุ้นให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน อาการเยื่อบุกระเพาะอักเสบจนปวดท้องได้ อาการปวดท้องเหมือนถูกแทะ ปวดแบบแสบร้อน ท้องอืด แน่นเฟ้อ และอาการอื่นๆ ที่ไม่ยอมหาย หรือเป็นหนักขึ้นหลังกินอาหาร บ่งบอกว่าคุณกำลังกระเพาะอาหารอักเสบ [20] ถ้าเปลี่ยนอาหารการกินจะช่วยได้ [21]
    • พยายามกินแต่อาหารย่อยง่ายไปสัก 2 - 3 วัน เช่น เนื้อไม่ติดมัน ข้าว มันฝรั่ง และผักนึ่ง
    • อาหารที่ทำให้อาการปวดกำเริบ หรืออาหารไม่ย่อย จะต่างกันไปในแต่ละคน แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดๆ มันๆ เปรี้ยวๆ (มีความเป็นกรด) รวมถึงหลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ด้วย
    • พยายามอย่ากินมื้อใหญ่ และหลังกินอาหารไปได้ 1 - 2 ชั่วโมง อย่าเพิ่งล้มตัวลงนอน
9

พบแพทย์เพื่อรักษาอาการปวดท้องรุนแรงหรือเรื้อรัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ามีอาการปวดที่นานเป็นอาทิตย์ หรือนานกว่านั้น ต้องรีบไปหาหมอ. บางทีการดื่มแอลกอฮอล์ (ควบคู่ไปกับความเครียด และปัจจัยอื่นๆ) ก็เป็นอันตรายต่อเยื่อบุกระเพาะ จนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียง่ายขึ้นเพราะ H. pylori คุณหมอจะวินิจฉัยและจ่ายยาปฏิชีวนะ หรือยาอื่นๆ ที่จำเป็นให้เอง [22]
    โฆษณา
10

พบแพทย์ฉุกเฉินเพื่อรักษาอาการตับอ่อนอักเสบรุนแรง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าดื่มเยอะไป ก็ทำให้ตับอ่อนอักเสบได้ อาการมีตั้งแต่ปวดท้องนิดหน่อยแค่ไม่กี่วัน ไปจนถึงอันตรายต่อชีวิตเลย [24] แนะนำให้โทรเรียกรถพยาบาล หรือไปแผนกฉุกเฉิน ถ้าปวดรุนแรง อาการตรงกับที่อธิบาย [25]
    • ปวดกลางท้อง (บางทีก็กดเจ็บหรือบวม) แบบปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนลามไปถึงหลัง
    • ปวดมากขึ้นเมื่อนอนราบ หรือกินอาหารมันๆ [26] (โก้งโค้ง นอนตะแคง หรือขดตัวจะช่วยได้) [27]
    • ปวดท้อง มีไข้ ตาเหลือง (หรืออาการอื่นๆ ของโรคดีซ่าน) และ/หรือหัวใจเต้นเร็ว

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 38,003 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา