ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
การแก้ปัญหานี่แหละทักษะสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่ว่าคุณจะเป็นใครหรือทำอะไร ยังไงก็ต้องพบเจอกับอุปสรรค คุณจะประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณเลือกใช้รับมือกับความท้าทายในชีวิตนี่แหละ ไม่ว่าปัญหาต่างๆ จะมาในรูปแบบไหนอย่างไร บทความนี้จะช่วยแนะแนวทางพิชิต ติดอาวุธให้คุณเอง
ขั้นตอน
-
ใช้ปัญญาแก้ปัญหา. จะแก้ปัญหาไหนได้ คุณต้องใช้วิธีปอกเปลือกปัญหาทีละชั้น จนเจอต้นตอ ทำได้ง่ายๆ ใน 4 ขั้นตอน
- 1. ปัญหาคืออะไร
- 2. หาทางแก้ไข
- 3. ลงมือแก้ไข
- 4. ประเมินผลการแก้ไข
- จนกว่าจะพบวิธีที่ใช่ ให้ทำซ้ำข้อ 2 - 4 จนกว่าจะลงตัว เดี๋ยวเราจะยกตัวอย่างปัญหาที่มักพบบ่อย จะได้เห็นภาพชัดเจน
-
ปัญหาคืออะไร. รถสตาร์ทไม่ติด ไม่มีใครช่วย แถมคุณเองก็มืดแปดด้านเรื่องเครื่องยนต์กลไก ก็ทำไงได้ รถเพิ่งซื้อใหม่ ยังไม่ทันรู้จักกันดีเลย ที่แย่ไปกว่านั้นคือถ้าสตาร์ทรถไม่ติดก็ไปทำงานสายแน่นอน ตอนนี้เหลือคุณคนเดียวแล้วที่ต้องตัดสินใจว่าจะรับมือกับปัญหานี้ยังไง ตอนนี้คุณมองว่าปัญหาประดังประเดเข้ามาเยอะไปหมดใช่ไหม แต่จริงๆ แล้วมันเกิดมาจากเรื่องเดียวเท่านั้นแหละ ก็คือรถคุณสตาร์ทไม่ติดไง
- พอเจอต้นตอของปัญหาแล้วอย่าตีโพยตีพาย ตั้งสติมองเฉพาะสาเหตุหลักสาเหตุเดียวเท่านั้น ผลกระทบที่ตามมาจากนั้นอย่างเพิ่งสนใจ
-
หาทางแก้ไข. จะแก้ไขปัญหาไหนได้ต้องมีการวางแผน ทุกอย่างจะได้เป็นไปตามที่ต้องการ เจอทางแก้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่น แผนของคุณนั้นอาจจะไม่สลับซับซ้อน แค่ทำยากสักหน่อยเพราะซ่อมรถมันก็ไม่ใช่หมูๆ แผนก็คือมองหาต้นตอของปัญหาให้ถูกจุด มองข้ามผลกระทบจนเห็นแก่นของปัญหาที่เล็กลง จะทำให้แก้ไขได้ง่ายขึ้นและตรงจุด
-
ลงมือแก้ไข. เริ่มจากภาพรวม ตอบตัวเองง่ายๆ ด้วยคำว่าใช่ หรือไม่ใช่ เพราะการรู้ว่าอะไร ไม่ใช่ ปัญหา ก็สำคัญพอๆ กับการรู้ว่าอะไรคือปัญหาเช่นกัน
- เครื่องยนต์หมุนไหมตอนคุณสตาร์ทรถ? ถ้าหมุน แปลว่าไม่ได้เป็นเพราะแบตเตอรี เท่ากับคุณตัดไปได้ข้อสงสัยนึงแล้ว ถ้าเครื่องยนต์ไม่หมุน เราก็พอเดาได้ว่าคงเป็นเรื่องไฟฟ้า แต่อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่าปัญหาอยู่ที่เครื่องยนต์ไม่ทำงานนั่นเอง
- ตอนนี้เราพอรู้ทางแล้วว่าเป็นเพราะไฟฟ้า ไม่ว่าจะเกิดจากสตาร์ทเตอร์หรือแบตเตอรีหรืออะไรก็ตาม
- เครื่องยนต์หมุนไหมตอนคุณสตาร์ทรถ? ถ้าหมุน แปลว่าไม่ได้เป็นเพราะแบตเตอรี เท่ากับคุณตัดไปได้ข้อสงสัยนึงแล้ว ถ้าเครื่องยนต์ไม่หมุน เราก็พอเดาได้ว่าคงเป็นเรื่องไฟฟ้า แต่อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่าปัญหาอยู่ที่เครื่องยนต์ไม่ทำงานนั่นเอง
-
ประเมินผล. คุณรู้อะไรบ้างจากการทดลองแก้ไขปัญหาครั้งแรก? เครื่องยนต์ติดแค่ 2 - 3 ที จากนั้นก็ช้าลงจนหยุดหมุนใช่ไหม? หรือมีแค่เสียงสตาร์ทดังขึ้นมานิดหน่อย? ถ้าเป็นแบบนั้น ปัญหาก็อยู่ที่แบตเตอรีหมดนั่นเอง เพราะถ้าสตาร์ทเตอร์หรือเครื่องยนต์เงียบสนิท ไม่มีเสียงหรือปฏิกิริยาอะไรเลยตอนคุณสตาร์ทเครื่อง ก็คงแปลได้ว่าแบตหมดซะแล้ว แต่ถ้าไขกุญแจสตาร์ทแล้วไฟที่แผงหน้าปัดกับวิทยุยังทำงานอยู่ แสดงว่าไม่ใช่แล้วล่ะ
- ถ้ากรณีที่ไม่ได้เป็นที่แบต แต่สตาร์ทรถไม่ได้เพราะสาเหตุอื่น ก็แปลว่าไฟจ่ายไปไม่ถึงสตาร์ทเตอร์ แต่รู้ไปก็แก้ไขอะไรไม่ได้ ให้ไปเริ่มมาใหม่จากข้อ 2 เลย
-
คิดหาวิธีอื่น. ถ้าคุณพอรู้เรื่องเครื่องยนต์กลไลบ้าง อาจลองเปิดกระโปรงรถเช็คดูว่าชิ้นส่วนเครื่องยนต์ต่างๆ อยู่ครบถ้วนไหม ถึงคุณจะแยกไม่ได้ว่าซีลวาล์วกับไบวาล์วต่างกันยังไง แต่อย่างน้อยคุณก็ต้องพอดูออกด้วยตาเปล่าว่ามีอะไรผิดปกติกับเครื่องยนต์ไหม มีอะไรเสียหายหรือสูญหายหรือเปล่า เพราะฉะนั้นแผนต่อไปก็คือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือก็คือคู่มือนั่นเอง
-
ลงมือแก้ไขอีกครั้ง. พอค่อยๆ ตัดไปทีละอย่างจนรู้แล้วว่าไม่ใช่แบตหรือน้ำมันหมด ก็ให้อ่านคู่มือหาจุดที่น่าจะเสีย และสตาร์ทรถดูอีกครั้ง
- คุณเจอคำเตือนในคู่มือที่ว่า “เพื่อความปลอดภัย กรุณาเหยียบเบรคจึงจะสตาร์ทเครื่องยนต์ได้”
-
ประเมินผลจากความรู้ใหม่. เมื่อกี้คุณเหยียบเบรคหรือเปล่าตอนพยายามสตาร์ทรถครั้งแรก? ถ้าเหยียบแล้วแสดงว่าไม่เกี่ยว แต่เพื่อให้คุณเห็นภาพกระบวนการแก้ปัญหา เราจะขอติ๊ต่างไปก่อนว่าคุณไม่ได้เหยียบเบรค
-
วางแผนกันอีกที. เริ่มจับทางได้แล้วใช่ไหมล่ะ? แผนต่อไปที่ต้องทำก็คือพยายามสตาร์ทรถใหม่อีกครั้งโดยไม่ลืมเหยียบเบรค
-
ทำตามแผน. เหยียบเบรคแล้วสตาร์ทรถเลย
-
ประเมินผล. ได้ผลไหม? ใช่เลย! ในที่สุดก็แก้ปัญหาได้แล้ว คุณออกเดินทางไปทำงานได้ซะที
- แต่ถ้าทำยังไงก็สตาร์ทไม่ติด ก็เหลืออย่างเดียวคือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ก็ช่างซ่อมรถไงจะใครอีก แต่ไม่ต้องกลัวว่าที่ผ่านมาจะเสียเวลาเปล่า อย่างน้อยที่คุณพยายามไป บวกกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มา คุณก็จะอธิบายให้ช่างฟังได้อีกแรงไงล่ะว่ามันเกิดอะไรขึ้น เขาจะได้ประหยัดเวลาในการซ่อม พอไม่ต้องงมหา ซ่อมได้ตรงจุดทันที ค่าซ่อมก็น้อยลง
โฆษณา
-
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ. ถ้ายังพอมีเวลา ไม่คอขาดบาดตาย ให้คุณลองปรึกษาใครที่เขามีทักษะและประสบการณ์ในเรื่องที่คุณกำลังมีปัญหาดู โดยเฉพาะเพื่อนๆ นี่ยิ่งดีใหญ่ อย่างถ้าคุณอยากเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง แต่ไม่รู้ต้องทำยังไง เป็นต้น
-
นัดคนที่คุณต้องการปรึกษามาคุยกัน. ถ้าทางการหน่อย ก็นัดประชุมกันเป็นเรื่องเป็นราวเลย แต่ถ้าจะปรึกษาคนกันเองอย่างเพื่อนๆ ก็ลองหาอะไรกินกันไปพลางๆ ระหว่างพูดคุย
-
เจาะจงปัญหา. ก็อย่างที่พูดไปเยอะแยะแล้วข้างบนนั่นแหละ คุณจะแก้ปัญหาไม่ได้เลยถ้าไม่รู้ต้นตอของปัญหาชัดเจนซะก่อน
- ปัญหาในที่นี้คือคุณอยากเริ่มทำธุรกิจ แต่ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญพอจะทำให้สำเร็จ
-
วางแผน. คุยกับทีมงานของคุณดู ช่วยกันระดมสมอง แลกเปลี่ยนไอเดีย แล้วคิดพิจารณาร่วมกัน จากนั้นก็ต่อยอด มีอะไรงัดมาแชร์กันให้หมด แล้วรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย คุณจะพบว่าแต่ละคนก็ต่างความคิด คนละนิดคนละหน่อย แต่รวมกันแล้วก็กลายเป็นแผนการที่ชัดเจนพร้อมปฏิบัติได้เช่นกัน
- แผนการในตัวอย่างของเราก็คือการพัฒนาโครงร่างของแผนธุรกิจ ประกอบด้วยแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน ให้คุณระบุได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นแบบไหนและมีเป้าหมายอะไร รู้เท่าทันคู่แข่งทางการค้า สำรวจตลาด และมีแนวทางชัดเจนว่าอะไรคือเส้นชัยของคุณ
-
ลงมือปฏิบัติตามแผน. ร่างแผนธุรกิจจากศูนย์ แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลา และถือเป็นบททดสอบขีดจำกัดความรู้ของคุณไปในตัว แต่แผนนี้จะพาคุณไปสู่ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในที่สุด
-
ได้เวลาประเมินผล. พอมีแผนธุรกิจแล้วก็ให้รวบรวมทีมงานของคุณอีกรอบ คราวนี้มาถกกันเกี่ยวกับข้อมูลทั้งหมดที่คุณหามาได้ ช่วยกันระดมสมองอีกครั้ง ฟังกัน แล้วเลือกทำเฉพาะสิ่งที่ได้ผลดี นอกเหนือจากนั้นก็ตัดทิ้งไป
-
ทำซ้ำจนกว่าแผนของคุณจะเข้ารูปเข้ารอย และพร้อมแล้วสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ. ตอนนี้ปัญหาหมดไปแล้วก็จริง แต่เดี๋ยวก็มีเรื่องใหม่อีก ชีวิตก็แบบนี้!โฆษณา
เคล็ดลับ
- ถ้าท้อแท้ เหมือนตัวเองไร้ค่า ให้เลิกจมอยู่กับอะไรที่คุณทำไม่ได้ แล้วหันไปมองสิ่งที่คุณทำได้จะดีกว่า ถึงจะเป็นเรื่องเล็กๆ ไม่สลักสำคัญอะไรก็ช่างมัน เพราะก้าวสั้นๆ นั้นอาจนำคุณไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว
- ทุกอย่างอยู่ที่มุมมอง ยิ่งแก้ปัญหามากแค่ไหน ก็ยิ่งมีประสบการณ์มากขึ้นเท่านั้น คุณจะแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ได้ก็ต้องเมื่อมีประสบการณ์ อย่ากลัวที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา
- ถ้ารู้สึกเหนื่อยเกินแบกรับ หรือวิตกจริต ให้หยุดพักทำสมาธิ คิดซะว่าทุกปัญหามีทางแก้ แต่เพราะตอนนี้คุณอยู่ชิดเกินไป ให้ถอยมามองไกลๆ แล้วคุณจะพบต้นตอ
- มั่นใจหน่อย
- ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้างในบางครั้ง คำว่า "รวมกันเราอยู่" เป็นจริงเสมอในกรณีนี้ คิดอยู่คนเดียวมันเครียด สู้ช่วยกันคิดหลายๆ หัวให้เห็นปัญหาชัดๆ เป็นเหตุเป็นผลดีกว่า
- คิดอะไรออกให้จดไว้ทั้งหมด จะได้เห็นปัญหาชัดๆ ไม่ตาลาย พอใจสบายก็แก้ได้ง่ายอย่าบอกใคร คุณเลือกจดความคิดลงกระดาษได้หลายวิธีด้วยกัน
- หาหนังสือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของคุณมาอ่าน มีให้เลือกเยอะแยะมากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ถ้าจะแก้ปัญหาเฉพาะทางก็เลือกอ่านตามชนิดปัญหาของคุณ แต่ถ้าเป็นการแก้ปัญหาทั่วๆ ไปในชีวิต เราขอแนะนำให้เลือกอ่านหนังสือตามร้าน (หรือตามเว็บ) ในหมวด "self-help" หรือ "การพัฒนาตนเอง"
- ถ้าระหว่างแก้ปัญหาเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา ก็อย่าเครียดไป ให้ลองใหม่อีกครั้ง จดไว้ให้หมดว่าผิดพลาดตรงไหนบ้าง แล้วก็พัฒนาตรงจุดนั้นนั่นแหละ
- Albert Einstein เคยกล่าวประโยคเด็ดไว้ว่า "คุณแก้ปัญหาด้วยความคิดเดิมที่เคยสร้างปัญหาให้คุณแต่แรกไม่ได้หรอกนะ" ตอนแรกที่พบปัญหา เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะเครียดหรือกังวล หรือถึงขั้นผิดหวังที่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Descartes Error, by Antonio Demasio แต่รู้สึกแล้วคุณแสดงออกยังไง นั่นสิสำคัญ [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Crucial Conversations, by Patterson et al ถ้าพาลโกรธใส่คนอื่น เขาจะพากันตีตัวออกห่าง ไม่ชอบใจคุณ สุดท้ายก็ต้องหัวเดียวกระเทียมลีบ รอสักพักดีกว่า ให้ใจเย็นลง จะได้ประเมินสถานการณ์ก่อนแล้วค่อยตัดสินว่าจะทำอะไรต่อไปให้เกิดผล เวลาแก้ปัญหาให้พยายามใช้เหตุผล นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว ทางออกก็อยู่ไม่ไกลนั่นแหละ
โฆษณา
คำเตือน
- อย่าหนีปัญหา ไม่ช้าก็เร็วคุณก็ต้องกลับมาแก้อยู่ดี เผลอๆ จะแก้ยากกว่าครั้งแรกอีก ปัญหาจะใหญ่หรือเล็กมักขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของคุณเองนั่นแหละ
- จริงๆ แล้วต้องบอกว่าสามัญสำนึกของคนเรานี่แหละสำคัญมากในการแก้ปัญหา อย่าทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อตัวเอง เว้นแต่ว่านั่นเป็นทางเลือกเดียวของคุณ
โฆษณา
โฆษณา