ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ปัญหาเล็บขบนั้นสามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดและน่ารำคาญได้ อย่างไรก็ตามเรามีวิธีที่จะหยุดปัญหาเล็บขบที่แทงขึ้นมาในเนื้อได้ หากทำตามแล้วอาจจะช่วยป้องกันไม่ให้ต้องผ่าตัดเอาเล็บขบออกได้ แต่ก่อนอื่น เล็บที่ขบนั้นต้องไม่ติดเชื้อ โดยสังเกตจากว่าแตะแล้วอุ่นๆ , มีหนอง, แดง, และบวมหรือไม่ หากพบว่ามีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์ [1] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
ขั้นตอน
-
ไปพบแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเท้าก่อน หากเป็นโรคเบาหวาน. สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องทำความสะอาดเท้าให้สะอาดและเช็คความผิดปกติต่างๆ อยู่เสมอ เช่น เล็บขบ หากคุณเป็นโรคเบาหวาน แพทย์อาจจะไม่แนะนำให้คุณพยายามรักษาเล็บขบด้วยตนเองเนื่องจากเหตุผลในเรื่องความปลอดภัยต่างๆ อาจลองโทรไปปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะพยายามหาวิธีต่างๆ มาแก้ปัญหาเล็บขบด้วยตนเองที่บ้าน [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases ไปที่แหล่งข้อมูล
-
แช่เท้าในน้ำเย็นไปจนถึงน้ำอุ่นและผสมแมกนีเซียมซัลเฟต. น้ำที่ร้อนเกินไปจะไปทำให้บริเวณรอบเล็บขบบวม เพราะฉะนั้นห้ามใช้น้ำที่ยังร้อนอยู่ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง แช่เท้าไว้15-30นาทีอย่างน้อยทุกๆ 2 วัน โดยจุดประสงค์มีสองอย่างคือ: เพื่อให้เล็บเท้านิ่มลงและป้องกันเล็บขบติดเชื้อ
-
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม. เตรียมสำลีก้อน, ก้านสำลี, หรือไหมขัดฟันที่ไม่ปรุงแต่งกลิ่นหรือไม่มีแว็กซ์เคลือบ, แหนบปลอดเชื้อ, และแหนบงัดเล็บขบ
-
จัดนิ้วเท้าที่ต้องการให้อยู่สูงขึ้นกว่านิ้วอื่นเล็กน้อย. การใช้อุปกรณ์ปลอดเชื้ออย่าง สำลีชิ้นเล็กหรือไหมขัดฟันที่ไม่ปรุงแต่งกลิ่นสอดเข้าไประหว่างตัวเล็บกับเนื้อใต้เล็บเพื่อกันไม่ให้เป็นเล็บขบอีก [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หากใช้เป็นสำลีก้อนหรือสำลีพันไม้ ให้นำสำลีดังกล่าวขึ้นมาโดยใช้แหนบปลอดเชื้อคีบขึ้นมา หากใช้เป็นไหมขัดฟันไร้กลิ่นปรุงแต่งให้ตัดให้เป็นเส้นยาว 15 เซนติเมตร6 inches (15 cm)
- แงะมุมเล็บขบขึ้นมาด้วยแหนบปลอดเชื้อและใช้สำลีหรือไหมขัดฟันสอดเข้าไปใต้เล็บ อาจจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทาก่อนได้ตามต้องการ เช่น ครีมทาแผลสดป้องกันการติดเชื้อ(Neosporin) หยดไปบนสำลีหรือไหมขัดฟันก่อนสอดเข้าไปใต้เล็บ
- อย่าพยายามสอดสำลีหรือไหมขัดฟันเข้าไปใต้เล็บหากเนื้อใต้เล็บบริเวณนั้นดูบวมหรือแดง
- นำสำลีหรือไหมขัดฟันที่สอดไว้ออกทุกๆ วัน ทำความสะอาดบริเวณนั้น และสอดสำลีหรือไหมขัดฟันใหม่เข้าไปแทนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
-
ให้เท้าได้สัมผัสอากาศบ้าง. อย่าใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าเมื่ออยู่ในบ้าน
-
ตรวจสอบดูอีกครั้ง. หากสอดสำลีหรือไหมขัดฟันเข้าไปและดูแลรักษาเท้าอย่างดีแล้ว เล็บขบควรกลับเข้าที่ตามปกติภายในไม่กี่สัปดาห์
- เปลี่ยนสำลีทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หากเล็บเท้ามีอาการปวด ค่อยเปลี่ยนสำลีออกวันถัดไป แต่ยังคงต้องเฝ้าดูทุกวันว่ามีอาการ ติดเชื้อหรือไม่ .
-
หาซื้อพลาสเตอร์มาปิดแผลจากร้านขายยา. หากเล็บยังคงทิ่มเข้าไปในเนื้อ อาจเลือกใช้เป็นพลาสเตอร์มาปิด การใช้พลาสเตอร์มาปิดทำได้โดยแปะเทปไว้ด้านใต้ของนิ้วเท้าและดึงในทิศดึงผิวหนังออกจากบริเวณที่เล็บขบทิ่มเข้าไปในเนื้อใต้เล็บ วิธีนี้ช่วยดึงผิวหนังออกจากเนื้อเล็บด้วยใช้แรงช่วยจากตัวพลาสเตอร์ แถมยังสามารถช่วยลดแรงกดในบริเวณนั้น หากทำได้ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้บริเวณที่บวมอยู่นั้นยุบตัวลงและแผลแห้ง อย่างไรก็ตามคุณอาจจะต้องปรึกษาเภสัชกรเพื่อให้แนะนำวิธีที่เหมาะสมในการแก้ไข เพราะวิธีการอาจจะเข้าใจและทำตามเองได้ยาก [5] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูลโฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:
ลองทำตามเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ทำได้ที่บ้าน ซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลหรือไม่
-
แช่เท้าน้ำในน้ำเย็นที่มีสารละลายโพรวิโดน-ไอโอดีน. ใส่โพรวิโดน-ไอโอดีน 1 หรือ 2 ช้อนชาลงไปน้ำเย็นแทนแมกนีเซียมซัลเฟต โดยโพรวิโดน-ไอโอดีนจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ [6] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Science Direct ไปที่แหล่งข้อมูล
- พึงระลึกไว้ว่าวิธีนี้ไม่ได้รักษาเล็บขบแต่แค่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น
-
ทาน้ำเลมอนและน้ำผึ้งบริเวณที่เล็บขบและเอาผ้าพันทิ้งไว้ข้ามคืน. ทาน้ำเลมอนและน้ำผึ้งหรือน้ำผึ้งมานูก้าลงไปบนนิ้วเท้าที่เป็นเล็บขบ [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล จากนั้นห่อนิ้วเท้าไว้ด้วยผ้าก๊อซพันทิ้งไว้ข้ามคืน ตัวน้ำเลมอนและน้ำผึ้งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ในช่วงข้ามคืน
- เลมอนมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์ แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการกำจัดเล็บขบ [8] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ใช้น้ำมันเพื่อเพิ่มความนุ่มให้ผิวรอบๆ เล็บเท้า. น้ำมันที่ทาลงบนเล็บเท้าสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและทำให้ผิวนุ่ม ลดแรงกดบนเล็บเท้าเมื่อสวมรองเท้า หากลองใช้น้ำมันชนิดดังต่อไปนี้จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี:
- ทีทรีออยล์:เป็นน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรารวมทั้งยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย [9] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
- เบบี้ออยล์: เป็นน้ำมันจากธรรมชาติอีกตัวหนึ่งที่มีกลิ่นหอม ตัวนี้ไม่ได้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์เหมือนทีทรีออยล์ แต่ช่วยทำให้ผิวนุ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี
โฆษณา
-
ตัดเล็บเท้าให้สูงระดับปานกลางและเล็มขอบให้ตรง. เล็บที่โค้งมนจะเพิ่มโอกาสในการงอกแล้วทิ่มเข้าไปในเนื้อรอบๆ นิ้วเท้า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเล็บขบได้ [10] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ MedlinePlus ไปที่แหล่งข้อมูล
- ใช้กรรไกรตัดเล็บเท้าหรือกรรไกรตัดหนังเล็มเล็บออก กรรไกรตัดเล็บเท้าโดยทั่วไปก็มักจะเล็กพอที่จะตัดแล้วทำให้เหลือขอบคมๆ ที่มุมของเล็บเท้า
- วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือ พยายามตัดเล็บเท้าทุกๆ 2-3 สัปดาห์ หากเล็บไม่ได้ยาวเร็วมาก การตัดเล็บเท้าบ่อยๆ ก็จะช่วยลดโอกาสในการเกิดเล็บขบได้
-
หลีกเลี่ยงการไปทำเล็บขณะที่ยังปวดเล็บขบ. การทำเล็บสามารถกระตุ้นผิวหนังด้านใต้ของเล็บได้ โดยอุปกรณ์ทำเล็บนั้นอาจจะไม่ปลอดเชื้อพอ อาจทำอาการแย่ลงหรือเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้
-
รองเท้าที่สวมใส่ต้องมีขนาดที่พอเหมาะ. รองเท้าที่เล็กเกินไปและบีบนิ้วเท้าสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดเล็บขบได้ง่าย เลือกรองเท้าที่มีพื้นที่เหลือให้ขยับนิ้วได้, ใหญ่พอสบายแทนการสวมใส่รองเท้าคู่เล็กๆ หรือบีบรัดเท้า [11] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ MedlinePlus ไปที่แหล่งข้อมูล
- พยายามสวมรองเท้าที่เปิดนิ้วเท้าเพื่อป้องกันแรงกดที่นิ้วเท้า โดยควรพันนิ้วเท้าที่เล็บขบไว้ด้วย ด้วยการใช้ผ้าพันแผลหรือสวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าแตะ แม้อาจจะดูเฉิ่มๆ แต่ก็ดีกว่าต้องไปผ่าเล็บขบออก
-
ระมัดระวังให้ดีหากคุณมีเล็บขบอยู่บ่อยๆ . หากคุณมีเล็บขบแล้วไม่ดูแลให้เหมาะสม จะทำให้กลับมาเป็นอีกได้เรื่อยๆ [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อย่างไรก็ตามควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีก
-
ทาครีมฆ่าเชื้อที่นิ้วเท้าทุกๆ 2 วัน. หลังจากอาบน้ำตอนเช้าครั้งหนึ่ง และอีกครั้งหนึ่งก่อนเข้านอน ทาครีมฆ่าเชื้อลงไปบริเวณที่เล็บขบและรอบๆ [13] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล ครีมฆ่าเชื้อนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซึ่งจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนและปวดมากขึ้น [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
แช่เท้าในน้ำเย็นจนถึงอุ่นที่ผสมน้ำสบู่นาน 15-30 นาที. หลังการแช่เท้าให้ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ จากนั้นเช็ดให้แห้งด้วยผ้าขนหนูที่สะอาด โดยอาจทา ครีมทาฆ่าเชื้อแผลสด (Neosporin) แล้วพันป้องกันบริเวณที่เล็บขบไว้ [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
เคล็ดลับ
- การหมกมุ่นกับการแก้ปัญหาเล็บขบแทนที่จะรอหรือติดตามอาการไปจะทำให้ยิ่งเจ็บมากขึ้น หากเคล็ดลับที่พยายามทำอยู่ไม่ได้ผลให้ปรึกษาแพทย์ เพราะคุณอาจจะต้องได้รับการช่วยเหลือในการผ่าตัดหรือถอดเล็บ และอาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะหากเล็บเท้าเกิดการติดเชื้อ
- พยายามยับยั้งชั่งใจจากการทาเล็บขณะที่ยังมีเล็บขบ สารเคมีที่ไม่จำเป็นที่อยู่ใกล้บริเวณเล็บขบเป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคือง นอกจากนั้นอาจจะทำให้คุณมองไม่เห็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นอยู่สักพักใหญ่หากมีการเคลือบเล็บด้วยจะไปบังอาการแดงจากการอักเสบหรือการเปลี่ยนสีไปของเล็บ
โฆษณา
คำเตือน
- หากเล็บขบมีลักษณะบวมแดงมากหรือมีหนองรอบๆ บ่งบอกถึงอาการติดเชื้อ ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะก่อนที่จะสอดสำลีหรือไหมขัดฟันเข้าไปบริเวณที่เล็บขบ ให้ระลึกไว้ว่ายาปฏิชีวนะโดยทั่วไปจะช่วยเพียงลดการติดเชื้อเท่านั้นและไม่ได้ช่วยให้เล็บที่ขบกลับเข้าที่เดิม ดังนั้นสำลีหรือไหมขัดฟันสามารถใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะหากแพทย์ยอมรับการรักษาด้วยวิธีนี้
- เล็บเท้ามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายมากเมื่อเกิดเล็บขบ ดังนั้นควรดูแลให้ดีที่สุดโดยห่อหุ้มไว้ให้ดีและทำความสะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงผลที่อาจเกิดตามมาที่ร้ายแรง
- หากวิธีการที่ใข้สำลีร่วมกับยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล ให้ไปพบแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเท้าเพราะคุณอาจจะต้องได้รับการถอดเล็บออก [16] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ MedlinePlus ไปที่แหล่งข้อมูล
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นสำหรับแช่เท้า
- แมกนีเซียมซัลเฟต
- โพรวิโดน-ไอโอดีน
- สำลีพันไม้หรือสำลีก้อน
- แหนบหรือแหนบงัดเล็บ
- ครีมทาสำหรับฆ่าเชื้อ
- ผ้าพันแผล
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/diagnosis-treatment/drc-20355908
- ↑ https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/preventing-problems/foot-problems
- ↑ http://drnoahblum.com/pdf/ingrown-nail-instructions.pdf
- ↑ http://www.mayoclinic.com/health/ingrown-toenails/DS00111/DSECTION=treatments-and-drugs
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3362847/
- ↑ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1743919117305368
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3609166/
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4708628/
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9055360
- ↑ https://medlineplus.gov/ency/article/001237.htm
- ↑ https://medlineplus.gov/ency/article/001237.htm
- ↑ https://cchcs.ca.gov/wp-content/uploads/sites/60/2017/08/Ingrown-Toenail-Patient-Education.pdf
- ↑ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1472971/
- ↑ http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-ingrown-nail-treatment
- ↑ http://drnoahblum.com/pdf/ingrown-nail-instructions.pdf
- ↑ https://medlineplus.gov/ency/article/001237.htm
โฆษณา