ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แม้ว่าผิวหนังที่ถูกเสียดสีจนเกิดรอยถลอกอาจดูเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ แต่หากเสื้อผ้าที่สวมใส่เกิดการเสียดสีกับผิวหนังติดต่อกันเป็นเวลานาน การเสียดสีดังกล่าวก็อาจนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วผื่นคันที่เกิดขึ้นบริเวณขาหนีบมักมีสาเหตุมาจากการเสียดสีจนก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง และหากปล่อยให้เหงื่อหมักหมมอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ผื่นคันที่เกิดขึ้นอาจมีอาการแย่ลงจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะผื่นคันโดยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายดีด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ก่อนที่อาการแทรกซ้อนต่างๆ จะเกิดขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รักษาผื่นคัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากฝ้ายหรือเส้นใยจากธรรมชาติ รวมถึงชุดชั้นในที่สวมใส่ก็ควรทำจากฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน และเมื่อออกกำลังกาย ควรเลือกสวมใส่ชุดที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ (เช่น ไนลอนหรอโพลีเอสเตอร์) ที่แห้งง่ายและระบายความชื้นได้ดี [1] พยายามเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้คุณรู้สึกสบายตัวอยู่เสมอ
    • หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีผิวสัมผัสหยาบ สาก หรือระบายความชื้นได้ไม่ดีนัก (เช่น ขนแกะหรือหนังสัตว์)
  2. เสื้อผ้าที่ปกคลุมขาควรหลวมมากพอเพื่อให้ผิวของคุณไม่อับชื้นและระบายอากาศได้ดี รวมถึงไม่แคบหรือรัดผิวแน่นจนเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียดสีไปมากับผิวจนเกิดการถลอก
    • ผื่นคันบริเวณขาหนีบโดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเสียดสีจนเกิดรอยถลอกหรือการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งภาวะน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติในโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของเชื้อรา
    • รอยถลอกการเสียดสีของผิวหนังมักเกิดขึ้นที่ต้นขาด้านใน (โดยส่วนใหญ่ผื่นมักเริ่มเกิดที่ขอบกางเกงชั้นในแล้วจึงกระจายไปตามต้นขาด้านใน) ขาหนีบ ใต้วงแขน ใต้หน้าอก และใต้หน้าท้องหรือระหว่างชั้นรอยพับของผิวหนัง
    • ในบางครั้งผื่นคันยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่หัวนมหรือหรือบริเวณรอบๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหญิงที่กำลังให้นมบุตร ซึ่งหากมีผื่นคันเกิดขึ้น ควรให้แพทย์ตรวจช่องปากของเด็กด้วยเช่นกันเพื่อดูว่าเกิดการติดเชื้อในช่องปากหรือไม่
    • หากรอยถลอกการเสียดสีไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการอาจรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่การอักเสบและการติดเชื้อได้ [2]
  3. หลีกเลี่ยงการปล่อยให้ผิวหนังเปียกชื้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เพิ่งอาบน้ำเสร็จ โดยใช้ผ้าขนหนูสะอาดซับที่ผิวเบาๆ ให้แห้ง เนื่องจากการเช็ดแรงๆ อาจทำให้ผื่นคันเกิดการระคายเคืองได้ คุณยังสามารถใช้ไดร์เป่าผมได้เช่นกันเพื่อให้บริเวณที่เกิดผื่นคันแห้งสนิท โดยปรับระดับให้ต่ำสุดและหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนสูงเพื่อไม่ให้ผื่นคันมีอาการแย่ลง [3]
    • พยายามรักษาผิวหนังให้แห้งและปราศจากเหงื่ออยู่เสมอ เนื่องจากเหงื่อประกอบด้วยเกลือในปริมาณที่สูงซึ่งอาจทำให้ผื่นคันมีอาการแย่ลง
  4. ผื่นคันที่เกิดจากการเสียดสีจนเกิดรอยถลอกโดยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายดีได้ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษาทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากผื่นคันยังคงไม่ดีขึ้นภายใน 4-5 วันหรือมีอาการแย่ลงกว่าเดิม คุณควรติดต่อแพทย์เพื่อนัดหมายเข้าพบโดยทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณสงสัยว่าผื่นคันที่เกิดขึ้นกำลังเกิดการติดเชื้อ (มีไข้ รู้สึกเจ็บ เกิดการบวมแดง หรือมีน้ำหนองไหลจากผื่นคัน) [4]
    • การลดการเสียดสี รักษาความสะอาด และเพิ่มความนุ่มลื่นตรงบริเวณที่เกิดผื่นคันจะช่วยให้ผื่นคันทุเลาลงได้ภายใน 1-2 วัน แต่หากอาการยังคงไม่ดีขึ้น คุณควรไปพบแพทย์โดยทันที
  5. แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อดูว่าผื่นคันมีรอยโรคเกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ และหากแพทย์สงสัยว่าผื่นคันที่เกิดขึ้นเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อเพื่อตรวจหาว่าเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราชนิดใดที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อและเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยแพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยาชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่าดังต่อไปนี้: [5]
    • ยาต้านเชื้อราชนิดทาเฉพาะที่ (หากผื่นคันมีสาเหตุจากเชื้อรา)
    • ยาต้านเชื้อราชนิดทาน (หากยาทารักษาผื่นคันไม่ได้ผล)
    • ยาปฏิชีวนะชนิดทาน (หากผื่นคันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย)
    • ยาปฏิชีวนะชนิดทาเฉพาะที่ (หากผื่นคันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย)
    • น้ำส้มสายชูขาวและน้ำเปล่า (ผสมในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่ง) โดยแต้มเบาๆ ที่ผื่นคันหลังทำความสะอาดเสร็จ จากนั้นคุณอาจทายาแก้ผื่นคัน สังคัง หรือโรคเชื้อราร่วมด้วยหากจำเป็น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

บรรเทาอาการคัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื่องจากบริเวณที่เกิดผื่นคันค่อนข้างบอบบางเป็นพิเศษทั้งยังอาจมีเหงื่อออกมาก คุณจึงควรทำความสะอาดโดยเลือกใช้สบู่สูตรอ่อนโยนและปราศจากน้ำหอม รวมถึงชำระล้างสบู่ให้สะอาดหมดจดด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น เนื่องจากคราบสบู่ที่เหลือตกค้างอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวมากยิ่งขึ้น [6]
    • เลือกใช้สบู่ที่ประกอบด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติ โดยมองหาสบู่ที่ทำจากน้ำมันพืช (เช่น มะกอก ปาล์ม หรือถั่วเหลือง) กลีเซอรีนจากพืช หรือไขมันธรรมชาติ (เช่น มะพร้าวหรือเชีย)
    • ควรทำความสะอาดบริเวณที่เกิดผื่นคันทันทีหลังจากที่มีเหงื่อออกมากเพื่อป้องกันไม่ให้ความอับชื้นหมักหมมเป็นเวลานาน
  2. เมื่อทำความสะอาดและเช็ดจนแห้งสนิทแล้ว ให้คุณทาแป้งบางๆ ตรงบริเวณที่เกิดผื่นคันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความอับชื้นสะสมบนผิวหนัง พยายามเลือกใช้แป้งเด็กสูตรปราศจากน้ำหอมและเช็คให้แน่ใจทุกครั้งว่ามีส่วนประกอบของทัลก์หรือไม่ (ซึ่งควรใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น) [7]
    • หากแป้งเด็กที่คุณเลือกใช้มีส่วนประกอบของทัลก์ พยายามอย่าใช้ในปริมาณมากเกินไป โดยงานวิจัยบางส่วนพบว่าทัลก์สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ในผู้หญิงได้
    • หลีกเลี่ยงการใช้แป้งข้าวโพดทาตรงบริเวณที่เกิดผื่นคัน เนื่องจากแบคทีเรียและเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อได้รับแป้งข้าวโพดจนอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ [8]
  3. เติมความชุ่มชื้นให้กับผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขาทั้งสองข้างเกิดการเสียดสีกัน พยายามเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันแคสเตอร์ รกแกะ หรือน้ำมันดอกดาวเรือง และควรแน่ใจผิวของคุณสะอาดและแห้งสนิทก่อนเริ่มชโลมผลิตภัณฑ์ลงบนผิว จากนั้นอาจปิดทับผื่นคันด้วยผ้าพันแผลเพื่อปกป้องผิวหนังของคุณ [9]
    • ชโลมผลิตภัณฑ์หล่อลื่นบนผิวอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้นหากคุณสังเกตเห็นว่าผื่นคันยังคงเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือผิวหนังของคุณ
  4. นอกจากการเพิ่มความนุ่มลื่นให้กับผิวแล้ว คุณยังสามารถเติมน้ำมันสมุนไพรเพิ่มลงไปเพื่อเพิ่มสรรพคุณในการฟื้นฟูของผิวหนัง หรืออาจเพิ่มน้ำผึ้งมานูกาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา [10] เลือกใช้น้ำมันสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งต่อไปนี้ผสมลงไป 1-2 หยดต่อผลิตภัณฑ์หล่อลื่น 4 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำมันดอกดาวเรือง: น้ำมันดอกดาวเรืองสามารถช่วยรักษาบาดแผลบนผิวหนังและมีสรรพคุณในการต้านการอักเสบ [11] [12]
    • น้ำมันเซนต์จอห์นเวิร์ต: นอกจากใช้สำหรับบรรเทาอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล น้ำมันเซนต์จอห์นเวิร์ตยังมักใช้ในการรักษาอาการระคายเคืองที่ผิวหนังเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เด็กและผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเซนต์จอห์นเวิร์ต [13]
    • น้ำมันดอกอาร์นิกา: อาจจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำมันที่สกัดจากดอกไม้ชนิดนี้ [14] อย่างไรก็ตาม เด็กและผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันอาร์นิกา [15]
    • น้ำมันดอกยาร์โรว: น้ำมันดอกยาร์โรวมีสรรพคุณในการต้านการอักเสบและช่วยกระตุ้นกระบวนการฟื้นฟูให้หายดีเร็วยิ่งขึ้น [16]
    • น้ำมันใบสะเดา: น้ำมันใบสะเดามีสรรพคุณในการต้านการอักเสบและช่วยกระตุ้นกระบวนการฟื้นฟูให้หายดีเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้ในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย [17]
  5. เนื่องจากผิวหนังบริเวณที่เกิดผื่นคันจะค่อนข้างบอบบางเป็นพิเศษ คุณจึงควรทำการทดสอบดูก่อนว่าผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและน้ำมันสมุนไพรที่ผสมเข้ากันนั้นก่อปฏิกิริยาใดๆ ต่อผิวหนังของคุณหรือไม่ ใช้สำลีก้อนจุ่มลงในผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและน้ำมันสมุนไพรที่ผสมเข้ากันและนำไปแตะตรงบริเวณข้อศอกด้านใน [18] จากนั้นปิดทับด้วยผ้าพันแผลแล้วทิ้งไว้นาน 10-15 นาที หากไม่พบปฏิกิริยาใดๆ เกิดขึ้น (เช่น ผื่นคัน อาการเจ็บเหมือนแมลงกัดต่อย หรืออาการคัน) คุณก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและน้ำมันสมุนไพรที่ผสมเข้ากันต่อไปได้อย่างปลอดภัย โดยทาตรงบริเวณที่เกิดผื่นคันอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อวันเพื่อให้แน่ใจว่าผื่นคันได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
    • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและน้ำมันสมุนไพรที่ผสมเข้ากันในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
  6. เทโรลโอ๊ตหรือสตีลคัทโอ๊ต 1-2 ถ้วยตวงใส่ถุงน่องไนลอนและผูกปากให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวโอ๊ตหกออกมา จากนั้นนำไปผูกติดไว้กับก๊อกน้ำและเปิดน้ำอุ่นให้ไหลผ่านข้าวโอ๊ตจนเต็มอ่าง แช่ตัวในน้ำประมาณ 15-20 นาทีแล้วจึงซับตัวให้แห้ง พยายามแช่ตัวในน้ำผสมข้าวโอ๊ตวันละ 1 ครั้ง [19]
    • การแช่น้ำสมุนไพรเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งหากผื่นคันเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • นักกีฬาและผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินล้วนมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นที่ผิวหนังจะเกิดการเสียดสีกัน ดังนั้นหากคุณเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน แพทย์อาจแนะนำให้คุณลดน้ำหนักเพื่อไม่ให้ผิวหนังเกิดการเสียดสีกันจนเกิดผื่นคัน และหากคุณเป็นนักกีฬา คุณควรพยายามป้องกันไม่ให้ผิวหนังเกิดการอับชื้นทั้งในระหว่างและหลังการออกกำลังกาย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Jull, A. B. (2015). Honey as a topical treatment for wounds. Cochrane Database Of Systematic Reviews, (6)
  2. Broadhurst, C. L. (1998). Marigold--The Little Flower That Could ... Heal Wounds, That Is. Better Nutrition, 60(11), 26.
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3931201/
  4. Murray, M. T., & Pizzorno, J. E. (2013). Textbook of Natural Medicine. St. Louis, Mo: Churchill Livingstone.
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11558636
  6. Rakel, D. (2012). Integrative Medicine. Philadelphia, PA: Saunders.
  7. Duncan, N. (2009). Alternative medicine cabinet. Tough scrapes: easy, natural treatments for helping wounds heal. Natural Solutions, (118), 55.
  8. Mainetti, S., & Carnevali, F. (2013). An experience with paediatric burn wounds treated with a plant-derived wound therapeutic. Journal Of Wound Care, 22(12), 681.
  9. http://puremassageoils.com/conducting-an-essential-oil-skin-patch-test/
  10. Duncan, N. (2009). Alternative medicine cabinet. Tough scrapes: easy, natural treatments for helping wounds heal. Natural Solutions, (118), 55.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,047 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา