ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

นิพจน์พีชคณิตคือข้อความทางคณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยตัวเลขและหรือตัวแปร ถึงแม้เราจะไม่สามารถหาคำตอบของนิพจน์พีชคณิตได้ เพราะไม่มีเครื่องหมายเท่ากับ (=) แต่เราสามารถเขียนให้อยู่ในรูปอย่างง่ายได้ อย่างไรก็ตามเราสามารถ แก้สมการพีชคณิต ได้ เพราะสมการพีชคณิตประกอบด้วยนิพจน์พีชคณิตที่ถูกคั่นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ถ้าเราต้องการรู้หลักการแก้สมการพีชคณิต เริ่มอ่านขั้นตอนแรกของบทความนี้ได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ทำความเข้าใจหลักพื้นฐานต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจความแตกต่างระหว่างนิพจน์พีชคณิตและสมการพีชคณิต. นิพจน์พีชคณิตคือข้อความทางคณิตศาสตร์ที่ประกอบด้วยตัวเลขและหรือตัวแปร นิพจน์พีชคณิตไม่มีเครื่องหมายเท่ากับ เราจึงไม่สามารถหาคำตอบได้ แต่เราสามารถหาคำตอบของสมการพีชคณิตได้ เพราะสมการพีชคณิตประกอบด้วยอนุกรมของนิพจน์พีชคณิตหนึ่งชุดที่ถูกคั่นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ต่อไปนี้คือตัวอย่างของนิพจน์พีชคณิตและสมการพีชคณิต [1]
    • นิพจน์พีชคณิต : 4x + 2
    • สมการพีชคณิต : 4x + 2 = 100
  2. เราสามารถนำพจน์ที่เหมือนกันหรืออยู่ในระดับเดียวกันมาบวกหรือลบกันได้ กล่าวให้ชัดเจนคือเราสามารถนำพจน์ x 2 ทุกพจน์มาบวกหรือลบพจน์ x 2 ด้วยกันได้ เราสามารถนำ x 3 ทุกพจน์มาบวกหรือลบพจน์ x 3 ด้วยกันได้ และเราสามารถนำค่าคงตัวซึ่งก็คือตัวเลขที่ไม่ติดตัวแปรอย่างเช่น 8 หรือ 5 มาบวกหรือลบค่าคงตัวด้วยกันได้ ตัวอย่างด้านล่างนี้คือตัวอย่างของการนำพจน์ที่เหมือนกันมาบวกหรือลบกัน [2]
    • 3x 2 + 5 + 4x 3 - x 2 + 2x 3 + 9 =
    • 3x 2 - x 2 + 4x 3 + 2x 3 + 5 + 9 =
    • 2x 2 + 6x 3 + 14
  3. ถ้าเราต้องแก้สมการพีชคณิตซึ่งหมายความว่ามีนิพจน์ทั้งสองข้างของเครื่องหมายเท่ากับ เราสามารถเขียนนิพจน์ให้อยู่ในรูปอย่างง่ายได้ด้วยการหาตัวประกอบที่ทุกพจน์มีร่วมกัน ดูที่สัมประสิทธิ์ของทุกพจน์ (ตัวเลขที่อยู่หน้าตัวแปรหรือค่าคงตัว) ว่ามีจำนวนที่เป็น "ตัวประกอบร่วมกัน" หรือไม่ ถ้ามีใช้จำนวนนั้นหารแต่ละพจน์ ถ้าเราสามารถหาตัวประกอบที่มีร่วมกันและนำจำนวนนั้นหารแต่ละพจน์ได้ เราก็จะทำให้สมการอยู่ในรูปอย่างง่ายและเริ่มเข้าสู่การแก้สมการ นี้คือตัวอย่างการหาตัวประกอบที่ทุกพจน์มีร่วมกัน [3]
    • 3x + 15 = 9x + 30
      • จะเห็นว่าสัมประสิทธิ์แต่ละตัวสามารถหารด้วย 3 ได้ลงตัว ฉะนั้น "ดึง" 3 ออกมาด้วยการหารแต่ละพจน์ด้วย 3 เราก็จะได้สมการในรูปอย่างง่าย
    • 3x/3 + 15/3 = 9x/3 + 30/3 =
    • x + 5 = 3x + 10
  4. ลำดับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ยังเป็นที่รู้จักในชื่อย่อ PEMDAS อีกด้วย ลำดับการคำนวณทางคณิตศาสตร์จะบอกลำดับที่เราควรทำเวลาคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ลำดับการคำนวณคือ คำนวณตัวเลขในวงเล็บ คำนวณเลขยกกำลัง คูณ หาร บวก และลบ ตัวอย่างด้านล่างนี้มีลำดับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ดังนี้ [4]
    • (3 + 5) 2 x 10 + 4
    • ขั้นตอนแรกคำนวณตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บก่อน
    • = (8) 2 x 10 + 4
    • จากนั้นคำนวณเลขยกกำลัง
    • = 64 x 10 + 4
    • ต่อไปนำตัวเลขมาคูณกันก่อน
    • = 640 + 4
    • และสุดท้ายนำตัวเลขมาบวกกัน
    • = 644
  5. ทำให้ข้างใดข้างหนึ่งของสมการเหลือตัวแปรแค่ตัวเดียว. ถ้าเรากำลังแก้สมการพีชคณิต เป้าหมายของเราก็คือทำให้ตัวแปรซึ่งโดยปกติมักจะเป็น x เหลืออยู่แค่ตัวเดียวที่ข้างหนึ่งของสมการและให้พจน์ซึ่งเป็นค่าคงตัวอยู่อีกข้างหนึ่งของสมการ เราสามารถทำให้เหลือแค่ x ที่ข้างหนึ่งของสมการได้โดยใช้วิธีหาร คูณ บวก ลบ หารากที่สอง หรือใช้วิธีการคำนวณแบบอื่นๆ พอเหลือ x แค่ตัวเดียวที่ข้างหนึ่งของสมการแล้ว เราก็จะแก้สมการได้ ตัวอย่างข้างล่างนี้แสดงวิธีการทำให้ตัวแปรเหลือแค่ตัวเดียวที่ข้างใดข้างหนึ่งของสมการ [5]
    • 5x + 15 = 65 =
    • 5x/5 + 15/5 = 65/5 =
    • x + 3 = 13 =
    • x = 10
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

แก้สมการพีชคณิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมการพีชคณิตเชิงเส้นเป็นสมการที่แก้ได้ง่าย เพราะมีเพียงค่าคงตัวและตัวแปรที่มีเลขชี้กำลังเป็นหนึ่ง (ไม่มีเลขชี้กำลังหรืออะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน) แค่ใช้การคูณ การหาร การบวก และการลบเมื่อต้องทำให้ข้างหนึ่งของสมการเหลือตัวแปรแค่ตัวเดียวเพื่อหาค่า "x" ดูตัวอย่างการแก้สมการพีชคณิตเชิงเส้นที่ด้านล่างนี้ [6]
    • 4x + 16 = 25 -3x =
    • 4x = 25 -16 - 3x
    • 4x + 3x = 25 -16 =
    • 7x = 9
    • 7x/7 = 9/7 =
    • x = 9/7
  2. แก้สมการพีชคณิตในกรณีที่ตัวแปรมีเลขชี้กำลัง. ถ้าสมการมีตัวแปรที่มีเลขชี้กำลัง เราจะต้องหาทางทำให้ข้างหนึ่งของสมการเหลือแค่ตัวแปรที่มีเลขชี้กำลังเท่านั้นและจากนั้นหารากของทั้งตัวแปรที่มีเลขชี้กำลังและค่าคงตัวที่อยู่อีกข้างหนึ่งของสมการเพื่อทำให้เลขชี้กำลัง "หายไป" และแก้สมการ ตัวอย่างด้านล่างนี้แสดงวิธีการแก้สมการพีชคณิตในกรณีที่ตัวแปรมีเลขชี้กำลัง [7]
    • 2x 2 + 12 = 44
      • ก่อนอื่นนำ 12 ลบออกจากทั้งสองข้างของสมการ
    • 2x 2 + 12 -12 = 44 -12 =
    • 2x 2 = 32
      • ต่อไปหารด้วย 2 ทั้งสองข้างของสมการ
    • 2x 2 /2 = 32/2 =
    • x 2 = 16
      • แก้สมการด้วยการหารากที่สองของทั้งสองข้าง เพราะจะทำให้ x 2 กลายเป็น x
    • √x 2 = √16 =
    • สมการนี้มีสองคำตอบ: x = 4, -4
  3. ถ้าเราต้องการแก้สมการพีชคณิตที่เป็นเศษส่วน เราจะต้องคูณไขว้เศษส่วน นำพจน์ที่เหมือนกันมาบวกหรือลบกัน และจากนั้นทำให้สมการข้างหนึ่งเหลือตัวแปรแค่ตัวเดียว ตัวอย่างด้านล่างนี้แสดงวิธีการแก้สมการพีชคณิตที่เป็นเศษส่วน [8]
    • (x + 3)/6 = 2/3
      • คูณไขว้เพื่อทำให้เศษส่วนหายไป เราต้องนำตัวเศษของเศษส่วนจำนวนหนึ่งคูณกับตัวส่วนของเศษส่วนอีกจำนวนหนึ่ง
    • (x + 3) x 3 = 2 x 6 =
    • 3x + 9 = 12
      • คราวนี้นำพจน์ที่เหมือนกันมาบวกหรือลบกัน จากโจทย์เราต้องนำพจน์ค่าคงตัวซึ่งก็คือ 9 และ 12 มาลบกัน นำ 9 ลบออกจากทั้งสองข้างของสมการ
    • 3x + 9 - 9 = 12 - 9 =
    • 3x = 3
      • ทำให้สมการข้างหนึ่งเหลือตัวแปร x แค่ตัวเดียวด้วยการนำ 3 มาหารออกจากทั้งสองข้างของสมการแล้วเราจะได้คำตอบ
    • 3x/3 = 3/3 =
    • x =1
  4. ถ้าเราต้องแก้สมการพีชคณิตที่มีเครื่องหมายกรณฑ์ เราจะต้องยกกำลังสองทั้งสองข้างของสมการเพื่อให้เครื่องหมายกรณฑ์ "หายไป" และสามารถหาค่าของตัวแปรได้ ตัวอย่างด้านล่างนี้แสดงวิธีการแก้สมการพีชคณิตที่มีเครื่องหมายกรณฑ์ [9]
    • √(2x+9) - 5 = 0
      • ก่อนอื่นให้ย้ายตัวเลขที่ไม่ได้อยู่ในเครื่องหมายกรณฑ์ไปอยู่ที่อีกข้างหนึ่งของสมการ
    • √(2x+9) = 5
    • จากนั้นยกกำลังสองทั้งสองข้างของสมการเพื่อเอาเครื่องหมายกรณฑ์ออก
    • (√(2x+9)) 2 = 5 2 =
    • 2x + 9 = 25
      • คราวนี้แก้สมการตามปกติ นำค่าคงตัวมาบวกหรือลบกันและทำให้สมการข้างหนึ่งเหลือตัวแปรแค่ตัวเดียว
    • 2x = 25 - 9 =
    • 2x = 16
    • x = 8
  5. ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนหนึ่งคือค่าของตัวมันโดยไม่คำนึงว่าจำนวนนั้นเป็นบวกหรือลบ ฉะนั้นค่าสัมบูรณ์จึงเป็นบวกเสมอ ตัวอย่างเช่น ค่าสัมบูรณ์ของ -3 (หรือเขียนในรูปแบบ |3|) ก็คือ 3 ในการแก้สมการพีชคณิตที่มีค่าสัมบูรณ์เราจะต้องทำให้ข้างหนึ่งของสมการเหลือเพียงค่าสัมบูรณ์เท่านั้นและหาค่า x สองครั้ง ครั้งแรกหาค่า x ตอนที่ค่าสัมบูรณ์ถูกถอดออกไปแล้วและครั้งที่สองหาค่า x เมื่อพจน์อีกข้างหนึ่งของสมการได้เปลี่ยนเครื่องหมายจากบวกเป็นลบและจากลบเป็นบวก ตัวอย่างด้านล่างนี้แสดงขั้นตอนการแก้สมการพีชคณิตที่มีค่าสัมบูรณ์ [10]
    • นี้คือการหาค่าตัวแปรครั้งแรกด้วยการทำให้ข้างหนึ่งของสมการเหลือแค่ค่าสัมบูรณ์แล้วเอาค่าสัมบูรณ์ออก
      • |4x +2| - 6 = 8 =
    • |4x +2| = 8 + 6 =
    • |4x +2| = 14 =
    • 4x + 2 = 14 =
    • 4x = 12
    • x = 3
      • คราวนี้หาค่าตัวแปรอีกครั้งด้วยการเปลี่ยนเครื่องหมายของพจน์ที่อยู่อีกข้างของสมการเป็นตรงกันข้ามหลังจากทำให้ข้างหนึ่งของสมการเหลือแค่ค่าสัมบูรณ์
    • |4x +2| = 14 =
    • 4x + 2 = -14
    • 4x = -14 -2
    • 4x = -16
    • 4x/4 = -16/4 =
    • x = -4
      • ตอนนี้เราได้คำตอบของสมการสองคำตอบ: x = -4, 3
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ดีกรีของพหุนามคือพจน์ที่มีเลขยกกำลังมากที่สุด
  • เข้าเว็บไซต์ wolfram-alpha.com เพื่อตรวจคำตอบ เว็บไซต์นี้จะให้คำตอบและขั้นตอนการคิดโดยปกติสองขั้นตอน
  • พอแก้สมการเสร็จแล้ว นำคำตอบมาแทนที่ตัวแปร และคำนวณตัวเลขออกมาเพื่อตรวจสอบดูสิว่าคำตอบนั้นเป็นคำตอบของสมการไหม ถ้าคำตอบนั้นเป็นคำตอบของสมการ ขอแสดงความยินดีด้วย! เราแก้สมการพีชคณิตสำเร็จแล้ว!
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,906 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา