ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การสะอึกเป็นอะไรที่น่าอายและน่าอึดอัด อาการนี้เกิดได้เมื่อกล้ามเนื้อที่ส่วนที่อยู่ล่างสุดของซี่โครงที่เรียกว่า กะบังลม เกิดกระตุกขึ้นมา เพราะว่ากะบังลมเป็นส่วนที่ควบคุมการหายใจ พาอากาศผ่านเส้นเสียงและทำให้เส้นเสียงปิดในการผลิตเสียงแหลมออกมา โดยมากแล้ว อาการสะอึกจะหายไปเองหลังผ่านไปสองสามนาทีและไม่ได้เป็นอะไรที่น่ากังวลนัก อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการอาจจะอยู่นานถึงสองวันและจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ [1] [2]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

แก้สะอึกด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีจะช่วยผ่อนคลายกะบังลมของคุณและหยุดการกระตุก [3] [4]
    • กลั้นหายใจสักหลายวินาที ไม่จำเป็นต้องกลั้นนาน แต่ให้พอที่จะเริ่มจังหวะหายใจใหม่ อย่ากลั้นหายใจนานเกินจนทำให้คุณรู้สึกไม่สบายและรู้สึกวิงเวียน เด็กๆ ที่สะอึกสามารถลองวิธีนี้ดูได้
    • หายใจใส่ถุงกระดาษ วิธีนี้จะช่วยให้คุณจดจ่อกับการหายใจให้ช้าและลึก ช่วยให้กะบังลมหยุดกระตุก
    • ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการทำให้กลัวหรือตกใจจะช่วยให้หายสะอึกได้จริงๆ แต่หากมันทำให้คุณหายใจเฮือกและทำให้การหายใจเปลี่ยนก็อาจหายได้
    • ยาดมแอมโมเนียหอมก็อาจช่วยให้รูปแบบการหายใจเปลี่ยนได้
  2. บรรเทาการระคายเคืองของกล้ามเนื้อโดยการดื่มน้ำเย็น. วิธีนี้น่าจะได้ผลเป็นพิเศษหากอาการสะอึกเกิดจากการรีบทานอาหารด้วยความเร็วเกินไป [5] [6]
    • วิธีนี้ใช้ได้ผลกับเด็กๆ เช่นกัน หากลูกน้อยแรกเกิดของคุณสะอึกให้เด็กลองดูดนมแม่หรือดูดจากขวดนม
    • เมื่อคุณรู้สึกคอแน่นๆ เมื่อมีอาการสะอึก ให้จิบน้ำหลายๆ ครั้ง น้ำจะช่วยบรรเทากล้ามเนื้อและบังคับให้คุณต้องเปลี่ยนรูปแบบการหายใจขณะที่คุณกลืนน้ำ จิบแรกอาจจะยังไม่ได้ผล ให้คุณจิบไปเรื่อยๆ จนหาย
    • บางคนบอกว่าคุณต้องใช้วิธีก้มตัวอยู่ให้อยู่ในท่ากลับหัวเพื่อดื่มน้ำจากปากถ้วยอีกด้าน แม้จะไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แต่มันอาจได้ผลเพราะมันอาจทำให้คุณ (และคนรอบข้าง) หัวเราะ ซึ่งจะทำให้รูปแบบการหายใจของคุณเปลี่ยน
    • กลั้วคอด้วยน้ำเย็น วิธีก็จะทำให้จังหวะการหายใจเปลี่ยน แต่ต้องระวังไม่ให้สำลักหากคุณเกิดสะอึกขณะกลั้วคอ วิธีนี้เหมาะกับผู้ใหญ่และเด็กที่โตพอที่จะกลั้วคอได้โดยไม่สำลักเท่านั้น
  3. วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลายและทำให้จังหวะการหายใจเปลี่ยนขณะที่คุณกลืนลงคอ [7]
    • ทานน้ำผึ้งหรือน้ำตาลแต่อย่าให้เด็กแรกเกิดทาน เด็กวัยนี้อาจสะอึก แต่โดยทั่วไปแล้วมันไม่อันตรายและจะหายไปเอง ไม่ต่างกับการสะอึกที่เกิดกับผู้ใหญ่ [8]
  4. ของเปรี้ยวก็ช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลายและช่วยให้กลืน [9]
    • ทานเลม่อนหรือน้ำส้มสายชูหนึ่งช้อน
    • การสะกิดเพดานปากหรือดึงลิ้นอาจให้ผลแบบเดียวกัน แต่อย่าใช้วิธีนี้ทำกับเด็กแรกเกิด [10]
  5. เทคนิคนี้ยังไม่ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ แต่อาจช่วยได้เวลาที่คุณเปลี่ยนท่าและทำให้กะบังลมของคุณเปลี่ยนตำแหน่ง [11]
    • งอตัวไปข้างหน้าเพื่อกดหน้าอกลง
    • หรือชันเข่าอยู่ในท่าเหมือนทารกในครรภ์
    • ค้างอยู่ท่านี้สักสองสามนาทีดูว่าอาการสะอึกหายไปหรือไม่ หากไม่ได้ผล ให้ยืดตัวขึ้นและหายใจลึกๆ
    • เด็กก็ลองทำท่านี้ได้ แต่อย่าใช้วิธีกดหน้าอกกับเด็กแรกเกิดที่มีอาการสะอึก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เลี่ยงการสะอึกโดยการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทานอาหารเร็วเกินไปทำให้คุณกลืนเอาอากาศลงไปด้วย ทำให้รูปแบบการหายใจของคุณเสียระบบ [12]
    • ทานอาหารคำเล็กๆ และเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
    • จิบน้ำเพื่อให้อาหารไหลลงให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารติดอยู่ในลำคอและป้องกันการสะอึก
    • อย่าทานเยอะเกินไป
  2. การดื่มเครื่องดื่มประเภทดังกล่าวมากไปจะทำให้สะอึก
    • การเมาอาจทำให้สะอึกได้
    • น้ำอัดลมทำให้คุณกลืนเอาอากาศลงไปและอาจทำให้กล้ามเนื้อในลำคอระคายเคือง ทำให้สะอึก
  3. การอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปและความเผ็ดอาจทำให้ระคายคอ ทำให้สะอึก [13] [14]
    • หากคุณชอบทานอาหารเผ็ดมาก ให้แน่ใจว่าคุณดื่มน้ำมากๆ ขณะรับประทานอาหารเผ็ดเพื่อช่วยป้องกันหรือช่วยให้หยุดสะอึก
  4. อาการสะอึกสั้นๆ แต่บ่อยครั้ง อาจเป็นปฏิกิริยาสนองตอบต่อความเครียดหรืออารมณ์ตื่นเต้น หากคุณเป็นคนสะอึกง่าย ลองลดความเครียดด้วยวิธีที่คนใช้กันแพร่หลายดู [15]
    • นอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
    • ออกกำลังกายทุกวัน
    • ลองฝึกสมาธิ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รู้ว่าเมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พบแพทย์หากอาการสะอึกอยู่นานกว่า 2 วัน หรือหากมันทำให้การรับประทานอาหารและการนอนของคุณติดขัด. หากสะอึกไม่หยุด มันอาจเป็นสัญญาณของอาการอื่นที่แฝงอยู่ แพทย์ของคุณจะตรวจหาอาการต่างๆ เช่น: [16] [17]
    • ความเสียหายหรืออาการระคายเคืองของเส้นประสาทที่ไปยังกะบังลม สาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่ สิ่งที่ทำให้แก้วหูระคายเคือง เนื้องอก ซีสต์ คอพอก หรือในคอ และอาการระคายคอหรือการติดเชื้อ
    • โรคระบบประสาทที่มีผลต่อสมอง สิ่งนี้อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมอาการสะอึกได้ อาการที่เป็นไปได้ ได้แก่ ภาวะสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปลอกประสาทอักเสบ หลอดเลือดสมองตีบตัน ภาวะบาดเจ็บ และเนื้องอก
    • โรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร เช่น เบาหวาน ไตวาย หรือสมดุลของน้ำและเกลือแร่ผิดปกติ
    • โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด ปอดบวม เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
    • โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง
    • โรคพิษสุราเรื้อรัง
    • สิ่งกระตุ้นความเครียด เช่น ความสะเทือนใจอย่างรุนแรง ความกลัว หรือความโศกเศร้า
  2. แจ้งแพทย์ของคุณหากคุณใช้ยาบางชนิดที่อาจเป็นสาเหตุของอาการสะอึก. ได้แก่:
    • ยาระงับความรู้สึก
    • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ
    • ยาระงับเพื่อป้องกันการชัก (ยาเบ็นโซไดอาเซพีน) หรือยาป้องกันความวิตกกังวล (ยาบาร์บิตุเรต)
    • ยาบรรเทาความเจ็บปวด (โอปิออยด์ เช่น มอร์ฟีน)
    • ยาลดความดันโลหิต (เมทิลโอโดปา)
    • ยาเคมีบำบัดที่ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  3. รู้ว่าคุณสามารถคาดหวังอะไรได้จากการพบแพทย์. แพทย์ของคุณอาจทำการทดสอบหลายอย่างกับคุณเพื่อตรวจหาดูว่าอาการสะอึกของคุณเกิดจากโรคอะไรหรือไม่ เป็นไปได้ว่าแพทย์ของคุณจะ: [18]
    • ทดสอบการทรงตัว ปฏิกิริยาตอบสนอง และการรับรู้
    • ตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ เบาหวาน และตรวจการทำงานของไต
    • เอกซเรย์ทรวงอก ทำซีทีสแกน หรือเอ็มอาร์ไอ เพื่อตรวจดูว่าคุณไม่มีอาการใดๆ ที่อาจไปรบกวนเส้นประสาทที่ไปยังกะบังลมของคุณ
    • ตรวจภายในโดยส่องกล้องขนาดจิ๋วลงในลำคอและตรวจดูภายในหลอดอาหารและหลอดลม
  4. หากตรวจพบอาการผิดปกติ แพทย์จะทำการรักษาให้คุณ หากไม่พบอะไร ก็ยังมีทางเลือกอีกสองสามอย่าง [19]
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,857 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา