ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาวะหนังตาตก (ptosis) อาจเป็นปัญหาด้านความงามหรืออาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็นด้วย ถ้าคุณมีหนังตาตก สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือนัดพบแพทย์ การแก้ไขหนังตาตกนั้นขึ้นกับการวินิจฉัยรวมทั้งความรุนแรงของอาการด้วย การศึกษาเกี่ยวกับอาการและการรักษาหนังตาตกเบื้องต้นอาจทำให้การปรึกษาหาทางแก้ไขอาการนี้กับแพทย์ได้ง่ายขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การรักษาหนังตาตก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนการรักษาหนังตาตก คุณต้องได้รับการวินิจฉัยอาการจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ก่อน เพราะหนังตาตกอาจเป็นสัญญาณของโรคหรือภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรง คุณจึงควรพบแพทย์ทันที แพทย์อาจให้คุณกรอกประวัติการรักษาและทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเพื่อหาว่าคุณมีปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับระบบประสาท การติดเชื้อ ปัญหาภูมิต้านทานตนเองและโรคอื่นๆ วิธีการวินิจฉัยอาการหนังตาตกของแพทย์มีดังนี้:
    • การวัดระดับการมองเห็น
    • การตรวจลูกตาภายในเพื่อตรวจดูว่ากระจกตาถลอกหรือมีรอยขีดข่วนหรือไม่
    • การวัดความดันตาเพื่อตรวจหาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเรื้อรังที่ทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรง [1]
  2. ถ้าอาการหนังตาตกของคุณเกิดจากโรคประจำตัว คุณต้องรักษาอาการของโรคนั้นเป็นอย่างแรกก่อนที่จะทำอะไรกับหนังตาของคุณ การรักษาโรคประจำตัวอาจช่วยรักษาอาการหนังตาตกให้ดีขึ้นได้
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์อาจสั่งยามากมายเพื่อรักษาอาการดังกล่าว เช่น ไฟโซสติกมีน (physostigmine), นีโอสติกมีน (neostigmine), เพรดนิโซน (prednisone), และ สารปรับปรุงภูมิคุ้มกัน (immunomodulator) [2]
    • อาการอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการหนังตาตก ได้แก่ อาการอัมพาตของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 และภาวะฮอร์เนอร์ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่มีทางรักษา แต่การผ่าตัดอาจช่วยบรรเทาอาการอัมพาตของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 ได้ [3] [4]
  3. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัดแก้ไขหนังตาตก. ปัจจุบันยังไม่มียาสามัญที่พิสูจน์แล้วว่ารักษาหนังตาตกได้ การผ่าตัดเป็นทางเดียวที่จะแก้ไขอาการนี้ได้ [5] ขั้นตอนการผ่าตัดที่ใช้แก้อาการหนังตาตกเรียกว่าการศัลยกรรมเเก้ไขหนังตาตก (Blepharoplasty) ในการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะนำหนังส่วนเกินและไขมันส่วนเกินใต้ตาออก แล้วยกผิวหนังตาให้ชิดกันมากขึ้น [6] ขั้นตอนการผ่าตัดมีดังนี้:
    • ก่อนการผ่าตัดเริ่มขึ้น ศัลยแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อทำให้บริเวณเปลือกตาส่วนบนและล่างชา เมื่อบริเวณที่ต้องผ่าตัดชาแล้ว ศัลยแพทย์จะผ่าบริเวณรอยพับเปลือกตา จากนั้นจะใช้เครื่องมือดูดไขมันส่วนเกินออกและนำผิวหนังส่วนเกินออกเช่นกัน แล้วสุดท้ายจะเย็บหนังตาติดเข้าด้วยกันโดยใช้ไหมละลาย [7]
    • การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงและคนไข้สามารถกลับบ้านได้ในวันนั้นเลย
    • หลังจากการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะปิดแผลบริเวณหนังตาเพื่อป้องกันและฟื้นฟูแผลผ่าตัด คุณต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ในการทำความสะอาดและดูแลแผลหลังผ่าตัด อาจใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะแกะที่ปิดแผลได้
    • แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดและยาหยอดตาให้เพื่อช่วยบรรเทาอาการในระหว่างรอแผลหาย [8]
  4. ในบางสถานการณ์ หนังตาตกอาจเป็นปัญหารุนแรง ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน รีบพบแพทย์หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้: [9]
    • เจ็บตา
    • ปวดหัว
    • การมองเห็นเปลี่ยนไป
    • เป็นอัมพาตใบหน้า
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รู้จักภาวะหนังตาตก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หนังตาเป็นสิ่งที่คอยปกป้องตาจากภายนอก และยังมีหน้าที่สำคัญอื่นๆ อีกด้วย เมื่อคุณมีภาวะหนังตาตก คุณอาจจะพบว่าหนังตาไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนที่เคย หน้าที่ของหนังตามีดังนี้: [10]
    • ปกป้องดวงตาจากสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ฝุ่น เศษละออง แสงจ้า ฯลฯ
    • หล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาโดยการกระจายน้ำตาไปทั่วดวงตาเวลากระพริบตา
    • กำจัดสิ่งที่ทำให้ระคายเคือง โดยผลิตน้ำตาให้ร่างกายเท่าที่ต้องใช้
  2. หนังตามีกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้หนังตาเปิดหรือปิด มนุษย์จะมีไขมันในหนังตาซึ่งจะใหญ่ขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ส่วนต่างๆ ในโครงสร้างของหนังตาที่อาจได้รับผลกระทบภาวะหนังตาตกได้แก่: [11]
    • กล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) กล้ามเนื้อส่วนนี้อยู่รอบขอบตาและใช้สำหรับการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ อีกมากมาย
    • กล้ามเนื้อลืมตา (Levator palpebrae superioris) เป็นกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ยกหนังตาบน
    • ถุงไขมัน อยู่บริเวณรอบพับหนังตาบน
  3. ภาวะหนังตาตกเป็นชื่อทางการแพทย์ของหนังตาตก ความรุนแรงของภาวะนี้อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน แต่ผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีอาการอื่นอีกนอกเหนือจากหนังส่วนเกินบริเวณเปลือกตา อาการอื่นๆ ได้แก่: [12]
    • หนังตาตกชนิดมองเห็นได้
    • มีการผลิตน้ำตาเพิ่มขึ้น
    • มีการรบกวนการมองเห็น
  4. อาการหนังตาตกเกิดจากการสูญเสียความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อตา สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยและเงื่อนไข การรู้สาเหตุที่ทำให้หนังตาตกจะช่วยให้แพทย์รักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการให้แพทย์วินิจฉัยอาการก่อนเป็นสิ่งสำคัญมาก สาเหตุที่เป็นไปได้ของภาวะหนังตาตกมีดังนี้: [13]
    • อายุที่เพิ่มขึ้น
    • ความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือความพิการแต่กำเนิด [14]
    • โรคสายตาขี้เกียจ [15]
    • การขาดน้ำที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด แอลกอฮอล์และ/หรือยาสูบ
    • ปฏิกิริยาจากการแพ้
    • การติดเชื้อหนังตา เช่น ตากุ้งยิง หรือการติดเชื้อบริเวณดวงตา เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรีย
    • โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
    • หลอดเลือดในสมองแตก
    • โรคลายม์ [16]
    • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง [17]
    • ภาวะฮอร์เนอร์ [18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองใช้อายครีมทุกวันเพื่อช่วยให้หนังตาชุ่มชื้น จำไว้ว่าการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางต่างๆ ไม่สามารถใช้รักษาหนังตาตกได้
  • ถ้าคุณรู้สึกอ่อนเพลีย นอกจากอาการหนังตาตก ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการอ่อนเพลียเป็นอาการเด่นของโรคนี้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,229 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา