PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เนื่องจากโลกมีการติดต่อสื่อสารมากขึ้น เราจึงรู้สึกอ้างว้างได้ง่ายขึ้น คุณเคยรู้สึกแบบนี้บ่อยๆ ใช่ไหม? คุณไม่ได้รู้สึกอย่างนี้คนเดียวแน่นอน และคุณอาจจะสงสัยว่าจะจัดการกับความเหงานี้ได้อย่างไร อย่างแรกเลย คุณต้องเข้าใจตัวเองให้ดีก่อน จากนั้นคุณสามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่จะเอาชนะความรู้สึกเหงาของคุณได้


ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เริ่มปฏิบัติการ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำในสิ่งที่สามารถกินเวลาของคุณได้ เมื่อตารางของคุณเต็มไปด้วยกิจกรรมมากมายที่เป็นประโยชน์และเบนความสนใจของคุณออกไปได้ คุณจะไม่มีเวลารู้สึกเหงาไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัคร หางานนอกเวลาทำ เข้าร่วมชมรมหนังสือหรือโรงยิมใหม่ที่มีคาบเรียนน่าสนใจหรือจะแก้ปัญหาด้วยการทำงานที่ต้องลงมือทำเอง หรือทำอะไรก็ได้แค่ให้ความรู้สึกเหงาออกไปจากความคิดของคุณ [1]
    • คุณชอบทำงานอดิเรกอะไร? มีอะไรคุณทำได้ดีบ้าง? มีอะไรที่คุณอยากจะทำมาตลอดแต่คุณไม่มีโอกาสได้ทำบ้างไหม? ลองใช้โอกาสนี้ลงมือทำมันซะ
  2. เป็นเรื่องง่ายที่คุณจะนั่งอยู่ที่บ้านเฉยๆ และปล่อยให้วันเวลาผ่านไปกับการดูนักแสดงจากละครซิทคอมที่คุณชื่นชอบ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณยังคงอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ อาการเจ็บแปลบจากความเหงาจะยิ่งเลวร้ายลง ลองออกไปนั่งทำงานในร้านกาแฟหรือไม่ก็แค่ไปนั่งเล่นบนม้านั่งในสวนสาธารณะและเฝ้าดูคนที่เดินผ่านไปมา ให้สิ่งกระตุ้นแก่สมองของคุณเพื่อหันเหความสนใจจากความรู้สึกในแง่ลบไปได้
    • การใช้เวลาอยู่ในธรรมชาติสามารถส่งผลทางบวกต่อสุขภาพจิตใจของคุณได้ [2] การออกไปข้างนอกช่วยลดความเครียดและอาจจะช่วยให้สุขภาพร่างกายของคุณดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้น คว้าผ้าห่มออกไปนั่งอ่านหนังสือบนพื้นหญ้าในสวนสาธารณะดูสิ การทำเช่นนี้เป็นประจำจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น
  3. ทำในสิ่งที่คุณชอบหรือหลงใหลสามารถช่วยบรรเทาความเหงาได้ คิดดูว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกดีบ้าง นั่งสมาธิ? อ่านวรรณกรรมยุโรป? ร้องเพลง? ทำมันซะเลย ใช้บางเวลาที่มีค่าไปกับการหล่อเลี้ยงความหลงใหลของคุณ หรือลองชักชวนเพื่อนที่โรงเรียน คู่ซ้อมในโรงยิมหรือเพื่อนบ้านของคุณดู ถ้าพวกเขาอยากที่จะเข้าร่วมทำมันกับคุณ คุณอาจจะได้เพื่อนใหม่จากงานนี้ก็เป็นได้ [3]
    • ละเว้นจากการใช้สารเพื่อลดความเจ็บปวดจากความเหงา หากิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพทำเพื่อให้คุณรู้สึกดีขึ้นไม่ใช่แก้ไขชั่วคราวที่เพียงแค่ครอบคลุมบาดแผลจากความเจ็บปวดนี้เท่านั้น
  4. บางครั้งคุณอาจรู้สึกหมดหวังที่จะผ่านความเหงานี้ไปได้ เลยใช้โอกาสใดก็ตามที่ทำให้ความเหงาลดลง จงระวังอย่าไปมองหาสิ่งชักจูงร้ายๆ หรือคนที่แค่ต้องการใช้งานคุณ บางครั้งความอ่อนแอที่มากับการอยู่อย่างโดดเดี่ยวนั้นสามารถทำให้คุณตกเป็นเป้าของพวกที่ชอบชักจูงหรือพวกที่ชอบใช้กำลังข่มขู่ผู้อื่น และนี่คือสัญญาณของคนที่ไม่สนใจในการมีความสัมพันธ์ที่ดี: [4]
    • พวกเขาดูท่าทาง “ดีเกินจริง” พวกเขาโทรหาคุณตลอดเวลา วางแผนกิจกรรมทั้งหมดของคุณและดูเหมือนว่าจะสมบูรณ์แบบ บ่อยครั้งจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าของผู้ที่ชอบใช้กำลังข่มขู่ผู้อื่น ซึ่งต้องการเข้าควบคุมการกระทำของคุณ
    • พวกเขาไม่ตอบแทนอะไรเลย คุณอาจจะไปรับเขาจากที่ทำงาน ให้ความช่วยเหลือพวกเขาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แต่พวกเขาไม่เคยจะหยิบยื่นความช่วยเหลือกลับคืนมาให้คุณเลยไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม คนเหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของคุณเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
    • พวกเขาจะหงุดหงิดทันทีเมื่อคุณพยายามที่จะใช้เวลาไปในทางอื่น คุณอาจตื่นเต้นที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับอีกคนหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกนั้นการควบคุมพฤติกรรมของพวกเขาไม่ได้รบกวนคุณ อย่างไรก็ตาม ถ้าคนเหล่านี้เข้ามายุ่มย่ามกับคุณ พยายามติดตามสืบสถานที่ที่คุณไปและใครที่คุณอยู่ด้วยหรือแสดงความกังวลว่าคุณมีเพื่อนคนอื่นๆ นอกเหนือจากเขา นี่คือสัญญาณเตือนอย่างหนึ่ง
  5. บางครั้งชีวิตเราก็ต้องขึ้นอยู่กับคนอื่น แม้ว่ามันอาจจะยากสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความเป็นอิสระก็ตาม ถ้าหากคุณรู้สึกโดดเดี่ยว ลองยื่นมือออกไปหาญาติหรือเพื่อนที่คุณเชื่อใจให้พวกเขาช่วย แม้พวกเขาจะอยู่ห่างคุณเป็นพันไมล์หรือมากกว่านั้นก็ตาม การโทรไปหาพวกเขาจะช่วยทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
    • หากคุณกำลังผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก บางทีคนที่คุณรักอาจจะไม่รู้เรื่องนี้และคุณไม่จำเป็นที่จะต้องบอกความรู้สึกทั้งหมดกับเขาหากคุณรู้สึกไม่สบายใจ แบ่งปันความรู้สึกที่คุณสบายใจ คนที่คุณรักจะรู้สึกเป็นเกียรติมากที่คุณแบ่งปันความรู้สึกกับพวกเขา
  6. สถานที่ที่ง่ายที่สุดในการเริ่มค้นหาคืออินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีแหล่งต่างๆ มากมายที่จะเชื่อมต่อกับคนอื่น เช่น การพบปะกันในท้องถิ่น [5] ลองติดต่อกับคนที่แบ่งปันงานอดิเรกหรือความสนใจเดียวกันกับคุณ คิดดูว่าหนังสือเล่มไหนหรือภาพยนตร์เรื่องอะไรที่คุณชอบ คุณมาจากที่ไหน หรือปัจจุบันคุณอาศัยอยู่ที่ไหน มีกลุ่มมากมายที่เหมาะกับทุกๆ สถานการณ์ของคุณ
    • ออกไปหาโอกาสที่จะเข้าสังคมและคว้ามันไว้ ค้นหากลุ่มเรียนฟิตเนสทางออนไลน์ หากลุ่มคนรักหนังสือการ์ตูน ลงทะเบียนกับสมาคมภายในที่คุณคิดใคร่ครวญมาตลอดในที่ทำงาน มีส่วนร่วมในบางสิ่งบางอย่าง สร้างโอกาสต่างๆ เริ่มต้นการสนทนา สิ่งเหล่านี้เป็นหนทางเดียวที่ความเหงารูปแบบต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปได้ [6]
    • สิ่งนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการที่คุณต้องออกจากพื้นที่ปลอดภัยของตัวเอง แต่คุณต้องคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งท้าทาย และถ้าคุณไม่ชอบมัน คุณสามารถเลือกที่จะไม่ทำมันก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วคุณจะไม่ได้รับความเจ็บปวดจากเหตุการณ์นี้แต่คุณสามารถเรียนรู้อะไรจากมันได้
  7. คนเราจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างมาก ซึ่งพวกเขานั้นได้เลี้ยงสหายขนยาวมาเป็นเวลามากกว่า 30,000 ปีแล้ว [7] และถ้าทอม แฮงค์สามารถใช้ชีวิตกับวิลสันเป็นเวลาหลายปีได้ คุณก็สามารถได้ประโยชน์จากการเลี้ยงสุนัขหรือแมวอย่างแน่นอน สัตว์เลี้ยงสามารถเป็นสหายที่ยอดเยี่ยมแต่คุณต้องแน่ใจว่าจะไม่ใช้พวกมันแทนที่การคบค้าสมาคมกับผู้คน พยายามรักษาการติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ไว้บ้างเพื่อคุณจะได้มีคนอื่นๆ ไว้คุยด้วยหรือพึ่งพาในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
    • ไม่ต้องใช้เงินจำนวนหลายพันดอลล่าร์สำหรับสุนัข แค่ไปที่องค์การส่งเสริมการมีมนุษยธรรมในชุมชนของคุณหรือที่พักพิงสัตว์เลี้ยงและช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงที่ต้องการบ้านได้
    • งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า นอกจากมิตรภาพแล้ว สัตว์เลี้ยงยังสามารถทำให้สภาพด้านจิตใจของคุณให้ดีขึ้นและยังช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอีกด้วย [8]
  8. งานวิจัยทางสังคมชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมต่อระหว่างการสนใจแต่เรื่องตัวเองและความเหงา [9] สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรจะครุ่นคิดถึงอารมณ์ของคุณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรที่จะปล่อยให้มันจะกลายเป็นจุดสนใจเพียงอย่างเดียวของคุณ ถ้าคุณกระจายจุดสนใจของคุณไปที่คนอื่น ความเหงาของคุณอาจจะจางหายไป การศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็น เช่น การอาสาสมัคร ช่วยให้ผู้คนรู้สึกถึงการติดต่อกันทางสังคมและเติมเต็มทางด้านอารมณ์มากขึ้น ซึ่งสามารถต่อสู้กับความเหงาได้ [10] [11]
    • วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะกระจายจุดสนใจของคุณคือ หากลุ่มคนที่คุณสามารถช่วยเหลือได้ เช่น อาสาสมัครที่โรงพยาบาล/โรงครัวแจกอาหารให้คนจนหรือที่พักพิงของคนไร้บ้าน เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน มีส่วนร่วมในการกุศล เป็นพี่ชายหรือพี่สาว ทุกคนข้างนอกกำลังต่อสู้บนสังเวียนชีวิต ซึ่งบางทีคุณอาจจะช่วยพวกเขาได้
    • คุณยังสามารถหาทางที่จะช่วยคนอื่นๆ ที่กำลังเหงาได้ คนที่ร่างกายอ่อนแอและคนชรามักจะเก็บตัวและออกห่างจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การอาสาสมัครเข้าเยี่ยมบ้านพักคนชราหรืออาสาสมัครผู้ช่วยในโรงพยาบาลสามารถช่วยคนลดความเหงาของผู้อื่นได้เช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเปลี่ยนแปลงความคิด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเขียนบันทึกสามารถช่วยให้คุณเข้าใจได้ว่าความเหงามาจากไหน ตัวอย่างเช่น หากคุณมีเพื่อนเยอะ คุณอาจจะรู้สึกสับสนที่คุณยังคงเหงาอยู่ คอยติดตามเมื่อคุณรู้สึกแบบนี้ได้ในบันทึกของคุณว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่? มันดูเหมือนอะไร? มีอะไรเกิดขึ้นรอบๆ ตัวคุณเมื่อคุณรู้สึกอย่างนี้? [12]
    • ตัวอย่างเช่น บางทีคุณเพิ่งย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ของคุณไปเมืองใหม่ คุณมีกลุ่มเพื่อนใหม่จากที่ทำงาน ซึ่งคุณชอบที่จะอยู่กับพวกเขาแต่คุณยังคงเหงาในทุกเย็นเมื่อคุณกลับมาถึงบ้านที่ว่างเปล่า สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าคุณกำลังมองหาใครสักคนที่คุณสามารถมีการติดต่อที่มั่นคงและเหนียวแน่นทางอารมณ์ได้
    • การเข้าใจที่มาของความเหงาสามารถช่วยให้คุณทำบางสิ่งเพื่อสู้กับมันได้ นอกจากนั้นยังทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นอีกด้วย ในตัวอย่างนี้ ความเข้าใจที่ว่าคุณสนุกสนานไปกับเพื่อนใหม่แต่พลาดการติดต่อกับครอบครัวของคุณเมื่อคุณอยู่กับพวกเพื่อนๆ ช่วยให้คุณยอมรับว่าสิ่งที่คุณรู้สึกนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ
  2. ให้ความสนใจไปยังห้วงความคิดที่ผ่านหัวคุณไปในระหว่างวัน มุ่งเน้นไปที่ความคิดใดๆ ก็ตามที่คุณมีเกี่ยวกับตัวเองหรือคนอื่น ถ้าความคิดนั้นเป็นความคิดในแง่ลบ พยายามเปลี่ยนคำใหม่และเพิ่มความคิดในแง่บวกลงไป เช่น เปลี่ยนจาก “ไม่มีใครที่ทำงานเข้าใจฉันเลย” เป็น “ฉันยังไม่ได้ติดต่อกับใครที่ทำงานเลยสักคน” [13]
    • ปรับการพูดกับตัวเองใหม่สามารถเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างไม่น่าเชื่อ บ่อยครั้งที่เราไม่ได้รู้ความคิดในแง่ลบทุกอย่างที่เรามีในแต่ละวัน ใช้เวลา 10 นาทีต่อวันพยายามสังเกตความคิดในแง่ลบของคุณ ต่อมาพยายามปรับความคิดในแง่ลบใหม่ให้กลายเป็นแง่บวกมากขึ้น จากนั้นทำให้มันเกิดขึ้นจนกระทั่งคุณใช้เวลาทั้งวันตรวจสอบการพูดกับตัวเองและเข้าควบคุมมัน มุมมองทั้งหมดของคุณอาจจะเปลี่ยนไปหลังจากคุณทำการฝึกฝนนี้สำเร็จ
  3. [14] ความคิดดังกล่าวคือการบิดเบือนความรู้ความเข้าใจซึ่งจำเป็นต้องถูกกล่าวถึง การคิดแบบขั้วตรงข้ามหรือคิดแบบต้องได้ทั้งหมดหรือไม่ได้อะไรเลยอย่างนี้ เช่น “ตอนนี้ฉันเหงาจัง ดังนั้นฉันจะเหงาไปตลอด” หรือ “ฉันไม่มีใครเลยที่สนใจฉัน” จะขัดขวางการก้าวไปข้างหน้าของคุณโดยทำให้คุณรู้สึกทุกข์มากขึ้น
    • ท้าทายความคิดเหล่านี้เมื่อพวกมันเข้ามาในจิตใจ ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะคิดถึงตอนที่คุณไม่ได้รู้สึกเหงาเพียงไม่กี่ครั้ง เมื่อก่อนที่คุณได้ติดต่อกับใครสักคน แม้ว่าแค่นาทีเดียวและคุณรู้สึกเข้าใจมัน รับรู้และยอมรับว่าข้อความที่ได้รับจากความคิดแบบขั้วตรงข้ามนั้นว่า มันไม่ได้ซับซ้อนพอที่จะสะท้อนความจริงของการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก
  4. ความคิดในแง่ลบสามารถนำไปสู่ความจริงด้านลบได้ บ่อยครั้งที่ความคิดของคุณสร้างคำทำนายที่เป็นจริง [15] ดังนั้นหากคุณคิดในแง่ลบ การรับรู้ของคุณก็จะเป็นไปในทางลบด้วยเหมือนกัน หากคุณเดินเข้าไปในงานปาร์ตี้พร้อมกับคิดว่าไม่มีใครชอบคุณและคุณก็จะไม่สนุกกับงาน คุณจะใช้เวลาปาร์ตี้ทั้งหมดไปกับการอยู่คนเดียวเงียบๆ ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นศูนย์และไม่สนุกกับงาน ตรงกันข้ามกับการคิดแง่บวก ซึ่งสิ่งดีๆ สามารถเกิดขึ้นได้
    • สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกันคือความจริงเช่นกัน ถ้าคุณคาดหวังสิ่งที่ไปได้ดีมันก็จะเป็นอย่างนั้น ทดสอบทฤษฎีนี้ได้โดยตั้งสมมติฐานแง่บวกเกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตของคุณ แม้ว่าผลลัพธ์อาจจะไม่ได้ยอดเยี่ยมแต่คุณอาจจะไม่ต้องรู้สึกแย่เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ต้องเจอหากคุณคิดในแง่บวก
    • ทางที่ดีที่จะฝึกคิดในแง่บวกคือ ทำให้ตัวเองอยู่ท่ามกลางผู้คนที่คิดบวก คุณจะสังเกตได้ว่า บุคคลเหล่านี้มีมุมมองต่อชีวิตและคนอื่นอย่างไรและความคิดในแง่บวกของพวกเขาอาจเป็นผลดีต่อคุณ [16]
    • กลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งในการคิดแง่บวกคือ หลีกเลี่ยงการพูดสิ่งใดก็ตามกับตัวเองที่คุณจะไม่พูดกับเพื่อน เช่น คุณไม่เคยบอกเพื่อนเลยว่าเขาเป็นคนขี้แพ้ ดังนั้น หากคุณพบว่าตัวเองคิดว่า “ฉันเป็นคนขี้แพ้” แก้ไขความคิดเห็นที่ไม่น่าฟังนี้ได้โดยกล่าวสิ่งที่ดีเกี่ยวกับตัวคุณเอง เช่น “ฉันทำผิดพลาดบางครั้งแต่ฉันยังฉลาด ตลก เป็นห่วงเป็นใยผู้อื่นและคล่องแคล่ว”
  5. บางครั้งความเหงาอาจเป็นอาการของปัญหาที่ใหญ่ขึ้น ถ้าคุณรู้สึกราวกับว่าโลกทั้งใบไม่เข้าใจคุณและคุณไม่สามารถเห็นความเป็นกลางในความคิดแบบขั้วตรงข้ามของคุณนั้น คุณอาจจะได้ประโยชน์จากการไปพบนักบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษา
    • ความรู้สึกเหงาแบบถาวรบางครั้งอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ของภาวะซึมเศร้าได้ [17] การไปพบผู้เชี่ยวชาญทางจิตเพื่อได้รับการตรวจที่เหมาะสมอาจช่วยคุณให้รับรู้ถึงสัญญาณของภาวะซึมเศร้าและรักษาอาการผิดปกตินี้ได้อย่างเหมาะสม
    • เพียงพูดคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณสามารถช่วยให้คุณสามารถมองได้ว่าอะไรปกติและอะไรไม่ปกติ อะไรที่คุณสามารถทำแล้วรู้สึกทางสังคมมากขึ้นและคุณจะรู้สึกดีมากขึ้นจากการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การเข้าใจตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเหงาสามารถพบในรูปแบบที่ต่างกันเล็กน้อยและอาจแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ความเหงาสำหรับบางคนคือข้อสงสัยที่มาๆ ไปๆ เป็นระยะ สำหรับคนอื่นๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นจริงของพวกเขาอย่างไม่หยุดหย่อน คุณอาจจะมีความเหงาทางสังคมมากกว่าหรือความเหงาทางอารมณ์มากกว่า [18]
    • “ความเหงาทางสังคม” ความเหงาประเภทนี้รวมถึงความรู้สึกเหล่านี้ เช่น ล่องลอยไม่มีจุดหมาย เบื่อหน่ายและการแยกออกจากสังคม มันเกิดขึ้นได้เมื่อคุณไม่ได้มีเครือข่ายทางสังคมที่แน่นแฟ้น (หรือถ้าคุณถูกแยกออกมาจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น การย้ายไปที่ใหม่)
    • “ความเหงาทางอารมณ์” ความเหงาประเภทนี้รวมถึงความรู้สึกเหล่านี้ เช่น กังวล ซึมเศร้า ไม่ปลอดภัยและโดดเดี่ยว มันเกิดขึ้นได้หากคุณไม่มีการติดต่อทางอารมณ์ที่มั่นคงกับคนที่คุณต้องการ
  2. ประสาทส่วนกลางและระดับสั่งการที่ต่อสู้กับความเหงาคือ การรู้ว่าขณะที่คุณเจ็บปวดนั้นมันเป็น “แค่ความรู้สึก” เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สำคัญ ดังนั้นความเหงาจะไม่อยู่ถาวร มีสุภาษิตกล่าวไว้ว่า “แล้วมันจะผ่านไป” มันไม่มีอะไรเกี่ยวกับคุณในฐานะสัตว์สังคม ก็แค่เรื่อง เส้นประสาทในหัวที่ระเบิดอารมณ์ออกมาในแบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ คุณสามารถจู่โจมความคิดของตัวเองในเรื่องความเหงาได้ง่ายๆ และรู้สึกดีขึ้นได้ [19]
    • สุดท้ายแล้ว คุณจะตัดสินใจได้ว่าต้องทำอย่างไรกับสถานการณ์ของคุณ ใช้เวลานี้เป็นโอกาสที่จะเข้าใจตัวคุณเองให้ดีขึ้นและทำการปรับปรุงแก้ไข การเข้าใจความเหงาอย่างค่อยเป็นค่อยไปชี้ให้เห็นถึงความเจ็บปวดที่สามารถเป็นเชื้อเพลิงกระตุ้นให้คุณทำบางสิ่งและกลายเป็นคนที่คุณไม่เคยคิดที่จะเป็นได้ [20]
  3. ความเหงาสำหรับคนที่เข้าสังคมและคนเก็บตัวเป็นสองสิ่งที่ต่างกัน [21] ความเหงาและการอยู่คนเดียวไม่ใช่อย่างเดียวกัน [22] คิดดูว่าสิ่งตรงข้ามของความเหงาเป็นอะไรสำหรับคุณและจำไว้ว่าแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน [23]
    • คนเก็บตัวอาจต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใครสักหนึ่งหรือสองคน พวกเขาจะไม่ต้องการพบเพื่อนเหล่านี้ทุกวัน แต่พวกเขาชอบที่จะใช้เวลาอยู่เพียงลำพังเป็นส่วนใหญ่และต้องการแค่เพียงการกระตุ้นจากคนอื่นๆ บ้างเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม ถ้าหากความต้องการทางสังคมและอารมณ์ของพวกเขาไม่ได้รับการตอบสนอง คนเหล่านี้สามารถรู้สึกเหงาได้ [24]
    • คนที่ชอบเข้าสังคมอาจจะต้องการอยู่รอบๆ กลุ่มคนที่ให้ความรู้สึกเหมือนเครื่องวัดทางสังคมของพวกเขา คือได้รับการเติมเต็มอย่างเพียงพอ พวกเขาอาจจะรู้สึกแย่เมื่อไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เขา ถ้าการติดต่อของพวกเขาไม่ได้เป็นการเติมเต็มทางสังคมหรือทางอารมณ์แล้วนั้น ถึงจะเป็นคนที่ชอบเข้าสังคมก็อาจจะรู้สึกเหงาแม้อยู่ท่ามกลางผู้คนก็ตาม [25]
    • คุณตกอยู่ในช่วงอารมณ์ระดับไหน? การเข้าใจวิธีการที่บุคลิกภาพของคุณส่งผลกระทบต่อความรู้สึกเหงาสามารถชี้ทางให้คุณตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเอาชนะความรู้สึกนี้ได้
  4. ผลสำรวจล่าสุดพบว่า 1 ในทุกๆ 4 คนของผู้ทำแบบสำรวจอธิบายว่า ตัวพวกเขาเองไม่มีใครให้คุยเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวเลย เมื่อตัดสมาชิกในครอบครัวออกไปจากกลุ่มของคนที่พวกเขาไว้ใจแล้ว ปรากฏว่าจำนวนคนเพิ่มขึ้นเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม [26] นั่นหมายความว่า หากคุณรู้สึกเหงาราวกับว่าหันไปทางไหนก็ไม่เจอใคร ชาวอเมริกาจำนวน 25 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์นั้นรู้สึกเหมือนคุณ
    • ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังกังวลเรื่องสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับความเหงา [27] การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า คนที่รู้สึกโดดเดี่ยวไม่ทางร่างกายก็ทางใจอาจจะตายเร็วกว่าคนที่ไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รู้ไว้ว่าโลกนี้มันช่างกว้างใหญ่นัก ไม่ว่าความสนใจของคุณคืออะไรก็ตาม อาจมีใครบางคนเหมือนคุณอยู่ข้างนอกนั่นแค่มองหาคนๆ นั้น
  • ยอมรับว่าความเหงาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากคุณปรับความคิดแง่ลบให้กลายเป็นแง่บวก คุณก็สามารถเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสังคมของคุณหรือไม่ก็เพิ่มความเสี่ยงในการติดต่อกับผู้อื่นมากขึ้น
  • กระตื้อรื้อร้นในสังคมออนไลน์ให้มากขึ้น คนที่เพิ่มจำนวนการโพสต์ลงบนสังคมออนไลน์นั้นพูดถึงความรู้สึกเหงาน้อยลงจริงๆ [28] .
  • หากคุณเพียงแค่นั่งจมอยู่กับความรู้สึกเหงาและไม่ทำอะไรเลยก็จะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น อย่างน้อยคุณต้องพยายามทำอะไรสักอย่าง ออกไปจากที่นี่เพื่อลองไปพบผู้คนใหม่ๆ บ้าง
โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์เชิงลบ การดื่มหนัก ใช้สารเสพติดหรือใช้เวลาทั้งชีวิตของคุณอยู่หน้าจอทีวี สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดที่แย่มากและจะแย่เป็นทวีคูณเมื่อคุณจะทำอย่างนั้น ยิ่งคุณอยู่ในอารมณ์ที่ไม่ดีโดยเฉพาะรู้สึกเหงาด้วยแล้ว ลองพบนักจิตวิทยาหากความเหงาของคุณไม่ได้หายไปกับขั้นตอนข้างต้น


โฆษณา
  1. http://www.health.harvard.edu/blog/volunteering-may-be-good-for-body-and-mind-201306266428
  2. http://wellbeing.rice.edu/Content.aspx?id=62
  3. http://www.counseling.ufl.edu/cwc/how-to-deal-with-loneliness.aspx
  4. http://www.academia.edu/1097848/Stress_and_Coping_Activity_Reframing_Negative_Thoughts
  5. http://daphne.palomar.edu/di/allor.htm
  6. https://public.psych.iastate.edu/madon/PAPERS%20ON%20HOMEPAGE/OFFPRINT.COMPASS.pdf
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
  8. http://psychology.uchicago.edu/Cacioppo_Loneliness&DepressiveSymptoms_Psych&Aging_2006.pdf
  9. http://psychology.uchicago.edu/people/faculty/cacioppo/jtcreprints/hc09.pdf
  10. http://www.uwec.edu/Counsel/pubs/selfhelp/upload/What-is-Loneliness.pdf
  11. http://psychology.uchicago.edu/people/faculty/cacioppo/jtcreprints/hc09.pdf
  12. http://www.academia.edu/7623859/Social_Interactions_on_Facebook_and_Feelings_of_Loneliness_vs._Connectedness_for_Introverts_and_Extroverts
  13. http://www.counseling.ufl.edu/cwc/how-to-deal-with-loneliness.aspx
  14. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  15. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  16. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  17. http://spectator.org/articles/59230/loneliness-american-society
  18. http://time.com/3747784/loneliness-mortality/
  19. http://spp.sagepub.com/content/4/5/579.abstract

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,205 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา