ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Disk partitioning หรือการแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดไดรฟ์นั้น ก็คือการแบ่งฮาร์ดไดรฟ์ออกเป็นหลายๆ หน่วย (unit) นั่นเอง คนส่วนใหญ่ไม่นิยมแบ่งพาร์ทิชั่นฮาร์ดไดรฟ์กัน แต่จริงๆ ทำแล้วได้ประโยชน์หลายอย่างเลย หลักๆ ก็คือแบ่งแล้วลงหลายระบบปฏิบัติการในคอมเครื่องเดียวได้ เท่ากับช่วยลดโอกาสข้อมูลหายทั้งฮาร์ดไดรฟ์ด้วยในตัว

  1. เปิดเมนู Start แล้วพิมพ์ “Computer Management” ในแถบค้นหา จากนั้นกด enter
  2. คลิก Disk Management ทางซ้ายของหน้าต่าง แล้วจะเห็นไดรฟ์ทั้งหมดกับพาร์ทิชั่นที่มีในเครื่อง
    • ตามตัวอย่างในรูป คือมี 1 ฮาร์ดไดรฟ์ แต่มี 2 พาร์ทิชั่น
  3. คลิกขวาพาร์ทิชั่นที่อยากปรับขนาด แล้วเลือก Shrink Volume
    • ตามตัวอย่างในรูป เราใช้ไดรฟ์ (C:) อยู่
    • หมายเหตุ: คุณอาจเจอพาร์ทิชั่นชื่อ System Reserved เราแนะนำว่าอย่าไปยุ่งหรือเปลี่ยนแปลงพาร์ทิชั่นนี้เด็ดขาด
  4. พิมพ์ขนาดใหม่ที่ต้องการของไดรฟ์นั้นในหน่วย megabytes (1000 MB = 1GB) แล้วคลิกปุ่ม Shrink
    • ตามตัวอย่างในรูป ไดรฟ์จะถูกลดลงมาจาก 10000 MB หรือ 10 GB
    • หมายเหตุ: คุณลดขนาดไดรฟ์ได้ไม่เกินพื้นที่ที่กำหนดไว้ใน Size of available shrink space in MB
  5. ตอนนี้คุณจะเห็นพาร์ทิชั่นใหม่ที่ยังใช้งานไม่ได้ ในหน้าต่าง Disk Management ให้คลิกขวาพาร์ทิชั่นที่เป็น unallocated แล้วเลือก New Simple Volume
  6. New Simple Volume Wizard จะโผล่มา ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อไปต่อ
  7. พิมพ์พื้นที่ที่อยากแบ่งให้พาร์ทิชั่นใหม่ แล้วคลิกปุ่ม Next
    • ตามตัวอย่างในรูป จะเป็นการกำหนดพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ได้ให้ volume ใหม่
    • หมายเหตุ: volume ใหม่จะใหญ่กว่าพื้นที่สูงสุดที่มีไม่ได้
  8. เลือกอักษรประจำพาร์ทิชั่นจากในเมนู แล้วคลิกปุ่ม “Next”
    • ตามตัวอย่างในรูป ตัวอักษรประจำพาร์ทิชั่นที่เลือกมาคือ (E:)
    • ตัวอักษรประจำหรือ path นั้น Windows ใช้หาแล้วไปยัง volume หรือพาร์ทิชั่นใหม่ของคุณ
    • คลิก Format this volume with the following settings:
    • File System ให้เลือก NTFS
    • Allocation unit size ให้เลือก Default
    • Volume Label ให้พิมพ์ชื่อไดรฟ์ใหม่
    • คลิก Perform a quick format
    • แล้วคลิกปุ่ม Next
  9. ตรวจทาน settings แล้วคลิกปุ่ม Finish
    • จะมีหน้าต่างโผล่มาบอกให้แบ่งพาร์ทิชั่นไดรฟ์ใหม่ ก็คลิกปุ่ม Format disk ได้เลย
    • จะมีหน้าต่างใหม่โผล่มา ให้เก็บ settings เดิมไว้ แล้วคลิกปุ่ม Start
    • จะมีหน้าต่างคำเตือนโผล่ขึ้นมา ก็คลิกปุ่ม OK ไป
  10. ถ้าคุณทำทุกขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ก็จะเห็นไดรฟ์ใหม่ในหน้าต่าง Disk Management
    โฆษณา

คำเตือน

  • ก่อนจะทำขั้นตอนแรก ขอให้ backup ข้อมูลทั้งหมดในคอม ลงคอมเครื่องอื่นหรือ external drive ไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายไปเผื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,935 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา