ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การพยายามสนทนากับคนที่เชื่อว่าตนเองถูกเสมอนั้นอาจเป็นอะไรที่ยากลำบากและน่าหงุดหงิดเหลือทน เมื่อต้องรับมือกับคนที่ชอบเถียง บทความนี้ก็มีขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้ได้เพื่อทำให้สถานการณ์การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สงบสติอารมณ์ไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การแสดงความโกรธและการโต้เถียงกลับไปอาจทำให้เรื่องราวบานปลาย ไม่มีประโยชน์ต่อใคร อีกทั้งยังอาจจบลงด้วยการพูดอะไรที่ไม่ควรพูดและต้องมานั่งเสียใจภายหลัง
  2. คุ้มค่าที่จะเถียงกันไหม ถ้ากำลังถกเถียงเรื่องอย่างเช่น เครื่องโรยหน้าพิซซ่าแบบไหนถึงจะดีที่สุด ให้หยุดเถียงกันดีกว่า
    • เรามีความรู้จริงในเรื่องที่เถียงกันอยู่ไหม ถ้าไม่ ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเถียงกันหรอก
  3. การบิดเบือนความจริงจะทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่อาจสงบสติอารมณ์และนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งได้ เว้นเสียแต่ว่าเรื่องที่โต้เถียงกันอยู่เป็นเรื่องที่เรารู้ดีพอที่จะพูด จงตระหนักไว้ว่าถ้าคำพูดของเราส่วนใดส่วนหนึ่งไม่เป็นความจริง ก็จะทำให้ทุกอย่างที่เราพูดรวมทั้งเรื่องอื่นมีความน่าเชื่อถือน้อยลง ฉะนั้นจงพูดแต่ความจริงเพื่อให้การโต้เถียงเป็นไปอย่างมีเหตุผลและจงสงบสติอารมณ์ไว้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ดูอีกฝ่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดูความสัมพันธ์ที่มีต่อกันบ่อยครั้งจะช่วยให้เรารู้ว่าควรรับมือกับสถานการณ์นั้นอย่างไร
    • ถ้าบุคคลนั้นเป็นเพื่อนสนิท สมาชิกในครอบครัว หรือคู่ชีวิต จงพูดความจริงกับพวกเขา บอกไปเลยว่าเราพูดคุยกับพวกเขาลำบาก เพราะพวกเขาเอาแต่เถียงหัวชนฝาว่าตนเองถูกเสมอ บุคคลเหล่านี้อาจไม่แม้แต่รู้ตัวว่ากำลังทำให้เราลำบากใจที่จะคุยด้วย ถ้าพวกเขายังคิดว่าตนเองถูกอยู่เสมออีก พยายามค่อยๆ บอกให้รู้ตัว
    • ถ้าบุคคลนั้นเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือหนักกว่าคือเป็นเจ้านาย ให้พยายามค่อยๆ บอกอย่างระมัดระวัง อธิบายบุคคลเหล่านี้ด้วยท่าทีที่เป็นมิตรแต่จริงจังว่าเรารู้สึกว่าพวกเขาไม่รับฟังและเคารพความคิดเห็นของเรา พยายามบอกให้พวกเขาเหล่านี้รู้ว่าเรารับฟัง ให้ความสำคัญแก่ความคิดเห็นของพวกเขาเสมอ และอยากให้พวกเขาทำเช่นนั้นกับเราบ้าง
    • ถ้าบุคคลนั้นเป็นคนรู้จักหรือเป็นคนแปลกหน้า ก็ไม่จำเป็นต้องไปทุ่มเถียงกับพวกเขาเลย ค่อยๆ เอาตัวออกจากการสนทนาอย่างสุภาพ
  2. ในกรณีนี้การคิดจะเถียงกลับไปนั้นเปล่าประโยชน์ ฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนเรื่องพูดหรือไม่ก็หยุดการโต้เถียง ที่ต้องทำแบบนี้ไม่ใช่เพราะยอมแพ้คนที่คิดว่าตนเองถูกหรือคนที่หัวแข็งไม่ยอมฟังความเห็นของผู้อื่น แต่เป็นการเห็นว่าเวลาและสุขภาพจิตของเรามีค่ามากกว่าการพิสูจน์ว่าคนคนนั้นคิดผิด ถ้าเราต้องไปโต้แย้งคนที่คิดว่าตนเองถูกเสมอ พวกเขาไม่มีทางผิดหรอก ฉะนั้นอย่าไปเถียงให้เสียเวลาเลย
    • คนที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษคือ พวกที่มักจะหลงตัวเอง หรือต่อต้านสังคม และชอบบงการ ถ้าเกรงว่าจะเกิดการโต้เถียงกับคนพวกนี้ เราอาจต้องค้นคว้าหาวิธีการอื่นๆ มารับมือแทน ลองค้นหาวิธีที่จะทำให้เราดูออกว่าคู่สนทนาของเราเป็นโรคหลงตัวเองหรือโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบอื่นๆ หรือไม่ ถ้าเรารู้ว่าคู่สนทนาเป็นโรคเหล่านี้ อาจช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นมากทีเดียว เพราะเราก็ได้รู้แล้วว่าตนเองไม่ใช่ “คนผิดเลย”! คนจำนวนมากที่ขาดความมั่นใจในตนเองอาจต้องการให้ตัวของเขาเป็นคนที่ถูกเสมอ ในแต่ละกรณีการรู้สึกขาดความมั่นใจหรือการเป็นคนมีนิสัยดื้อรั้นอยู่เป็นทุนเดิมอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้บุคคลนั้นมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับผู้อื่นเสมอ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

โต้แย้งกลับไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใช้อารมณ์ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น การพูดประชดประชันก็ไม่ช่วยคู่สนทนารู้ตัว การตอบกลับการโต้แย้งด้วยการพูดว่า “งี่เง่า” ก็ไม่ช่วยให้เขาหยุดเถียง อีกทั้งส่วนใหญ่แล้วจะทำให้คนคนนั้นหาข้ออ้างมาปกป้องตนเองอีก
  2. ตั้งใจ ฟัง อีกฝ่ายพูด ข้อโต้แย้งของเขาอาจถูกก็ได้ แต่ถ้าไม่ อย่างน้อยเราก็จะได้เข้าใจสิ่งที่คู่สนทนากำลังจะบอกและชี้แจงเหตุผลให้เขาฟังได้ดีขึ้น
  3. แสดงการยอมรับและแย้งความเห็นด้วยการพูดเช่นว่า "ฉันเข้าใจว่าคุณหมายถึงอะไร” หรือ “เรื่องที่คุณพูดมาก็มีส่วนถูก." จากนั้นจึงแสดงความคิดเห็นของเราให้อีกฝ่ายฟัง
  4. เรื่องแปลกคือคนประหม่าจะไม่สามารถอธิบายอะไรได้ชัดเจน ฉะนั้นจงใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือนั้นให้เป็นประโยชน์ในการโต้แย้ง
  5. ถ้าเราไม่รู้ข้อมูลของเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียดทุกซอกทุกมุม อย่าพูดออกไป ไม่มีประโยชน์ที่จะอธิบายเรื่องที่เราไม่แน่ใจว่ารู้จริง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ออกจากการโต้แย้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเรามักจะต้องมาพูดคุยกับคนที่ชอบคิดว่าตนถูกเองเสมอ ให้เปลี่ยนเรื่องคุย จะได้หยุดการโต้เถียง หรือชวนคุยในเรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้อย่างสบายใจกันทั้งสองฝ่าย หาเรื่องที่ทั้งเราและอีกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน จะได้ไม่มีใครเป็นฝ่ายผิด
  2. ยุติการโต้แย้ง ถ้าเห็นว่าสถานการณ์ชักจะไม่ค่อยดี. การโต้แย้งกันฉันท์มิตรและการโต้แย้งเพื่อเอาชนะอีกฝ่ายไม่เหมือนกัน การโต้แย้งแบบหลังอาจก่อให้เกิดความไม่พอใจหรือการทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ถ้าเห็นว่าการโต้แย้งนี้จะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง ให้จบการสนทนาเสีย ต่างฝ่ายจะได้มีโอกาสถอยกลับมาคิดและใจเย็นลง จงยอมรับความจริงเถอะว่าในบางครั้งการพยายามโต้เถียงให้ชนะก็ไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเราจะต้องเผชิญกับคนที่ชอบเถียง ให้มีแผนไว้ในใจและเตรียมเรื่องที่เราอยากจะพูดจริงๆ เอาไว้
  • อย่าโกหกเพื่อเอาชนะการโต้เถียง ไม่อย่างนั้นคำโกหกนั้นจะย้อนกลับมาทำร้ายเราภายหลัง
  • จงมีความหนักแน่นในความคิดของตนเหมือนที่คนประเภทนี้มี
  • จงแสดงความคิดเห็นของตนอย่างมั่นใจและคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
  • พยายามเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา ถ้าทำได้ ถ้าคู่สนทนาเอาแต่เถียงกลับด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ให้พยายามชวนเขาไปพูดเรื่องอื่นอย่างเช่น กีฬา
  • ต้องรู้ว่าคู่สนทนามีความรู้ในเรื่องที่จะพูดคุยกันหรือไม่ เราจะได้ตัดสินใจถูกว่าควรพูดอะไรบ้าง
  • ดูสภาพแวดล้อมด้วย มีแค่เราและคู่สนทนาไหม หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ มีคนช่วยเหลือและอยู่ในถิ่นของตนเองไหม
  • ถ้าแนวคิดที่โต้แย้งกันสำคัญกว่าพฤติกรรมที่เขาแสดงต่อเรา ปล่อยให้ผู้อื่นโต้แย้งแทนเราเถอะ ถ้าคนคนนั้นสนับสนุนเราและคิดแบบเดียวกันกับเรา บางครั้งคนเราจะเชื่อเรื่องต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ถ้าได้ยินใครคนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน
  • ทักท้วงได้ ถ้าคู่สนทนาเถียงกลับมาด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง หรือโกหก ถ้าเขาอ้างถึง “ข้อเท็จจริง” ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือข้อมูลสถิติที่มาจากอคติ ให้รับฟังและบอกข้อเท็จจริงที่ถูกต้องให้คู่สนทนาทราบ ดีกว่ามานั่งขุ่นเคืองใจที่เขาพูดเรื่องที่ไม่เป็นความจริง
  • การโต้แย้งกับคนที่อยู่ใน “ระดับเดียวกัน” จะง่ายกว่า ถ้าคู่สนทนาอยู่ในตำแหน่งงานที่สูงกว่า ผู้คนก็อาจเชื่อถือคำพูดเขามากกว่าคำพูดเรา ในทางตรงกันข้าม ถ้าคู่สนทนาเคยตกเป็นเหยื่อของการกดขี่ข่มแหงและความรุนแรง ผู้คนก็อาจไม่สบายใจที่จะตั้งคำถามกับสิ่งที่เขาพูด ถ้าคู่สนทนามีอำนาจมากกว่า ชีวิตของเราก็อาจเสี่ยงที่จะเดือดร้อน เพราะไปตั้งข้อสงสัยในสิ่งที่เขาทำ ถ้าคู่สนทนามีอภิสิทธิ์มากกว่าเรา เขาอาจมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองน้อย ถ้าคนที่เท่าเทียมกับเขาไม่เป็นคนบอกว่าเขามีพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง ถ้าคู่สนทนามีอภิสิทธิ์น้อยกว่าเรา เขาอาจเข้าใจผิดคิดว่าคำกล่าวหาของเราเป็นการข่มขู่ คุกคาม หรือมาจากอคติของเรา
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคู่สนทนาเริ่มพูดจารุนแรง ให้ยุติการสนทนาทันที ขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เช่น เพื่อน นักให้คำปรึกษา หรือนักทรัพยากรบุคคลในบริษัทที่เราทำงานอยู่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,029 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา