ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สมัยนี้อะไรๆ ก็ต้องใช้คอม ถ้าคุณเป็นมือใหม่หัดใช้ หรือไม่เคยใช้คอมมาก่อนเลย ก็อาจจะชวนเครียด ว่าปุ่มไหนใช้ทำอะไร กระทั่งกลัวทำคอมเจ๊ง แต่บอกเลยว่าคอมสมัยนี้ใช้ง่ายขึ้นเยอะ แค่ไม่กี่นาทีก็ฉิวแล้ว ตั้งแต่เริ่มติดตั้ง/ตั้งค่าคอมใหม่ ไปจนถึงท่องเน็ตยังไงให้ปลอดภัย และติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่จำเป็นหรือที่อยากใช้ บทความวิกิฮาวนี้ก็รวบรวมวิธีการมาให้อ่านเรียบร้อย แป๊บเดียวก็เชี่ยวคอมได้!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ก่อนใช้งาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นคอมตั้งโต๊ะ ก็มี 2 - 3 ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนเริ่มใช้งาน พอเลือกที่วางเคสคอม (tower) แถวโต๊ะทำงานได้แล้ว ก็ต้องเสียบหน้าจอ คีย์บอร์ด และเมาส์ รวมถึงเสียบปลั๊กไฟของเคส
    • พวกนี้คืออุปกรณ์บังคับ ที่ต้องมีถึงจะใช้คอมได้ แต่คุณสามารถเสียบต่อเพิ่มเติมอุปกรณ์หรือ accessories อื่นๆ ได้ตามใจชอบภายหลัง
    • ถ้าใช้แล็ปท็อปใหม่ ก็ไม่ต้องติดตั้งยุ่งยากเท่าคอมตั้งโต๊ะ แค่เสียบปลั๊กให้แน่ใจว่าไฟเข้า แล้วเปิดเครื่องได้เลย
  2. ถ้าเพิ่งใช้คอมครั้งแรก จะมีให้สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนเปิดเครื่อง เป็นบัญชีสำหรับจัดเก็บเอกสาร รูป ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา และไฟล์อื่นๆ ที่สร้างตอนใช้คอม
    • ถ้าเป็นคอมสาธารณะ คือต้องใช้งานร่วมกับคนอื่น ก็ต้องตั้งรหัสผ่านที่เดายากแต่จำง่าย เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวของคุณ ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำ แม้จะเป็นคอมที่ใช้กันแค่ในบ้านก็เถอะ
    • ถ้าใช้ Windows 7 ให้ศึกษาเพิ่มเติมในเน็ตดู เรื่องสร้างบัญชีผู้ใช้
    • ถ้าใช้ Windows 8 ก็ให้ศึกษาเพิ่มเติมในเน็ตเรื่องวิธีสร้างบัญชีผู้ใช้ในเวอร์ชั่นที่คุณใช้
    • และถ้าใช้ OS X ก็ให้อ่านวิธีการสร้างบัญชีผู้ใช้ในเวอร์ชั่นที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
  3. หน้า desktop นี่แหละที่เปรียบเหมือน "โต๊ะทำงาน" ในคอมของคุณ เป็นหน้าที่จะเห็นบ่อยที่สุด โดยหน้า desktop จะโผล่มาทุกครั้งหลังล็อกอินเข้าบัญชีผู้ใช้ ในหน้านี้จะมีไอคอนและ shortcuts ของโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ ที่ใช้บ่อย หน้า desktop จะมีหน้าตาและฟังก์ชั่นการใช้งานแตกต่างกันไปตามระบบปฏิบัติการที่คุณใช้
    • ระบบปฏิบัติการ Windows (ยกเว้น Windows 8) จะมีเมนู Start ที่มุมซ้ายล่างของหน้า desktop เมนู Start ใช้เปิดโปรแกรมต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ รวมถึง settings ได้อย่างรวดเร็ว
    • Windows 8 จะไม่มีเมนู Start แต่เป็นหน้า Start แทน ซึ่งการใช้งานก็เดิมๆ แตกต่างแค่วิธีแสดงผลเท่านั้น
    • OS X มีหน้า desktop หลายหน้า เพื่อให้คุณได้จัดระเบียบและควบคุมสิ่งต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น ถ้าอยากใช้หน้า desktop พวกนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ ต้องลองศึกษาเพิ่มเติมในเน็ตดู
  4. เมาส์กับคีย์บอร์ดนี่แหละอุปกรณ์หลักที่ใช้สื่อสารกับคอม ต้องใช้เวลาสักพักถึงจะจับทางได้ว่าใช้งานและสื่อสารกับระบบปฏิบัติการและโปรแกรมต่างๆ ยังไง
    • หัดบังคับเมาส์ให้ไปตามจุดต่างๆ ของหน้าจอตามต้องการ เพราะต้องใช้ขยับและควบคุมสิ่งต่างๆ ถือเป็นฟังก์ชั่นที่จำเป็นและมีประโยชน์มากๆ ถ้ายิ่งใช้เมาส์คล่องๆ เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้คอมสะดวกรวดเร็วขึ้นเท่านั้น
    • ฝึกใช้คีย์ลัด จะช่วยให้ทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น คีย์ลัดก็คือการกด 1 - 2 ปุ่มที่คีย์บอร์ดแทนฟังก์ชั่นการทำงานของโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการที่ใช้ เช่น โปรแกรมส่วนใหญ่ให้คุณเซฟไฟล์ได้โดยกด Ctrl + S ( Cmd + S ถ้าใช้ Mac) เท่านี้ไฟล์ปัจจุบันก็จะถูกเซฟอัตโนมัติทันที
  5. ถึงจะประกอบคอมใช้เอง ก็ต้องมีโปรแกรมและ utilities หลักที่ติดมากับเครื่อง ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติม อย่างถ้าใช้ Windows ให้คลิกเมนู Start แล้วดูโปรแกรมต่างๆ ที่มีในคอมได้ ส่วนใครใช้ Mac ให้เช็คโฟลเดอร์ Dock กับ Applications
  6. ใช้คอมแล้วเดี๋ยวจะต้องติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ตามมาเรื่อยๆ ไม่ว่าใช้ระบบปฏิบัติการไหนก็ตาม ซึ่งขั้นตอนมักจะง่าย ตรงไปตรงมา เพราะไฟล์ติดตั้งส่วนใหญ่จะมีคำแนะนำในการติดตั้งชัดเจนเป็นข้อๆ อยู่แล้ว
    • ติดตั้ง Microsoft Office ก่อนเลย ถ้าใช้คอมระบบ Windows เพราะ word processor เป็นโปรแกรมสำคัญที่ต้องใช้เป็นประจำ พูดง่ายๆ ว่าคนส่วนใหญ่หันมาใช้คอมเพราะจะใช้โปรแกรมนี้นี่แหละ คอม Windows ส่วนใหญ่จะมีโปรแกรม Office เวอร์ชั่น trial ให้ทดลองใช้กันอยู่แล้ว
    • ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมของ Mac จะแตกต่างจากของ Windows นิดหน่อย หลักๆ เพราะโครงสร้างระบบที่ต่างออกไปของ Mac แต่ถ้าไปถามคนใช้ Mac ก็จะว่าติดตั้งและจัดการโปรแกรมใน OS X ง่ายกว่า Windows เยอะเลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

คำสั่งพื้นฐานที่ควรรู้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณเลือกไฟล์ต่างๆ ในคอม หรือข้อความในเอกสารและเว็บไซต์ได้ โดยใช้เมาส์หรือคีย์ลัด คือคลิกแล้วลากเคอร์เซอร์คลุมข้อความที่จะเลือก หรือกด Ctrl + A (PC) หรือ Cmd + A (Mac) เพื่อเลือกทุกอย่างที่เห็น (และเลือกได้) พอเลือกไฟล์หรือข้อความแล้ว จะใช้งานได้อีกหลายคำสั่งเลย
  2. copy และ paste . copy (คัดลอก) และ paste (แปะ/วาง) เป็นหนึ่งในคำสั่งที่ใช้บ่อยที่สุดเวลาเลือกข้อความหรือไฟล์ "Copy" ไฟล์หรือข้อความแล้ว ข้อความต้นฉบับจะยังอยู่ เพราะเป็นการคัดลอกข้อความไปไว้ใน clipboard ของคอม จากนั้นก็ "Paste" ไฟล์หรือข้อความนั้นในตำแหน่งที่ต้องการ
    • ถ้าใช้ PC ให้ copy โดยกด Ctrl + C แล้ว paste โดยกด Ctrl + V หรือ copy แล้ว paste โดยคลิกขวาที่ไฟล์/ข้อความที่เลือกแล้ว จากนั้นเลือกตัวเลือกที่ต้องการจากในเมนู
    • ถ้าใช้ Mac ให้ copy โดยกด Cmd + C แล้ว paste โดยกด Cmd + V หรือ copy แล้ว paste โดย คลิกขวา ที่ไฟล์/ข้อความที่เลือกแล้ว จากนั้นเลือกตัวเลือกที่ต้องการจากในเมนู
  3. เซฟและเปิดไฟล์ . หลายโปรแกรม เช่น word processor, photo editor และอื่นๆ ใช้สร้างและเซฟเอกสารและไฟล์ต่างๆ ได้ เวลาทำอะไรก็ตามในคอม แนะนำให้เซฟบ่อยๆ เพราะอยู่ดีๆ ไฟก็อาจจะดับ งานที่สู้อุตส่าห์ทำมาหลายชั่วโมงแต่ลืมเซฟก็จบเห่ เรียกว่าต้องหมั่นเซฟเป็นนิสัย ถ้าปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไฟล์ครั้งใหญ่เมื่อไหร่ ก็ควรสร้าง copy หรือสำเนาไฟล์ใหม่ไปเลย ปกติคุณสามารถเซฟงานในโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยกด Ctrl + S (PC) หรือ Cmd + S (Mac)
    • ถ้ามีหลายไฟล์สำคัญในคอม ควร ตั้งค่า backup ข้อมูล ไว้ด้วย จะได้แน่ใจว่ามีสำเนาของไฟล์สำคัญทั้งหมดอย่างน้อย 1 ชุด เผื่อคอมเป็นอะไรไป ทั้ง Windows กับ Mac OS X จะมีระบบ backup ติดมากับระบบปฏิบัติการเลย
  4. พอใช้คอมไปเรื่อยๆ จะเริ่มสะสมเอกสาร ไฟล์ media และไฟล์อื่นๆ จนรกไปหมด ต้องหาเวลาจัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ ของคุณ โดย สร้างโฟลเดอร์ใหม่ เพื่อให้ได้ directory เข้าถึงและใช้งานข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะใช้งานเน็ต ต้องเสียบสายหรือเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตซะก่อน เช่น Wi-Fi หรือเสียบสายจากคอมไปเราเตอร์หรือโมเด็ม ส่วนขั้นตอนก็ขึ้นอยู่กับค่าเน็ตที่ปรับแต่งไว้ รวมถึงความสามารถของคอมด้วย
    • เชื่อมต่อคอมกับสัญญาณ Wi-Fi ถ้าที่บ้าน ที่ทำงาน หรือโรงเรียนมีสัญญาณ Wi-Fi ก็ต่อเน็ตในคอมได้เลย แล็ปท็อปส่วนใหญ่จะต่อ Wi-Fi รวดเร็วทันใจมาก แต่คอมตั้งโต๊ะบางเครื่องต้องติดตั้งการ์ด Wi-Fi ซะก่อน
    • ถ้าต่อเน็ตแบบเสียบสายจะเร็วและสัญญาณเสถียรกว่า ถ้าคอมอยู่ใกล้ internet access point (เราเตอร์หรือโมเด็ม) ก็ต่อเน็ตโดยเสียบสาย Ethernet กับคอมโดยตรงจะดีกว่า เหมาะสำหรับคอมตั้งโต๊ะ เพราะเครื่องจะไม่ขยับไปไหนอยู่แล้ว ต่อเน็ตผ่านสายไม่มีปัญหาถูกรบกวนสัญญาณเหมือนที่ Wi-Fi เจอด้วย ที่สำคัญคือรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วทันใจกว่าเยอะเลย
  2. เบราว์เซอร์คือโปรแกรมใช้เปิดหน้าเว็บ ดูวีดีโอออนไลน์ ดาวน์โหลดไฟล์ และอื่นๆ เรียกง่ายๆ ว่าใช้ท่องเน็ตนั่นแหละ คอมทุกเครื่องจะมีเบราว์เซอร์ตั้งต้นติดมาอยู่แล้ว (Internet Explorer ของ Windows, Safari ของ Mac และ Firefox ของ Linux) แต่ก็มีเบราว์เซอร์ดังๆ ให้เลือกติดตั้งและใช้งานทีหลังได้
    • Google Chrome นี่แหละหนึ่งในเบราว์เซอร์สุดฮิตตลอดกาล คุณเชื่อมต่อแล้ว sync ข้อมูลกับ บัญชี Google ของตัวเองได้ด้วย คุณดาวน์โหลด Chrome ได้ฟรีจาก Google
    • Firefox ก็เป็นอีกเบราว์เซอร์ฟรียอดนิยม เป็นเบราว์เซอร์ที่ปรับแต่งให้เอื้อต่อการใช้งานของคุณได้ดี แถมมีตัวเลือกรักษาความปลอดภัยข้อมูลแบบแน่นหนาให้เลือกใช้เยอะเลย
  3. ก่อนจะเริ่มท่องเน็ต ควรติดตั้งโปรแกรม antivirus ซะก่อนเพื่อความปลอดภัย เป็นโปรแกรมที่ใช้ป้องกันไม่ให้คอมติดไวรัสและมัลแวร์ต่างๆ ถือเป็นโปรแกรมที่ขาดไม่ได้เวลาต่อเน็ต คอมส่วนใหญ่จะมีโปรแกรม antivirus เวอร์ชั่นทดลองใช้ (trial) ติดมาแต่แรก แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายโปรแกรมฟรีแต่ดีให้เลือกใช้
  4. ท่องเน็ตอย่างปลอดภัย . โลกออนไลน์ก็เหมือนโลกจริง คือมีคนทั้งดีและร้ายปะปนกันไป มีทางเดียวคือต้องรู้จักป้องกันตัวเอง เพื่อให้ท่องเน็ตได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัย เช่น ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บที่เชื่อถือได้เท่านั้น และระวังไวรัส สแกมหลอกลวง และเรื่องผิดกฎหมายหรืออันตรายต่างๆ
  5. ส่งอีเมล . อีเมลเป็นหนึ่งในช่องทางสื่อสารที่คนสมัยนี้นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะงั้นการหัดใช้อีเมลเลยเป็นหนึ่งในทักษะการใช้คอมที่จำเป็น คุณสมัครอีเมลฟรีได้ที่หลายเว็บหรือโปรแกรม แล้วเขียนอีเมลใหม่ส่งถึงใครต่อใครได้ในแค่ไม่กี่นาที
  6. โลกออนไลน์มีสารพัดชนิดไฟล์เท่าที่จะจินตนาการได้ ทั้งหมดนี้คุณสามารถดาวน์โหลดลงคอมได้หมดเลย โดยไฟล์ที่พบบ่อยที่สุด ก็คือไฟล์รูป ไฟล์เพลง และโปรแกรม คุณดาวน์โหลดไฟล์ได้จากหลายหมื่นหลายพันเว็บ ด้วยสารพัดวิธี
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ากำลังเตรียมทำโฮมออฟฟิศ หรือจะใช้คอมทำงานหรือเรียน มักมีเหตุให้ต้องพริ้นท์หรือพิมพ์งานออกมาใส่กระดาษเป็นประจำ ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณติดตั้งพรินเตอร์ในคอมรุ่นใหม่ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว แค่เสียบกับคอมผ่านสาย USB และพอร์ท USB พอระบบปฏิบัติการสแกนเจอเครื่อง ก็จะจัดการทุกอย่างต่อเอง
  2. เครือข่าย (networks) คือการเชื่อมต่อคอมหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน ให้สื่อสารกันได้สะดวก โดยใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตเดียวกัน ถ้าคุณเชื่อมต่อคอมและอุปกรณ์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน ก็จะใช้และแชร์ไฟล์ระหว่างกันได้สะดวก ใครอยู่ใน network เดียวกันก็สั่งพริ้นท์ไปยัง shared printer หรือพรินเตอร์ที่ใช้งานร่วมกันได้เลย รวมถึงเล่นเกมกันและอื่นๆ อีกมากมาย จะสร้างเครือข่ายต้องมีเราเตอร์หรือ network switch ซะก่อน เป็นอุปกรณ์ที่ทุกอุปกรณ์ต้องมาเชื่อมต่อ ไม่ว่าจะโดยเสียบสาย Ethernet หรือผ่าน Wi-Fi ก็ตาม
  3. ติดตั้งเว็บแคมหรือไมโครโฟน . มีเว็บแคมแล้วจะวีดีโอแชทกับเพื่อนหรือครอบครัวก็ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลก โดยใช้โปรแกรมอย่าง Skype หรือ Google+ เว็บแคมก็เหมือนอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ของคอม คือแค่เสียบกับคอม ก็ติดตั้งได้เองอัตโนมัติ เว็บแคมส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อผ่าน USB แต่ถ้าเป็นแล็ปท็อปก็สบาย เพราะมีเว็บแคมในตัว
  4. ถ้าเป็นแล็ปท็อป จะมีลำโพงในตัวอยู่แล้ว ส่วนคอมตั้งโต๊ะต้องใช้ลำโพงแยกหรือเสียบหูฟัง ถึงจะมีเสียงออกมา คอมส่วนใหญ่มีขั้วไว้เสียบลำโพงอยู่แล้ว มักจะอยู่ด้านหลังของเคสคอม สายเสียบลำโพงส่วนใหญ่จะแบ่งตามสี ก็เสียบไปตามช่องสีเดียวกันให้ถูกต้อง
  5. ถ้าวางคอมไว้แถวทีวี หรือยกแล็ปท็อปไปวางใกล้ๆ ก็เปลี่ยนคอมเป็นตัวควบคุมโฮมเธียเตอร์ เปิดภาพในคอมขึ้นจอทีวีได้เลย ถ้ามีสายพร้อม ก็เสียบกับลำโพงของทีวีหรือระบบโฮมเธียเตอร์ที่อลังการงานสร้างกว่านั้นตามสะดวก
    • ลองอ่านวิธีการต่อเครื่อง Mac กับทีวีเพิ่มเติมในเน็ตดู
    • ถ้าจะต่อแล็ปท็อปกับทีวี อ่าน บทความนี้ ได้เลย
    • ถ้าจะต่อคอมตั้งโต๊ะกับทีวี อ่าน บทความนี้ ได้เลย
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

แก้ปัญหาที่พบบ่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คอมก็เหมือนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ตรงที่ใช้ได้ก็เสียได้เป็นพักๆ ถ้าศึกษาวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นไว้ ก็จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ไม่ต้องรู้มากเท่าช่าง แค่รู้ว่าเวลาเกิดปัญหาแล้วเราลองแก้ไขอะไรเฉพาะหน้าได้เองบ้าง ก็ช่วยได้เยอะแล้ว
    • ขั้นแรกที่ควรทำเวลาคอมมีปัญหา ก็คือรีสตาร์ทคอม บอกเลยว่าช่วยแก้ได้สารพัดปัญหาโปรแกรมหรือฟังก์ชั่นการทำงาน
    • ถ้ามีปัญหาเรื่องสัญญาณเน็ต ให้ลองปิดแล้วเปิดเราเตอร์หรือโมเด็มซะใหม่ จะช่วยได้เยอะ
  2. ไวรัสเป็นไฟล์ที่เจาะเข้าคอมมาล้วงข้อมูล ไม่ก็ทำลายไฟล์ของคุณ แถมทำให้คอมอืดเป็นเต่าคลาน ขั้นร้ายแรงที่สุดคือเสียทุกอย่างในคอมไป ไวรัสส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงได้ แค่รู้จักการท่องเน็ตอย่างปลอดภัย
    • นอกจากไวรัส ก็มีแอดแวร์และสปายแวร์นี่แหละ ที่อันตรายต่อทั้งคอมและข้อมูลของคุณ พวกนี้มักติดมาตอนคุณติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ลงคอม บอกเลยว่ากำจัดยากมาก
  3. พอติดตั้งโปรแกรมลงคอมและใช้งานไปเรื่อยๆ จะรู้เองว่าโปรแกรมไหนใช้ดีควรเก็บไว้ โปรแกรมไหนควรลบ ถ้ามีโปรแกรมเก่าไม่ใช้แล้ว ระวังจะเปลืองพื้นที่ในคอม น่าจะทวงคืนมาให้โปรแกรมหรือไฟล์อื่นจะดีกว่า บางโปรแกรมอาจจะทำงานในเบื้องหลัง (background) โดยที่คุณไม่รู้ตัว แต่ก็หน่วงคอมไปแล้วเรียบร้อย เพราะงั้นต้องหมั่นตรวจเช็คและถอนการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ใช้งานแล้วอยู่เรื่อยๆ เพื่อสุขภาพอันดีของคอม
    • อ่านวิธีการถอนการติดตั้งโปรแกรมของ Mac เพิ่มเติมได้ในเน็ต
    • อ่านวิธีการถอนการติดตั้งโปรแกรมของ Windows เพิ่มเติมได้ในเน็ตเช่นกัน
  4. ถ้าทำทุกวิธีแล้วยังแก้ปัญหาการใช้งานไม่ได้ คงต้องลงระบบปฏิบัติการใหม่เลย ซึ่งก็ติดตั้งไม่ยากอย่างที่คิด แถมช่วยให้คอมทำงานเร็วขึ้นด้วย แต่ที่ลำบากจนทำให้หลายคนถอดใจ คือการ backup ไฟล์เก่าในเครื่อง แถมต้องมานั่งลงโปรแกรมอื่นๆ ในคอมใหม่อีก ถ้าคอย backup ไฟล์เป็นระยะอยู่แล้วก็โชคดีไป ส่วนการลงโปรแกรมใหม่อีกรอบ จริงๆ แล้วง่ายและเร็วกว่าที่คิด
    • ลองอ่านวิธีการลง Windows 7 ใหม่ในเน็ตดู
    • รวมถึงวิธีการลง Windows 8 ใหม่
    • วิธีการลง OS X ใหม่
    • และวิธีการติดตั้ง Linux
  5. ความร้อนนี่แหละศัตรูคู่อาฆาตของคอม พอฝุ่นสะสมหนาเข้า ก็จะทำให้คอมร้อนง่ายขึ้น ถ้าอยากให้คอมระบายความร้อนได้ดี ต้องหมั่นทำความสะอาดกำจัดฝุ่นในเคสคอม โดยใช้อากาศอัดกระป๋องและที่ดูดฝุ่น พยายามทำความสะอาดคอมให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ยิ่งใครมีสัตว์เลี้ยงหรือสูบบุหรี่ ยิ่งต้องทำความสะอาดบ่อยกว่านั้น
  6. บางทีคอมก็ค้าง ล่ม หรือทำงานไม่ได้รวดเร็วทันใจ แบบนี้ควรอัพเกรดคอม จะถูกกว่าซื้อใหม่ PC ตั้งโต๊ะส่วนใหญ่อัพเกรดได้เยอะ เช่น ติดตั้งไดรฟ์ใหม่ และ เพิ่มความจำ (memory) รวมถึงอื่นๆ ให้คอมประมวลผลและเล่นวีดีโอได้รวดเร็ว
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 46,195 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา