ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

จิตวิทยาย้อนกลับคือการให้คนๆ หนึ่งทำหรือพูดในสิ่งที่เราต้องการโดยการบอกให้เขาทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับผลลัพธ์ที่เราอยากได้ ซึ่งอาจประสบความสำเร็จมากๆ ในการโฆษณาและอาจมีประโยชน์ในการรับมือกับคนบางจำพวก แต่คุณก็ควรระมัดระวังในเรื่องว่าจะใช้จิตวิทยาย้อนกลับอย่างไรและเมื่อไหร่ เพราะมันอาจมองได้ว่าเป็นการบงการประเภทหนึ่ง หากใช้จนติดเป็นนิสัย ก็อาจจะทำลายความสัมพันธ์เข้าจริงๆ ได้ พยายามใช้จิตวิทยาย้อนกลับในบางโอกาสเท่านั้นและใช้สถานการณ์ที่ไม่ร้ายแรง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เปลี่ยนใจใครบางคนด้วยจิตวิทยาย้อนกลับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ตัวเลือกนี้ฝังอยู่ในสมองของอีกฝ่ายก่อน ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ปกติแล้วคนๆ นี้จะต่อต้านและเขาหรือเธอก็อาจจะเย้ยหยันมันในตอนแรก แต่คุณต้องให้คนๆ นี้รู้ก่อนว่าเขามีตัวเลือกนี้อยู่ในมือ [1]
    • เช่น สมมุติว่าคุณตัดสินใจระหว่างปาร์ตี้ 2 งานที่จะไปในคืนวันศุกร์ เพื่อนคุณเป็นคอหนังและเพื่อนๆ ของเขาก็กำลังจะไปปาร์ตี้หนังกัน แต่คุณชอบเล่นเกมกระดานมากกว่าและเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่งก็กำลังจะจัดปาร์ตี้เกมกระดาน
    • บอกให้เพื่อนรู้ถึงตัวเลือกที่คุณต้องการ คุณอาจจะพูดประมาณว่า "แกได้ยินเรื่องที่เมย์กับอุ๋มอิ๋มจะจัดปาร์ตี้เกมกระดานคืนนี้มั้ย ฉันว่าน่าเบื่อชะมัดเลยเนอะ"
  2. ใช้วิธีแนบเนียนเพื่อให้ตัวเลือกน่าดึงดูดใจ. หาวิธีทำให้ตัวเลือกน่าสนใจ หยอดคำบอกใบ้แบบแนบเนียนที่อาจสร้างความปรารถนาในตัวเลือกอีกฝ่ายได้ [2]
    • ในตัวอย่างด้านบน คุณอาจจะเปรยๆ ถึงเกมกระดานที่จะเล่นกันในงานปาร์ตี้ นอกจากนี้คุณอาจจะเล่นเกมไพ่กับเพื่อนๆ 2-3 วันก่อนวันงานเพื่อให้เพื่อนเห็นว่าเกมสนุกขนาดไหน
    • นอกจากนี้คุณอาจจะทำให้เพื่อนๆ ที่จัดงานฟังดูน่าดึงดูดใจขึ้นได้ เล่าถึงความทรงจำสนุกๆ ตอนที่คุณไปเที่ยวเล่นกับเมย์และอุ๋มอิ๋ม พูดถึงคุณสมบัติที่ดีของพวกเขา เช่น พูดประมาณว่า "เมย์มีไวน์ชั้นเลิศติดบ้านอยู่เสมอเลยนะ"
  3. เช่น คุณอาจจะเล่นเกมกระดานเวอร์ชั่นมือถือต่อหน้าเพื่อนคนนี้ ชวนเมย์กับอุ๋มอิ๋มไปดื่มกาแฟกับเพื่อนอีกคนก่อนถึงวันปาร์ตี้เพื่อทำให้เขาเห็นว่าสองคนนี้เป็นคนสนุกสนานขนาดไหน
  4. ทำเป็นไม่อยากให้เพื่อนเลือกตัวเลือกที่คุณต้องการหรือต่อต้านตัวเลือกนั้น. พอคนๆ นี้ติดกับคุณแล้ว คุณต้องทำเป็นคัดค้านนิดหน่อย วิธีนี้เป็นแรงผลักดันเพิ่มที่คุณต้องใช้เพื่อให้อีกฝ่ายทำในสิ่งที่คุณต้องการ เขาหรือเธอเริ่มจะติดใจตัวเลือกของคุณบ้างแล้วล่ะ ถ้าจุดนี้คุณผลักไสเขาไปจากตัวเลือกที่ว่านี้สักหน่อย พวกดื้อดึงตามธรรมชาติย่อมส่งแรงผลักกลับมามากกว่าเดิม [3]
    • กลับไปที่ตัวอย่างด้านบน ให้รอจนกว่าจะถึงวันศุกร์ค่อยพูดประมาณว่า "ก็ เราจะไปงานของเมย์กับอุ๋มอิ๋มหรือไปปาร์ตี้หนังกันดี แกว่าไง ฉันว่าปาร์ตี้ของเมย์กับอุ๋มอิ๋มอาจจะน่าเบื่อนิดหน่อย"
    • พอถึงจุดนี้ เพื่อนอาจจะโต้กลับเพื่อไปปาร์ตี้ของเมย์กับอุ๋มอิ๋ม แต่ถ้าเขาหรือเธอยังไม่แน่ใจ ให้พยายามแสดงออกอย่างชัดเจนกว่านี้ อาจจะพูดประมาณว่า "เราจะไปบ้านเมย์กับอุ๋มอิ๋มเมื่อไหร่ก็ได้"
  5. เพื่อปิดกระบวนการเจรจา ตอนนี้ให้คุณเร่งให้อีกฝ่ายตัดสินใจ ประเด็นของจุดนี้คือเพื่อให้อีกฝ่ายคิดว่าเขาได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ถามเขาอย่างสุภาพว่าเขาอยากจะทำอะไรและรอคำตอบ หวังว่าอีกฝ่ายจะเลือกตัวเลือกที่คุณหวังไว้นะ [4]
    • จากตัวอย่างด้านบน ให้พูดประมาณว่า "ก็ เราจะไปบ้านเมย์กับอุ๋มอิ๋มหรือไปปาร์ตี้หนังก็ได้ แกว่าไงล่ะ แล้วแต่แกตัดสินใจเลย"
    • การทำให้เพื่อนคิดว่านี่เป็นการตัดสินใจของเขาจะทำให้เขาคิดว่าเขาได้แสดงอำนาจในการตัดสินใจของเขาแล้ว คุณได้ทำให้ปาร์ตี้ของเมย์กับอุ๋มอิ๋มฟังดูน่าสนใจ และยังแสดงการต่อต้านออกไปอีก ซึ่งคนขวางโลกโดยนิสัยอาจจะโต้คุณกลับมา ถ้าคุณโชคดีเพื่อนของคุณก็จะเลือกไปงานของเมย์กับอุ๋มอิ๋ม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หาสถานการณ์ที่ใช้จิตวิทยาย้อนกลับได้ผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาประเภทบุคลิกที่ตอบสนองต่อจิตวิทยาย้อนกลับมากที่สุด. ไม่ใช่ทุกคนที่ตอบสนองต่อจิตวิทยาย้อนกลับได้ดี คนที่มักจะโอนอ่อนผ่อนตามอาจจะตอบสนองต่อการขอร้องตรงๆ ได้ดีกว่า ถ้าคุณรู้จักคนที่มีนิสัยกระด้างกระเดื่องเป็นทุนเดิม จิตวิทยาย้อนกลับอาจได้ผลดีกับคนนี้ [5]
    • คิดถึงปฏิสัมพันธ์ที่คุณมีกับคนที่คุณนึกถึง พวกเขามักจะโอนอ่อนผ่อนตามสถานการณ์หรือมักจะต่อต้าน ถ้าคุณรู้จักใครที่เป็นนักคิดอิสระค่อนข้างมากและมักจะต่อต้านสิ่งที่เป็นอยู่ คนๆ นี้มักจะตอบสนองต่อจิตวิทยาย้อนกลับมากกว่าคนที่ชอบตามน้ำ
    • นอกจากนี้คุณควรนึกไว้ในใจหากคุณมีแผนที่จะใช้จิตวิทยาย้อนกลับกับเด็กด้วย ถ้าลูกของคุณมักจะดื้อด้าน เขาหรือเธอก็จะตอบสนองต่อจิตวิทยาย้อนกลับมากกว่าเด็กว่านอนสอนง่ายมากๆ
  2. พยายามใช้จิตวิทยาย้อนกลับแบบสนุกๆ โดยเฉพาะกับเด็กๆ. จิตวิทยาย้อนกลับควรเป็นเรื่องสนุกๆ หรือขำๆ ด้วยซ้ำไป ซึ่งจะเหมาะสมเป็นพิเศษหากใช้เทคนิคนี้กับเด็กเล็กๆ พยายามใช้จิตวิทยาย้อนกลับเป็นสื่อที่ทำให้อีกคนคิดว่าพวกเขาฉลาดกว่าคุณ [6]
    • เช่น สมมุติว่าคุณอยากให้ลูกชายเก็บที่นอนทันที คุณอาจจะบอกให้ลูกอย่าเพิ่งเก็บที่นอนจนกว่าคุณจะแปรงฟันเสร็จ โดยให้เหตุผลว่าเขายังเด็กและยังต้องการความช่วยเหลืออยู่มาก คุณอาจจะกลับมาที่ห้องแล้วพบว่าลูกชายเริ่มเก็บที่นอนด้วยตัวเองแล้ว เพราะเขาอยากแสดงให้คุณเห็นว่าเขาสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
    • กับผู้ใหญ่ก็ให้พยายามใช้จิตวิทยาย้อนกลับในแบบเดียวกัน ให้คนๆ นั้นคิดว่าเขาได้ใช้อำนาจของตนในสถานการณ์นี้ คุณอาจจะกำลังเลือกระหว่างหนังสองเรื่องคือ หนังต่างประเทศที่มีซับไตเติ้ลกับหนังตลกเบาสมอง คุณอยากดูหนังต่างประเทศมาก เพราะฉะนั้นคุณอาจจะพูดประมาณว่า "ฉันไม่แน่ใจเลยว่าฉันจะทนอ่านซับไตเติ้ลนานๆ ได้" จุดนี้เพื่อนของคุณอาจจะยืนยันที่จะดูหนังต่างประเทศ เพราะพวกเขาอยากพิสูจน์ว่าเขาสามารถอ่านซับไตเติ้ลนานๆ ได้เก่งกว่าคุณ
  3. ก่อนจะใช้จิตวิทยาย้อนกลับ ลองคิดดูว่าอีกฝ่ายน่าจะต้องการอะไรในสถานการณ์นี้ ในบางกรณีคุณอาจจะต้องใช้จิตวิทยาย้อนกลับฉบับที่ซับซ้อนกว่า ถ้าสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการมีน้ำหนักมากกว่าความต้องการที่จะดึงดัน จิตวิทยาย้อนกลับทั่วไปอาจส่งผลเสียได้ เช่น เพื่อนของคุณอยากไปคอนเสิร์ตในพื้นที่อันตรายในจังหวัดคนเดียว คุณอาจจะคิดว่ามันเป็นความคิดที่ไม่ดี แต่การใช้จิตวิทยาย้อนกลับธรรมดาอาจไม่ได้ผลก็ได้ ถ้าคุณบอกเพื่อนว่า "เธอพูดถูกแล้ว ไปเถอะ คนเราเกิดมาแค่ครั้งเดียวนะ!" เพื่อนของคุณอาจจะเห็นด้วยหมดหัวใจก็ได้ เพราะเขาอยากจะไปดูคอนเสิร์ตจริงๆ อยู่แล้ว [7]
    • ในกรณีนี้ให้ลองต่อต้านตัวเองแทนการต่อต้านตัวเลือกที่มีอยู่ กลับไปที่ตัวอย่างด้านบน คุณอาจจะพูดกับเพื่อนประมาณว่า "ฉันบังคับให้แกทำในสิ่งที่แกไม่อยากทำไม่ได้หรอก ถึงฉันจะมั่นใจว่าแถวนั้นมันอันตรายก็เถอะ แต่แกก็ต้องเป็นคนตัดสินใจแหละว่าอะไรดีกับแกที่สุด"
    • ในที่นี้คุณกำลังสนับสนุนให้เพื่อนคิดถึงตัวเอง ถ้าเพื่อนเป็นพวกขวางโลกเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาก็อาจจะทำตามคำแนะนำของคุณแทนที่จะคิดถึงตัวเอง เพื่อนของคุณอาจจะตัดสินใจไม่ไปคอนเสิร์ตก็ได้
  4. คุณต้องแน่ใจว่าคุณมีผลลัพธ์สุดท้ายอยู่ในใจ เตือนตัวเองเป็นระยะๆ ว่าสิ่งที่คุณอยากให้คนนั้นทำคืออะไร เพราะเวลาใช้จิตวิทยาย้อนกลับบางครั้งมันอาจจะมีการโต้เถียงกันบ้าง พยายามอยู่ในรูปในรอย และจำไว้ว่าผลลัพธ์ที่คุณต้องการคืออะไร
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

หลีกเลี่ยงการใช้จิตวิทยาย้อนกลับในทางที่ผิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จิตวิทยาย้อนกลับใช้ได้ผลดีในบางสถานการณ์เท่านั้น แต่จำไว้ว่าจริงๆ แล้วมันคือการบงการอย่างแนบเนียนรูปแบบหนึ่ง การใช้จิตวิทยาย้อนกลับเป็นนิสัยอาจเป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ [8]
    • ใช้จิตวิทยาย้อนกลับในสถานการณ์ที่ไม่ได้มีผลร้ายอะไรตามมา เช่น คุณสามารถใช้เทคนิคนี้เวลาที่คุณกับสามี/ภรรยากำลังเลือกหนังที่จะดูได้ แต่ก็อย่าใช้เทคนิคนี้ทุกครั้งที่ไปดูหนัง เพราะคุณก็ควรให้คนรักเป็นฝ่ายได้เลือกกิจกรรมนันทนาการบ้าง
    • สถานการณ์เล็กๆ น้อยๆ แบบนี้เมื่อผ่านไปสักพักก็อาจสะสมจนสร้างความไม่พอใจในความสัมพันธ์ได้ เช่น คนรักของคุณอาจจะเบื่อกับการไม่ได้ในสิ่งที่เขาหรือเธออยากได้และเริ่มจะโกรธคุณเข้าให้
  2. จิตวิทยาย้อนกลับอาจสร้างความสับสนวุ่นวายได้ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใช้มันกับเด็กๆ เด็กที่หัวรั้นมากๆ และคนทั่วไปอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะคล้อยตามวิธีคิดของคุณได้ คุณต้องนิ่งและทำใจให้สงบเข้าไว้ [9]
    • ถ้าลูกของคุณระเบิดอารมณ์ออกมาตอนที่คุณกำลังใช้จิตวิทยาย้อนกลับ ให้นิ่งเข้าไว้ ปล่อยให้ลูกร้องไปก่อน ถ้าคุณอดทน ลูกก็จะสงบและกลับมาทำตัวดีๆ ในที่สุด
  3. มีบางสถานการณ์ที่การใช้จิตวิทยาย้อนกลับอาจทำให้เกิดผลเสียได้ และผลที่ตามมาก็อาจร้ายแรง คุณไม่ควรใช้จิตวิทยาย้อนกลับเมื่อต้องเดิมพันด้วยสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของใครสักคน [10]
    • เช่น สมมุติว่าเพื่อนของคุณกลัวหมอมาตลอด แล้วเขามีไฝที่น่าสงสัยขึ้นบนไหล่ขวาและไม่ยอมไปหาหมอเพื่อเข้ารับการตรวจ
    • อย่าพูดว่า "นายพูดถูกแล้ว ไม่ต้องไปหาหมอหรอก" ความกลัวหมอของเพื่อนอาจมีน้ำหนักกว่าความต้องการที่จะต่อต้านมากๆ และคุณอาจกำลังส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นอันตราย
    โฆษณา

คำเตือน

  • บางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ค่อนข้างฉลาดหรือหัวรั้น การใช้จิตวิทยาย้อนกลับที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดอาจทำให้เสียเรื่องไปเลยเพราะพวกเขารู้ว่าคุณทำอะไรอยู่ ระวังด้วยว่าจะใช้เทคนิคนี้กับใคร เพราะมันอาจทำให้อะไรๆ แย่ลง!
  • วิธีนี้ไม่ใช้วิธีการสื่อสารที่ดีที่สุด เพราะจริงๆ แล้วคุณกำลังเอาเปรียบ (และส่งเสริม) นิสัยดื้อรั้นแบบผิดๆ ให้กับคนๆ หนึ่งอยู่ ถ้าเป็นเด็ก เด็กก็มักจะบ่มเพาะนิสัยดื้อรั้นจากการใช้จิตวิทยาย้อนกลับ แต่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะรู้ว่าพวกเขางี่เง่าแค่ไหนและจะตอบสนองต่อการสื่อสารที่ไม่ใช้ความรุนแรงแทน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,912 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา