ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการไข้นั้นคือผลสะท้อนของการที่อุณหภูมิภายในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมา อาการไข้เล็กน้อยนั้นมักจะถือว่าเป็นประโยชน์ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าร่างกายพยายามป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ บรรดาจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรค (เชื้อโรค) ส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้ในช่วงอุณหภูมิแคบๆ ฉะนั้นอาการไข้เล็กน้อยจึงเป็นการป้องกันไม่ให้พวกมันแพร่ขยายพันธุ์ [1] อย่างไรก็ดี ไข้บางอย่างอาจเกี่ยวข้องกับโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือโรคมะเร็ง อาการมีไข้สูง (39.4 °C หรือ 103 °F หรือสูงกว่านั้นในผู้ใหญ่) นั้นเป็นอันตรายร้ายแรงได้และควรได้รับการตรวจวัดอย่างใกล้ชิดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ เทอร์โมมิเตอร์นั้นมีหลายประเภทและหลายรุ่นสำหรับวัดส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดมักพิจารณาจากอายุของคนไข้ เช่น เทอร์โมมิเตอร์บางประเภทเหมาะสำหรับเด็กเล็กมากกว่า ทันทีที่คุณเลือกเทอร์โมมิเตอร์แบบที่เหมาะสมได้แล้ว การใช้มันก็แทบจะไม่มีอะไรพลิกแพลงมาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เลือกเทอร์โมมิเตอร์ที่เหมาะสมที่สุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกเทอร์โมมิเตอร์แบบสวนทวารสำหรับเด็กแรกเกิด. เทอร์โมมิเตอร์ชนิดที่เหมาะสมและดีที่สุดและจุดที่จะใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับอายุเป็นหลัก สำหรับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุประมาณหกเดือน แนะนำให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลทั่วไปวัดอุณหภูมิจากรูทวารจะได้ค่าที่แม่นยำที่สุด [2]
    • ขี้หู หูติดเชื้อ และช่องรูหูที่เล็กและโค้งคดเคี้ยวสามารถไปรบกวนความแม่นยำของเทอร์โมมิเตอร์หู (หรือที่เรียกว่าเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดที่วัดทางหู - tympanic thermometers) ดังนั้นมันจึงไม่เหมาะกับการใช้สำหรับเด็กแรกเกิด
    • งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดแบบวัดเส้นเลือดแดงตรงขมับ (temporal artery thermometers) ก็เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็กแรกเกิดเนื่องจากความแม่นยำและการสามารถวัดซ้ำได้ เส้นเลือดแดงตรงขมับนั้นสามารถมองเห็นได้ตรงส่วนบริเวณหน้าผากของศีรษะ
    • สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาแนะนำไม่ให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบเก่าที่เป็นกระเปาะแก้วข้างในมีปรอท [3] แก้วสามารถแตกและปรอทก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ฉะนั้น เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลจึงเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่า
  2. เลือกตำแหน่งที่จะใช้วัดอุณหภูมิของเด็กทารกด้วยความระมัดระวัง. การอ่านค่าอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลที่วัดจากทางรูทวารยังคงเป็นการอ่านค่าอุณหภูมิร่างกายที่มีความแม่นยำที่สุดได้ถึงในเด็กอายุราวสามปี (และอาจจะโตได้ถึงห้าปี) [4] คุณสามารถใช้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลแบบวัดทางหูในการอ่านค่าทั่วๆ ไปในเด็กอายุน้อยได้ (ยังดีกว่าไม่ได้วัดค่าเลย) แต่ในเด็กที่เล็กไม่เกินสามขวบนั้น การวัดจากรูทวาร รักแร้ และขมับ ล้วนแต่ถูกมองว่าแม่นยำกว่า เนื่องจากการมีไข้อ่อนๆ ในเด็กทารกนั้นมีอันตรายยิ่งกว่าในผู้ใหญ่ การอ่านค่าอุณหภูมิที่แม่นยำในเด็กอายุน้อยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
    • การติดเชื้อในหูนั้นเป็นเรื่องปกติและพบเป็นประจำในเด็กแรกเกิดและทารก ซึ่งมีผลกระทบต่อการอ่านค่าของเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดที่วัดทางหูเพราะการอักเสบภายในรูหู ผลคือเทอร์โมมิเตอร์แบบวัดทางหูจึงมักจะให้ค่าที่สูงเกินไปเวลาที่หูติดเชื้อ
    • เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลทั่วๆ ไปนั้นสามารถใช้งานได้ครอบจักรวาล จะวัดอุณหภูมิจากปาก (ใต้ลิ้น) รักแร้ หรือรูทวาร อีกทั้งยังเหมาะจะใช้ได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ทารก เด็กโต ไปจนถึงผู้ใหญ่ได้
  3. สำหรับเด็กโตกับผู้ใหญ่ จะเลือกเทอร์โมมิเตอร์แบบไหนและวัดที่ตรงไหนก็ได้. พออายุเกินช่วงสามถึงห้าขวบ เด็กก็มักจะไม่มีอาการหูติดเชื้ออีก แถมยังทำความสะอาดรูหูและเช็ดขี้หูออกได้ง่ายขึ้น ขี้หูในรูหูนั้นเป็นตัวป้องกันไม่ให้เทอร์โมมิเตอร์แบบวัดรูหูอ่านค่าอินฟราเรดที่แผ่ออกมาจากแก้วหู [5] ยิ่งกว่านั้น รูหูของเด็กจะเติบโตขึ้นและจะมีลักษณะโค้งน้อยลง ส่งผลให้พอเด็กโตเกินช่วงอายุสามถึงห้าขวบแล้วนั้น เทอร์โมมิเตอร์ทุกประเภทที่ใช้วัดบริเวณอื่นของร่างกายก็สามารถใช้ได้ในแง่ของความแม่นยำ
    • เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลแบบวัดรูหูถูกมองว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด ง่ายที่สุด และยุ่งยากน้อยที่สุดในการวัดอุณหภูมิร่างกาย
    • การใช้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลธรรมดาวัดทางรูทวารนั้นค่อนข้างแม่นยำ แต่ถือเป็นวิธีที่ไม่ชวนทำและยุ่งยากที่สุดในการวัดอุณหภูมิร่างกาย
    • แถบตรวจวัดความร้อนที่แปะไว้ตรงหน้าผากก็สะดวกดีและหาซื้อได้ไม่แพง แต่จะไม่ให้ค่าแม่นยำเท่าเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล [6]
    • นอกจากนี้ยังมีเทอร์โมมิเตอร์ “วัดหน้าผาก” ที่แตกต่างไปจากแบบที่เป็นแถบพลาสติก มันมีราคาแพงและใช้ตามโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ โดยจะใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดอ่านค่าจากบริเวณขมับ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การใช้เทอร์โมมิเตอร์ประเภทต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปาก (ช่องปาก) ถือเป็นจุดที่ตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายได้อย่างน่าเชื่อถือมากที่สุดเมื่อทำการวัดโดยสอดเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่ใต้ลิ้น [7] เมื่อเป็นเช่นนั้น ให้นำเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลออกมาจากกล่องและเปิดเครื่อง เลื่อนปลายโลหะเข้าไปในฝาพลาสติกที่สามารถทิ้งได้ (หากมี) ค่อยๆ สอดมันเข้าไปใต้ลิ้นให้ลึกที่สุด จากนั้นปิดปากจนกระทั่งมันส่งเสียงบี๊ปและอ่านค่าได้แล้ว มันอาจกินเวลาสักสองสามนาที ฉะนั้นหายใจทางจมูกระหว่างที่รอ
    • ถ้าหากคุณไม่มีฝาครอบที่ทิ้งได้ ให้ทำความสะอาดปลายกระเปาะด้วยสบู่กับน้ำอุ่น (หรือรับบิ้งแอลกอฮอล์) จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็น
    • รอประมาณ 20-30 นาทีหลังจากสูบบุหรี่ กินอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มร้อน/เย็นก่อนทำการวัดอุณหภูมิทางปาก [8]
    • อุณหภูมิปกติของคนเราเฉลี่ยจะอยู่ที่ 37°C หรือ 98.6°F (ถึงแม้มันอาจแตกต่างออกไปได้จากปัจจัยต่างๆ) แต่อุณหภูมิที่วัดทางปากมักจะต่ำกว่าอุณหภูมิปกติเล็กน้อย โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 36.8°C หรือ 98.2°F [9]
  2. การวัดค่าทางรูทวารนั้นมักใช้กับเด็กแรกเกิดและทารก ถึงมันจะแม่นยำสำหรับผู้ใหญ่ด้วยก็ตาม ถึงจะดูไม่ค่อยสะดวกนัก ก่อนจะสอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในรูทวาร ให้แน่ใจว่าได้ใช้เจลชนิดละลายในน้ำหรือพวกที่ทำจากปิโตรเลียมมาทำการหล่อลื่นเสียก่อน [10] การหล่อลื่นนั้นมักทำตรงปลายปิดกระเปาะ มันทำให้สอดเข้าไปได้ง่ายขึ้นและเพิ่มความสะดวกสบาย ให้แยกร่องก้น (จะง่ายขึ้นเยอะถ้าผู้ป่วยนอนคว่ำหน้า) แล้วสอดปลายเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในรูทวารไม่เกิน ½ นิ้วอย่าฝืนสอดเข้าไปถ้าผู้ป่วยมีอาการขัดขืน เตรียมรอนานหนึ่งนาทีหรือกว่านั้นเพื่อให้เทอร์ดมมิเตอร์ส่งเสียงบี๊ป แล้วค่อยเอาออกช้าๆ
    • ล้างมือและเทอร์โมมิเตอร์ให้หมดจดหลังจากวัดอุณหภูมิทางรูทวารเนื่องจากเชื้ออี.โคไลในเศษอุจจาระสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อร้ายแรงได้
    • สำหรับการวัดทางรูทวาร ให้ลองซื้อเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลที่มีปลายค่อนข้างยืดหยุ่นเพราะมันจะสะดวกกว่า
    • การวัดทางรูทวารจากเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลอาจจะให้ค่าอุณหภูมิที่สูงกว่าวัดทางปากและรักแร้ได้ถึงหนึ่งองศา [11]
  3. บริเวณรักแร้เป็นอีกจุดที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย ถึงแม้ว่ามันจะไม่ถือว่ามีความแม่นยำเท่าบริเวณปาก รูทวาร หรือรูหู (เยื่อแก้วหู - tympanic membrane) [12] หลังจากเอาเทอร์โมมิเตอร์ออกมาจากกล่อง ให้แน่ใจก่อนว่ารักแร้แห้งดีก่อนจะสอดเทอร์โมมิเตอร์ แล้วใช้กระเปาะวางตรงกลางของรักแร้ (ยื่นชี้ไปข้างบนทางศีรษะ) จากนั้นให้แน่ใจว่าได้หนีบรักแร้เข้ากับลำตัวแน่นๆ จนความร้อนในร่างกายถูกกักไว้ตรงนั้น รอสักสองสามนาทีหรือจนกว่าจะได้ยินเสียงบี๊ป
    • รออย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหลังการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงหรืออาบน้ำอุ่น ก่อนจะวัดอุณหภูมิทางรักแร้หรือบริเวณอื่นๆ [13]
    • สำหรับการอ่านค่าให้แม่นยำขึ้นนั้น ให้วัดค่าจากรักแร้ทั้งสองข้างแล้วเฉลี่ยอุณหภูมิเข้าด้วยกัน
    • การวัดรักแร้ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลนั้นมักจะได้ค่าต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ โดยมีอุณหภูมิปกติเฉลี่ยประมาณ 36.5°C (97.7°F) [14]
  4. เทอร์โมมิเตอร์แบบวัดรูหูจะมีรูปทรงแตกต่างจากเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลธรรมดาทั่วไป เพราะมันได้รับการออกแบบมาให้สอดเข้าไปในรูหูโดยเฉพาะ เทอร์โมมิเตอร์วัดรูหูจะตรวจจับรังสีอินฟราเรด (ความร้อน) ที่สะท้อนกลับมาจากเยื่อแก้วหู (แก้วหู) [15] ก่อนจะสอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในรูหู ให้แน่ใจว่ามันปลอดขี้หูและแห้ง ขี้หูและเศษฝุ่นอื่นๆ ในรูหูจะลดความแม่นยำของการวัดลง หลังจากเปิดเทอร์โมมิเตอร์แล้ว ให้นำฝาที่ฆ่าเชื้อแล้วมาสวมตรงปลาย รักษาศีรษะให้นิ่งแล้วดึงบริเวณส่วนบนของใบหูไปทางข้างหลังเพื่อให้รูหูยืดตรงและทำให้สอดเข้าไปได้ง่ายขึ้น มันไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องจิ้มปลายให้โดนแก้วหู เพราะเทอร์โมมิเตอร์ถูกออกแบบให้อ่านค่าในระยะไกล หลังจากกดเทอร์โมมิเตอร์เข้ากับรูหู รอจนมันอ่านค่าและส่งเสียงบอก
    • วิธีที่ปลอดภัยที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในการทำความสะอาดหูคือโดยการหยอดน้ำมันมะกอก น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันแร่ หรือยาหยอดหูสักสองสามหยดเพื่อให้ขี้หูนุ่มลง จากนั้นล้างออกให้หมดด้วยการฉีดน้ำจากอุปกรณ์ยางที่ทำพิเศษสำหรับทำความสะอาดรูหู [16] การทำความสะอาดรูหูนั้นทำได้ง่ายที่สุดถ้าทำหลังอาบน้ำ
    • อย่าใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบรูหูในหูที่ติดเชื้อ มีอาการบาดเจ็บ หรือเพิ่งฟื้นตัวจากการผ่าตัด
    • ข้อดีของการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดทางรูหูนั้นคือ เมื่อวางตำแหน่งได้ถูกต้องแล้ว มันจะวัดค่าได้เร็วและแม่นยำ [17]
    • เทอร์โมมิเตอร์วัดทางรูหูมักจะมีราคาสูงกว่าเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลทั่วไป แต่ราคามันถูกลงมามากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
  5. เทอร์โมมิเตอร์แบบแถบคาดพลาสติกจะใช้คาดศีรษะและเป็นที่นิยมไว้วัดอุณหภูมิในเด็ก แต่มันค่อนข้างให้ค่าที่คลาดเคลื่อน [18] [19] เทอร์โมมิเตอร์แบบนี้ใช้ผลึกของเหลวที่ทำปฏิกิริยากับความร้อนโดยการเปลี่ยนสีเพื่อแสดงอุณหภูมิของผิวหนัง แต่ไม่ใช่ภายในร่างกาย เทอร์โมมิเตอร์แบบแถบคาดพลาสติกมักติดอยู่ที่ผิวหน้าผาก (แนวขวาง) ราวอย่างน้อยสักหนึ่งนาทีก่อนจะอ่านค่าได้ ก่อนที่จะใช้มันนั้น ให้แน่ใจว่าหน้าผากไม่ได้กำลังมีเหงื่อออกจากกิจกรรมทางกายหรือโดนแดดแผดเผา ทั้งสองสถานการณ์นี้ล้วนมีผลกระทบต่อการอ่านค่า
    • เป็นเรื่องยากที่จะอ่านค่าละเอียดในระดับ 1/10 ขององศาอุณหภูมิ เนื่องจากผลึกของเหลวมักจะแสดงผลอุณหภูมิเป็นช่วงตอนที่มันเปลี่ยนสี
    • ถ้าจะอ่านค่าให้แม่นยำขึ้น ให้วางแผ่นคาดใกล้กับบริเวณขมับมากขึ้น (เหนือเส้นเลือดใหญ่บริเวณขมับตรงใกล้กับแนวผม) เลือดในเส้นเลือดจะสะท้อนอุณหภูมิภายในร่างกายได้ใกล้เคียงกว่า
  6. พึงระลึกไว้ว่าเด็กแรกเกิดนั้นจะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติของผู้ใหญ่ โดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิ 36.1°C เมื่อเทียบกับอุณหภูมิ 37°C ในผู้ใหญ่ [20] ดังนั้น อุณหภูมิที่บ่งบอกว่ามีไข้ต่ำในผู้ใหญ่ (ตัวอย่างเช่น 37.8 °C หรือ 100 °F) สามารถเป็นอาการที่รุนแรงในเด็กหรือทารก ยิ่งไปกว่านั้น เทอร์โมมิเตอร์ต่างประเภทกันก็ให้ช่วงระยะอุณหภูมิปกติแตกต่างกันไปเล็กน้อย เช่น ถือว่าลูกของคุณมีไข้ ถ้าวัดอุณหภูมิทางรูทวารหรือรูหูได้ 38°C (100.4 °F) หรือสูงกว่านั้น วัดอุณหภูมิทางปากได้ 37.8°C (100°F) หรือสูงกว่านั้น และวัดทางรักแร้ได้ 37.2°C (99°F) หรือสูงกว่านั้น [21]
    • ปกติแล้ว ให้ติดต่อแพทย์ถ้า: ลูกของคุณ (3 เดือนหรือต่ำกว่านั้น) มีอุณหภูมิที่วัดทางรูทวารได้ 38°C (100.4°F) หรือสูงกว่านั้น, ลูกของคุณ (อายุสามถึงหกเดือน) มีอุณหภูมิที่วัดทางรูทวารหรือรูหูสูงกว่า 38.9°C (102°F), ลูกของคุณ (อายุหกถึง 24 เดือน) มีอุณหภูมิที่สูงกว่า 38.9°C (102°F) ไม่ว่าจะวัดทางใดที่ยาวนานกว่าหนึ่งวัน [22]
    • ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงส่วนใหญ่จะสามารถทนไข้ที่สูงได้ถึง 39-40°C (103–104°F) ภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ดี อุณหภูมิระหว่าง 41–43°C (105.8– 109.4°F) ซึ่งเรียกว่า ภาวะของการมีไข้สูงจัด (hyperpyrexia) เป็นเรื่องร้ายแรงและต้องได้รับการรักษา อุณหภูมิที่สูงกว่า 43°C (109.4°F) ถือได้ว่ามีอันตรายถึงแก่ชีวิต
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อ่านคำแนะนำที่มีมาพร้อมเทอร์โมมิเตอร์อย่างละเอียด ถึงแม้ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่คล้ายๆ กัน คุณก็ควรแน่ใจว่าเข้าใจวิธีการใช้มันอย่างถูกต้อง
  • เตรียมเทอร์โมมิเตอร์ไว้อ่านค่าโดยการกดปุ่มเปิด แต่ให้แน่ใจว่าค่าที่ขึ้นมาอยู่ที่ศูนย์ก่อนจะใช้ฝาพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเสียบเข้าไปตรงปลายกระเปาะ
  • ฝาเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลนั้นมีขายทุกที่ที่ขายเทอร์โมมิเตอร์ (ร้านขายยา เป็นต้น) พวกมันราคาไม่แพงและมักจะมีขนาดเดียวใช้ได้ทุกแบบ
  • เด็กทารกมักจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวเองได้ดีนักเวลาที่ป่วย พวกเขาอาจจะตัวเย็นลงแทนที่จะอุ่นขึ้นเวลามีไข้
  • รอราว 15 นาทีก่อนทำการวัดอุณหภูมิถ้าคุณเพิ่งดื่มเครื่องดื่มไม่ว่าร้อนหรือเย็นมา
โฆษณา

คำเตือน

  • อุณหภูมิในรูหูที่ 38°C (100.4 °F) หรือสูงกว่านั้นถือว่ามีไข้ แต่หากเด็กมีอายุมากกว่าหนึ่งขวบและดื่มน้ำมากพอ ยังคงร่าเริงและหลับได้ปกติ มักถือว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องรับการรักษา
  • อุณหภูมิประมาณ 38.9°C (102 °F) หรือสูงกว่านั้นที่มาพร้อมอาการเช่น หงุดหงิดผิดปกติ ไม่สบายตัว ง่วง และมีอาการไอปานกลางถึงหนัก และ/หรือมีอาการท้องร่วง ถือเป็นการรับประกันการไปพบแพทย์ได้เลย [23]
  • อาการของการมีไข้สูง (39.4 – 41.1°C หรือ 103–106°F) มักจะเกิดพร้อมกับการเกิดภาพหลอน มึนงง หงุดหงิดงุ่นง่านอย่างรุนแรงและมีอาการชัก ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉินและจำต้องได้รับการรักษาในทันที [24]


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,423 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา