ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Format Background utility ของ PowerPoint ใช้เลือกรูปจากในคอมหรือในเว็บ แล้วใช้เป็นพื้นหลัง (background) ของสไลด์ได้ คุณกำหนดให้พื้นหลังนี้ใช้กับหลายๆ สไลด์ในคราวเดียว หรือจะใช้กับทุกสไลด์ในไฟล์นำเสนอนั้นก็ได้ หรือจะใส่ลูกเล่น (effects) ในภาพพื้นหลังให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ถ้าลองแล้วเปลี่ยนพื้นหลังไม่ได้ อาจจะต้องแก้ไข slide master ซะก่อน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ใส่ภาพพื้นหลัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณใส่รูปอะไรในพื้นหลังของสไลด์ ในไฟล์นำเสนอ (presentation) ของ PowerPoint ก็ได้ แค่เปิดไฟล์ presentation ที่จะแก้ไขขึ้นมาใน PowerPoint
  2. เพื่อแสดง Design tools
  3. ที่อยู่ขวาสุดของ Design ribbon แล้วแถบข้าง Format Background จะโผล่มาทางขวาของหน้าจอ [1]
  4. ตามค่า default ภาพพื้นหลังจะเปลี่ยนไปเฉพาะสไลด์ที่เปิดอยู่ ถ้าอยากเปลี่ยนพื้นหลังของสไลด์อื่นด้วยให้กด Ctrl / Command ค้างไว้ แล้วคลิกแต่ละสไลด์ที่ต้องการ ในรายการสไลด์ทางซ้าย
    • ถ้าอยากใส่พื้นหลังให้ทุกสไลด์ในไฟล์ presentation ก็ต้องอ่านท้ายส่วนนี้ของบทความ
  5. เพื่อเลือกรูปที่จะใช้เป็นพื้นหลัง
    • มี fill options อื่นให้เลือกแทนรูปด้วย เช่น สีพื้น (solid colors), สีเหลือบ (gradients) และลายต่างๆ (patterns) พอเลือกแล้วจะเห็นตัวเลือกเพิ่มเติมของ fill หรือพื้นหลังชนิดนั้น แต่บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำเฉพาะการใส่รูปและกราฟิกพื้นหลังเท่านั้น
  6. ถ้าไม่อยากให้รูปยืดหรือหด เสียสัดส่วน ก็ต้องมีขนาด 1280 x 720 พิกเซลพอดี [2]
    • คลิกปุ่ม "File" เพื่อเลือกรูปจากในคอม file browser จะเปิดมา คุณก็ไปยังตำแหน่งที่เซฟรูปไว้ได้เลย
    • คลิกปุ่ม "Online" เพื่อหารูปจากในเน็ต จะมีให้ค้นหาใน Bing เลือกรูปที่เซฟไว้ใน OneDrive หรือจาก Facebook หรือ Flickr ของคุณ
    • คลิกเมนู "Texture" เพื่อเลือกพื้นหลังที่มีในโปรแกรม จะเป็น textures หรือพื้นผิวต่างๆ ให้เลือกใช้ในกรณีที่ไม่มีหรือขี้เกียจหารูป
  7. คลิก "Apply to All" เพื่อตั้งรูปนั้นเป็นพื้นหลังของทุกสไลด์. ปกติเลือกแล้วรูปจะขึ้นแค่ในสไลด์เดียว แต่ถ้าอยากใช้กับทุกสไลด์ ให้คลิก "Apply to All" เพื่อกำหนดเป็นภาพพื้นหลังของสไลด์ทั้งหมด รวมถึงสไลด์ใหม่ที่จะเพิ่มต่อไปด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใส่ลูกเล่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ติ๊กช่อง "Tile picture as texture" เพื่อให้เรียงรูปต่อกันเหมือนกระเบื้อง. เหมาะสำหรับรูปที่เล็กและลายต่อกันได้
  2. คุณใช้เมนูต่อไปนี้ปรับแต่งได้ ว่าอยากให้รูปที่เรียงต่อกันห่างกันแค่ไหน สะท้อนกันเหมือนกระจกไหม และวางแนวยังไง
  3. สะดวกเวลาอยากใส่ลายน้ำ (watermarks) ในสไลด์ ถ้าปรับให้รูปพื้นหลังโปร่งใสมากหน่อย (ค่า transparency สูงๆ) ก็จะกลายเป็นลายน้ำ ไม่กีดขวางหรือบดบังตัวอักษรในสไลด์
  4. คลิกปุ่ม "Effects" ที่ด้านบนของเมนู "Format Background" เพื่อใส่ลูกเล่น. คุณเลือกได้จากหลายลูกเล่น ว่าจะให้พื้นหลังออกมาเป็นยังไง จะมี preview หรือตัวอย่างรูปหลังใส่ลูกเล่นแล้วให้ดูในทุกเมนู รวมถึงชื่อลูกเล่นด้วย ถ้าลองเลื่อนเคอร์เซอร์ไปจ่อ
    • คลิกเมนู "Artistic Effects" แล้วเลือกลูกเล่นที่จะใช้
    • พอเลือกลูกเล่นแล้ว จะมีตัวเลือกเพิ่มเติมโผล่มาข้างใต้ ซึ่งก็ต่างกันไปตามลูกเล่นที่เลือก
  5. พื้นหลังของทุกสไลด์ในไฟล์ presentation จะเป็นรูปและลูกเล่นที่คุณเลือก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้มุมมอง Slide Master

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แล้วจะมีตัวเลือกมุมมอง (view options) โผล่มา
  2. จะเห็นรายชื่อ master slides ทั้งหมดในกรอบซ้าย นี่คือ theme slides ของเนื้อหาที่แตกต่างไปในไฟล์ presentation โดยตัวเลือกธีมและกราฟิกของ master slides จะมีผลเหนือ settings ของพื้นหลังทั่วไป [3]
  3. เพื่อเปิดสไลด์นั้นในหน้าต่างหลัก อาจจะต้องเลื่อนขึ้นไปตามรายการ ถึงจะเจอ master slide หลัก
    • สไลด์อื่นใน master list จะใช้รูปแบบสไลด์อื่น ถ้าเปลี่ยนแปลงอะไรใน master slide นั้น ก็จะส่งผลกับทุกสไลด์ที่ใช้ layout หรือรูปแบบเดียวกัน สไลด์บนสุดของ master list จะกำหนดทุกสไลด์ในไฟล์ presentation
  4. เพื่อเปิดแถบข้าง Format Background
  5. ปรับแต่งพื้นหลังตามขั้นตอนในส่วนก่อนหน้าของบทความ. พอแถบข้าง Format Background โผล่มาแล้ว ก็ปรับแต่งภาพพื้นหลังได้ตามขั้นตอนที่ว่ามา ให้ใช้ "Picture or texture fill" กำหนดรูปใหม่เป็น master background คือใช้พื้นหลังนี้กับทุกสไลด์ในไฟล์ presentation [4]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 46,320 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา