ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าแถวบ้านคุณมลภาวะทางอากาศสูง หรือเป็นช่วงที่ไวรัสอย่างโควิด 19 กำลังระบาด การใส่หน้ากาก N95 จะเป็นวิธีปกป้องปอดและสุขภาพโดยรวมได้ดีที่สุด หน้ากาก N95 ออกแบบมาให้กรองอนุภาคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เป็นหน้ากากที่เบาและราคาไม่แพงเกินไป ใส่แล้วหายใจเอาอากาศสะอาดเข้าปอด ร่างกายแข็งแรง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกหน้ากาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. N95 เป็นหน้ากากที่ใส่แล้วปกป้องปอดจากอนุภาคเล็กๆ ในอากาศได้ดีมาก อนุภาคที่ว่าก็อาจจะเป็นไอระเหยของโลหะ (จากการเชื่อมเหล็กเป็นต้น) แร่ธาตุ ฝุ่นผง หรืออนุภาคทางชีวภาพ อย่างไวรัส เป็นต้น ถ้าไข้หวัดใหญ่หรือโควิดกำลังระบาด กระทั่งมลภาวะ และควันไฟ ก็ใส่หน้ากากนี้ได้เลย โดยเป็นหน้ากากที่ขึ้นโครงจากโฟมน้ำหนักเบา กระชับใบหน้า ปิดปากและจมูกมิดชิด [1]
    • หน้ากาก N95 แบบพิเศษก็มี สำหรับคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงหน้ากากผ่าตัด สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
    • เลข 95 นี้ก็คือเปอร์เซ็นต์ของอนุภาคที่หน้ากากสามารถกรองได้ หน้ากาก N95 ก็คือหน้ากากที่กรองฝุ่นผงและอนุภาคได้มากถึง 95% นั่นเอง
    • หน้ากาก N95 ห้ามใช้งานใกล้ละอองลอยของน้ำมัน เพราะน้ำมันจะทำให้ฟิลเตอร์หรือตัวกรองของหน้ากากเสียได้ ตัว “N” ย่อมาจาก “Not resistant to oil” หรือไม่ทนน้ำมันนั่นเอง
  2. ถ้าต้องใช้ในที่ที่มีไอหรือละอองของน้ำมัน ให้ใช้หน้ากากที่ขึ้นต้นด้วย R หรือ P แทน. ถ้าใบหน้าของคุณต้องสัมผัสน้ำมันจากแร่ สัตว์ ผัก หรือน้ำมันสังเคราะห์ต่างๆ ให้เลือกใช้หน้ากากที่ขึ้นต้นด้วยตัว R หรือ P แทน โดย “R” นั้นย่อมาจาก “somewhat oil-resistant” คือพอกันน้ำมันได้ ใส่แล้วช่วยป้องกันไอระเหยของน้ำมันได้ในเวลาที่จำกัด ตามที่ระบุไว้ในฉลาก ส่วน “P” ย่อมาจาก “oil-proof or strongly resistant” คือกันน้ำมันได้หรือกันได้ค่อนข้างดี [2]
    • หน้ากากประเภทนี้จะมีเลขบอกชนิดมาด้วย เช่น P100 และ R 95 โดยตัวเลขแทนเปอร์เซ็นต์ของอนุภาคที่กรองได้นั่นเอง
    • ถ้าต้องอยู่ในที่ที่มีแก๊สหรือไอน้ำหนาแน่นกว่าที่หน้ากากรับได้ ให้เลือกที่มีวาล์วกรองอากาศ จะมีท่อหรือช่องกรองอากาศได้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม
  3. 3
    ลองหน้ากากหลายๆ ขนาดจนเจอที่กระชับที่สุด. อันนี้แล้วแต่หน้ากาก N95 ที่คุณเลือกใช้ ปกติจะมีหลายขนาด ตั้งแต่เล็กมาก ไปจนถึงเล็ก กลาง และใหญ่ ถ้าเป็นไปได้ ให้ลอง 1 - 2 ขนาดก่อนเลือกซื้อจริง หน้ากากที่เหมาะกับคุณต้องกระชับรับใบหน้า ไม่ลื่นหลุดง่ายๆ ต้องให้แนบสนิทไปกับใบหน้า เลือกที่ขนาดเล็กหน่อยก็ได้ จะได้ไม่เลื่อนหลุด
  4. ถ้ามีโรคทางเดินหายใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ต้องปรึกษาคุณหมอก่อน. หน้ากาก N95 ใส่แล้วจะหายใจลำบากหน่อย โดยเฉพาะสำหรับคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ลองปรึกษาคุณหมอดูก่อน ว่าต้องระวังหรือปฏิบัติตัวยังไง อาจจะต้องเลือกหน้ากากรุ่นที่มีวาล์วเวลาหายใจออก จะทำให้หายใจง่ายขึ้น แถมช่วยระบายอากาศให้เย็นขึ้น แต่ไม่แนะนำให้ใช้หน้ากากประเภทนี้ ถ้าต้องเคร่งครัดเรื่องฆ่าเชื้อในสถานที่ เช่น ห้องผ่าตัด ยังไงลองปรึกษาคุณหมอก่อนใส่หน้ากาก N95 ถ้ามีโรคดังต่อไปนี้ [3]
    • ปัญหาด้านการหายใจ
    • โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
    • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease (COPD))
    • โรคหอบหืด (Asthma)
    • ภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจ (Cardio-pulmonary)
    • โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ [4]
  5. ซื้อหน้ากาก N95 ที่ผ่านมาตรฐานการรับรอง NIOSH ตามร้านอุปกรณ์ก่อสร้างหรือในเน็ต. คุณหาซื้อหน้ากาก N95 ได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างปรับปรุงบ้าน และตามร้านขายยา หรือจะซื้อในเน็ตก็สะดวกดี แนะนำของ 3M สำคัญมากว่าต้องใช้หน้ากากที่อย. รับรอง หรือถ้านำเข้าก็จะมีเลขรับรองและตราของสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ที่ห่อหรือที่หน้ากาก [5]
    • ถ้าอยากรู้ว่าหน้ากาก N95 แบบไหนใช้กับลักษณะงานของคุณได้เหมาะสมที่สุด ลองปรึกษาเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานดู
    • หน้ากากที่อย. ไม่รับรอง ระวังจะไม่ได้มาตรฐาน ปกป้องไม่ดีเท่าที่ควร
  6. พอมีข่าวมลภาวะทางอากาศหรือโรคระบาด เช่น โควิด 19 หน้ากากมักจะขาดตลาดเป็นอย่างแรก เพราะความต้องการพุ่งสูงในเวลาอันรวดเร็ว แบบนี้ต้องเตรียมหาซื้อเก็บไว้แต่เนิ่นๆ ทั้งสำหรับคุณและคนในครอบครัว ให้มีใช้ได้เพียงพอตลอดเวลา แนะนำว่ามีคนละ 2 - 3 อันดีที่สุด
    • จะใช้หน้ากากเยอะแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ในที่ที่คุณอยู่ ถ้าอยู่ในเมืองใหญ่ มีปัญหามลภาวะ ก็ต้องใช้เยอะกว่าคนที่อยู่ต่างจังหวัด อากาศบริสุทธิ์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใส่หน้ากากให้กระชับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นไปได้ ให้ตัดแต่งหนวดเคราก่อนสวมหน้ากาก. ถ้าต้องใส่หน้ากาก N95 แนะนำให้โกนหนวดเคราออกก่อน เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการสวมหน้ากาก ทำให้ใส่กระชับมิดชิดไม่ได้ จนทำให้หน้ากากไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร [6]
    • ถ้าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่มีเวลามาโกนหนวดเครา ก็พยายามสวมหน้ากากให้แนบกระชับที่สุดเท่าที่ทำได้
  2. ล้างมือฟอกสบู่ แล้วเช็ดให้แห้ง หน้ากากจะได้ไม่เปียกไปด้วย ขั้นตอนนี้ทำให้เชื้อโรคและสิ่งปนเปื้อนไม่ติดไปที่หน้ากากตอนคุณสวมใส่ [7]
  3. มือข้างหนึ่งถือหน้ากาก แล้วจับครอบปากและจมูก. วางหน้ากากไว้ในฝ่ามือ สายรัดจะได้หันไปทางพื้น จากนั้นครอบหน้ากากที่ปากและจมูก ให้แป้นจมูกแนบไปกับดั้งของคุณ ส่วนด้านล่างก็ครอบคางอีกที [8]
    • เพื่อความสะอาด พยายามจับเฉพาะด้านนอกและขอบของหน้ากากเท่านั้น
  4. ถ้าหน้ากากที่ใช้มีสายรัด 2 เส้น ให้ดึงเส้นล่างขึ้นไปบนหัวแล้วคาดที่คอ ใต้หูพอดี ระหว่างนั้นใช้อีกมือจับหน้ากากแนบหน้าไว้แน่นๆ ต่อมาดึงสายรัดด้านบนไปรัดเหนือหู [9]
  5. ใช้นิ้วชี้ของทั้งสองมือ แตะที่เส้นโลหะล็อคสันจมูก ด้านบนของหน้ากาก จากนั้นกดทั้ง 2 ข้างของเส้นนี้ให้ยุบลงไป เข้ารูปกับสันจมูกของคุณ [10]
    • ถ้าหน้ากากไม่มีแป้นจมูกเป็นเส้นโลหะแบบนี้ ก็ต้องใส่หน้ากากให้แนบกระชับไปกับสันจมูกของคุณมากที่สุด
  6. หน้ากาก N95 ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานกับเด็ก และจะไม่กระชับรับใบหน้าของเด็ก แนะนำให้น้องๆ หนูๆ เก็บตัวอยู่ที่บ้านแทน ถ้าคุณภาพอากาศช่วงนั้นไม่ค่อยดี หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายลูกเป็นพิเศษ ถ้าไข้หวัดหรือโรคอื่นๆ กำลังระบาด เช่น ให้ลูกล้างมือทุกครั้งก่อนอาหาร หลังจาม หรือหลังไอ หรือหาซื้อหน้ากากที่ใช้กับเด็กโดยเฉพาะ แต่ก็แน่นอนว่าไม่ใช่คุณสมบัติเดียวกับ N95 แน่นอน [11]
    • ห้ามใช้หน้ากาก N95 กับเด็กอายุต่ำกว่า 17 - 18 ปี
    • ถ้าเป็นเด็กวัยรุ่น ต้องลองทดสอบความกระชับของหน้ากาก N95 ก่อน ถ้าโอเค แนบกระชับกับใบหน้า ก็ให้ลองใส่เดินไปมาสักพัก เฝ้าระวังอาการวิงเวียนหรือหายใจลำบาก มีอาการเมื่อไหร่ให้รีบถอดหน้ากากแล้วเข้าบ้าน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เช็คความแน่นหนาของหน้ากาก และถอดหน้ากาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สองมือจับหน้ากาก แล้วหายใจเข้า เช็คว่าหน้ากากแนบสนิทดีไหม จากนั้นหายใจออก สังเกตว่าลมไหลออกตรงช่วงจมูกและรอบๆ หน้ากากหรือเปล่า ถ้าลมออกแถวสันจมูก ให้กดเส้นโลหะให้เข้ากับรูปจมูกตัวเองยิ่งขึ้น ถ้าลมออกแถวขอบหน้ากาก ให้ปรับสายรัดให้กระชับกับหัวยิ่งขึ้น [12]
    • ถ้าใส่หน้ากากแล้วยังไม่แนบสนิทจริงๆ ให้เพื่อนหรือครอบครัวช่วยอีกแรง อีกวิธีคือลดขนาดหน้ากากลง หรือเปลี่ยนยี่ห้อ/รุ่นไปเลยก็ได้
  2. อย่าไปจับที่ด้านหน้าของหน้ากาก ให้ดึงสายรัดอันล่างข้ามหัว ปล่อยให้ห้อยไว้ที่หน้าอก แล้วไปดึงสายรัดอันบนออกมา [13]
    • ถอดแล้วจะทิ้งหน้ากากไปเลย หรือเก็บในถุงซิปล็อคหรือกล่องที่สะอาด ปิดมิดชิด ก็ได้
    • ห้ามจับที่หน้ากาก เพราะจะติดเชื้อหรือโดนสิ่งสกปรกได้
  3. ถ้าสวมหน้ากากไปพบปะพูดคุยกับคนไข้ หรือใส่เพราะป้องกันโรคระบาด ให้ทิ้งหน้ากากไปเลย เพราะจะได้ไม่เสี่ยงสัมผัสแตะต้องอนุภาคของเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรก ให้จับตรงสายรัด แล้วทิ้งหน้ากากลงถังขยะไปเลย [14]
  4. ถ้าหน้ากากยังแห้งและกระชับใบหน้า ก็ใส่ซ้ำได้. ถ้าใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นหรือสิ่งรบกวนอื่นๆ ในสภาพแวดล้อม ไม่เกี่ยวกับเชื้อโรค ก็นำหน้ากากมาใส่ซ้ำได้ แต่ต้องทดสอบความกระชับของหน้ากากทุกครั้งที่สวมใส่ ว่าต้องแนบสนิทไปกับใบหน้า เวลาไม่ใส่ ให้เก็บหน้ากากในถุงซิปล็อคหรือกล่องที่สะอาด ปิดมิดชิด ที่สำคัญคือหน้ากากต้องไม่ถูกสิ่งของอื่นๆ ทับหรือบีบอัดจนเสียรูป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในบางประเทศ บุคลากรด้านสาธารณสุข รวมถึงนักศึกษาแพทย์และพยาบาล จะต้องผ่านการทดสอบความกระชับของหน้ากาก N95 ด้วย โดยระหว่างการทดสอบจะมีเหมือนกระโจมพลาสติกคลุมหัวเราไว้ ผู้เข้าร่วมการทดสอบจะสวมหน้ากากปิดทั้งปากและจมูก ส่วนผู้ทำการทดสอบจะทำการฉีดสารที่ให้สูดดม (แก๊ส ไอระเหย หรือละอองลอย) ซึ่งจะมีกลิ่นและรสเฉพาะเข้าไป จะมีการทดสอบหน้ากากขนาดต่างๆ จนถึงจุดที่ไม่ได้กลิ่นและรสอีก แปลว่าหน้ากากนั้นผ่านการทดสอบ ไม่มีรูรั่ว นอกจากนี้บุคลากรเองอาจจะต้องมีใบรับรองว่าผ่านการทดสอบความกระชับของหน้ากาก N95 ซึ่งก็ต้องมีการทดสอบต่ออายุในทุกๆ ปี [15]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,379 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา