ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

“ไม่มีใครเพอร์เฟค” “ทุกคนล้วนเคยทำสิ่งผิดพลาด” นี่คือความจริงที่เราทุกคนต่างก็รู้กันดี แต่ความรู้สึกผิด ความเสียใจ และความอับอายเพราะความผิดพลาดนั้นก็อาจจะอยู่ติดทนนานและสร้างความเจ็บปวดให้เราได้อยู่ดี และการให้อภัยตัวเองก็มักจะเป็นการให้อภัยที่ทำได้ยากที่สุดเสียด้วย แต่ไม่ว่าความผิดพลาดของคุณจะเล็กหรือจะใหญ่ มันก็จำเป็นที่คุณจะต้องยอมรับและดำเนินชีวิตต่อไปแม้จะมีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นในชีวิต เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของตัวคุณเอง (และของคนรอบข้างคุณด้วย) จำไว้เสมอว่า โอกาสที่คุณจะทำเรื่องผิดพลาดนั้นมีอยู่แล้ว ซึ่งสุดท้ายคุณก็จะสามารถผ่านพ้นมันไปได้ และอาจจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากความผิดพลาดเหล่านั้นด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะไม่สามารถก้าวพ้นความผิดพลาดไปได้เลยหากคุณไม่สามารถทำให้ตัวเองเผชิญหน้ากับมันได้ก่อน ดังนั้น คุณจำเป็นต้องมองและพิจารณาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนก่อน ดูว่ามันเกิดจากสาเหตุอะไร รวมถึงดูด้วยว่าความผิดของคุณคืออะไร [1]
    • นี่ไม่ใช่เวลาที่จะหาข้อแก้ตัว เพราะจริงอยู่ที่บางทีชีวิตคุณอาจจะสับสนหรือรับภาระหนักเกินไป แต่ข้ออ้างพวกนั้นก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความเป็นจริงของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น อย่าพยายามโทษว่าคนอื่นก็มีส่วนผิด ถึงแม้ว่าคุณจะทำแบบนั้นได้ก็ตาม เพราะคุณสามารถควบคุมได้แค่บทบาทของตัวเองที่มีต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเท่านั้น และคุณก็ต้องยอมรับว่ามันคือความผิดของคุณด้วยเช่นกัน [2]
    • บางครั้งเราอาจจะใช้ความรู้สึกผิดของตัวเองมาเป็นเกราะป้องกันตัวเราจากการยอมรับถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพราะบางทีเราคิดว่าถ้าเราลงโทษตัวเองด้วยความรู้สึกผิดของเราก่อนแล้ว บางทีคนอื่นๆ ก็อาจจะไม่เอาโทษเราก็ได้ แต่ถ้าหากคุณอยากจะดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้า คุณก็ต้องยอมรับถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ และจำไว้ว่าการลงโทษตัวเองนั้นไม่ได้ช่วยลบล้างผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
  2. บอกความรู้สึกและสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ให้คนอื่นฟัง. คุณอาจจะคิดว่าการยอมรับว่าตัวเองผิดนั้นก็เป็นเรื่องที่น่าอายพออยู่แล้ว นับประสาอะไรกับการเอาไปบอกคนอื่นล่ะ แต่ถึงแม้ว่าในตอนแรกคุณอาจจะรู้สึกว่ามันทำได้ยาก แต่การที่คุณพูดถึงข้อผิดพลาดและความรู้สึกของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนอื่นได้รับรู้นั้น ก็มักจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คุณสามารถปล่อยวางและดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้าได้ [3]
    • ช่วงเวลาที่คุณจะได้บอกความรู้สึกกับคนที่คุณได้เคยโยนความผิดให้ก็จะมาถึงเอง แต่ก่อนอื่น คุณอาจจะต้องบอกความรู้สึกกับเพื่อน นักบำบัด ผู้นำทางทางใจ หรือใครสักคนที่คุณสามารถไว้วางใจได้ไปก่อน
    • มันอาจจะดูไร้สาระ แต่การที่คุณบอกออกมาว่าคุณยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คุณพูดยอมรับกับคนอื่นๆ นั้น มักจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณสามารถยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้
    • การบอกความผิดพลาดของตัวเองให้คนอื่นได้รับรู้ยังช่วยเตือนให้คุณรู้ว่าคนเราทุกคนล้วนทำเรื่องผิดพลาด และไม่มีใครเพอร์เฟคไปหมดซะทุกอย่าง ซึ่งนี่คือความจริงที่เราทุกคนต่างก็รู้ดี และนอกจากนี้ เรายังสามารถลืมความผิดพลาดพวกนั้นไปได้ง่ายๆ หากเรากำลังหาทางจัดการกับความผิดพลาดนั้นอยู่
  3. เมื่อคุณยอมรับความผิดพลาดของตัวเองและบอกกับคนทุกคนที่อาจจะได้รับความเสียหายจากความผิดพลาดของคุณได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ให้คุณทำอย่างสุดความสามารถของตัวเองเพื่อแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง และด้วยการทำสิ่งนี้ คุณอาจจะค้นพบว่าความผิดพลาดของคุณก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรมากมายชนิดที่ว่าจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย และถ้าหากว่ามันเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ การที่คุณทำการชดเชยความผิดพลาดก็จะช่วยทำให้คุณสามารถยุติเรื่องที่เกิดขึ้นและผ่านพ้นมันไปได้ในที่สุด
    • แค่พูดออกไปแบบปกติ เพราะยิ่งคุณชดเชยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้เร็วเท่าไร มันก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากคุณทำงานผิดพลาด และงานที่คุณทำผิดพลาดนั้นอาจจะสร้างความเสียหายให้แก่ลูกค้าของบริษัท และ/หรือทำให้บริษัทต้องชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ตัวเลือกที่ดีที่สุดคือ ให้คุณบอกกับหัวหน้าคุณให้เร็วที่สุด และก็อย่าลืมให้เวลาตัวเองได้หาวิธีชดเชยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นด้วย อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดดำเนินต่อไปโดยที่ไม่พยายามหาวิธีแก้ไขอะไรเลย เพราะมันมีแต่จะไปเพิ่มความรู้สึกผิดและความกลุ้มใจให้กับคุณ หรือไม่ก็ทำให้คนที่ได้รับความเสียหายจากคุณรู้สึกโกรธมากขึ้นเปล่าๆ [4]
    • มันจะต้องมีบางกรณีที่ความผิดพลาดของคุณไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ หรือไม่ก็อาจจะสร้างความเสียหายให้กับคนๆ หนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ให้คุณกล่าวคำขอโทษและทำอะไรเพื่อชดเชยความผิดให้กับคนๆ นั้นแล้ว ตัวอย่างเช่น บางทีคุณเห็นว่าชีวิตคุณยุ่งเกินกว่าที่จะหาเวลาไปเยี่ยมยายของตัวเอง และตอนนี้ท่านก็ได้จากไปแล้ว ซึ่งในกรณีแบบนี้ ให้คุณลองพิจารณาเรื่อง “การส่งต่อสิ่งดีๆ ให้คนอื่น“ ด้วยการช่วยเหลือคนอื่นๆ ที่อยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายๆ กันกับคุณ หรือว่าเลือกที่จะทำความดีแบบปกติก็ได้ เช่น คุณอาจจะเป็นอาสาสมัครให้กับศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ หรือไม่ก็ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะใช้เวลาอยู่กับญาติๆ สูงอายุที่เหลืออยู่ของคุณให้มากกว่านี้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิเคราะห์ความผิดพลาดของตัวเองเพื่อที่คุณจะได้เรียนรู้จากมันได้. อาจจะดูเหมือนเป็นการลงโทษตัวเองโดยไม่จำเป็นเมื่อเราขุดคุ้ยลงไปในรายละเอียดของความผิดพลาดของตัวเอง แต่การที่เราพิจารณาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด มันก็คือวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยปรับเปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นประสบการณ์ที่ให้บทเรียนกับตัวเราได้ ซึ่งความผิดพลาดส่วนใหญ่สามารถกลายเป็นสิ่งคุ้มค่าได้ หากเราเรียนรู้และรู้จักที่จะปรับปรุงแก้ไขเพราะความผิดพวกนั้น [5]
    • ให้คุณเจาะลึกลงไปที่ต้นเหตุของความผิดพลาด เช่น ความไม่พอใจ (เวลาที่คุณพูดอะไรหยาบคาย) หรือความใจร้อน (เวลาที่คุณต้องการจะได้ตั๋วเร็วๆ ) และให้แยกประเภทของความผิดพลาดเหล่านั้นออกมา เช่น ความไม่พอใจ หรือความใจร้อน เพื่อที่คุณจะได้สามารถพิจารณาหาวิธีแก้ไขได้ง่ายขึ้น [6]
    • จำไว้ว่าการเลือกที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นคือวิถีที่จะทำให้คุณเติบโต ส่วนการกล่าวโทษและดูถูกตัวเองนั้นจะนำไปสู่ความเหนื่อยหน่ายในชีวิต [7]
  2. การพิจารณาถึงสาเหตุของความผิดพลาดนั้นเป็นเพียงขั้นตอนแรกของการเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการพูดแค่ว่า “ฉันจะไม่ทำแบบนั้นอีกแล้ว” นั้นยังไม่เพียงพอ หากคุณไม่มีความมุ่งมั่นที่จะลงมือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ซึ่งความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณไม่ทำผิดพลาดซ้ำสองอีก
    • คุณไม่มีทางที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ในทันทีที่คุณวิเคราะห์ถึงรายละเอียดของความผิดพลาดและยอมรับว่ามันคือความผิดของคุณ แม้ว่ามันจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญก็ตาม ดังนั้น ให้คุณลองคิดถึงสิ่งที่คุณน่าจะทำในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้มีความแตกต่างไปจากเดิมได้ดู และเตรียมความพร้อมสำหรับสิ่งที่คุณจะทำให้แตกต่างในครั้งต่อไปเมื่อคุณต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายๆ กัน [8]
    • ให้คุณใช้เวลาสักช่วงหนึ่งเพื่อเขียน “แผนปฏิบัติ” สำหรับคราวต่อไปเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบเดิมขึ้นมาอีก เพราะมันจะช่วยให้คุณสามารถนึกภาพขึ้นมาในใจและเตรียมตัวหลีกเลี่ยงความผิดพลาดแบบเดิมได้
    • ตัวอย่างเช่น คุณบอกว่าที่ตัวเองลืมไปรับเพื่อนมากจากสนามบิน ก็เพราะว่าคุณทำตัวเองให้ยุ่งวุ่นวายเพราะภาระหน้าที่ที่คุณต้องรับผิดชอบหลายๆ อย่าง จนคุณไม่สามารถบริหารจัดการกับมันได้ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้แล้วว่าปัญหาจริงๆ มันคืออะไร (และขอโทษเพื่อนคนนั้นของคุณไปแล้ว) ให้คุณวางแผนปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการเวลาและจัดลำดับความสำคัญภาระหน้าที่ต่างๆ ที่ตัวเองมี หากสิ่งต่างๆ ในชีวิตคุณเริ่มที่จะยุ่งวุ่นวาย นอกจากนี้ ให้คุณรู้จักที่จะพูดคำว่า “ไม่” บ้างเมื่อชีวิตคุณแทบจะไม่มีเวลาแล้ว
  3. แก้ไขพฤติกรรมที่อาจจะทำให้เกิดการทำผิดซ้ำสอง. ความผิดพลาดแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การกินและดื่มเกินลิมิตไปจนถึงการตะโกนต่อว่าคนรักทั้งๆ ที่ยังไม่มีเหตุผลดีพอที่จะไปต่อว่าเขา อาจจะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมแย่ๆ ได้ และเพื่อที่จะป้องกันการทำผิดซ้ำสอง คุณจำเป็นต้องรับรู้และแก้ไขพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของความผิดพลาดด้วย [9]
    • บางทีคุณอาจจะอยากรับรู้ถึงความผิดพลาดและพยายามแก้ไขพฤติกรรมแย่ๆ ของตัวเองให้ได้ภายในครั้งเดียวเพื่อที่จะสร้าง “คุณคนใหม่” แต่มันจะดีที่สุดถ้าคุณจะใจเย็นกว่านี้และโฟกัสไปที่พฤติกรรมอันใดอันหนึ่งก่อน สรุปก็คือ ให้ลองคิดดูว่า การเลิกสูบบุหรี่และใช้เวลาอยู่กับแม่ของตัวเองให้มากขึ้นได้พร้อมกันในครั้งเดียวนั้นมันมีข้อได้เปรียบอะไร? ดังนั้น ให้คุณพยายามโฟกัสไปที่การแก้ไขพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจะดีกว่า จากนั้นก็ค่อยพิจารณาความพร้อมของคุณในการแก้ไขพฤติกรรมอันต่อๆ ไป
    • สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ยิ่งแผนการเลิกพฤติกรรมแย่ๆ ของคุณมีความซับซ้อนมากเท่าไร โอกาสที่มันจะล้มเหลวก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น หากคุณต้องการตื่นให้เช้ากว่านี้เพราะคุณมักจะเป็นคนที่ไปทำงานสายและไปนัดสำคัญๆ ช้าอยู่เสมอ ให้คุณเข้านอนให้เร็วขึ้นและ/หรือตั้งนาฬิกาในห้องนอนให้เร็วขึ้น 10 นาที
    • หาวิธีทดแทนสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเก่าๆ ของคุณ โดยทำให้มันเป็นบางสิ่งบางอย่างที่เป็นด้านบวกอย่างเช่น ออกกำลังกาย ใช้เวลาอยู่กับลูกๆ ให้มากขึ้น หรือจะเป็นอาสาสมัครก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปล่อยวางจากความผิดพลาดของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนหลายคนที่มีปัญหาในการก้าวข้ามความผิดพลาดมักจะทุกข์ทรมานจากความคาดหวังที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลที่พวกเขามีต่อตัวเอง จริงอยู่ที่การทำตัวเองให้มีมาตรฐานสูงนั้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม แต่การเรียกร้องถึงความสมบูรณ์แบบในตัวเองมากจนเกินไปก็มีแต่จะสร้างความเจ็บปวดให้กับตัวคุณเอง รวมไปถึงคนใกล้ชิดคุณด้วย [10]
    • ให้ถามตัวเองว่า “ความผิดพลาดครั้งนี้มันแย่ถึงขนาดที่เราคิดไว้จริงๆ หรือเปล่า?” ซึ่งถ้าหากคุณพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา โดยปกติคำตอบที่ได้ก็คงจะเป็นคำว่า “ไม่” แต่เมื่อคำตอบที่ได้คือ “ใช่” สิ่งเดียวที่คุณสามารถทำได้ก็คือการพูดยืนยันกับตัวเองว่าคุณได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นจากความผิดพลาดของตัวเอง [11]
    • ให้คุณแสดงความเข้าอกเข้าใจในตัวเองให้เหมือนกับที่คุณอยากจะได้จากคนอื่น พิจารณาดูว่าคุณจะปฏิบัติกับเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณแบบใจร้ายหรือเปล่า หากเพื่อนของคุณทำผิดซ้ำสอง ซึ่งในแทบจะทุกกรณี ตัวคุณเองก็คงจะแสดงความเข้าอกเข้าใจและให้กำลังใจกับเพื่อนของคุณ ส่วนในกรณีของตัวเอง ให้จำไว้ว่าคุณควรจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง และปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความเมตตา [12]
  2. การให้อภัยคนอื่นสำหรับความผิดที่พวกเขาได้ทำไว้นั้นบางครั้งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่มันก็มักจะง่ายกว่าการให้อภัยตัวเอง แม้ว่าความผิดพลาดที่เราได้ทำไว้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยก็ตาม มีคำพูดเก่าๆ ที่บอกเอาไว้ว่า “การให้อภัยเริ่มต้นจากที่บ้าน” นั่นแสดงว่าคุณจำเป็นต้องเริ่มจากตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
    • คุณอาจจะมองว่านี่มันดูไร้สาระ แต่มันอาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณสามารถพูดให้อภัยกับตัวเองได้ อย่างเช่นพูดว่า “ฉันยกโทษให้ตัวเอง ที่ฉันได้ใช้เงินค่าเช่าหมดไปกับตอนที่ฉันออกไปเที่ยวในตัวเมืองเมื่อคืนนั้น” หรือบางคนอาจจะเห็นว่าการเขียนถึงความผิดพลาดและการให้อภัยตัวเองลงบนกระดาษแผ่นหนึ่งแล้วจากนั้นก็ขยำทิ้งนั้น มันน่าจะให้ผลในระดับที่พอๆ กันได้ [13]
    • การให้อภัยตัวเองนั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนว่าคุณไม่ใช่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น คุณไม่ใช่ความผิดพลาด หรือความไม่แน่นอน หรือความบกพร่องอะไรทั้งนั้น แต่คุณเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ และเคยทำผิดพลาดเหมือนกับคนอื่นๆ และเรียนรู้และเติบโตจากความผิดพลาดเหล่านั้น [14]
  3. หากคุณรู้สึกว่าการปล่อยวางความผิดพลาดนั้นทำได้ยาก มันจะช่วยได้มากถ้าคุณเตือนตัวเองว่าการยึดติดอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ และทำลายชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนที่อยู่รอบๆ ตัวคุณด้วย ดังนั้น คุณจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อตัวคุณเอง รวมถึงคนที่คุณรักด้วย เพื่อที่คุณจะได้สามารถก้าวข้ามความผิดพลาดของตัวเองไปได้
    • เมื่อคุณมีความรู้สึกผิด สารเคมีที่ถูกปล่อยในร่างกายของคุณอาจจะไปเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอล และทำลายระบบการย่อยสลายอาหารและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงทำลายทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของคุณด้วย ซึ่งนี่บ่งบอกว่า ความมีรู้สึกผิดที่มากจนเกินไปอาจจะทำลายสุขภาพร่างกายคุณก็ได้
    • คำพูดที่ว่า “ความทุกข์มักชอบมีเพื่อน” นั้นเป็นเรื่องจริง เพราะคนที่ไม่ยอมปล่อยวางจากความรู้สึกผิดมักจะดึงคนรอบๆ ตัวให้เป็นไปกับเขาด้วย คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นคนเก็บตัวและมีนิสัยชอบติเตียนมากขึ้นเพราะความรู้สึกผิดที่เกิดจากความผิดพลาดที่คุณได้ทำไว้ และนั่นจะทำให้คนรัก ลูกๆ เพื่อนๆ และแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงของคุณทุกข์ใจตามคุณไปด้วย
  4. เมื่อคุณยอมรับความผิดพลาดของตัวเองได้แล้ว ให้คุณพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อสร้างสิ่งทดแทนและให้อภัยตัวเองสำหรับเรื่องที่เกิดขึ้น และคุณก็ต้องปล่อยวางและไม่ต้องไปกังวลกับเรื่องนั้นอีกแล้ว เพราะความผิดพลาดควรจะคงอยู่แค่เพื่อที่จะเอาไว้เป็นบทเรียนที่จะช่วยให้คุณเติบโตต่อไปข้างหน้าได้เท่านั้นพอ
    • เมื่อรู้สึกว่าตัวเองเริ่มวกกลับไปคิดเรื่องความผิดพลาดและความรู้สึกผิดที่คุณมีต่อสิ่งนั้น ให้คุณเตือนตัวเองว่าคุณได้รับการให้อภัยแล้ว หากจำเป็นจริงๆ ให้พูดมันออกมาดังๆ เพื่อเตือนให้ตัวเองรู้ว่าเรื่องมันจบไปแล้ว [15]
    • บางคนหาตัวช่วยด้วยการใช้เทคนิคการโฟกัสที่อารมณ์เชิงบวก (Positive Emotion Refocusing Technique หรือ PERT) และเพื่อที่จะทำแบบนั้นได้ คุณก็ต้องหลับตาและหายใจเข้าให้ลึกๆ ยาวๆ อย่างมุ่งมั่นสองครั้งก่อน และในครั้งที่สาม ให้คุณนึกภาพคนที่คุณรักมากๆ หรือไม่ก็นึกภาพความสวยงามและวิวทิวทัศน์ของธรรมชาติก็ได้ โดยในขณะที่คุณกำลังหายใจอยู่ ให้คุณค้นหา “สถานที่แห่งความสุข” ของตัวเอง จากนั้นก็นำความรู้สึกผิดมาแล้วหาวิธีปล่อยวางและค้นหาความสงบในสถานที่นี้ให้ได้ จากนั้นลืมตาขึ้นมาและปล่อยความรู้สึกผิดเอาไว้ข้างหลัง
    • การดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้าหลังจากที่เกิดความผิดพลาด จะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้โดยที่ไม่ต้องรู้สึกเสียใจ จำไว้ว่ามันดีกว่าถ้าเราจะเรียนรู้จากความผิดพลาดมากกว่าที่จะไปเสียใจเพราะว่าเราไม่ได้ลองลงมือทำ การที่เด็กเล็กพยายามหัดเดินหรือเด็กๆ พยายามหัดปั่นจักรยานนั้นก็เหมือนกับการที่ผู้ใหญ่กำลังรับมือกับความผิดพลาดนั่นล่ะ การล้มลงก็คือการฝึกฝน และการลุกขึ้นมาลองใหม่อีกครั้งก็คือพัฒนาการนั่นเอง [16]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อใดก็ตามที่คุณทำผิดพลาด คุณก็จะได้บทเรียนจากความผิดพลาดเหล่านั้น
  • การยอมรับความผิดนั้นก็เหมือนกับการได้ปลดปล่อย จริงอยู่ ที่การยอมรับว่าตัวเองผิดนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่มันก็แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และความมุ่งมั่นที่จะทำให้ตัวเองเป็นคนที่ดีขึ้น พูดได้อีกแบบก็คือ มันเป็นสิ่งที่น่านับถือ และการที่คุณทำแบบนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนที่แคร์ตัวเอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,300 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา