ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Root มือถือ Android แล้วจะใช้งานระบบปฏิบัติการได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ปรับแต่งได้ละเอียดตามใจชอบ มือถือ Android นั้นมีมากมายหลายรุ่นและยี่ห้อ เลยมีต้องใช้วิธี root แตกต่างกันไปตามเครื่องหรือเวอร์ชั่นของ Android ที่ใช้ ขั้นแรกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม root ที่ใช้ได้กับรุ่นมือถือของคุณมาก่อน (ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมของ Windows เท่านั้น) จากนั้นเปิดใช้ USB debugging ในมือถือ แล้วปรับแต่งไดรฟ์เวอร์ USB ในคอม ที่สำคัญคืออย่าลืม backup ข้อมูลในเครื่องก่อน root

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

Root มือถือ Samsung Galaxy S/Edge

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปุ่ม “About” จะอยู่ด้านล่างของเมนู settings
    • หมายเหตุ: ขั้นตอนในวิธีการนี้เน้นใช้งานกับ Galaxy S7 และ S7 Edge แต่ก็น่าจะใช้กับ Galaxy S รุ่นก่อนๆ ได้เหมือนกัน ขอแค่ดาวน์โหลดไฟล์ CF Auto Root มาถูกรุ่นมือถือก็พอ
  2. เพื่อเปิดใช้ตัวเลือกของนักพัฒนาในมือถือ
  3. ตัวเลือกนี้จะโผล่มาหลังเปิด developer mode แล้ว และเห็นตัวเลือกต่างๆ ในส่วน developer กับ debugging ที่ตามปกติถูกซ่อนไว้
  4. setting นี้จะทำให้ root มือถือได้ [1]
  5. ติดตั้งแล้วเปิด Odin ในคอม. Odin มีไว้ใช้ root มือถือ Samsung โดยเฉพาะ แต่ทำได้ใน Windows เท่านั้น
    • โปรแกรมนี้ใช้ root มือถือรุ่นเก่าๆ อย่าง Galaxy S6 ก็ได้ แต่ต้องดาวน์โหลดไฟล์ autoroot ที่ถูกต้องมาซะก่อน
  6. ดาวน์โหลดและติดตั้ง none ไดรฟ์เวอร์ USB ของ Samsung . จะได้ใช้ตัวเลือก USB debugging ของมือถือในคอมได้
  7. ดาวน์โหลดและแตกไฟล์ Chainfire autoroot ของ S7 หรือ S7 Edge . ให้คลิกขวาที่ไฟล์ .zip แล้วเลือก “Extract” ไฟล์ที่แตกมาจะใช้ extension .tar.md5
    • ค้นเว็บ CF Autoroot หาไฟล์ autoroot ที่ต้องใช้กับรุ่นมือถือ ถ้าจะ root มือถือ Galaxy S รุ่นเก่าๆ บอกเลยว่าไฟล์ autoroot ที่ตรงรุ่นนั้น สำคัญมาก มือถือจะได้ไม่เจ๊ง
  8. กดปุ่ม Home, Power และ Volume Down (ลดเสียง) ของมือถือค้างไว้พร้อมกัน. สักพักมือถือจะเข้า Download Mode
  9. เสียบมือถือกับคอมผ่าน USB ตอนเปิด Odin ไว้ และมือถืออยู่ใน Download Mode แล้ว. สักพัก Odin จะขึ้นว่า “Added Message” แปลว่าเชื่อมต่อมือถือกับ Odin เรียบร้อย
  10. จะมีให้ browse หาไฟล์ที่ต้องใช้
  11. เลือกไฟล์ autoroot ที่แตกไว้แล้ว ที่ลงท้ายด้วย .tar.md5 .
  12. เพื่อเริ่มขั้นตอนการ root เครื่อง มือถืออาจมีรีสตาร์ทบ้างระหว่างนี้ พอเสร็จแล้วจะบูทเข้า Android
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

Root มือถือ Nexus

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ติดตั้งแล้วเปิด Nexus Root Toolkit ในคอม. Nexus Root Toolkit ใช้ปลดล็อคและ root อุปกรณ์ Nexus ไหนก็ได้ ตอนเปิดจะมีให้ระบุรุ่นมือถือ และเวอร์ชั่น Android ที่ใช้
    • เข้า “Settings > About Phone” ในมือถือถ้าไม่แน่ใจ จะเห็นรุ่นใน “Model number”
  2. เลือก Android เวอร์ชั่นที่ใช้ ในเมนูที่ 2 ที่ขยายลงมา.
    • เข้า “Settings > About Phone” ในมือถือถ้าไม่แน่ใจ จะเห็นข้อมูลที่ต้องการใน “Android version” และ “Build Number”
  3. จะเห็นหน้าต่างพร้อมขั้นตอนโดยละเอียดในการเปิด USB debugging mode
  4. “About Phone” จะอยู่ด้านล่างของหน้า Settings
  5. “Build Number” จะอยู่ด้านล่างของหน้า “About Phone” พอแตะครบ 7 ครั้ง จะเห็นข้อความแจ้งเตือนว่าเปิด developer mode แล้ว
  6. ตัวเลือกนี้จะโผล่มาหลังเปิด developer mode แล้ว และเห็นตัวเลือกต่างๆ ในส่วน developer กับ debugging ที่ตามปกติถูกซ่อนไว้
  7. เพื่ออนุญาตให้เข้าไป debug คอมที่เชื่อมต่ออยู่ได้
  8. โปรแกรมจะสแกนหา dependencies ที่จำเป็นต่อการ root มือถือโดยอัตโนมัติ
  9. เพื่อดาวน์โหลด dependencies แล้วเข้าหน้าหลักของ Nexus Root Toolkit
  10. กด “Full Driver Installation Guide” เพื่อดูคำแนะนำในการปรับแต่งไดรฟ์เวอร์. ขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามไดรฟ์เวอร์ที่ใช้อยู่ ต้องถอนการติดตั้งไดรฟ์เวอร์เก่าๆ ก่อน ถ้าเคยเสียบมือถือ Android กับคอมเครื่องนี้มาก่อน แล้ว Nexus Root Toolkit จะแนะนำและหาชุดติดตั้งไดรฟ์เวอร์ที่ถูกต้องให้เอง
  11. กด “Backup” เพื่อเซฟข้อมูลที่อยากเก็บไว้ (ไม่จำเป็น). จะมีเมนูพร้อมตัวเลือก backup ต่างๆ โผล่มา เช่น รายชื่อ contacts, SMS หรือ app data แต่ละปุ่มจะมีขั้นตอนการ backup ข้อมูลลงคอมให้ดู
  12. เพื่อปลดล็อค bootloader ทำให้ root เครื่องได้ หมายเหตุ: ขั้นตอนนี้จะลบข้อมูลทั้งหมดในมือถือไป เพราะงั้นอย่าลืม backup อะไรที่อยากเก็บไว้ก่อน
  13. Nexus Root Toolkit จะ root เครื่องและติดตั้งโปรแกรม root SuperSU โดยอัตโนมัติ พอเสร็จสิ้น มือถือของคุณก็จะถูก root เรียบร้อย!
  14. เพื่อเปิดหน้าต่างพร้อมตัวเลือกต่างๆ ในการคืนข้อมูลลงเครื่อง ตามที่ backup ไป ให้กดตัวเลือกเพื่อเซฟข้อมูลคืน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

Root มือถือด้วย WinDroid Toolkit

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อ่าน gid=75731055 รายชื่ออุปกรณ์ที่ใช้ได้ จะได้รู้ว่ามือถือคุณใช้ WinDroid Toolkit ได้ไหม.
  2. “About Phone” จะอยู่ด้านล่างของหน้า Settings
  3. “Build Number” จะอยู่ด้านล่างของหน้า “About Phone” พอแตะครบ 7 ครั้ง จะเห็นข้อความแจ้งเตือนว่าเปิด developer mode แล้ว
  4. ตัวเลือกนี้จะโผล่มาหลังเปิด developer mode แล้ว และเห็นตัวเลือกต่างๆ ในส่วน developer กับ debugging ที่ตามปกติถูกซ่อนไว้
  5. เพื่ออนุญาตให้เข้าไป debug คอมที่เชื่อมต่ออยู่ได้
  6. ดาวน์โหลดแล้วเปิด WinDroid Toolkit ในคอม. พอเปิดมา จะมีให้ดาวน์โหลด ADB ถ้ายังไม่มีในคอม
    • โปรแกรมนี้ใช้ได้เฉพาะใน Windows เท่านั้น
  7. ถ้ามี ADB ในคอมแล้ว จะไม่มีขึ้นเตือน พอติดตั้ง ADB แล้วจะเห็นรายชื่ออุปกรณ์ที่ใช้ได้
  8. รายชื่อจะขยายออกมา แล้วแสดงรุ่นมือถือที่ใช้ได้
  9. พอเลือกรุ่นมือถือแล้ว Winroot Toolkit จะดาวน์โหลดไฟล์ recovery image และ autoroot ของมือถือให้อัตโนมัติ พอดาวน์โหลดเสร็จจะเข้าหน้าหลักของโปรแกรม [2]
    • ที่มุมซ้ายล่าง จะมีสัญลักษณ์บอกสถานะการออนไลน์ ถ้าขาดการเชื่อมต่อเมื่อไหร่ ให้กด “Refresh” ที่ด้านขวาล่างเพื่อกลับมาออนไลน์
  10. คลิกตัวเลือกที่โผล่มาในคอลัมน์ “Unlock Bootloader” แบบเรียงย้อนขึ้นมา. ปุ่มต่างๆ ที่โผล่มาจะแตกต่างกันไปตามมือถือที่จะปลดล็อค (เช่น “Request Unlock” หรือ “Get Token ID”) WinRoot Toolkit จะมีคำแนะนำในการเตรียมมือถือก่อนปลดล็อค
  11. ปุ่มนี้ Winroot Toolkit ใช้ดาวน์โหลดและเปิดโปรแกรมอัตโนมัติ เพื่อปลดล็อค bootloader
    • ปลดล็อค bootloader แล้วข้อมูลทั้งหมดในมือถือจะหายไป เพราะงั้นต้อง backup ข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ก่อน
  12. ตัวเลือกจะต่างกันไปตามมือถือที่ใช้ (เช่น “Flash TWRP”) มือถือจะรีสตาร์ทอัตโนมัติเข้า fastboot mode แล้วติดตั้ง recovery image พอเสร็จจะมีให้รีสตาร์ทอีกที
  13. Winroot Toolkit จะรีสตาร์ทมือถือด้วย ADB
  14. จะมีหน้าต่างโผล่มาให้ยืนยันว่าจะเริ่มขั้นตอนการ root
  15. Winroot Toolkit จะเซฟไฟล์ SuperSU autoroot ลงคอมอัตโนมัติ แล้วบูทเข้า recovery image
  16. ปุ่มต่างๆ จะแตกต่างกันไปตาม recovery ที่ใช้ พอติดตั้งแล้ว จะมีแจ้งเตือนใน Winroot Toolkit ว่า root เครื่องสำเร็จ จากนั้นมือถือจะรีสตาร์ท
    • เช่น ถ้าใช้ TRWP recovery ให้กด “Install” แล้วเลือกไฟล์ SuperSU จากนั้นลาก “Confirm Flash” เพื่อเปิดใช้ SuperSU ในมือถือ
  17. มือถือจะบูทเข้า Android และ root เสร็จเรียบร้อย!
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

Root มือถือ Android รุ่นอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หามือถือรุ่นที่ใช้ใน เว็บบอร์ดของ XDA . เว็บบอร์ด XDA เป็นแหล่งรวมนักพัฒนา Android ที่คอยคิดหาวิธี root มือถือรุ่นต่างๆ อยู่ตลอด ให้หาหัวข้อ “Jump To” แล้วคลิกยี่ห้อมือถือที่ใช้ จากนั้นค้นหารุ่นมือถือ จะได้อ่านขั้นตอนการ root โดยละเอียด
  2. เรียนรู้การใช้งาน Android SDK (Software Development Kit) และ ADB (Android Debug Bridge) tools. tools หรือเครื่องมือพวกนี้ต้องใช้ใน command line ของคอม จำเป็นมากถ้าอยากปลดล็อคและ root มือถือรุ่นใหม่ๆ อย่าง HTC 10 หรือ Moto X Pure
    • Android SDK ก็เป็นเครื่องมือที่คนใช้ Mac นิยมใช้ root มือถือ Android กันมากที่สุดเหมือนกัน
  3. ถ้าใช้มือถือรุ่นเก่าๆ ให้ root ด้วยโปรแกรม ‘one-click’. เช่น Towelroot หรือ FramaRoot พวกนี้ใช้ root มือถือรุ่นเก่าๆ ที่ยังเป็น Android 4.4 หรือเก่ากว่า ยังไงลองสำรวจเว็บดู ว่าโปรแกรมใช้กับมือถือรุ่นคุณได้หรือเปล่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถึงจะเสียบมือถือกับคอมไว้ตอน root ก็ควรชาร์จให้เต็มเผื่อไว้ เพราะถ้ามือถือเกิดแบตหมดขึ้นมาระหว่าง root อาจทำระบบพังไปเลย
  • ให้ดาวน์โหลดแล้วใช้แอพ root checker ใน Play Store เพื่อยืนยันว่า root มือถือแล้วเรียบร้อย
โฆษณา

คำเตือน

  • โปรแกรม root ที่เลือกต้องใช้กับรุ่นและเวอร์ชั่นของมือถือได้ ไม่งั้นอาจ root ไม่สำเร็จจนทำระบบพัง มือถือ brick (ใช้งานไม่ได้) ไป
  • ปลดล็อค bootloader แล้ว root มือถือจะทำให้ประกันขาดไปเลย
  • มือถือบางเครื่องก็ root ไม่ได้ โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ เพราะงั้นต้องเช็คให้ชัวร์ก่อน root ไม่งั้นอาจเกิดหลายปัญหาตามมา ตั้งแต่เสียเวลาเพราะ root ไม่ได้ ไปจนถึงมือถือเจ๊งไปเลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,771 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา